งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 9 เครื่องโทรศัพท์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 9 เครื่องโทรศัพท์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 9 เครื่องโทรศัพท์

2 ประวัติและวิวัฒนาการของโทรศัพท์
โทรศัพท์ เครื่องแรกเป็นเครื่องส่งเสียงไกล ใช้กระแสไฟฟ้าส่งและรับเสียงพูด โดยการส่งเสียงพูดกรอกลงไปในเครื่องส่ง ประดิษฐ์โดยศาสตราจารย์อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ เป็นชาวสก๊อต ใช้เป็น ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2419 สำหรับประเทศไทย ได้มีการนำโทรศัพท์เข้ามา ใช้ในการติดต่อสื่อสารเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2424 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ ได้มีการสั่งซื้อเครื่องชุมสายอัตโนมัติ Step-by-Step มาจากประเทศอังกฤษสำหรับติดตั้งโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบ และที่ชุมสายบางรัก โดยเปิดใช้ชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติเพื่อให้บริการทั่วไปใน พ.ศ.2480 และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 มีการจัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นรัฐวิสหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่รับผิดชอบจัดบริการทางด้านโทรศัพท์ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ขอใช้บริการที่มีเป็นจำนวนมาก

3 ระบบโทรศัพท์ 1. ระบบโทรศัพท์สายตรง เป็นระบบโทรศัพท์ที่สามารถหมุนสายติดต่อภายนอกได้โดยตรงไม่ต้องผ่านศูนย์ควบคุมสายที่เรียกว่า Switchboard 2. ระบบโทรศัพท์พ่วงสาย เป็นระบบโทรศัพท์ที่มีศูนย์ควบคุมสายสามารถต่อเข้าและออกสายตรงก็ได้หรือ เรียกว่า แบบสายตรง และสามารถต่อเข้า - ออกโดยผ่านการควบคุมของพนักงานคุมสาย เรียกว่า แบบสายพ่วง การสื่อสารแห่งประเทศไทย จะติดตั้งเครื่องโทรศัพท์และศูนย์ควบคุมในระบบที่เรียกว่า Private Branch Exchange มี 2 แบบ คือ 1. แบบมีพนักงานควบคุมการต่อสายพ่วง 2. แบบอัตโนมัติ 3. ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นระบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน ที่ได้รับอนุญาตมีเครือข่ายในระบบ GSM 900 และ GSM 1800

4 หลักในการใช้โทรศัพท์
การเตรียมตัวก่อนโทรศัพท์ 1. จดหัวข้อเรื่องที่ต้องการจะพูดอย่างมีระเบียบ 2. เตรียมข้อมูลที่จำเป็นและสิ่งที่จะใช้เสียงไว้ให้เรียบร้อย 3. ค้นหาชื่อบุคคลที่ต้องการติดต่อและสถานที่ทำงานให้พร้อม 4. ตรวจสอบเลขหมายโทรศัพท์ที่ต้องการติดต่อให้แน่ใจว่าถูกต้อง

5 ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ ในการรับโทรศัพท์
1. เมื่อได้ยินสัญญาณโทรศัพท์ดัง ควรรับทันทีในกริ่งที่ และกล่าวคำทักทายด้วยคำว่า สวัสดีค่ะหรือ สวัสดีครับ 2. ควรเตรียมกระดาษ ปากกา หรือดินสอไว้ให้พร้อมสำหรับจดข้อความที่ตู้โทรศัพท์อาจสั่งความไว้ 3. เมื่อต้องมีการจดบันทึกชื่อบุคคล บริษัท หรือสถานที่ ต้องแน่ใจว่าได้ยินชัดเจน ถูกต้อง ถ้าไม่แน่ใจควรถามซ้ำ 4. ก่อนที่จะวางหลังโทรศัพท์ ต้องแน่ใจว่าฝ่ายตรงข้ามหมดเรื่องที่จะพูดแล้วควรทบทวนเรื่องที่ตกลงกันหรือคำสั่งอีกครั้ง และจบการสนทนาด้วยคำว่า สวัสดีค่ะ หรือ สวัสดีครับ ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติในการต่อโทรศัพท์ 1. ยกหูฟัง ฟังสัญญาณเรียกซึ่งจะดังเป็นจังหวะยาวติดต่อกันทุกครั้ง 2. เมื่อต่อหมายเลขได้เรียบร้อยแล้ว ควรฟังสัญญาณ หาเพื่อนที่เรียกไม่ว่างจะได้ยินสัญญาณเป็นจังหวะ ยังอยู่ 0.5 วินาที และเงียบ 0.5 วินาที สลับกัน ให้วางหูโทรศัพท์และ อีกสักครู่ค่อยเรียกใหม่ 3. ถ้าเครื่องที่เรียกสายไปว่าง จะได้ยินสัญญาณว่าง ซึ่งดังเป็นจังหวะ 1 วินาที เงียบ 4 วินาที สลับกันไป ให้รอสักครู่จนกว่าจะมีผู้รับสายจึงสนทนากันได้ 4. เมื่อสนทนาจบแล้ว ให้วางหูโทรศัพท์ให้เรียบร้อยลงบนแป้นควรวางเบาๆ

6 มารยาทในการรับโทรศัพท์
1. ไม่ควรใช้โทรศัพท์นานเกินไป ควรพูดให้สั้นและได้ใจความ 2. พูดด้วยน้ำเสียงสุภาพเป็นธรรมชาติ 3. ไม่ควรพูดเรื่องที่เป็นความลับทางโทรศัพท์ 4. ไม่ควรใช้โทรศัพท์ สำนักงานคุยในเรื่องส่วนตัว 5. ไม่ควรใช้คำว่า นั่นใครพูด นั่นที่ไหน มีธุระอะไร ชื่ออะไร เพราะเป็นคำที่ไม่สุภาพ 6. ถ้าต่อโทรศัพท์ผิดควรกล่าวคำว่า ขอโทษ 7. ควรกล่าวคำว่า สวัสดีทุกครั้งที่รับโทรศัพท์และจบการสนทนา 8. ควรกล่าวคำว่า ขอบคุณ ทุกครั้งที่ได้รับความช่วยเหลือจากคู่สนทนาอีกฝ่าย 9. พึงระลึกเสมอว่าไม่มีใครต้องการติดต่อตรงตอบทางโทรศัพท์กับผู้ที่พูดแล้วฟังไม่รู้เรื่อง

7 การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องโทรศัพท์
1. ใช้เครื่องโทรศัพท์ให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือ 2. มันทำความสะอาดเครื่องโทรศัพท์ อย่าให้มีฝุ่นละอองเกาะ โดยใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสะอาด บิดให้แห้งที่เครื่องโทรศัพท์ 3. ควรใช้สเปรย์ ฉีดโทรศัพท์ ฉีดที่บริเวณปากกระบอกพูดโทรศัพท์ เพื่อป้องกันกลิ่น ที่ไม่พึงประสงค์ 4. สำรวจสายโทรศัพท์ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี 5. อยากจะแลกเปลี่ยนโทรศัพท์ ลงกับแท่นแรงๆ

8 ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องโทรศัพท์

9 ข้อแนะนำในการแก้ไข ปัญหาการใช้โทรศัพท์เบื้องต้น

10 ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์
สภาพแวดล้อม 1. อย่าวางเครื่องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ 2. เครื่องควรจะอยู่ให้ห่างจากแหล่งความร้อน การวางเครื่อง 1. อย่าวางวัตถุหนักทับบนเครื่อง 2. อยากให้มีวัสดุแปลกปลอมหรือของเหลวหล่นเข้าไปในเครื่อง 3. ควรวางเครื่องไว้บนพื้นผิวเรียบ


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 9 เครื่องโทรศัพท์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google