งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปัจจัยพื้นฐาน ของพฤติกรรมมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปัจจัยพื้นฐาน ของพฤติกรรมมนุษย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปัจจัยพื้นฐาน ของพฤติกรรมมนุษย์
บทที่ 2. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย์
พันธุกรรม (Heredity) การถ่ายทอดลักษณะของบรรพบุรุษมายังรุ่นลูกหลานด้วยกระบวนการสืบพันธุ์ โดยพันธุกรรม เรียกว่า ยีนส์ (Genes) ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในโครโมโซม (Chromosome) ภายในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ จุดเริ่มต้นของพันธุกรรมมาจากเซลปฏิสนธิ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันระหว่างไข่จากแม่กับอสุจิจากพ่อ ในเซลล์ปฏิสนธิของมนุษย์จะมีโครโมโซม ซึ่งมีโครงสร้างบิดเป็นเกลียวเรียงตัวกันเป็นคู่ๆ รวม 23 คู่ ข้างหนึ่งมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งมาจากแม่

3 กระบวนการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม
โครโมโซมและยีน โรคทางพันธุกรรม

4 สิ่งที่ถ่ายทอดพันธุกรรม
ลักษณะทางร่างกาย ลักษณะของสี คือสีของเส้นผม ผิวหนัง นัยน์ตา ลักษณะใบหน้า คือ ใบหู นัยน์ตา จมูก ปาก ริมฝีปาก ลักษณะประจำเพศ คือ ชายต้องมีหนวด เสียงห้าว กล้ามเนื้อแข็ง สัดส่วนของร่างกาย คือ ความสูง การทำงานของร่างกาย เช่น การทำงานของระบบย่อยอาหารการเผาผลาญอาหาร ความถนัด

5 สิ่งที่ถ่ายทอดพันธุกรรม
เพศ ที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมขึ้นอยู่กับโครโมโซมของเสปิร์มที่เข้าผสมไข่ หมู่เลือด มี 4 หมู่ เอ บี โอ และเอบี โรคบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น โรคเบาหวาน ลมบ้าหมู ตาบอดสี ศรีษะล้าน ลักษณะทางจิต ที่ได้รับทางพันธุกรรม คือ เชาว์ปัญญา นิสัย อารมณ์

6 ระบบประสาท ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก ระบบประสาทส่วนกลาง (The Central Nervous System หรือ Somatic Nervous System) เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งระกอบด้วยสมองและไขสันหลัง

7 สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon)
ในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำหน้าที่ของสมองส่วนนี้คือ แปลความรู้สึกในการดมกลิ่น การสั่งการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายใต้อำนาจจิตโดยมีการแบ่งการทำหน้าที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ออลแฟกตอรีบัลบ์ (Olfactory Bulb) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดของสมอง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น เซรีบรัม (Cerebrum) เป็นสมองส่วนที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นตามการวิวัฒนาการจากสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำมาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ทาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนที่อยู่ถัดจากเซรีบรัม ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) เป็นสมองส่วนหน้าที่อยู่ใต้ทาลามัส

8 ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโพทาลามัส -ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด แต่ไม่สามารถบอกตำแหน่งของความเจ็บปวดนั้นได้

9 ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนวัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ

10 สมองส่วนกลาง (Midbrain)
เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ

11 สมองส่วนท้าย (Hindbrain)
พอนส์ (Pons) เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8 เมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblonfgata) เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เซรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

12 ระบบประสาท (Nervous System)
คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็วช่วยรวบรวมข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ระบบประสาทส่วนกลาง 2. ระบบประสาทรอบนอน

13

14 ระบบประสาทส่วนกลาง (The Central Nervous System หรือ Somatic Nervous System)
เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง โดยเส้นประสาทหลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลางมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้

15 1. สมอง(Brain) สมอง(Brain) เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกาย เป็นอวัยวะชนิดเดียวที่แสดงความสามารถด้านสติปัญญา การทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่างๆสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

16

17 1. เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์ (Cerebrum Hemisphrer) คือ สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับ ความรู้สึกและอารมณ์ควบคุมความคิด ความจำ และความเฉลียวฉลาด เชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆเช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับกลิ่น การรับรส การรับสัมผัส เมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata) คือ ส่วนที่อยู่ติดกับไขสันหลัง ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหายใจการเต้นของหัวใจ การไอ การจาม การกะพริบตา ความดันเลือด เซรีเบลลัม (Cerebellum) คือ สมองส่วนท้าย เป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัวช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำเช่น การเดิน การวิ่ง การขี่รถจักรยาน

18 2. ไขสันหลัง (Spinal Cord)
กระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง มีทั้งกระแสประสาทเข้าและกระแสประสาทออกจากสมองและกระแสประสาทที่ติดต่อกับไขสันหลังโดยตรง

19

20 เซลล์ประสาท (Neuron) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลล์ประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสเหมือนเซลล์อื่นๆ แต่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างออกไป เซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์ และเส้นใยประสาทที่มี 2 แบบคือ เดนไดรต์ (Dendrite) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และแอกซอน (Axon) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ

21 เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับความรู้สึกจากอวัยวะสัมผัส เช่น หู ตา จมูก ผิวหนัง ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน เซลล์ประสาทประสานงาน เป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาทสั่งการ พบในสมองและไขสันหลังเท่านั้น เซลล์ประสาทสั่งการ รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลัง เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะ

22 ชนิดของเซลล์ประสาท ชนิดของเซลล์ประสาท
จำแนกตามรูปร่าง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เซลล์ประสาทชั้นเดียว (Monopolar Neuron หรือ Unipolar Neuron) หมายถึง เซลล์ประสาทที่มีใยประสาทออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว แล้วแตกเป็นแขนงย่อยอีก 2 แขนง คือเดนไดรต์กับแอกซอน เซลล์ประสาทชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่มีตัวเซลล์อยู่ในปมประสาท เช่น ที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง (Dorsal Root Ganglion)

23 2) เซลล์ประสาทสองขั้ว หมายถึง เซลล์ประสาทที่มีแขนแตกออกจากตัวเซลล์ 2 แขนง
โดยแขนงหนึ่งทำหน้าที่เป็นเดนไดรต์ ส่วนอีกแขนงหนึ่งทำหน้าที่เป็นแอกซอน ทั้งเดนไดรต์และแอกซอนจะมีความยาวใกล้เคียงกัน เซลล์ประสาทประเภทนี้ส่วนใหญ่ทำหน้าที่รับความรู้สึก เช่น เซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่พบที่เรตินาของนัยน์ตา เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่จมูก และเซลล์ประสาทที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับความสั่นสะเทือนภายในหู เป็นต้น

24 3) เซลล์ประสาทหลายชั้น (Multipolar Neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่มีแขนงยื่นออกจากตัวเซลล์หลายแขนง
โดยมีเดนไดรต์หลาย ๆ แขนง แต่มีแอกซอนเพียงแขนงเดียว เซลล์ประสาทชนิดนี้จะมีเดนไดรต์สั้น แอกซอนยาว ในเซลล์ประสาทของคนจะพบเซลล์ประสาทนี้มากที่สุด เซลล์ประสาทหลายขั้วทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทประสานงานและเซลล์ประสาทนำคำสั่ง พบมากที่สมองและไขสันหลัง

25

26

27 เซลล์ประสาท เซลล์ประสาท (Neuron หรือ Nerve Cell) ในระบบประสาทของคนประกอบด้วยเซลล์ประสาทประมาณ 10,000 ล้านถึง 100,000 ล้านเซลล์ โดยเซลล์ประสาทส่วนใหญ่จะอยู่ในสมอง จากการศึกษาพบว่าในช่วงที่อยู่ในครรภ์ เซลล์ประสาทจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก คือ ประมาณ 250,000 เซลล์ต่อนาที เซลล์ประสาทของคนมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน้าที่และตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์ประสาทนั้น

28 ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 1. ตัวเซลล์ (Cell Body หรือ Perikatyon) มีรูปร่างแตกต่างตามชนิดของเซลล์ประสาท ภายในมีนิวเคลียสและ ไซโทพลาซึมหรือนิวโรพลาซึม ซึ่งมีออร์แกแนลล์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับเซลล์ทั่วไป ภายในไซโทพลาซึมของเซลล์ประสาทมีออร์กอแนลล์ที่สำคัญ คือ

29 1) นิสส์ บอดี (Nissl Body) เป็นออร์แกแนลล์ที่พบได้ในตัวเซลล์ประสาทที่เดนไดรต์ แต่จะไม่พบในแอกซอน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์โปรตีนสำหรับนำไปสร้างเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการนำกระแสประสาท 2) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ออร์แกแนลล์นี้พบได้ทั้งในตัวเซลล์ เดนไดรต์และแอกซอน พบมากบริเวณปลายประสาทโดยเฉพาะปลายประสาทนำคำสั่งไมโทคอนเดรียทำหน้าที่สร้างพลังงานให้แก่เซลล์ 3) กอลจิ บอดี (Golgi Body) มีลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ เรียงขนานกันเป็นชั้น ๆ มีหนาที่เก็บสารโปรตีนที่นิสส์ บอดี สร้างขึ้นและเปลี่ยนแปลงโปรตีนบางส่วนเป็นไลโซโซม

30 2. ใยประสาท (Nerve Fiber) เป็นส่วนที่แยกออกมาจากตัวเซลล์ มีลักษณะเป็นแขนงเล็ก ๆ จำนวนแขนงและความยาวของแขนงแตกต่างกันไปตามหน้าที่และตำแหน่งที่อยู่ ใยประสาทจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เดนไดรต์ (Dendrite) เป็นส่วนของเซลล์ที่ยื่นออกไปเป็นแขนงสั้น ๆ แล้วแตกกิ่งก้านออกไปมากมาย เดนไดรต์ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก (Receptor) และรับกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทเซลล์อื่นเข้าสู่ตัวเซลล์

31 2) แอกซอน (Axon) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ ส่วนปลายของแอกซอนจะแตกเป็นแขนงเรียกว่า Telodendron สำหรับใยประสาทที่มีความยาวมาก ๆ ทั้งเดนไดรต์และแอกซอนจะมีปลอก (Sheath) หุ้ม ดังนั้นถ้าพิจารณาลักษณะเซลล์ประสาทจากการมีหรือไม่มีปลอกหุ้มจะสามารถแบ่งชนิดของเซลล์ประสาทออกเป็น 2 พวก คือ

32 ใยประสาทชนิดที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม (Myelinated Nerve Fiber) เยื่อไมอีลินเกิดจากเซลล์ชวานน์ (Schwann Cell) ลักษณะของใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้มจะพบมีรอยคอดเป็นระยะ ตรงรอยคอดไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้มเรียกว่า โนด ออฟ แรนเวียร์ (Node of Ranyier) ใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มจะนำกระแสประสาทได้เร็วกว่า มาก คือ สามารถส่งกระแสประสาทได้ในอัตราเร็วถึง 120 เมตร/วินาที ในขณะที่ใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มจะส่งกระแสประสาทได้ในอัตราเร็วเพียง 12 เมตร/วินาที เท่านั้น

33 ใยประสามที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม (Monopolar Neuron) เป็นใยประสาทที่มีเซลล์ชวานน์หุ้มเพียงรอบเดียว ไม่มีการม้วนตัวหลาย ๆ รอย จึงไม่เกิดเป็นเยื่อไมอีลินหุ้มแอกซอนเหมือนแบบแรก เรียกใยประสาทที่มีลักษณะดังกล่าวว่าใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม

34 การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ::
สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลหรือเส้นประสาทส่วนกลางเรียกว่า “ กระแสประสาท ” เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททางด้านเดนไดรต์ และเดินทางออกอย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอน แอกซอนส่วนใหญ่ มีแผ่นไขมันหุ้มไว้เป็นช่วงๆ แผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น ถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้กระแสประสาทช้าลงทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ เนื่องจากการรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดี

35 ระบบประสาทรอบนอก ระบบประสาทรอบนอกทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายที่ยึดติดกับกระดูกให้เคลื่อนไหวหรือทรงตัวได้ตามต้องการ ประกอบด้วยเส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง

36 เส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve หรือ CN) เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสองโดยแยกออกเป็นคู่ ๆ
ในสัตว์พวกปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีเส้นประสาทสมองอยู่ 10 คู่ ส่วนสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีเส้นประสาทสมอง 12 คู่ เส้นประสาทสมองของคน มีทั้งเส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerve) เส้นประสาทนำคำสั่ง (Motor Nerve) และเส้นประสาทผสม (Mixed Nerve)

37 เส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal Nerve หรือ SN) เป็นเส้นประสาทแบบผสมทั้งหมด แยกออกจากไขสันหลังเป็นคู่ ๆ มีทั้งหมด 31 คู่ โดยมีส่วนโคนตอนที่ติดกับไขสันหลังแยกออกเป็น 2 ราก คือ รากบน (Dorsal Root) มีเซลล์ประสาทแบบขั้วเดียวซึ่งมีใยประสามแยกออกจากตัวเซลล์ 2 แขนง โดยแขนงหนึ่งไปติดต่อกับอวัยวะรับความรู้สึก อีกแขนงหนึ่งจะเข้าสู่เนื้อสีเทาของไขสันหลัง ส่วนรากล่าง (Ventral Root) เป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทนำคำสั่งเพื่อนำกระแสประสาทไปยังหน่วยปฏิบัติงาน

38 การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังถ้าใช้โครงสร้างเป็นเกณฑ์ก็แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ 1) ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง 2) ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System) ได้แก่ เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่ ระบบประสาททั้ง 2 ระดับนี้

39 พฤติกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
==> พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นปฎิกิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อการโต้ตอบต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกายเช่น สิ่งเร้าภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความต้องการทางเพศ เป็นต้น สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น กิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอาศัยการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ

40 สรุป ปัจจัยพื้นฐานสำหรับพฤติกรรมมนุษย์ คือ ความรู้จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมมากขึ้น พฤติกรรมที่สำคัญได้แก่ อิทธิพลของพันธุกรรมและการทำงานระบบประสาท สมอง ต่อไร้ท่อและกล้ามเนื้อ


ดาวน์โหลด ppt ปัจจัยพื้นฐาน ของพฤติกรรมมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google