ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
18. 4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับ DNA(ต่อ) 18. 4
2
จัดทำโดย กลุ่มที่ 5 เสนอ อาจารย์มารศรี ทองเนตร
จัดทำโดย กลุ่มที่ 5 เสนอ อาจารย์มารศรี ทองเนตร
3
คดีฆาตกรรมเจนจิรา
5
คดีหมอผัสพร
6
-ลายพิมพ์ DNA สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานทางศาลเพื่อตัดสินคดีความได้ เพราะเหตุใด????
7
DNAเป็นสารพันธุกรรม ซึ่งDNAของคนๆเดียวกันไม่ว่าจะมาจากเซลล์ส่วนใดของร่างกายจะมีรูปแบบที่เหมือนกัน ดังนั้น DNA จึงเป็นเหมือนสิ่งบอกให้รู้ว่าคนๆนั้นเป็นใคร และแตกต่างจากคนอื่นๆอย่างไร
8
โดยทั่วไปแล้วการที่จะบอกได้ว่าคนๆนั้นเป็นใคร จะพิจารณาจากรูปร่างหน้าตา วัน เดือน ปีเกิด ตามข้อมูลในบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง และถ้าจะให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอาจดูจากรอยแผลเป็น และลายพิมพ์นิ้วมือ
9
ลายพิมพ์ DNA สร้างมาจากDNAที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ซึ่งทำให้สามารถบอกความแตกต่างของบุคคลได้ ความแตกต่างที่มีความจำเพาะของแต่ละบุคคลนี้เอง เราจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การพิสูจน์ตัวบุคคล การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
10
ลายพิมพ์ DNA (DNA fingerprint) เฉพาะโอกาสที่คนสิงคน (ที่ไม่ใช่ฝาแฝดแท้)จะมีรูปแบบของลายพิมพ์ดีเอ็นเอเหมือนกันมีน้อยมาก ได้มีการใช้ DNA เพื่อตรวจพิสูจน์ความเกี่ยวพันในคดีอาญาที่รุนแรง
11
เช่น ฆาตกรรม ทำร้ายร่างกาย ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งประกอบการพิจารณาคดีทางศาล ตัวอย่าง เช่น ในคดีฆาตกรรมคดีหนึ่ง ได้นำคราบเลือดของฆาตกรที่พบในสถานที่เกิดเหตุและเลือดของผู้ต้องสงสัยจำนวน 7 คน มาทำลายพิมพ์ DNA และนำมาเปรียบเทียบกัน เมื่อนำลายพิมพ์ DNA ของผู้ต้องสงสัยมาเปรียบกับลายพิมพ์ DNA ของคราบเลือดฆาตกร พบว่าเป็นดังนี้
12
1 2 3 A 4 5 6 7
13
การตรวจรายพิมพ์ดีเอ็นเอถูกค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร
การตรวจรายพิมพ์ดีเอ็นเอถูกค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร. อเล็ก เจฟฟรีย์ (Alec Jeffreys) และคณะจากมหาวิทยาลัยไลเบสเตอร์ (Leicester) ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2528
14
การพิสูจน์ พ่อ แม่ ลูก โดยใช้ลายพิมพ์ ดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอ คือ สารพันธุกรรมที่ลูกได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อครึ่งหนึ่งและแม่ครึ่งหนึ่งความสัมพันธ์ทางสายเลือดของการเป็น พ่อ-แม่ ลูกกัน จึงสามารถใช้พิสูจน์ได้ โดยการเปรียบเทียบลายพิมพ์ ดีเอ็นเอ ส่วนที่ไม่ใช่ยีนของลูกกับของพ่อแม่ เป็นจำนวนหลายตำแหน่ง (Loci)
15
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอมีความแตกต่างกันคือมีความหลากหลายมาก (Polymorphism) การศึกษาความหลากหลายนี้ จากตัวอย่างที่เก็บมาได้ เช่นตัวอย่างเลือด เส้นผม หรือเส้นขน หรือน้ำเชื้ออสุจิ เมื่อนำมาสกัดเชื้อดีเอ็นเอแล้ว แม้จะมีจำนวนน้อย ก็สามารถนำมาเพิ่มจำนวน โดยทำปฏิกิริยาเพิ่มปริมาณ ดีเอ็นเอตรงบริเวณที่มีท่อนของดีเอ็นเอซ้ำ ๆ กันประมาณ 2-7 เบส ที่มีอยู่หลายชุด เรียกบริเวณนี้ว่า “STR” ย่อมาจาก Short Tandem-Repeat (STR)
16
STR ซึ่งมีอยู่หลายที่ หลายตำแหน่ง (ตำแน่ง = locus) บนสายดีเอ็นเอ ถูกนำใช้เป็นเครื่องหมายพันธุกรรม และนำมาศึกษาลักษณะของจำนวนการซ้ำ ของท่อนดีเอ็นเอแต่ละชุด ในแต่ละตำแหน่งบนสายดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวได้ และสามารถ บ่งบอกถึงข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะของแต่ละบุคคลได้เพราะสิ่งมีชีวิต มีลายพิมพ์ดีเอ็นเอแตกต่างกัน (ยกเว้นกรณีฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน)
17
ปัจจุบัน การตรวจลายพิมพ์ DNA จะใช้เทคนิค PCR เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้ตัวอย่างเลือดปริมาณน้อย
18
เทคนิค PCR กับการพิสูจน์บุคคล
19
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ที่ได้จากการสร้างโดยใช้เทคนิค PCR จะมีลักษณะเป็นแถบ ดีเอ็นเอ เพียง 1-2 แถบต่อการสร้าง 1 โลกัส (ดังภาพแสดงลายพิมพ์ดีเอ็นเอ)
20
ภาพแสดงลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
21
ดังนั้นถ้าทำการสร้างโดยใช้ 10 โลกัส ก็จะได้แถบดีเอ็นเอ ประมาณ แถบ ซึ่งให้ค่าความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เชื่อมั่นว่าโอกาสที่จะพบบุคคล 2 คน ที่มีลักษณะลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เหมือนกันทุกประการนั้น มีเพียง 1 ใน 430,000,000 คน เพราะฉะนั้นการนำเทคนิค PCR มาใช้ในการสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอ จึงเป็นการพัฒนาที่ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง
22
กิจกรรมที่ 18. 2 วิเคราะห์ลายพิมพ์ DNA 1
กิจกรรมที่ 18.2 วิเคราะห์ลายพิมพ์ DNA 1.สามีภรรยาคู่หนึ่งมีบุตร 4 คนในจำนวนนี้มี ลูกสาว 2 คน และลูกชาย 2 คนจงวิเคราะห์ ลายพิมพ์ DNA ของทุกคน แล้วให้เหตุผลว่าลูกคนใดเป็นลูกแท้จริง คนใดเป็นลูกติดพ่อและคนใดเป็นบุตรบุญธรรม
23
ลูกติดพ่อ บุตรบุญธรรม ลูกแท้จริง ลูกแท้จริง
24
2. จากการตรวจลายพิมพ์ DNA ของคนในครอบครัว ก และ ข นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่าในครอบครัวใด มีความสัมพันธ์กันในลักษณะของ พ่อ-แม่-ลูก และครอบครัวใดไม่มีความสัมพันธ์กันเพราะเหตุใด
25
ครอบครัว ข ไม่มีความสัมพันธ์ ในลักษณะ พ่อ-แม่ -ลูก เพราะรูปแบบ ของแถบ DNA ของลูกมีบางส่วนที่ คล้ายแม่ แต่ไม่มี ส่วนที่เหมือนพ่อ อาจเป็นลูกติดแม่ ครอบครัว ก มีความสัมพันธ์ใน ลักษณะ พ่อ-แม่ -ลูก เพราะรูปแบบ ของแถบ DNA ของลูก เหมือนกับ พ่อและแม่ โดย มีบางส่วนที่ เหมือนกับพ่อ และบางส่วนที่ เหมือนกับแม่
26
3. ถ้านักเรียนได้รับเลือกเป็นคณะลูกขุนโดยมี ลายพิมพ์ DNA จากหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุในคดีฆาตกรรม และลายพิมพ์ DNA ของ ผู้ต้องสงสัยหมายเลข 1-5 จงหาว่า
27
3.1 บุคคลหมายเลข 4 ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร นักเรียนจะตัดสินใจว่าเขาเป็นฆาตกร หรือ เป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะเหตุใด
28
ผู้บริสุทธิ์
29
3.2 ผู้ต้องสงสัยหมายเลขใดที่มีลายพิมพ์ DNA ใกล้เคียงกับหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุ ตอบ หมายเลข 5
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.