งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชนิดของคำในภาษาไทย คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชนิดของคำในภาษาไทย คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชนิดของคำในภาษาไทย คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม
คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน คำอุทาน

2 คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ
คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ วัตถุสิ่งของ สถานที่ต่างๆ ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น ความรัก การให้ ความดี ความชั่ว ครู นักเรียน ตำรวจ ทหาร แพทย์ พยาบาล ช้าง ม้า วัว ควาย กวาง นก กุ้ง หอย ปู ปลา ปะการัง โต๊ะ เก้าอี้ นาฬิกา ท้องฟ้า ต้นไม้ น้ำตก ภูเขา บ้าน โรงเรียน ค่ายทหาร โรงพยาบาล โรงเเรม วัด เป็นต้น คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ ๑. คำนามทั่วไป (สามานยนาม) คือ คำนามที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ กระเป๋า นักเรียน ครู หนังสือ ชิงช้า นักกีฬา สุขภาพ เป็ด นก หมู ช้าง ม้า วัว ควาย พัดลม ทหาร วัด ๒. นามชี้เฉพาะ (วิสามานยนาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือเป็นคำเรียกบุคคล สัตว์ สิ่งของ ตลอดจนสถานที่ต่างๆ เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนใด สิ่งใด หรือที่ไหน เช่น ๓. คำนามบอกลักษณะ (ลักษณนาม) คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่นๆ เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนาม มักจะอยู่หลังคำบอกจำนวน และแยกได้เป็นหลายชนิด คือ บอกชนิด เช่น พระ=รูป บอกอาการ เช่น บุหรี่=มวน บอกรูปร่าง เช่น รถ=คัน บอกหมวดหมู่ เช่น ฟืน=กอง บอกจำนวน เช่น ผ้า=เมตร เเละ ซ้ำคำ เช่น วัด=วัด ๔. คำนามบอกหมวดหมู่ (สมุหนาม) คือ คำนามที่บอกหมวดหมู่ของนามข้างหลังที่รวมกันมากๆ เช่น โขลงช้าง ฝูงนก ฝูงปลา คณะครูอาจารย์ คณะนักเรียน คณะสงฆ์ พวกกรรมกร หมู่สัตว์ หมวดศัพท์ ชุดข้อสอบ โรงหนัง แบบทรงผม ๕. คำนามบอกอาการ (อาการนาม) คือ คำนามที่เกิดจากคำว่า"การ"หรือ"ความ"นำหน้าคำที่ไม่ไช่คำนาม เช่น ความดี ความชั่ว ความรัก ความสวย ความงาม ความจริง ความเร็ว การเกิด การตาย การเรียน การงาน การวิ่ง การศึกษา

3 คำสรรพนาม คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ แบ่งเป็น ๗ ชนิด คือ ๑. สรรพนามแทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง(บุรุษสรรพนาม) ได้แก่ ๑.๑ สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนชื่อผู้พูด เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน ผม กระผม กู ข้า ข้าพเจ้า เรา อาตมา เกล้ากระผม เกล้ากระหม่อม ฯลฯ ๑.๒ สรรพนามบุรุษที่ ๒ แทนชื่อผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ ท่าน เจ้า เอ็ง มึง แก โยม พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯลฯ ๑.๓ สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนชื่อผู้กล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน เธอ แก พระองค์ท่าน ฯลฯ ๒. สรรพนามชี้เฉพาะ(นิยมสรรพนาม) สรรพนามชนิดนี้ใช้แทนนามที่อยู่ใกล้หรือไกลผู้พูด ได้แก่ นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น ๓. สรรพนามใช้ถาม(ปฤจฉาสรรพนาม) คือ สรรพนามใช้แทนนามในประโยคคำถาม(ต้องการคำตอบ)ได้แก่ ใคร อะไร อย่างไร ผู้ใด สิ่งใด ที่ไหน ๔. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง(อนิยมสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่ไม่กำหนดแน่นอนมักใช้ในประโยคที่มีความหมายแสดงความไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด ที่ไหน ๕. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ หรือสรรพนามแบ่งพวก รวมพวก (วิภาคสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแยกนามออกเป็นส่วนๆ หรือบอกให้รู้ว่ามีนามอยู่หลายส่วนและแสดงกริยาร่วมกันหรือต่างกัน ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน เช่น

4 ๖. สรรพนามเชื่อมประโยค(ประพันธสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ทำหน้าที่แทนนามข้างหน้าและเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวพันกัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น ๗. สรรพนามใช้เน้นนามที่อยู่ข้างหน้า คือ สรรพนามที่มักเรียงไว้หลังคำนามเพื่อเน้นนามที่อยู่ข้างหน้าและยังช่วยแสดงความรู้สึกของผู้พูดด้วย อาจเป็นความ

5 คำกริยา คำกริยา คือ คำแสดงอาการของคำนามหรือสรรพนาม หรือคำบอกสภาพที่เป็นอยู่ เช่น "น้องทำการบ้าน" "ฉันเป็นหวัด" "ไก่ขัน" "นกร้องเพลง" คำกริยา แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ ๑. กริยาไม่ต้องมีกรรม(อกรรมกริยา) คือ คำกริยาที่มีใจความสมบูรณ์ชัดเจนในตนเองไม่ต้อง มีกรรมมารับข้างท้าย เช่น ไก่ขัน นกร้อง ๒. กริยาที่ต้องมีกรรม(สกรรมกริยา) คือ กริยาที่มีใจความไม่สมบูรณ์ขาดความชัดเจน จึงต้องมีกรรมมารับข้างท้าย เช่น ครูตีนักเรียน ๓. กริยาที่อาศัยส่วนเติมเต็ม(วิกตรรถกริยา) คือ กริยาที่ไม่มีความชัดเจน ขาดความหมายที่กระจ่างชัดในตัวเอง ดังนั้นจะใช้กริยาตามลำพังตัวเองไม่ได้จะต้องมีคำนามหรือสรรพนามมาขยายจึงจะได้ความ ได้แก่คำว่า คือ เป็น คล้าย เหมือน เท่า ประดุจ ราวกับ ฯลฯ เช่น ๔. กริยาช่วย(กริยานุเคราะห์) คือ คำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่คำว่า อาจ ต้อง น่าจะ จะ คง คงต้อง คงจะ จง โปรด อย่า ช่วย แล้ว ถูก ได้รับ เคย ควร ให้ กำลัง ได้...แล้ว เคย...แล้ว น่าจะ...แล้ว ฯลฯ

6 คำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ประกอบคำอื่นๆ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น หรือคำที่ใช้ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อบอกเวลา บอกลักษณะ บอกจำนวน บอกขนาด บอกคุณภาพ บอกสถานที่ ฯลฯ อาจแบ่งได้ดังนี้ ๑. คำวิเศษณ์บอกลักษณะ "น้องคนเล็กชื่อเล็ก" "ถาดใบใหญ่ใส่ส้มผลเล็ก" ๒. คำวิเศษณ์บอกเวลา "เขามาสายทุกวัน" "ไปเดี๋ยวนี้" ๓. คำวิเศษณ์บอกสถานที่ "เขาเดินไกลออกไป" "เธอย้ายบ้านไปอยู่ทางเหนือ" ๔. คำวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน "ชนทั้งผอง พี่น้องกัน" "คนอ้วนมักกินจุ" ๕. คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ "อย่าพูดเช่นนั้นเลย" "บ้านนั้นทาสีสวย" ๖. คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ "คนอื่นไปกันหมดแล้ว" "สิ่งใดก็ไม่สำคัญ เท่าความสามัคคี"

7 ๗. คำวิเศษณ์แสดงคำถาม "ประเทศอะไรมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก" "น้องเธออายุเท่าไร"
๘. คำวิเศษณ์แสดงคำขาน "หวานจ๋าไปเที่ยวไหมจ๊ะ" "คุณครูคะ กรุณาอธิบายช้าๆ หน่อยเถอะค่ะ" ๙. คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ "คนที่ไม่รักชาติของตนเป็นคนที่คบไม่ได้" "บุญคุณของบุพการีประมาณมิได้" ๑๐. คำวิเศษณ์ขยายคำนาม "เด็กน้อยร้องไห้" (น้อย ขยาย เด็ก) "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" (ใหญ่-เล็ก ขยาย ปลา) "ฉันมีกระเป๋าใบโต" (โต ขยาย *กระเป๋า) "เด็กดีใครๆ ก็รัก" (ดี ขยาย เด็ก) ๑๑. คำวิเศษณ์ขยายสรรพนาม "พวกเราทั้งหมดเลือกคุณ" (ทั้งหมด ขยาย พวกเรา) "ฉันเองเป็นคนทำ" (เอง ขยาย ฉัน) "ท่านทั้งหลายโปรดเงียบ" (ทั้งหลาย ขยาย ท่าน) "ใครเล่าจะล่วงรู้ได้" (เล่า ขยาย ใคร) ๑๒. คำวิเศษณ์ขยายกริยา "ผู้ใหญ่บ้านตื่นแต่เช้า" (เช้า ขยาย ตื่น) "อย่ากินมูมมาม" (มูมมาม ขยาย กิน) "ฝนตกหนัก" (หนัก ขยาย ตก) "เขาดำน้ำทน" (ทน ขยาย ดำน้ำ) ๑๓. คำวิเศษณ์ขยายวิเศษณ์ "ม้าวิ่งเร็วมาก" (มาก ขยาย เร็ว) "พายุพัดแรงมาก" (มาก ขยาย แรง) "เขาท่องหนังสือหนักมาก" (มาก ขยาย หนัก) "เธอร้องเพลงเพราะจริงๆ" (จริงๆ ขยาย เพราะ)

8 คำบุพบท คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำหรือกลุ่มคำหรือคือคำที่โยงคำหน้าหรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่น หรือกลุ่มคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ เหตุผล ลักษณะ เวลา อาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ใน แก่ ของ ด้วย โดย กับ แต่ ต่อ ใกล้ ไกล ฯลฯ เช่น เขาเดินทางโดยเครื่องบิน (ลักษณะ) ฉันซ่อนเงินไว้ใต้หมอน (สถานที่) ครูต้องเสียสละเพื่อศิษย์ (เหตุผล) ฟันของน้องผุหลายซี่ (แสดงความเป็นเจ้าของ)

9 คำอุทาน คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมายแต่เน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ เช่น อนิจจา!ไม่น่าจะด่วนจากไปเลย (สลดใจ) อื้อฮือ! หล่อจัง (แปลกใจ) เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนั้น แบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะคือ เป็นคำ เช่น โอ๊ย! ว้าย! โอ้โฮ! โถ! ฯลฯ เป็นวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย! คุณพระช่วย! ตายละวา! โอ้อนิจจา! ฯลฯ เป็นประโยค เช่น คุณพระคุณเจ้าช่วยลูกด้วย! ไฟไหม้เจ้าข้า! ฯลฯ

10 ๑. "กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น "ลุงไปกับป้า" (ร่วม) "ฉันเห็นกับตา" (กระชับ) ๒. "แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น "คนไทยควรเห็นแก่ชาติ" "พ่อให้เงินแก่ลูก" ๓. "แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น "ฉันจะกินแต่ผลไม้" "เขามาถึงโรงเรียนแต่เช้า" ๔. "แด่" ใช้แทนคำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น "นักเรียนมอบดอกไม้แด่อาจารย์" "เขาถวายอาหารแด่พระสงฆ์" ๕. "ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกันเฉพาะหน้าถัดไปเทียบจำนวน เช่น "ฉันต้องรายงานต่อที่ประชุม" "เขายื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ" ๖. "ด้วย" ใช้นำหน้าคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นเครื่องใช้ และใช้ประกอบคำกริยาแสดงว่าทำกริยาร่วมกัน เช่น "ยายกินข้าวด้วยมือ" "ผมขอทานข้าวด้วยคนนะ"

11 คำสันธาน คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค หรือข้อความกับข้อความ เมื่อเชื่อมแล้วจะได้ประโยคที่มีใจความดังนี้ ๑. คำสันธานเชื่อมความคล้อยตามกัน ได้แก่ และ กับ ถ้า ก็ แล้ว จึง ฯลฯ เช่น ฉันและเธอเป็นเพื่อนกัน ๒. คำสันธานเชื่อมความขัดแย้งกัน ได้แก่ แต่ กว่า ก็ ถึง...ก็ แม้ว่า...แต่ก็ ฯลฯ เช่น ถึงมันจะตายผมก็ไม่เสียใจ ๓. คำสันธานเชื่อมความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ หรือ มิฉะนั้น มิฉะนั้น...ก็ ไม่...ก็ ฯลฯ เช่น ผมให้คุณเลือกระหว่างไปสวนสนุกหรือกินข้าว ๔. คำสันธานเชื่อมความที่เป็นเหตุผลกัน ได้แก่ เพราะ...จึง ดังนั้น...จึง จึง เพราะฉะนั้น...จึง ฯลฯ เช่น เพราะเธอไม่สวยเขาจึงไม่รับรักเธอ

12 คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. อุทานเสริมบท คือ คำพูดที่เสริมขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย อาจอยู่หน้าคำ หลังคำหรือแทรกกลางคำเพื่อเน้นความหมายของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น เช่น กินน้ำกินท่า ลืมหูลืมตา กระป๋งกระเป๋า หนังสือหนังหา สตุ้งสตางค์ ถ้าคำที่นำมาเข้าคู่กันมีเนื้อความหรือความหมายไปในแนวเดียวกัน ไม่นับว่าเป็นคำอุทานเสริมบท เช่น ไม่ดูไม่แล ไม่หลับไม่นอน ร้องรำทำเพลง คำเหล่านี้เรียกว่า คำซ้อน ในคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่าย มีการใช้คำสร้อย ซึ่งนับว่าเป็นคำอุทานเสริมบทได้ เช่น เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย ฯลฯ ๒. อุทานบอกอาการ ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่างๆของผู้พูด เช่น ร้องเรียก หรือ บอกเพื่อให้รู้สึกตัว เช่น แน่น เฮ้ โว้ย เป็นต้น * โกรธเคือง เช่น ชิชะ ดูดู๋ * ตกใจ เช่น ตายจริง ว้าย * สงสาร เช่น อนิจจา โถ * โล่งใจ เช่น เฮ้อ เฮอ * ขุ่นเคือง เช่น อุวะ แล้วกัน * ทักท้วง เช่น ฮ้า ไฮ้ * เยาะเย้ย เช่น หนอย ชะ * ประหม่า เช่น เอ้อ อ้า * ชักชวน เช่น นะ น่า


ดาวน์โหลด ppt ชนิดของคำในภาษาไทย คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google