ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAshlee Stevenson ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
Introduction to Public Administration Research Method
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
2
Introduction ปัจจุบันการวิจัยมีบทบาทสำคัญในแทบทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการ ปกครอง, การทหาร, การศึกษา, การเกษตร, การอุตสาหกรรม, และเศรษฐกิจ เป็นต้น มีการนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินการ มีการวิจัย ประเมินผลระหว่างดำเนินการ การวิจัยและพัฒนา การวิจัยติดตามผล ซึ่งจะเห็น ได้ว่าการวิจัยมีความจำเป็นตลอดระยะเวลางาน ผู้เรียนควรศึกษาเรื่องการวิจัยเพื่อให้สามารถอ่านผลวิจัยของผู้อื่นได้เข้าใจแจ่ม แจ้ง และสามารถนำผลงานวิจัยที่ค้นพบแล้วมาใช้ประโยชน์ รวมถึงสามารถ เรียนรู้การทำวิจัยได้ด้วยตนเอง
3
กระบวนการแสวงหาความรู้
มนุษย์ได้วิวัฒนาการการแสวงหาความรู้ให้ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการ ดำรงชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้มนุษย์สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบที่ สงสัย มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal) ซึ่งต่างจากสัตว์อื่นตรงที่ มนุษย์รู้จักกำหนดใช้ “ความคิดมีเหตุผล (The Thought is Reasonable) ผลที่จะดำเนินการอธิบายหรือแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วย เหตุผลและรู้จักผิดชอบชั่วดี” เป้าหมายในการแสวงหาความรู้ คือ เพื่อการทำนาย (Predicting) นำ ความรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การดำรงชีวิตและสามารถสร้างความ เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในด้านต่างๆ
4
กระบวนการแสวงหาความรู้
1.1 โดยการลองผิดลองถูก คือ ความรู้ความจริงที่ได้จากการปฏิบัติงานหรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 1.2 ความบังเอิญ คือ ความรู้ที่ได้มาโดยไม่เจตนา ไม่ตั้งใจ ไม่คาดฝัน ไม่เคยคาดคิดมาก่อน หรือสิ่งอื่นใดที่อธิบายไม่ได้ 1.3 ความเชื่อที่มีมาแต่โบราณหรือขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งคือ การรับรู้ที่เกิดจากการสืบทอดจากประเพณีหรือวัฒนธรรมที่ยึดถือกันมานาน 1.4 ผู้รู้ นักปราชญ์หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากสังคม ว่าเป็นที่เชื่อถือได้ โดยความรู้ความคิดเห็นของคนกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและความเชื่อของประชาชน 1.5 จากประสบการณ์จริงหรือประสบการณ์ส่วนตัว เป็นความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัสผ่านประสาททางใดทางหนึ่ง เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย และการรับรู้ทางใจ
5
กระบวนการแสวงหาความรู้
1.6 การหยั่งรู้หรือการรู้แจ้ง เป็นการหาความรู้ที่เกิดขึ้นจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ตัดสินใจหรือคิดว่าต้องเป็นเช่นนั้น ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ และยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ 1.7 การหาเหตุผล หรืออาจเรียกว่าเป็นการหาเหตุผลเชิงตรรกะ ซึ่งการหาเหตุผลนี้เป็นแหล่งความรู้สำเร็จของพวกเหตุผลนิยม (Rationalism) การหาเหตุผลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การหาเหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Method) และการหาเหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Method) หรืออุปมาน
6
กระบวนการแสวงหาความรู้
การหาเหตุผลแบบนิรนัย การหาเหตุผลแบบอุปนัย “อนุมาน” การค้นหาความรู้ความจริงโดยการ เก็บรวบรวมข้อเท็จจริงใหญ่ที่มี ลักษณะกว้างๆหรือส่วนใหญ่ไปหา ข้อเท็จจริงย่อย” Aritstotle = Aristotle Deduction “อุปมาน” เป็นการหาความรู้โดยการเก็บ รวบรวมข้อเท็จจริงย่อย จาก ข้อเท็จจริงย่อยหลายๆประการจะ นำมาสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ ซึ่ง เป็นข้อสรุปโดยทั่วไป Francis Bacon
7
การแสวงหาความรู้ 1.8 การแสวงหาความรู้ความจริงโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Charles Darwin เป็นผู้นำมาใช้ในการหาความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยนำเอาวิธีการนิรนัยมาผสมกับอุปนัย โดยให้เหตุผลว่าการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ที่เชื่อถือได้นั้นจะต้องใช้การศึกษาทั้งสองแบบมารวมกัน หากใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่งนั้นถือว่าเป็นการไม่เพียงพอ ต่อมา John Dewey ได้ปรับปรุงวิธีการนี้ โดยเรียกว่า Reflective Thinking โดยแบ่งขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาเป็น 5 ขั้นตอน ที่ยังคงได้รับการยอมรับและใช้กันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
8
ฝนตกเพราะไอน้ำในก้อนเมฆรวมตัวเป็นหยดน้ำ
ทำไมฝนตก 1.ขั้นปัญหา (Problem) ฝนตกเพราะไอน้ำในก้อนเมฆรวมตัวเป็นหยดน้ำ 2.ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) การสังเกตุและวิเคราะห์ว่าอากาศประกอบด้วยอะไรบ้าง เมฆหมอกคืออะไร ไอน้ำเกี่ยวกับหมอกอย่างไร ไอน้ำเมื่อได้รับความเย็นจะเปลี่ยนสภาพเป็นอะไร 3.ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) การทดลงที่ทำให้เกิดฝนเทียมโดยการนำเอาน้ำแข็งแห้งพ่นใส่ก้อนเมฆ แล้วดูว่าจะเกิดฝนตกหรือไม่ 4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เมื่อผลการวิเคราะห์ในขั้นที่สี่ปรากฏว่าเกิดฝนตกหลังจากลดอุณหภูมิของก้อนเมฆลง ก็แสดงว่าเมฆซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำเมื่อได้รับความเย็นจะรวมตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่งหนักกว่าอากาศและตกลงมาเป็นฝน 5.ขั้นสรุปผล (Conclusion)
9
ความหมายของการวิจัย Re = Again แปลว่า ซ้ำ หรือ อีกครั้งหนึ่ง
Search = ค้นหา การเสาะหาหรือสำรวจ เมื่อรวมกันแล้ว มีความหมายว่า “การค้นหาซ้ำหรือการค้นคว้าอีก” ซึ่งได้มีผู้ให้ คำจำกัดความของการวิจัยไว้มากมาย เช่น ตามพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่า “การค้นคว้า เพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น การวิจัยเรื่องปัญหาการจราจรใน กรุงเทพมหานคร”
10
ลักษณะและธรรมชาติที่สำคัญของการวิจัย
การวิจัยมุ่งที่จะหาคำตอบให้กับปัญหาต่างๆ การวิจัยมีการตั้งความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ไว้ การวิจัยมักจะเป็นการกระทำอย่างมีระบบ การวิจัยต้องกระทำโดยผู้มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะวิจัย การวิจัยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูล การวิจัยอาศัยการสังเกต การบันทึก และการบรรยาย การวิจัยเป็นกระบวนการที่ใช้เหตุผลที่เป็นปรนัย หรือ ข้อมูลที่เป็นปรนัย
11
ลักษณะของนักวิจัย จากการประชุม Pan Pacific Science Congress เมื่อปี ค.ศ ได้ให้ความหมายของนักวิจัยตามองค์ประกอบของคำว่า RESEARCH ไว้ดังนี้ R = Recruitment and Relationship หมายถึง การฝึกคนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้และปฏิบัติงานร่วมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสานงาน E = Education and Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย S = Sciences and Stimulation หมายถึง การวิจัยเป็นศาสตร์ที่ต้องแสวงหาความรู้ ความจริง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผู้วิจัยจะต้องมีความคิดริเริ่ม และมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิจัย
12
ลักษณะของนักวิจัย - E = Evaluation and Environment หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องรู้จักการประเมินผลงานวิจัยว่ามีประโยชน์ มี สาระเหมาะสมที่จะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในการวิจัย A = Aim and Attitude หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายในงานวิจัยที่แน่นอน และมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยนั้น R = Result หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องยอมรับผลของการวิจัย เพราะเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าอย่างมีระบบ
13
ลักษณะของนักวิจัย C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและเอาใจใส่ที่จะศึกษาอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม H = Horizon หมายถึง เมื่อผลการวิจัยปรากฎมาแล้ว ย่อมทำให้ทราบและเข้าใจปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับเกิดแสงสว่างขึ้น ถ้าหากการวิจัยยังไม่บรรลุผล ผู้วิจัยจะต้องหาทางศึกษาค้นคว้าต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่างหรือแก้ปัญหานั้นได้เอง
14
ประโยชน์ของการวิจัย ทำให้ได้ความรู้ใหม่ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ เรียกว่า วิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) ช่วยพิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการ และทฤษฎีต่างๆ ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฎการณ์ และพฤติกรรมต่างๆอย่างถูกต้อง ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฎการณ์ และพฤติกรรมต่างๆ อย่างถูกต้อง
15
ประโยชน์ของการวิจัย สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เรียกว่า วิจัยประยุกต์ (Applied Research) ช่วยในการวินิจฉัย และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปรับปรุงพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีิวิตให้ดียิ่งขึ้น
16
ประโยชน์ของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัยสามารถแบ่งออกได้ในอีกแง่หนึ่ง คือ 1. ประโยชน์ในเชิงวิชาการ 2. ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ ซึ่งเป็นการนำเอาผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในด้าน ต่างๆดังนี้ 2.1 การแก้ปัญหาในการปฏิบัติ 2.2 การกำหนดนโยบายของรัฐ 2.3 การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาสถาบันหรือประเทศ
17
จรรยาบรรณนักวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย คือ หลักเกณฑ์ที่ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย เพื่อให้การ ดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และ เกียรติภูมิของนักวิจัย 1. มีความรับผิดชอบ 1.1 รับผิดชอบต่องานวิจัย 1.2 รับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ 1.3 รักษาความลับของผู้อื่น 2. มีความซื่อสัตย์และคุณธรรม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.