งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. ....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. ...."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. ....

2 หมวดทั่วไป 1. มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. ....” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ 1.

3 มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่จัดให้กับ ประชาชนทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาที่ผสมผสานการศึกษา ทั้งสามรูปแบบที่เหมาะสมกับบุคคล อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ ความสนใจ และสภาพแวดล้อมของผู้เรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมายความว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาเกิดขึ้นในตัวบุคคล อันเป็นผลมาจากการได้รับความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์จากการศึกษา หรือจากกิจกรรม ในวิถีชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย 1.

4 มาตรา ๔ (ต่อ) 1. “ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า บุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และสถาบันสังคมอื่น ที่จัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต “การศึกษาในระบบ” หมายความว่า การศึกษาที่กำหนด จุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จ การศึกษาที่แน่นอน 1.

5 มาตรา ๔ (ต่อ) 1. “การศึกษานอกระบบ” หมายความว่า กิจกรรมการศึกษาที่มี
กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพใน การเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น และมีวิธีการวัดผลและประเมินผล การเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้ “การศึกษาตามอัธยาศัย” หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ใน วิถีชีวิตประจำวันของบุคคลที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหลักสูตรหรือวิธีการ เรียนรู้ที่แน่นอน และบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างอิสระ ตามความสนใจ เวลา ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพ ในการเรียนรู้ของตนเอง 1.

6 มาตรา ๔ (ต่อ) 1. “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน
การศึกษาตลอดชีวิต “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิตแห่งชาติ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานการศึกษา ตลอดชีวิต “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต “กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ 1.

7 มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจ ออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

8 การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
หมวด ๑ การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ให้บุคคลมีสิทธิได้รับ การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตอย่างเสมอภาค มีคุณภาพ และมีความยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการและ ความแตกต่างของบุคคล เพื่อให้บุคคลมีโอกาส การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

9 มาตรา ๗ การจัดและการส่งเสริม การศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำเนินการเพื่อ
มาตรา ๗ การจัดและการส่งเสริม การศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำเนินการเพื่อ เป้าหมายในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑)ให้บุคคลได้รับความรู้ และทักษะพื้นฐานที่เป็น เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองที่สอดคล้อง กับความสนใจและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิต (๒)ให้บุคคลสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีนิสัย รักการอ่าน ใฝ่เรียนรู้ และมีความพร้อมในการดำเนินชีวิต อย่างผสมกลมกลืนกับสังคมที่ต้องใช้ความรู้อย่างรอบด้าน (๓)ให้บุคคลและชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่ง การสร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืน

10 มาตรา ๘ การจัดและการส่งเสริมการศึกษา
มาตรา ๘ การจัดและการส่งเสริมการศึกษา ตลอดชีวิต ให้ดำเนินการโดยไม่จำกัดเพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ และความสนใจของบุคคล โดยยึดหลักการ ดังต่อไปนี้ (๑) สนองความต้องการการเรียนรู้ของบุคคลและชุมชน (๒) พัฒนาและส่งเสริมความรู้ทั่วไป การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาทักษะชีวิตของประชาชน (๓) แก้ปัญหาและชดเชยโอกาสทางการศึกษา ของประชาชน (๔) ใช้กระบวนการทางการศึกษาเป็นวิธีการใน การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ

11 การจัดการศึกษาตลอดชีวิต
ส่วนที่ ๒ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต มาตรา ๙ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้จัดในสถานศึกษา สถานที่ของภาคีเครือข่าย การศึกษาตลอดชีวิต หรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การจัดการศึกษาตลอดชีวิตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมการศึกษา ตลอดชีวิตแห่งชาติที่คณะกรรมการกำหนด

12 มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัด
มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัด การศึกษาตลอดชีวิต ต้องคำนึงถึง (๑) ความเป็นเอกภาพด้านนโยบาย และความหลากหลายในการปฏิบัติ (๒) การศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความถนัด และความสนใจของบุคคล (๓) การมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชน สังคม และสถานประกอบการในการเสนอแนะกรอบนโยบาย เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สามารถทำงาน รวมทั้งเสนอแนะการกำหนดมาตรฐานการศึกษา (๔) การศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย และมีระบบเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนความรู้ และประสบการณ์ของบุคคลเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับ การศึกษาและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

13 มาตรา ๑๑ การจัดทำแผนการส่งเสริม
การศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติ ให้คณะกรรมการ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับแก่ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย การศึกษาตลอดชีวิต กำหนดช่วงระยะเวลาของแผนให้สอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

14 การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
ส่วนที่ ๓ การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการจัดและการส่งเสริม การศึกษาตลอดชีวิต ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (๒) การช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบของงบประมาณหรือการบริจาค เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต (๓) การจัดการศึกษา การพัฒนาวิชาการและบุคลากร การใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต (๔) สิทธิประโยชน์และการยกย่องประกาศเกียรติคุณตามความเหมาะสม ให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต

15 มาตรา ๑๒ (ต่อ) (๕) การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
มาตรา ๑๒ (ต่อ) (๕) การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงได้ตามความเหมาะสมและ เอื้อต่อการเรียนรู้ของชุมชน (๖) ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อให้บุคคลและชุมชนได้เรียนรู้ตามความสนใจ และความต้องการที่ สอดคล้องกับความจำเป็นในสังคม (๗) จัดให้มีเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการส่งเสริม และสนับสนุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง

16 มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดและพัฒนา
การศึกษาตลอดชีวิตให้ส่วนราชการ และหน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับภาคีเครือข่าย การศึกษาตลอดชีวิตดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ ที่หลากหลายให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ อย่างสะดวกและทั่วถึง (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน ของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ให้เกิดความร่วมมือและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย การศึกษาตลอดชีวิตได้รับโอกาสในการจัดสรร ทรัพยากรและเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง

17 มาตรา ๑๔ การส่งเสริมและสนับสนุน
มาตรา ๑๔ การส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำเนินการเพื่อเป้าหมาย ในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพ กำลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานในการ พัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และ คุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ตามแนวทางการพัฒนาประเทศ (๒) ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตเกิดแรงจูงใจ และมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษา (๓) ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับ ความสนใจและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และสามารถ นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเทียบโอนผลการเรียนและ เทียบระดับการศึกษาได้

18 มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริม
มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต โดยให้ความสำคัญ แก่ผู้เกี่ยวข้องตามบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เรียน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และสามารถเลือกรับบริการได้หลากหลายตามความต้องการของตนเอง (๒) ผู้จัดการเรียนรู้การศึกษาตลอดชีวิต มีการดำเนินการที่หลากหลายตามศักยภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยบูรณาการความรู้ ปลูกฝังคุณธรรม และค่านิยมที่ดีงาม (๓) ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งเป็นผู้ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เรียนและผู้จัดการเรียนรู้การศึกษาตลอดชีวิต มีการดำเนินการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

19 หมวด ๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติ
มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวนไม่เกินสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ เลขาธิการสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตเป็นกรรมการและเลขานุการ

20 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่ง
มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และความสามารถด้านการศึกษา

21 มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตลอดชีวิต

22 มาตรา ๑๗ (ต่อ) ข. ลักษณะต้องห้าม
มาตรา ๑๗ (ต่อ) ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมือง (๒) เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบวิชาชีพ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

23 มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ การดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี
มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ การดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง ก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการ แทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ใน ตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มี การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อเกินสองวาระไม่ได้

24 มาตรา ๑๙ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา ๑๙ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน กรรมการหรือรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการ คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้น อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

25 มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (๒) กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติ (๓) กำกับมาตรฐานการจัดการศึกษาตลอดชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ (๔) กำหนดหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนการศึกษาตลอดชีวิต (๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมาย (๖) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

26 มาตรา ๒๑ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด
มาตรา ๒๑ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด แรงงานจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนองค์กรหลักทุกองค์กรของกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนเก้าคนเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ

27 มาตรา ๒๑ (ต่อ) (๒) คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
มาตรา ๒๑ (ต่อ) (๒) คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนองค์กรหลักทุกองค์กรของกระทรวงศึกษาธิการใน กรุงเทพมหานคร ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนเก้าคนเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ

28 คุณสมบัติ วิธีการได้มา การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

29 มาตรา ๒๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด
มาตรา ๒๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติ (๒) ประสานงานและร่วมมือในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาตลอดชีวิตกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี

30 มาตรา ๒๒ (ต่อ) (๔) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่นรวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งในการดำเนินงานการศึกษาตลอดชีวิต (๕) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี (๖) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

31 มาตรา ๒๓ การประชุมของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๓ การประชุมของคณะกรรมการ การศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการ การศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ให้นำความในมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” ที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้ามา มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาตลอดชีวิต

32 จำนวนอนุกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการได้มาของประธานและอนุกรรมการ
วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

33 สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต
หมวด ๓ สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต มาตรา ๒๕ ให้จัดตั้งสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต ใช้ชื่อย่อว่า “สำนักงาน กศช.” ขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน โดยมีเลขาธิการสำนักงานการศึกษา ตลอดชีวิตรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงาน การตลอดชีวิต ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการ

34 มาตรา ๒๖ ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
มาตรา ๒๖ ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการศึกษาตลอดชีวิต และรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ (๒) จัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา (๓) จัดทำมาตรฐานการศึกษาตลอดชีวิตเสนอต่อคณะกรรมการ (๔) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ การวิจัย การพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากร และระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับนานาประเทศ

35 มาตรา ๒๖ (ต่อ) (๕) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา (๖) บริหารจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา การใช้ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน (๗) ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตรายงานต่อคณะกรรมการ (๘) ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่คณะกรรมการหรือรัฐมนตรีมอบหมาย

36 มาตรา ๒๗ ให้มีสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต จังหวัดทุกจังหวัด ดังต่อไปนี้
มาตรา ๒๗ ให้มีสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต จังหวัดทุกจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ใช้ชื่อย่อว่า “สำนักงาน กศช. จังหวัด” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และเป็นหน่วยงานการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่บริหาร ประสาน และส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตภายในจังหวัด (๒) สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ใช้ชื่อย่อว่า “สำนักงาน กศช. กทม.”เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และเป็นหน่วยงานการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจหน้าที่บริหาร ประสาน และส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตภายในกรุงเทพมหานคร

37 ให้หน่วยงานการศึกษาตามวรรคหนึ่ง
มีผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาในสังกัดสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ และมีฐานะเป็นผู้บริหารการศึกษาตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานดังกล่าว

38 มาตรา ๒๘ ให้สถานศึกษาทำหน้าที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต
หรือจัดร่วมกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ตามแผนการ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริม การศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี การจัดการศึกษาตลอดชีวิต อาจจัดให้มีสถานศึกษา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและมีความรับผิดชอบในการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมหลายจังหวัด เป็นสถานศึกษาขึ้นตรงต่อสำนักงานก็ได้ การจัดตั้ง ยุบ เลิก รวม การกำหนดบทบาท อำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

39 มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมี
คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

40 มาตรา ๓๐ ให้สำนักงานจัดให้มีระบบ
มาตรา ๓๐ ให้สำนักงานจัดให้มีระบบ การประกันคุณภาพการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งเป็น ระบบการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงาน ให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายใน โดยได้รับความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตและสำนักงาน ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายใน ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง

41 มาตรา ๓๑ ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประกันคุณภาพการศึกษาตลอดชีวิตในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ พัฒนามาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการประกันคุณภาพ การศึกษาตลอดชีวิตของสถานศึกษาและสถานศึกษา ของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต โดยคำนึงถึง ความมุ่งหมาย หลักการและแนวการจัดการศึกษา ตลอดชีวิตตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งและสถานศึกษาของภาคีเครือข่าย การศึกษาตลอดชีวิตที่จัดการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

42 มาตรา ๓๒ ให้รัฐมนตรีจัดทำบัญชีรายชื่อ
มาตรา ๓๒ ให้รัฐมนตรีจัดทำบัญชีรายชื่อ สถานศึกษาตามมาตรา ๒๘ ที่มีความพร้อมในการ ปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัตินี้ และประกาศรายชื่อสถานศึกษา ดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าสถานศึกษาตามบัญชีรายชื่อที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่งเป็นสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้

43 บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน
มาตรา ๓๓ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน งบประมาณ รายได้และบุคลากร ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ มาเป็นของสำนักงานการศึกษา ตลอดชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้

44 มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมการส่งเสริม
สนับสนุนและประสาน ความร่วมมือการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต แห่งชาติ ตามพระราชบัญญัตินี้ ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน หนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ

45 มาตรา ๓๕ ให้คณะอนุกรรมการ
ภาคีเครือข่ายตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษา ตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

46 มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมการส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิตกรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติ นี้ใช้บังคับ

47 มาตรา ๓๗ ให้เลขาธิการ กศน. ซึ่ง
ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานการศึกษา ตลอดชีวิตไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้ง เลขาธิการสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิตขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

48 ระเบียบประกาศและคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการศึกษา
มาตรา ๓๘ ให้นำกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบประกาศและคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ใช้บังคับอยู่ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับ โดยอนุโลมจนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ


ดาวน์โหลด ppt ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. ....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google