งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรค หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบภูมิคุ้มกัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรค หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบภูมิคุ้มกัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรค หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบภูมิคุ้มกัน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ธีริศรา แสงมั่ง

2 โรค หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
จุดประสงค์การเรียนรู้ อธิบายและยกตัวอย่างโรค หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน อธิบายภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HIV

3 โรค หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันเพื่อตอบโต้สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย หรือสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง หากภูมิคุ้มกันมีมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

4 โรคภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ (Allergy) เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำงานมากเกินไป เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่รับเข้ามา ก่อให้เกิดการอักเสบและอาการแพ้ต่อบางสิ่ง เป็นอันตรายต่อตัวบุคคล โดยมีอาการของโรคภูมิแพ้ คือ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูก น้ำตาไหล คันรอบดวงตา ระคายเคืองทั่วใบหน้า มีผดผื่นคันแดงตามผิวหนัง ผิวหนังลอกอักเสบ หรืออาจแพ้รุนแรงถึงขั้นท้องร่วง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกหลังจากที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันการเกิดอาการโดยเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้

5 โรคหอบหืด โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายมากกว่าคนปกติ เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง หายใจไม่อิ่ม มีอาการไอ เจ็บหน้าอก

6 โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี
โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี หรือ โรคพุ่มพวง (Lupus หรือ SLE หรือ Systemic lupus erythematosus) คือ โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีปัจจัยแวดล้อมบางอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้ความผิดปกติปรากฏชัดขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติจะทำร้ายเนื้อเยื่อตัวเองโดยการสร้างภูมิคุ้มกันไปทำให้เกิดการอักเสบที่หลอดเลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของอวัยวะต่าง ๆ เป็นผลให้อวัยวะนั้นเกิดการอักเสบและเสียหน้าที่ อวัยวะที่มีการอักเสบบ่อยในโรคนี้คือ ไขข้อ ผิวหนัง ไต ระบบโลหิตวิทยา หัวใจ ปอด ระบบประสาท เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า โรคเอสแอลอี มีอาการแสดงได้เกือบทุกอวัยวะ

7 โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี

8 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายตัวเอง โดยจะทำลายเยื่อหุ้มข้อ (Synovium) เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบและบวมขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วอาจทำลายกระดูกอ่อนและกระดูกของข้อต่อ รวมไปถึงเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก หรือเอ็นข้อต่อจะเปราะบางลงและยืดขยายออก จากนั้นข้อต่อก็จะค่อย ๆ ผิดรูปหรือบิดเบี้ยว

9 ปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
นอกจากโรคภัยไข้เจ็บที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรงแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ได้แก่ พักผ่อนไม่เพียงพอ หากพักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันสะสมไปเป็นนาน ๆ จะยิ่งทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน เสี่ยงต่ออาการอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในทางกลับกัน หากไม่ออกกำลังกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายสร้างสารเคมีชนิดดีช่วยให้ร่างกายแข็งแรง รู้สึกสดชื่น และภูมิต้านทานสูงขึ้น รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การรับประทานน้ำตาลมาก ๆ และรับประทานผักผลไม้น้อยจะส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่มีแร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากพอ เครียดสะสม ความเครียดส่งผลต่อต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง เพราะเมื่อในร่างกายมีความเครียดสูงขึ้น ฮอร์โมนความเครียดจะไปกดภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอลงจนร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

10 ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HIV
เอดส์ (AIDS) ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสียไปหรือบกพร่อง ตามปกติคนเราจะมีภูมิต้านทานอยู่ในร่างกาย ซึ่งเชื้อโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีอยู่ในบรรยากาศหรืออยู่ในร่างกายของเราเอง จะไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงหรือเจ็บป่วยขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากภูมิต้านทานของร่างกายเสื่อมไป เชื้อโรคต่าง ๆ จะฉวยโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโรคที่เข้าสู่ร่างกายเป็นชนิดใดและเข้าทำลายระบบใดของร่างกาย ก็จะแสดงอาการออกมาตามชนิดของโรคนั้น ตัวอย่าง เช่น คนที่เป็นโรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิไอ (Pneumocystic Carinnii) และวัณโรคเกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) ตามปกติแล้วภูมิต้านทานในร่างกายจะต้านทานเชื้อเหล่านี้ได้ และไม่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าบุคคลนั้นเป็นโรคเอดส์ทำให้ภูมิต้านทานเสื่อมหรือบกพร่องไป เชื้อดังกล่าวก็จะออกฤทธิ์ทำให้เกิดโรคขึ้นมาได้

11 วีธีการที่เชื้อไวรัสเอดส์ทำให้เกิดโรค
เชื้อไวรัสเอดส์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอช ไอ วี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) จะเข้าฝังตัวอยู่ในเม็ดเลือดขาวพวก Helper T-Cell แล้วขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ โดยทำลาย Helper T-Cell จนตาย แล้วเข้าสู่ Helper T-Cell ตัวใหม่ต่อไป เมื่อเซลล์เหล่านี้ถูกทำลายไปภูมิต้านทานของร่างกายจะเสื่อมไปด้วย นอกจากนี้เชื้อไวรัส HIV ยังตรวจพบในเซลล์อื่น ๆ ด้วย เช่น เซลล์สมอง เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร ทวารหนัก เยื่อเมือก (Mucosa) ของร่างกายทางผิวหนังที่มีบาดแผล

12 การติดเชื้อไวรัส HIV 1. ทางเพศสัมพันธ์ การเสียดสีของอวัยวะเพศทำให้เยื่อเมือกที่ปกคลุมอยู่มีการฉีกขาดหรือหลุดออกไป ทำให้เชื้อไวรัส HIV สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ 2. ของมีคมที่มีเชื้อไวรัส HIV ติดอยู่แทงทะลุผ่านผิวหนังเข้าไป เช่น (1) การใช้เข็มฉีดยาที่เปื้อนเลือดคนที่เป็นโรคเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ติดสิ่งเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน (2) การถูกเข็มทิ่มหรือของมีคมปาด ซึ่งเปื้อนเลือดคนที่เป็นโรคเอดส์ มักพบกับบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนช่างตัดผม ช่างเสริมสวย ที่ใช้มีดโกนหรือเครื่องมือเสริมสวยที่ไม่สะอาด 3. การถ่ายเลือด 4. การติดต่อจากแม่สู่ลูกในครรภ์โดยผ่านทางรก 5. การติดต่อจากแม่สู่ลูกโดยผ่านทางน้ำนม เกิดจากมีเม็ดเลือดขาวปะปนอยู่ในน้ำนมของแม่ที่มีเชื้อไวรัส HIV 6. การผสมเทียม ถ้านำน้ำอสุจิจากคนที่มีเชื้อไวรัส HIV ไปใช้ในการผสมเทียมจะทำให้ผู้รับการผสมเทียมเป็นโรคเอดส์ได้ 7. การปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ปลูกถ่ายไต แก้วตา ไขกระดูก ตับ หัวใจ ปอด ซึ่งถ้าอวัยวะที่ใช้ในการปลูกถ่ายเอามาจากคนที่เป็นโรคเอดส์แล้ว คนที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะติดเชื้อ HIV ได้

13

14 ระยะติดเชื้อไวรัส HIV
ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จะมีอาการและความผิดปกติแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะตั้งต้นเมื่อติดเชื้อไวรัสใหม่ ๆ หรือ ระยะติดเชื้อปฐมภูมิ 2. ระยะติดเชื้อเรื้อรังการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างรุนแรง 3. ระยะที่เป็นโรคเอดส์ 3 - 7 สัปดาห์ 7-10 ปี 1 - 3 ปี ระยะที่ 1 และ 2 ของการติดเชื้อไวรัส HIV ยังไม่เรียกว่าเป็นโรคเอดส์ เราจะเรียกระยะที่ 3 ของโรคว่าเป็นโรคเอดส์เท่านั้น

15 ระยะติดเชื้อไวรัส HIV
1. ระยะตั้งต้นเมื่อติดเชื้อไวรัสใหม่ ๆ หรือ ระยะติดเชื้อปฐมภูมิ ไวรัสเข้าไปใน “ทีเซลล์” และทำให้เซลล์เหล่านี้ตายเป็นจำนวนมากหรือลดจำนวนลง เชื้อไวรัสกระจายไปทั่วร่างกาย และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดี ต่อต้านเชื้อไวรัสขึ้นมาภายในเวลา 3-7 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ซึ่งแอนติบอดีนี้สามารถตรวจพบได้จากเลือด และเป็นสิ่งที่ใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่ชัดเจนมาก อาการผิดปกติของผู้ป่วยในระยะแรกนี้จะมีน้อย และสามารถหายไปเองได้ในเวลา 2-4 สัปดาห์ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเล็กน้อย ถ่ายอุจจาระเหลว ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับอาการของ โรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้วินิจฉัยถูกต้องได้ยาก ระยะแรกนี้ยังไม่เรียกว่า โรคเอดส์

16 ระยะติดเชื้อไวรัส HIV
2. ระยะติดเชื้อเรื้อรังการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างรุนแรง ผู้ติดเชื้ออาจจะมีเชื้อราขึ้นที่ลิ้น หรือมีวัณโรคปอดกำเริบ โรคเริม หรือโรคงูสวัด เกิดขึ้นได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงมาก และมักจะรักษาโรคเหล่านี้ได้ผล ระยะนี้ของโรคก็ยังไม่เรียกว่า โรคเอดส์ เชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง และในม้าม และจะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในอวัยวะทั้งสองนี้เป็นส่วนใหญ่ ปริมาณของ Helper T-cell ในเลือด จะค่อย ๆ ลดจำนวนลงอย่างช้า ๆ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย จะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ ระยะนี้ส่วนใหญ่จะกินเวลานาน 7-10 ปี โดยที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน การได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่ในระยะนี้ได้ยาวนานยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนสมัยที่ยังไม่มีการค้นพบยาต้านเชื้อไวรัส

17 ระยะติดเชื้อไวรัส HIV
3. ระยะที่เป็นโรคเอดส์ ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นประจำ ปริมาณของ Helper T-cell ต่ำมาก มีการติดเชื้อฉวยโอกาส ในอวัยวะสำคัญอย่างรุนแรง เช่น ปอด มีอาการทางสมอง และมีมะเร็งชนิดต่างๆ เกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย คือ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi sarcoma) หรือโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายเกือบทั้งหมด ปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีไข้เรื้อรังนานเป็นเดือน ๆ อ่อนเพลียมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยโรคเอดส์ในระยะสุดท้ายนี้ จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ปีเท่านั้น

18 ยาต้านไวรัส HIV แบบฉุกเฉิน (PEP)
คนไข้ที่ต้องสงสัยว่าได้รับเชื้อจะต้องรับประทานยาต้านไวรัส (Post-Exposure Prophylaxis: PEP) อย่าง เร็วที่สุด ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน ภายใต้การดูแล แนะนำของแพทย์ เหตุผลที่จะต้องทานยานี้ให้เร็วที่สุด ก็เพื่อให้ยาเข้าไปต่อสู้กับเชื้อไวรัส และสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกัน HIV ได้นั่นเอง ยาต้านไวรัสส่วนมากมักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้หนึ่งในห้าของผู้รับประทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด ดังนั้น คนไข้จึงควรทำความเข้าใจ และทานยาให้ครบเวลาที่กำหนด

19 สรุปจํานวนผู้ป่วยเอดส์ในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2527 - เมษายน 2561)
สรุปจํานวนผู้ป่วยเอดส์ในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ เมษายน 2561) ยอดสะสมผู้ป่วยเอดส์จากสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ ถึง เมษายน 2561 ดังนี้ ข้อมูลที่ได้รับจากการรายงานของสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2560 ประมาณ 60.36% ของสถานพยาบาลทั้งหมด ดังนั้นตัวเลขจำนวนผู้ป่วยเอดส์รวมทั้งผู้เสียชีวิต จึงน้อยกว่าความเป็นจริงมาก

20 โรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบในผู้ติดเชื้อ HIV

21 โรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบในผู้ติดเชื้อ HIV

22 ร้อยละของผู้ป่วยเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง พ. ศ
ร้อยละของผู้ป่วยเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง พ.ศ เมษายน 2561

23 ศึกษาเพิ่มเติม: https://www.youtube.com/watch?v=odRyv7V8LAE


ดาวน์โหลด ppt โรค หรืออาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบภูมิคุ้มกัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google