งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR
โดย นายเฉลิมฤทธิ์ ตะกรุดนาค โทร

2 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ (SBR) ชนิดการเติมเข้า - ถ่ายออก
เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่ใช้พื้นที่น้อย สะดวก ประหยัดและใช้ต้นทุนต่ำ เพราะถังเติมอากาศกับถังตกตะกอนอยู่ในถังเดียวกัน เป็นระบบบำบัดน้ำเสียโดยวิธีทางชีวภาพ กล่าวคือ สารอินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเน่าเสียของน้ำ จะถูกจุลินทรีย์ที่อยู่ในถังเติมอากาศย่อยสลาย โดยในกระบวนการย่อยสลายดังกล่าวจะต้องใช้ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ เราจึงต้องทำการเติมอากาศให้เพียงพอเพื่อให้จุลินทรีย์สามารถนำ O2 ไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ แต่เป็นการเติมอากาศเป็นช่วงๆ

3 หัวข้อบรรยาย องค์ประกอบหลักของระบบบำบัดน้ำเสียชนิด SBR
หลักการทำงานของแต่ละองค์ประกอบ การควบคุมกระบวนการบำบัดน้ำเสียชนิด SBR การแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการเดินระบบฯ SBR

4 องค์ประกอบหลักของระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR
1. บ่อสูบน้ำเสีย 2. ถังเติมอากาศ - ตกตะกอน 3. ลานตากตะกอน 4. ถังฆ่าเชื้อโรค หรือถังสัมผัสคลอรีน

5 หลักการทำงานของแต่ละองค์ประกอบ
1. บ่อสูบน้ำเสีย บ่อสูบ เป็นบ่อแรกที่รวบรวมน้ำเสียทั้งหมดไว้ แล้วสูบส่งไปเข้าบ่อเติมอากาศหรือคลองวนเวียนด้วยเครื่องสูบน้ำเสียจำนวน 2 เครื่อง โดยมีการสูบน้ำเป็นช่วงระดับของน้ำ โดยใช้ลูกลอยในการควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำด้วยระบบ Automatic Control (อัตโนมัติ)

6 2. ถังเติมอากาศ - ตกตะกอน
เป็นกระบวนการแบบเติมน้ำเสียเข้า – ถ่ายออก ทำหน้าที่เป็นถังปฏิกิริยา เพื่อบำบัดของเสียที่อยู่ในถัง แล้วตกตะกอน โดยการเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์ตามปริมาณที่ต้องการที่ออกแบบไว้ โดยการทำงานเป็นช่วงๆ โดยวิธีการนำน้ำเสียเข้าถังเติมอากาศ เครื่องเติมอากาศก็ทำงานเพื่อให้ออกซิเจนในน้ำอย่างเพียงพอเป็นเวลาตามที่ได้ออกแบบไว้ เครื่องจะปิดการเติมอากาศเป็นเวลาประมาณไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และไม่เกิน 4 ชั่วโมง เพื่อถ่ายน้ำใสที่ผ่านการบำบัดแล้วออกทิ้ง

7 2.1 หลักการทำงานของระบบเติมอากาศ และตกตะกอน
ชนิด SBR แบ่งออกเป็น 4 ช่วงการทำงาน ดังต่อไปนี้

8 รูปที่ 1 เป็นช่วงเติมอากาศ น้ำเสียไหลเข้ามายังถังเติมอากาศหรือถังปฏิกิริยา พร้อมกับเครื่องเติมอากาศทำงานให้ออกซิเจนในน้ำเสียอย่างเพียงพอและปั่นป่วนทั่วถึงทั้งบ่อ เป็นเวลาประมาณไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงหรือ(ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่กำหนดไว้) เพื่อให้จุลินทรีย์นำออกซิเจนไปใช้ เพื่อทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย หรือเป็นการเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์นั่นเอง

9 รูปที่ 2 เป็นช่วงเวลาตกตะกอน ซึ่งเป็นช่วงที่เครื่องเติมอากาศหยุดการเติมอากาศตามเวลาที่กำหนดไว้ในการออกแบบ เพื่อให้ตะกอนจุลินทรีย์มีเวลาในการตกตะกอน โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง (หรือตามเวลาที่การออกแบบกำหนดไว้)

10 รูปที่ 3 เป็นช่วงเวลาดึงน้ำใสออก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตะกอนจุลินทรีย์รวมตัวกันตกลงสู่ก้นถังแยกจากน้ำ ทำให้น้ำใสอยู่ด้านบน เพื่อดึงน้ำใสที่ผ่านการบำบัดแล้วออกทิ้งจนถึงระดับน้ำต่ำสุดตามที่กำหนดไว้ โดยผ่านถังสัมผัสคลอรีน

11 เป็นช่วงเวลาน้ำเข้าและ. เติมอากาศ จนถึงระดับ. น้ำสูงสุดตามที่กำหนด
เป็นช่วงเวลาน้ำเข้าและ เติมอากาศ จนถึงระดับ น้ำสูงสุดตามที่กำหนด ไว้ การเติมอากาศเป็นไป ตามช่วงเวลาเติมอากาศ (ช่วงที่ 1) ในกรณีที่น้ำ เสียไหลเข้าสู่ถังเติมอากาศยังไม่ถึงระดับสูงสุด แต่ระยะเวลาในการเติมอากาศถึงเวลาหยุดการเติมอากาศเพื่อดึงน้ำใสออกทิ้ง ระบบควบคุมจะไม่สั่งให้มีการดึงน้ำทิ้ง แต่ระบบควบคุมจะสั่งให้เครื่องเติมอากาศทำงานต่อไปอีก จนครบช่วงเวลาการเติมอากาศ จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยจนกว่าน้ำจะไหลเข้าถึงระดับสูงสุด จึงจะหยุดให้มีการตกตะกอน แล้วดึงน้ำใสออกทิ้ง รูปที่ 4

12 2.2 การกำจัดตะกอนส่วนเกิน
ตะกอนจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในถังเติมอากาศหรือถังปฏิกิริยานั้น ถ้ามีปริมาณตะกอนจุลินทรีย์มากเกิน ตามที่ได้กำหนดไว้ในการออกแบบ ต้องมีการสูบเอาตะกอนจุลินทรีย์ส่วนที่เกินนั้นไปกำจัด หรือ ไปสู่ลานตากตะกอน

13 3. ลานตากตะกอน ลานตากตะกอน เป็นลักษณะถังกรองโดยมีชั้นหินหรือกรวดและชั้นทราย โดยตะกอนส่วนเกินที่นำมากำจัด จะสูบจากถังตกตะกอนเข้ามาที่ลานตากตะกอน ตะกอนจะถูกตากให้แห้งอยู่บนชั้นทรายโดยแสงอาทิตย์กับลมเป็นตัวทำให้แห้งก่อนน้ำจะไหลจึงลงสู่ก้นลานตากผ่านท่อเจาะรูแล้วรวบรวมนำไปยังบ่อสูบ

14 4. ถังฆ่าเชื้อโรคหรือถังสัมผัสคลอรีน
ถังฆ่าเชื้อโรค ทำหน้าที่รับน้ำใสที่ไหลมาจากถังตกตะกอนก่อนที่จะปล่อยทิ้งออกไป จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อภายในถังฆ่าเชื้อโรคก่อน โดยการสัมผัสกับคลอรีนภายในถังสัมผัสคลอรีน โดยมีการตรวจวัดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จึงปล่อยทิ้งออกไป

15 การควบคุมกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบ ชนิด SBR
ขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ภายในถังเติมอากาศ ซึ่งต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสม ต้องทราบการเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นและแนวโน้มในอนาคต และตัดสินใจควบคุมระบบรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ พิจารณาข้อมูลจากรายงานการดำเนินระบบในปัจจุบันและข้อมูลในอดีต รวมถึงผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากห้องปฏิบัติการ นำผลเหล่านี้มาประมวลผลตัดสินใจ โดยพิจารณาถึงด้านค่าใช้จ่าย พลังงาน และปริมาณตะกอนที่จะเกิดขึ้นด้วย

16 ขั้นที่ 1 การได้สารอาหาร
การเกิดสลัด (Activated Sludge) - สารอินทรีย์ในน้ำเสียถูกดูดติดที่ผนังเซลของจุลินทรีย์ - จุลินทรีย์ปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยให้มีโมเลกุลเล็กลง - โมเลกุลที่มีขนาดเล็กซึมผ่านเข้าสู่เซลเป็นสารอาหาร ขั้นที่ การได้สารอาหาร CO2 อาหาร ออกซิเจน เอนไซม์ สารอินทรีย์

17 สลัดจ์ สารอินทรีย์ พลังงาน CO2 + H2O
- สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งถูกเปลี่ยนรูปโดยขบวนการสังเคราะห์ สร้างเซลใหม่ - ทั้ง 2 กระบวนการเกิดในเซลจุลินทรีย์ (Metabolic Process) ขั้นที่ 2 การได้พลังงานและการเจริญเติบโต สารอินทรีย์ สลัดจ์ พลังงาน CO2 + H2O

18 การเจริญเติบโตของแบคทีเรียแบบแบ่งตัว
อาหาร การเจริญเติบโตของแบคทีเรียแบบแบ่งตัว

19 1. การควบคุมการเติมอากาศและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ
มีจุดประสงค์ 2 ประการ คือ ให้จุลินทรีย์นำอากาศไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และให้เกิดการกวนผสมของน้ำทั่วทั้งถัง ผู้ควบคุมต้องเติม O2 ให้ ≥ ปริมาณ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการเพื่อรักษาค่า DO ของน้ำให้เหมาะสม ซึ่งหากมีไม่เพียงพอจะทำให้จุลินทรีย์แบบเส้นใยเกิดขึ้นเป็นปัญหาต่อการตกตะกอน หากเติมอากาศมากเกินไปทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เกิดความปั่นป่วนทำลายเม็ดตะกอน (Floc) ให้แตกออก ทำให้การตกตะกอนไม่ดีและน้ำทิ้งมีความขุ่นสูง ในทางปฏิบัติควรมีการตรวจวัดค่า DO ภายในถังเติมอากาศทุกวัน โดยค่าที่เหมาะสม  2-3 มก./ล ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์

20 2. การควบคุมตะกอน หากควบคุมระบบเหมาะสมแล้ว ตะกอนจะตกได้ดีภายในถัง
ปฏิกิริยา ต้องรักษาความเข้มข้นตะกอนภายในถังเติมอากาศให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ภายในเวลาที่ กำหนดไว้

21 การแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการเดินระบบฯ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในถังเติมอากาศ เช่น ค่า DO ต่ำ การกวนผสมไม่เพียงพอ เกิดความปั่นป่วนมากเกินไป และปัญหาฟองในถังเติมอากาศ ปัญหาที่เกิดขึ้นในถังเติมอากาศ เช่น มีตะกอนหลุดปะปนไปกับส่วนน้ำใส ตะกอนลอย ตะกอนไม่จมตัว ปัญหาความขุ่น เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ โดยการควบคุมที่ถูกต้อง และการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนด

22 ปัญหาการเกิดฟองในถังเติมอากาศ

23 จุลินทรีย์เส้นใยที่ทำให้เกิดฟอง

24 จุลินทรีย์เส้นใย

25 การทดสอบการตกตะกอนของสลัดจ์

26 ลักษณะการตกตะกอนของสลัดจ์
ตกตะกอนช้า ตกตะกอนได้ดี ตกตะกอนเร็ว เวลาในการตกตะกอน (นาที) ปริมาตรสลัดจ์ (มล.) ลักษณะการตกตะกอนของสลัดจ์

27 สลัดจ์ตกตะกอนอย่างรวดเร็วใน 10 นาทีแรก ลักษณะการตกตะกอนของสลัดจ์
เวลาในการตกตะกอน (นาที) สลัดจ์ตกตะกอนอย่างรวดเร็วใน 10 นาทีแรก ลักษณะการตกตะกอนของสลัดจ์

28 SVI = ปริมาตรสลัดจ์ที่ตกตะกอนใน 30 นาที (มล./ล.)
ความเข้มข้น MLSS (ก./ล.) ทิ้งไว้ 30 นาที MLSS จากถัง เติมอากาศ ลิตร

29 กลุ่มแบคทีเรียที่ตกตะกอนได้ดี

30 โปรโตซัวชนิดซิลิเอท (stalk)

31 เวลา จำนวน จุลินทรีย์ SRT F/M มาก น้อย ตกตะกอนได้ดี

32 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของระบบเอเอส
สารอินทรีย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของระบบเอเอส จุลินทรีย์ การกวน ระยะเวลาในการบำบัด อัตราการไหล สารพิษ pH DO อุณหภูมิ สภาวะทางสิ่งแวดล้อม สภาวะของจุลินทรีย์ ธาตุอาหาร

33 ขอบคุณค่ะ…. สวัสดีครับ….


ดาวน์โหลด ppt ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google