งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน
กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย พ.บ., ปร.ด., น.บ.

2 วัตถุประสงค์ รูปแบบงานวิจัย งานวิจัยที่ดี สถิติในงานวิจัย
การเขียนโครงร่างวิจัย การนำเสนองานวิจัย การเขียนรายงานวิจัย

3 งานวิจัยคืออะไร? การกระทำ เพื่อให้ได้ข้อมูล อย่างมีระบบและถูกต้อง
ใช้อ้างอิงได้

4 การกระทำ การค้นคว้าจากแหล่งข้อมูล การสัมภาษณ์ การทดลองในห้องปฏิบัติการ
การทดลองทางคลินิก การปฏิบัติการภาคสนาม

5 ข้อมูล อะไร (สิ่งที่ต้องการทราบ) จากใคร (กลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย) ที่ไหน (สถานที่ทำวิจัย) เมื่อไหร่ (ระยะเวลาในการทำวัจัย) อย่างไร (วิธีการ)

6 อย่างถูกต้อง รูปแบบวิจัยถูกต้อง ระเบียบวิธีวิจัยถูกต้อง สถิติถูกต้อง
จริยธรรมถูกต้อง

7 ใช้อ้างอิงได้ กลุ่มตัวอย่างวิจัยไม่ใช่ตัวแทนของประชากรทั้งหมด
ข้อมูลที่ได้จากผลวิจัยเกิดจาก ค่าที่ได้จริง + ความบังเอิญ + อคติ ผลที่ได้จากงานวิจัยจะนำไปใช้อ้างอิงได้ต่อเมื่อ กลุ่มตัวอย่างวิจัยต้องเป็นตัวแทนของประชากรได้ ลดความบังเอิญ ขจัดอคติ

8 งานวิจัยที่ควรทำและไม่ควรทำ
ทำแล้วเกิดประโยชน์อะไรบางอย่าง ประโยชน์นั้นมีผลในปัจจุบันหรืออนาคต ไม่ควรทำ เขารู้กันมาตั้งนานแล้วละ ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร

9 รูปแบบการวิจัย คือการวางแผนทำวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างถูกต้องและประหยัด ข้อมูล (คำถามงานวิจัย) ขนาดของปัญหาหรือการดำเนินโรค สาเหตุของโรค ปัจจัยเสี่ยงหรือพยากรณ์โรค การวินิจฉัยโรค การรักษาหรือป้องกันโรค ความคุ้มค่าในการรักษา ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แนวคิด ความเชื่อ ทัศนะคติ

10 งานวิจัยที่ดี รูปแบบวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย สถิติ + +
ต้องเหมาะกับคำถามวิจัย + ต้องถูกต้อง (internal validity) ระเบียบวิธีวิจัย + ต้องถูกต้อง (internal + external validity) สถิติ

11 คำถามวิจัยกำหนดรูปแบบวิจัย
ขนาดของปัญหา /การดำเนินโรค สาเหตุของโรค การวินิจฉัยโรค ปัจจัยเสี่ยงหรือพยากรณ์โรค การรักษาหรือป้องกันโรค ข้อสรุปเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคุ้มค่า แนวคิด ความเชื่อ ทัศนะคติ การวิจัยเชิงพรรณา & SR การวิจัยเชิงวิเคราะห์ & SR การวิจัยเชิงทดลอง & SR การทบทวนวรรณกรรมวิจัย (SR) การวิจัยเศรษฐศาตร์การแพทย์ การวิจัยเชิงคุณภาพ

12 การวิจัยเชิงพรรณา คำถามวิจัย: ขนาดของปัญหา / การดำเนินโรค
ลักษณะ: กลุ่มศึกษากลุ่มเดียว ชนิด: รายงานผู้ป่วย การวิจัยตัดขวางกลุ่มเดียว ประโยชน์: เป็นข้อมูลพื้นฐาน บอกแนวโน้ม ข้อดี: ทำง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย ข้อด้อย: ไม่บอกความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

13 การวิจัยสังเกตเชิงวิเคราะห์
คำถามวิจัย: การวินิจฉัย สาเหตุ ปัจจัยเสียง พยากรณ์โรค ลักษณะ: กลุ่มศึกษา 2 กลุ่มเปรียบเทียบกัน ชนิด: ตัดขวาง 2 กลุ่ม case-control, cohort ประโยชน์: บอกความชุก อุบัติการ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยพยากรณ์โรค ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ข้อดี: ความน่าเชื่อถือสูงกว่าการวิจัยเชิงพรรณา ข้อด้อย: ขึ้นกับชนิดงานวิจัย

14 Cross-sectional analytical study
มี risk, ,มีโรค a ไม่มี risk, ,ไม่มีโรค d ไม่มี risk มีโรค c มี risk, , ไม่มีโรค b Sample Population prevalence = a/(a+b) c/(c+d) บอก associationไม่ได้

15 (Retrospective) Case-control study
เริ่มจากปัจจุบันหาอดีตและผลไปหาเหตุ Case มีโรค Control ไม่มีโรค มี risk ไม่มี risk

16 Case-control study ข้อดี ข้อด้อย เหมาะสำหรับโรคที่ พบน้อย
ใช้เวลาศึกษาน้อย ข้อด้อย บอก prevalence และ incidence ไม่ได้ Bias Confounding ศึกษาได้ outcome เดียว

17 (Prospective) Cohort study
เริ่มจากปัจจุบันไปอนาคตและเหตุมาหาผล มีมี risk factors ไม่มี risk factors sample Population มีโรค ไม่มีโรค มีโรค ไม่มีโรค

18 Cohort (incidence) study
ข้อดี บอกอุบัติการ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยพยากรณ์โรค ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ข้อด้อย ไม่เหมาะสำหรับ Rare disease, FU, confounding วิธีการ กำหนดกลุ่ม cohort กำหนด predictive factors และ confounders ติดตามผู้ป่วยและวัดผลในอนาคต

19 การวิจัยเชิงทดลอง คำถามวิจัย: การรักษา วินิจฉัย พยากรณ์โรค
คำถามวิจัย: การรักษา วินิจฉัย พยากรณ์โรค ลักษณะ: ผู้ทดลองเป็นผู้กำหนดสิ่งทดลอง ชนิด: การทดลองในสัตว์ ในมนุษย์ clinical trial, RCT ประโยชน์: บอกประสิทธิผลในการรักษา ความแม่นยำในการวินิจฉัย บอกปัจจัยพยากรณ์โรค ข้อดี: มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ข้อด้อย: ทำยาก ค่าใช้จ่ายสูง จริยธรรม

20 Randomized controlled trial
Treatment A outcome sSample random Treatment B outcome

21 Randomization ป้องกัน selection bias
เพื่อ balance known & unknown prognostic factors & confounder วิธีการ randomization Simple randomization; หัวก้อย Block randomization; 4,6,8,16,random block Stratified randomization; known prognostic factors Quasi randomization: odd/even, HN, birth date

22 Blinding Prevent bias บางกรณี ทำไม่ได้ Level วิธีการ
Single blind, double blind (physician, patient, evaluator, analyzer) วิธีการ Placebo, sham procedure

23 Allocation concealment
Prevent selection bias เพื่อป้องกันไม่ให้รู้ว่าผู้ป่วยจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มใด วิธีการ Sealed opaque envelop Central randomization Allocation ratio; 1:1 for 2 groups จะใช้ sample size น้อยกว่า ratio อื่น

24 การทบทวนวรรณกรรมวิจัย(SR)
คำถามวิจัย: หาข้อสรุปเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งการวินิจฉัย สาเหตุ รักษา พยากรณ์โรค ปัจจัยเสี่ยง ลักษณะ: เป็นการรวบรวมงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ชนิด: systematic review, meta-analysis ประโยชน์: อาจได้ข้อสรุปบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อดี: น่าเชื่อถือสูง ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่มีปัญหาจริยธรรม ข้อด้อย: สรุปผลไม่ได้ถ้างานวิจัยที่รวบรวมคุณภาพไม่ดี

25 Systematic review & meta-analysis
Meta-analysis คือ systematic review ที่ใช้วิธีการทางสถิติในการรวมและสรุปผลของการศึกษาจากงานวิจัยที่คัดเลือกเข้ามาทั้งหมด

26 Nature of systematic review
Systematic reviews เป็น retrospective research ชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่เกิดอคติต่างๆเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ retrospective research ชนิดอื่น ดังนั้น systematic review ที่ดีจะต้องประกอบด้วย งานวิจัยที่คัดเลือกเข้ามาจะต้องมีกระบวนการวิจัยที่ถูกต้อง มีวิธีการทบทวนวรรณวิจัยอย่างถูกต้อง

27 ลำดับชั้นของงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษา
ลักษณะงานวิจัย Level I High-quality RCTs SR of level I, สรุปผลตรงกัน Level II Lesser-quality RCT (ไม่ blinded, วิธีการ random ไม่ดี, FU  80%) Prospective comparative study SR of level II, SR of level I แต่สรุปขัดแย้งกัน Level III Retrospective comparative study SR of level III Level IV Case series Level V Expert opinion

28 การวิจัยเศรษฐศาตร์การแพทย์
คำถามวิจัย: วิธีการวินิจฉัย รักษา ป้องกัน คุ้มค่าหรือไม่ ลักษณะ: วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ความคุ้มค่าในการวินิจฉัย รักษา ป้องกัน ชนิด: การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล ต้นทุน-อรรถประโยชน์ ประโยชน์: ช่วยในการตัดสินใจลงทุนทางการแพทย์ ข้อดี: บอกความคุ้มค่า ข้อด้อย: วิเคราะห์ต้นทุนยาก

29 การวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผล (Cost-effectiveness analysis) ประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มขึ้น (incremental cost) เปรียบเทียบกับผลของการรักษาที่เพิ่มขึ้นหรือดีขึ้นกว่าเดิม (incremental effect) Incremental cost-effectiveness ratio = (mean cost A – mean cost B) (mean outcome A – mean outcome B)

30 ประสิทธิผลของการรักษา A เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษา B
มากกว่า เท่ากับ น้อยกว่า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ค่าใช้จ่ายของการรักษา A เมื่เปรียบเทียบกับการรักษา B

31 การวิจัยเชิงคุณภาพ Social science research
คำถามวิจัย: แนวคิด มุมมอง ความเชื่อ ทัศนะคติ ลักษณะ: วิจัยเพื่อทราบแนวคิด มุมมอง ความเชื่อ ทัศนะคติ ชนิด: สังเกตุ สำรวจ (สัมภาษณ์ แบบสอบถาม) action research ประโยชน์: ทราบข้อมูล ข้อดี: ทราบแนวคิด ช่วยปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม ข้อด้อย: เป็นผลเฉพาะกลุ่ม

32 Qualitative research Phenomenological study Subject: key informants
Data collection Observation Focus group discussion In-dept interview Data analysis Content analysis, interpretation

33 Action research การให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาร่วมกระบวนการคิด ตั้งคำถาม วางแผนและทำวิจัยเพื่อหาคำตอบอย่างเป็นระบบ และเรียนรู้จากการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง ให้คนในชุมชนเข้ามาร่วมกระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน (ชาวบ้านคิดเอง ทำวิจัยเอง เพื่อแก้ปัญหาตัวเอง) ต้องเป็นเรื่องที่ชาวบ้านต้องการ

34 ค่าที่ได้จากงานวิจัยมีความจริงแค่ไหน?
ค่าจริงที่ถูกต้อง + Random error (chance) ความบังเอิญ + Systematic error (bias) อคติ

35 ความบังเอิญ (chance) ลดความบังเอิญได้โดย
ทดสอบสมมุติฐาน คำนวณช่วงเชื่อมั่น ยิ่งลดระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ โอกาสที่ผลจากงานวิจัยจะเกิดจากความบังเอิญก็ยิ่งลดลง -error (5%, 1%), -error (20%, 10%) 95% CI

36 Information หรือ observational bias
Selection bias Confounding factors Information หรือ observational bias Recall bias Measurement bias Misclassification Loss FU

37 Precision & accuracy Poor precision, poor accuracy
X X X X X X X Poor precision, poor accuracy Poor precision, good accuracy X X X X X X X X X X X X Good precision, good accuracy Good precision, good accuracy

38 เทียบกับ reference standard
Precision Accuracy Definition วัดหลายครั้งได้ค่าใกล้เคียงกัน วัดหลายครั้งได้ค่าใกล้เคียงค่าถูกต้องจริง Way to assess วัดซ้ำ เทียบกับ reference standard Value to study เพิ่ม power to detect effect เพิ่ม validity of conclusion Threatened by Random error จากคนวัด ผู้ป่วย เครื่องมือ Bias จากคนวัด ผู้ป่วย เครื่องมือ

39 วิธีเพิ่ม precision & accuracy
วิธีการ ผล Standardized วิธีการวัด เพิ่ม precision & accuracy Training คนวัด เลือกใช้เครื่องมือในการวัดที่ดี วัดซ้ำหลายครั้ง ใช้ค่าเฉลี่ย เพิ่ม precision Blind คนวัด เพิ่ม accuracy

40 Trial 1,3 ไม่ sig. เพราะ sample size ไม่พอ
ยา Pt. Mean diff. SD diff SE diff 95% CI P-value 1 A 40 -6 15 3 -12, 0.6 0.07 2 400 -8, -4 <0.001 B -4 -10, 2 0.2 4 800 -2 -4, -0.5 0.008 Trial 1,3 ไม่ sig. เพราะ sample size ไม่พอ trial 4 sig. แต่ไม่มีความหมาย

41 งานวิจัยที่ดี รูปแบบวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย สถิติ + +
ต้องเหมาะกับคำถามวิจัย + ต้องถูกต้อง (internal validity) ระเบียบวิธีวิจัย + ต้องถูกต้อง (internal + external validity) สถิติ

42 การเขียนโครงร่างวิจัยให้ได้ทุน
ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ ความเป็นมาและเหตุผลในการทำวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การทบทวนวารวาร คำถามวิจัย วัตถุประสงค์ และสมมุติฐาน คำนิยามเชิงปฏิบัติ กรอบแนวคิด รูปแบบวิจัย (type, reliability, validity)

43 การเขียนโครงร่างวิจัยให้ได้ทุน
ระเบียบวิธีวิจัย ตัวอย่างวิจัย (วิธีเลือก จำนวน) การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ; สัมภาษณ์ แบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพ; สังเกต สัมภาษณ์ focus group discussion, content analysis ตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูล ความลับผู้ป่วย

44 การเขียนโครงร่างวิจัยให้ได้ทุน
ข้อพิจารณาทางจริยธรรม ความเป็นไปได้ในการทำวิจัย ข้อจำกัดงานวิจัย งบประมาณในการวิจัย เตรียมตารางวิธีวิเคราะห์ทางสถิติ ตารางเวลาการทำวิจัย ภาคผนวก (อธิบายรายละเอียดที่ไม่อยู่ในต้นฉบับ) เอกสารอ้างอิง (แบบเดียวกับที่จะส่งตีพิมพ์)

45 ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง; สั้น กระชับ บอกสิ่งที่ต้องการนำเสนอ
ชื่อเรื่อง; สั้น กระชับ บอกสิ่งที่ต้องการนำเสนอ บทคัดย่อ; ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วัตถุและวิธีการ ผลการวิจัย สรุป ผู้ร่วมวิจัย สถานที่ทำวิจัย

46 ความเป็นมาและเหตุผลในการทำวิจัย
ความเป็นมา; ผู้วิจัยต้องค้นคว้าเพื่อให้ทราบถึงองค์ความรู้ล่าสุดในเรื่องที่ต้เองการทำวิจัยว่าตอบคำถามวิจัยได้หรือไม่ มีประเด็นอื่นที่น่ารู้หรือไม่ เหตุผลในการทำวิจัย; เพื่อตอบคำถามในสิ่งที่ยังไม่รู้ รู้แล้วเกิดประโยชน์อะไร

47 คำถามและวัตถุประสงค์งานวิจัย
คำถามวิจัย คือข้อมูลที่ผู้ทำวิจัยต้องการทราบ ก่อนได้คำถาม ต้องทบทวนงานวิจัยในอดีตเพื่อพิสูจน์ว่าคำถามนั้นมีคำตอบที่โดนใจแล้วหรือไม่ ถ้ามีแล้วก็เปลี่ยนคำถามวิจัย ถ้ายังก็เริ่มเลย ประกอบด้วย ใคร ทำอะไร สิ่งเปรียบเทียบ ตัววัดผล วัตถุประสงค์ คือประโยคบอกเล่าของคำถามวิจัย

48 เกณฑ์คัดเลือกตัวอย่างวิจัย
เกณฑ์คัดเข้า ต้องเป็นตัวแทนของประชากรที่ศึกษา ต้องเป็นตัวแทนของโรคที่ศึกษา ต้องมีจำนวนพอเพียง ต้องไม่ผิดจริยธรรม เกณฑ์คัดออก มีข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย ไม่ประสงค์เข้าร่วมวิจัย

49 คำนิยามเชิงปฏิบัติ คือการอธิบายความหมายของคำสำคัญ (key words) ในงานวิจัยว่าหมายถึงอะไร

50 กรอบแนวคิด คือการมองในภาพกว้างของเรื่องที่ทำวิจัยว่ามีอะไรเกี่ยวข้องบ้างทั้งโดยตรงและโดนอ้อม ผู้ป่วย โรค ปัจจัยเสี่ยง ตัววัดผล

51 ตั้งสมมุติฐานงานวิจัย
จำเป็นในงานวิจัยเชิงวิเคราะห์และเชิงทดลองเพื่อนำผลวิจัยไปใช้อ้างอิงในกลุ่มประชากรได้ โดยทั่วไป จะตั้งสมมุติฐานของความไม่แตกต่าง (Null hypothesis) แล้วทดสอบทางสถิติเพื่อพิสูจน์ว่าสามารถปฏิเสธ Null hypothesis ได้หรือไม่ ถ้าปฏิเสธได้แสดงว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบจริง ถ้าไม่ได้แสดงว่าไม่แตกต่าง

52 คำนวณจำนวนตัวอย่างวิจัย
เพื่อ จะได้ทราบจำนวนตัวอย่างวิจัยที่น้อยที่สุดที่จะตรวจพบความแตกต่างของตัววัดผลวิจัยที่น้อยที่สุดที่มีความหมายทางคลินิก ถ้าใช้ตัวอย่างวิจัยมากเกินไปก็เปลืองค่าใช้จ่าย เวลา และแรงงาน ถ้าใช้ตัวอย่างวิจัยน้อยเกินไปก็ไม่สามารถตรวจพบความแตกต่าง (ถ้ามีจริง) ได้

53 ระเบียบวิธีวิจัย คือวิธีการทำวิจัยให้มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ
รูปแบบวิจัยต้องเหมาะสม ตัวอย่างวิจัยต้องเป็นตัวแทนได้ + เพียงพอ ดำเนินการวิจัยอย่างถูกต้องเที่ยงตรงโดยลดอคติ วัตถุและวิธีการ ตัววัดผลต้องเหมาะสม วิธีการวัดผลต้องถูกต้อง น่าเชื่อถือ (มีการปกปิด) การติดตามผู้ป่วย

54 ขอจริยธรรมก่อนเริ่มวิจัย
คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยจะพิจารณาว่า งานวิจัยนั้นจำเป็นต้องทำ / ควรทำหรือไม่ ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

55 รวบรวมและวิเคราะห์ผล
มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นระยะ ถ้าจำเป็นต้องมีการปกปิด ใช้สถิติอย่างถูกต้องและจำเป็น

56 งานวิจัยที่ดี รูปแบบวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย สถิติ + +
ต้องเหมาะกับคำถามวิจัย + ต้องถูกต้อง (internal validity) ระเบียบวิธีวิจัย + ต้องถูกต้อง (internal + external validity) สถิติ

57 ใช้สถิติในงานวิจัยเพื่ออะไร?
ใช้สถิติเพื่อ การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ถูกต้อง สรุปข้อมูล ที่ถูกต้อง(descriptive statistics; summary measures, estimating parameter) นำเสนอข้อมูล ที่ถูกต้อง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลที่ถูกต้อง เพื่อนำไปอ้างอิงในกลุ่มประชากร (inferential statistics)

58 สถิติในงานวิจัย Descriptive statistic Inferential statistic
Summary measures Estimating parameter Inferential statistic Hypothesis testing Confidence intervals Sample size estimation Relationship between variables

59 สถิติเชิงพรรณา Summary measures: frequency distribution
Categorical data สัดส่วนหรือ % Continuous data ค่า center (ค่าการกระจายของข้อมูล) Mean (SD) Median (range) Median (interquartile range;25th, 75th percentile)

60 สถิติอ้างอิง การทดสอบสมมุติฐาน คือการใช้ค่าการกระจายทางสถิติ (normal, t, F, chi-squared) เพื่อทดสอบว่าผลจาก sample data สามารถปฏิเสธ null hypothesis (no treatment effect in the population) ได้หรือไม่ ประชากร ตัวอย่างวิจัย

61 Normal distribution Single peak center at the mean
Curve is symmetrical about the mean Mean = median Total area under curve =1 95%CI = mean ± 1.96 SE ความกว้างขึ้นกับ SD ส่วนสูงขึ้นกับ SD2 SD 2SD 0.95

62 95% confidence interval ค่าเฉลี่ยของผลต่างของการรักษาจากกลุ่มตัวอย่าง () ค่าเฉลี่ยของผลต่างของการรักษาที่แท้จริงในประชากร () ค่าจริง = ค่าจากงานวิจัย + อคติ +ความบังเอิญ ช่วงเชื่อมั่น = ช่วงของค่าที่จะทำให้ผู้วิจัยมั่นใจว่าถ้าทำวิจัยหลายๆครั้งจะมีค่า  รวมอยู่ด้วย 95% CI = ถ้าทำวิจัย 100 ครั้งในช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 100 ช่วง จะมี 95 ช่วงที่มีค่า  อยู่ด้วย 95% CI =  ± 1.96 คูณด้วย SE ของค่า  95% CI ช่วยบอกขนาดและทิศทางของความแตกต่าง

63 Estimating mean Sample mean ไม่เท่ากับ population mean
ค่า SE คือความคลาดเคลื่อนระหว่าง Sample mean กับ population mean SE=SD/√N (SD วัดการกระจาย, SE วัด precision) 95% CI for the mean คือช่วงร้อยละ 95 ของค่า mean จริงในประชากรจะอยู่ในช่วงนี้ 95%CI = sample mean ± 1.96 SE

64 Estimating proportion
SE(p) = √{p(1-p)/n} ถ้า proportion p ใช้ค่า % ต้องเปลี่ยนค่า 1 เป็น 100 95% CI for the proportion= p±1.96 SE(p)

65 ความผิดพลาดชนิดที่ 1 () ความผิดพลาดชนิดที่ 2 ()
การทดสอบสมมุติฐาน ความแตกต่างจริง ในประชากร มี ไม่มี ผลการ ทดสอบ ทางสถิติจาก ตัวอย่างวิจัย มีนัยสำคัญ ถูก ความผิดพลาดชนิดที่ 1 () P<0.05 ไม่มีนัยสำคัญ ความผิดพลาดชนิดที่ 2 () Power 80%

66 ผลการทดสอบมีได้ 2 แบบ ปฏิเสธ null hypothesis ซึ่งมีหมายความว่าข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างการวิจัยไม่สอดคล้องกับ null hypothesis (ความจริงในประชากรคือผลการรักษาระหว่างการรักษา 2 วิธีแตกต่างกัน) ยอมรับ null hypothesis ซึ่งหมายความว่าข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้ปฏิเสธ null hypothesis ได้

67 Type I, type II error Type I error (-error) คือการสรุปผิดว่ามีความแตกต่างกันระหว่างผลการรักษาทั้ง 2 วิธีโดยที่ความจริงไม่ต่างกัน (ผลบวกลวง) ซึ่งโอกาสของความผิดพลาดนี้ก็คือค่า P – value นั่นเอง Type II error (-error) คือการสรุปผิดว่าผลการวิจัยไม่มีความแตกต่างกันโดยที่ความจริงต่างกัน (ผลลบลวง) โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดนี้เท่ากับ  (power = 1- )

68 P-value P – value คือการยอมรับโอกาสที่จะสรุปผิดว่าผลการรักษา 2 วิธีแตกต่างกัน (เมื่อความเป็นจริงในประชากรคือไม่แตกต่างกัน) P <0.05 หมายถึงความแตกต่างที่พบไม่น่าจะเกิดจากความบังเอิญ แต่น่าจะเกิดขึ้นจริงในประชากร (H0 ไม่น่าจะจริง)โดยยอมรับโอกาสสรุปผิดว่ามีความแตกต่างจริงน้อยกว่าร้อยละ 5 P >0.05 หมายความว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอจากข้อมูลการวิจัยที่จะตรวจพบความแตกต่างของผลการรักษา และสรุปไม่ได้ว่าความเป็นจริงในประชากรนั้น ผลการรักษาจะต่างกันหรือไม่

69 การเลือกวิธีทดสอบทางสถิติ
พิจารณาว่า outcome ที่สนใจคืออะไร กลุ่มที่เปรียบเทียบมีกี่กลุ่ม ( 1, 2, 3 ขึ้นไป ) เป็นอิสระต่อกันหรือไม่ (dependent, independent) เป็นข้อมูลชนิดไหน (categorical หรือ continuous) การกระจายข้อมูลเป็น normal distribution หรือไม่ วัดกี่ครั้ง (ครั้งเดียว, 2 ครั้ง, 3 ขึ้นไป)

70 ตัวแปร (Variables) Numerical data Categorical data Dichotomous
Yes, no Discrete จำนวนครั้งที่มารพ Nominal Blood group Continuous BP Ordinal Stage 1,2,3

71 กี่กลุ่ม วัดกี่ครั้ง ข้อมูล Tests
เปรียบเทียบ Tests 1 2 Cont .normal mean Paired t-test หรือ 2 paired Cont.NP median Wilcoxon signed rank test categorical proportion McNemar Chi square t-test Mann Whitney Wilcoxon rank sum Chi-square หรือ Fisher’s exact

72 กี่กลุ่ม วัดกี่ครั้ง ข้อมูล Tests
เปรียบเทียบ Tests 3 1 Cont .normal mean 1 way ANOVA Cont.NP median Kruskal Wallis categorical proportion Chi square Repeated measure ANOVA 3, 2 ตัวแปร Factorial ANOVA Friedman 2 way Logistic regression

73 2  3 กี่กลุ่ม Related กันหรือไม่ categorical
Ordered หรือ cont. ที่ไม่normal Cont. normal 2 Not related X2 test Fisher’s exact Mann-Whitney U (Wilcoxon rank sum tets) Unpaired t-test Related Mc Nemar’s test Wilcoxon signed rank test Paired t-test  3 Kruskal-Wallis ANOVA Cochrane Q-test Friedman 2 way Repeated measure ANOVA

74  ; ระดับความแตกต่างที่มีความหมายทางคลินิก
-   inferior noninferior equivalent equivalent equivalent nonsuperior superior Inadequate sample

75

76 การนำเสนองานวิจัย นำเสนอในการประชุมวิชาการ
โปสเตอร์ slide, VDO, Demonstration ส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร จะได้นำเสนอหรือตีพิมพ์หรือไม่อยู่ที่บทคัดย่อ เลือกวารสารที่จะส่งตีพิมพ์ก่อนเริ่มเขียนต้นฉบับ

77 การเขียนบทคัดย่อ รูปแบบ โครงสร้างบทคัดย่อ
ตามรูปแบบที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ขนาดหน้ากระดาษ ชนิดและขนาดตัวอักษร จำนวนคำ โครงสร้างบทคัดย่อ บทนำ วัตถุและวิธีการ ผลการวิจัย สรุป

78 การเขียนบทคัดย่อ บทนำ วัตถุและวิธีการ ผลการวิจัย สรุป
ที่มาของเหตุผลในการทำวิจัย และวัตถุประสงค์ วัตถุและวิธีการ รูปแบบวิจัย จำนวนผู้ป่วย เวลาที่ศึกษา สิ่งที่ศึกษา ตัววัดผลหลักและรอง วิธีวัดผล การติดตามผล สถิติที่ใช้ ผลการวิจัย บอกผลหลัก ผลรอง มีนัยสำคัญหรือไม่เพียงใด สรุป ตามผลที่ได้ พิสูจน์สมมุติฐานได้หรือไม่ ใช้ประโยชน์อะไร

79 บทคัดย่อที่จะถูกปฏิเสธ
เป็นงานวิจัยที่ทำซ้ำ ไม่มีข้อมูลอะไรใหม่ เคยตีพิมพ์แล้ว รูปแบบ และระเบียบวิจัยไม่ถูกต้อง ไม่มีนัยสำคัญ ไม่ทำตามรูปแบบบทคัดย่อที่กำหนด เขียนบทคัดย่อไม่ดี

80 โครงสร้างต้นฉบับ (manuscript)
ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ บทนำ วัตถุและวิธีการ ผล วิจารณ์ สรุป คำขอบคุณ เอกสารอ้างอิง ตาราง รูป

81 การเขียนต้นฉบับ (manuscript)
สั้น กระชับ ใช้ประโยคเดียวแทนหลายประโยคตัดสิ่งไม่จำเป็นออก แต่มีรายละเอียดมากพอที่จะทำซ้ำได้ อย่าใส่ผลในส่วนวัตถุและวิธีการ อย่าใส่วัตถุวิธีการในส่วนผล ร่างต้นฉบับครั้งแรก ไม่ใช่ร่างที่ดี

82 บทนำ สั้นๆ 1-2 ย่อหน้า ย่อหน้าที่ 1 ย่อหน้าที่ 2 ที่มาของปัญหางานวิจัย
ความรู้ล่าสุดเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ ย่อหน้าที่ 2 เหตุผลที่ต้องทำวิจัย งานวิจัยที่จะทำนี้มีอะไรใหม่หรือเกิดประโยชน์อะไร

83 วัตถุและวิธีการ เป็นส่วนที่บอกว่างานวิจัยน่าเชื่อถือหรือไม่
สิ่งที่ต้องบรรยาย รูปแบบงานวิจัย การคัดเลือกและคำนวณตัวอย่างวิจัย วิธีการศึกษามีรายละเอียดมากพอที่นักวิจัยคนอื่นทำซ้ำได้ ทั้งการรักษา ตัววัดผลและวิธีการวัดผลการติดตามผู้ป่วย การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสูญหายจริยธรรม กระบวนการเก็บและพิสูจน์ข้อมูลตั้งแต่ต้นจนจบ การใช้สถิติ

84 ผล แสดงผลการวิจัยตามที่กำหนดไว้ในวัตถุและวิธีการ (การใส่ผลที่พบโดยบังเอิญ มีโอกาสเกิดอคติสูง) จำนวนผู้ป่วยที่เข้ามาในการวิจัย Loss FU มีวิธีการแก้ไขข้อมูลที่หายไปอย่างไร มีการเบี่ยงเบนไปจากโครงร่างวิจัยเดิมมากน้อยเพียงใด แก้ไขอย่างไร ผู้ป่วยน้อย ให้แสดงตัวเลขจริง อย่าใช้ % ตารางหรือรูป อาจดีกว่าบรรยายยาวๆ (อย่าซ้ำ)

85 วิจารณ์ ส่วนประกอบ 4 ย่อหน้า อย่าพูดถึงข้อมูลใหม่ที่ไม่มีในผล
สรุปประเด็นสำคัญของผล เปรียบเทียบผลกับการศึกษาอื่น เหมือนหรือต่างเพราะเหตุใด นำเสนอจุดเด่นและข้อจำกัดของงานวิจัย การนำผลวิจัยไปใช้ อย่าพูดถึงข้อมูลใหม่ที่ไม่มีในผล

86 สรุป พูดประเด็นสำคัญที่สุดของงานวิจัยอีกครั้ง
ผลของงานวิจัยตอบคำถามวิจัยหรือตรงตามวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานหรือไม่ นำผลไปใช้อย่างไร อย่าพูดว่าประหยัด ถ้าไม่ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับต้นทุน-ประสิทธิผล

87 คำขอบคุณ บุคคลที่ให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่ผู้ร่วมวิจัย (หัวหน้าหน่วยงาน……) ผู้สนับสนุนทุนวิจัยหรืออุปกรณ์วิจัย ผู้ร่วมวิจัย Conflict of interest

88 เอกสารอ้างอิง เขียนเอกสารอ้างอิงตามรูปแบบของวารสารที่จะส่งตีพิมพ์อย่างเคร่งครัดที่สุด อ้างอิงเฉพาะเท่าที่จำเป็น

89 ตารางและรูป เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจนกว่าหรือไม่สามารถแสดงด้วยคำบรรยาย ไม่ซ้ำคำกับบรรยาย มีหมายเลขและชื่อ มีคำบรรยายรูป ถ้าใช้อักษรย่อ ต้องอธิบายคำเต็มใตตาราง ลำดับของ footnotes *, †, ‡, §, ║, , **, ††, ‡‡, §§

90 ชื่อเรื่องและบทคัดย่อ
เขียนชื่อเรื่องและบทคัดย่อหลังจากเขียนต้นฉบับ ชื่อเรื่องมาจากสรุป

91 อ่านและเขียนต้นฉบับใหม่
ดูว่าทำยังไงให้ต้นฉบับสั้นลงโดยไม่เสียเนื้อความสำคัญ ประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า ให้เริ่มด้วยหัวข้อหลักของย่อหน้านั้นๆ ประโยคถัดไปคือรายละเอียดของประโยคแรก ทบทวนต้นฉบับให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสารที่จะส่งตีพิมพ์

92 สรุป รูปแบบงานวิจัย งานวิจัยที่ดี สถิติในงานวิจัย ขึ้นกับคำถามวิจัย
รูปแบบถูกต้อง + ระเบียบวิจัยถูกต้อง + สถิติถูกต้อง สถิติในงานวิจัย เพื่อรวบรวมข้อมูล สรุป นำเสนอ และวิเคราะห์

93 สรุป 2 การเขียนโครงร่างวิจัย การนำเสนองานวิจัย การเขียนรายงานวิจัย
ส่วนประกอบต้องครบ การนำเสนองานวิจัย บทคัดย่อสำคัญ การเขียนรายงานวิจัย บนนำ วัตถุวิธีการ ผล บทวิจารณ์ สรุป

94 THANK YOU


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google