ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPhaibun Sirisopa ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การเปลี่ยนสีของสารละลายบรอมไทมอลบลูซึ่งเกิดจากการหมักของยีสต์
2
ตารางบันทึกผล การทดลอง ชุดที่ ผลการทดลอง ก่อนการทดลอง
ลักษณะสีสารละลายบรอมไทมอลบลู หลังการทดลอง ลักษณะการเกิดฟองแก๊ส ลักษณะสีสารละลาย บรอมไทมอลบลู 1 สีน้ำเงิน มีฟองแก๊สเกิดขึ้นตลอด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม 2 ไม่มีฟองแก๊ส ไม่เปลี่ยนสี 3
3
กระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Respiration)
เป็นกระบวนการที่เซลล์มีการสลาย สารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน โดยไม่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย พบได้สิ่งสิ่งมีชีวิตพวกโพรคาริโอต (Prokaryote) ผลผลิตสุดท้ายของกระบวนการการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน คือ CO2 สารอินทรีย์ที่อยู่ในสภาพรีดิวซ์ (NAD+) และ ATP
4
การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic respiration)
ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1.ไกลโคลิซีส (Gycolysis) 2.การหมัก (Fermentation) การสลายกลูโคสในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนของยีสต์ ซึ่งจะเกิดกระบวนการหมักแอลกอฮอล์
5
การหมักแอลกอฮอล์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ สุรา ไวน์ชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันได้มีการนำความรู้นี้ไปผลิตแอลกอฮอล์จากของเหลือใช้ เช่น - การผลิตแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาล มีผลทำให้ลดปัญหามลภาวะจากกากน้ำตาลได้เป็นจำนวนมาก แอลกอฮอล์ยังเป็นสารที่มีพลังงานแฝงอยู่มาก สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ยีสต์จะหมักแอลกอฮอล์ได้สูงสุดประมาณ 12 % (ถ้าสูงกว่านี้จะเป็นอันตรายต่อเซลล์)
6
ยีสต์แซคคาโรไมซิส ซิริวิซิอี
( Saccharomyces cerevisiae) ยีสต์ในลูกแป้ง คือ แซคคาโรไมคอปซิส ฟิบูลิจอร่า (Saccharomycopsis fibuligera )
7
การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนของเซลล์กล้ามเนื้อ
- กรดแลกติกที่เกิดจากกระบวนการหมักจะมีการลำเลียงออกจากเซลล์กล้ามเนื้อไปยังตับ เพื่อสังเคราะห์กลับเป็นกลูโคสซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ต่อไปได้ - ส่วนกรณีการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นพบว่าเป็นผลมาจากการสะสมของกรดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการไกลโคลิซิส ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีความเข้มข้นของกรดแลกติกสูงก็จะไม่มีอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ ถ้าร่างกายสามารถรักษาสมดุลของกรด ไว้ได้
8
เลือดลำเลียงO2ให้ไม่ทัน เซลล์จะมีการสลายอาหารโดยไม่ใช้ O2 กระบวนการนี้คล้ายการสลายของยีสต์ แต่ NADHจะผันกลับเป็นNAD+โดยการถ่ายทอดอิเล็กตรอนให้กับกรดไพรูวิกเกิดเป็นกรดแลกติก
9
การสลายกลูโคสในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนของเซลล์กล้ามเนื้อซึ่งจะเกิดกระบวนการหมักกรดแลกติก
10
กรดแลกติกที่เกิดขึ้นในเซลล์กล้ามเนื้อมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
กรดแลกติกจะถูกลำเลียงออกจากเซลล์กล้ามเนื้อไปยังตับ เพื่อสังเคราะห์เป็นกลูโคสซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ต่อไปได้
11
การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้O2เกิดขึ้นได้ทั้งในพืชสัตว์และจุลินทรีย์ตัวอย่างเช่น พืชที่อยู่ในภาวะน้ำท่วม ทำให้รากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เซลล์ที่รากจึงต้องสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน เป็นต้น
12
ภาพแบคทีเรียแลกโตบาซิลลัส (Lactobacillus)
กระบวนการหมักกรดแลกติกที่เกิดขึ้นได้ในจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียบางชนิด มนุษย์นำประโยชน์จากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์มาใช้ผลิตอาหาร ภาพแบคทีเรียแลกโตบาซิลลัส (Lactobacillus)
13
ประโยชน์ จากกระบวนการหมัก
เต้าหู้ยี้ เต้าเจี้ยว โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
14
ผักดอง ผลไม้ดอง
15
สรุปการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
1. อาหารสลายตัวไม่สมบูรณ์ (ปฏิกิริยาการสลายกลูโคสสิ้นสุดลง แค่ขั้นไกลโคลิซีส) 2. ถ้าเป็นในพืชและยีสต์ผลสุดท้ายจะได้ เอทิลแอลกอฮอล์ + CO2 + 2 ATP สำหรับในสัตว์ผลสุดท้ายได้ กรดแลกติก (Lactic acid) 3. ถ้าเป็นในพืชและยีสต์เกิด CO2 ขึ้นแต่ถ้าเป็นสัตว์ไม่เกิด CO2 ขึ้น 4. ไม่เกิด H2 O 5. ได้พลังงานน้อยกว่าการหายใจแบบใช้แก๊สออกซิเจน 18 – 19 เท่า 6. เกิดในไซโทพลาสซึมเท่านั้น
16
การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนทั้ง 2 แบบดังกล่าวเป็นการสลายสารอาหารที่ไม่สมบูรณ์ เพราะเอทิลแอลกอฮอล์และกรดแลกติกที่เป็นผลิตภัณฑ์ของกระบวนการสลายสารอาหารแฝงอยู่จำนวนมาก
17
เราสามารถนำความรู้เรื่องกระบวน การหมักไปใช้ทำประโยชน์อะไรบ้าง
ใช้ทำอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำสมสายชู ขนมปัง ฯ
18
Good bye zzzzzzz
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.