งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

2 3.1ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ ได้ดังนี้ 1. การจำลองความต้องการของผู้ใช้ (Requirement modeling) 2. การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data & Process modeling) 3. การจำลองเชิงวัตถุ (Object modeling) 4. กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบ (Development strategies)

3 3.2 การจำลองความต้องการของผู้ใช้
โดยความต้องการที่เรากำหนดขึ้นมานั้นนำมาใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ 1. มองในมุมมองนักวิเคราะห์ระบบ จะใช้เป็นตัวอ้างอิงการคำนวณต้นทุนและ ประมาณระยะเวลาในการพัฒนาระบบ เพื่อเสนอต่อผู้ว่าจ้าง 2. เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาเพื่อใช้ในการชำระค่าจ้าง กล่าวคือถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมภายหลัง ผู้พัฒนาสามารถเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้

4 ประเภทความต้องการ ความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement)
ความต้องการของระบบ (System Requirement) ความต้องการของซอฟต์แวร์ (Software Specification) ความต้องการทางฟังก์ชัน (Functional Requirement) ความต้องการที่ไม่ใช่ฟังก์ชัน (Non-functional Requirement)

5 3.3 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ
การจำลองการทำงานของระบบโดยจะแสดงออกมาในรูปของกราฟิกนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ รูปแบบ หนึ่งที่เป็นที่นิยมกันในหมู่นักวิเคราะห์ระบบคือแผนภาพการไหลข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) ในการเขียนแผนภาพการไหลของข้อมูล นักวิเคราะห์ระบบอาจเขียนได้ใน 2รูปแบบ คือ แผนภาพการไหลข้อมูล ทางกายภาพและแผนภาพการไหลข้อมูลทางตรรกะ

6 3.4การจำลองระบบเชิงวัตถุ
การจำลองระบบแนวใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอีกวิธีการหนึ่งคือ การจำลองระบบเชิงวัตถุหรือเรียกว่า “Object Modeling” ลักษณะสำคัญของวิธีการนี้คือการแสดงกระบวนการและข้อมูลไว้ด้วยกัน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ UML (Use case diagram)

7 3.5 กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบ
3.5.1 JAD (Joint Application Development) JAD เป็นกระบวนการในการจัดการและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันของเจ้าของระบบ ผู้ใช้ ระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ออกแบบระบบและผู้สร้างระบบ ร่วมกันกำหนดขอบเขต วิเคราะห์และออกแบบ ระบบ โดยประชุมงานร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ

8 ข้อดีของ JAD ข้อเสียของ JAD
สามารถให้รายงานความต้องการระบบงานที่แม่นยำกว่า เข้าใจจุดมุ่งหมายได้ดีกว่าและมีข้อผูกพันที่แน่นหนากว่า โอกาสในการพัฒนาระบบใหม่ให้สำเร็จมีมากกว่า เนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตั้งแต่ต้น ข้อเสียของ JAD อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงและอาจไม่คล่องตัวในการทำงาน หากคณะทำงานมีจำนวนสมาชิกมากเกินไป

9 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิค JAD สามารถดำเนินการได้ด้วยการจัดให้เป็นห้องประชุมซึ่งลักษณะ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่แต่ละองค์กร ในระหว่างการประชุมJAD นักวิเคราะห์ ระบบสามารถใช้ Case Tools และ Prototype ช่วยสนับสนุนการดำเนินการได้ซึ่งจะทำให้การประชุมดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยทั่วไปผู้เข้าร่วมการ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิค JAD มีดังนี้ 1.ผู้ดำเนินการประชุม ( JAD SessionLeader ) 2. ผู้ใช้ระบบ ( Users) 3.ผู้บริหารขององค์กร ( Manager ) 4. ผู้สนับสนุน (Sponsor) 5. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 6. ผู้บันทึกการประชุม(Scribe) 7. หน่วยสารสนเทศ (IS Staff)

10 3.5.2 RAD (Rapid Application Development)
การพัฒนาระบบแบบเร่งด่วน (RAD) เป็นวิธีการพัฒนาระบบวิธีการหนึ่งที่รวบรวมเทคนิค (Techniques) เครื่องมือ (Tools) และเทคโนโลยีต่างๆเพื่อผสมผสานและประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการพัฒนา ระบบให้สามารถลุล่วงโดยใช้เวลาน้อยที่สุดด้วยการมุ่งเน้นด้านการลดต้นทุนและระยะเวลา โดย RADนี้ถือเป็นการจัดการโครงการ (Project Management) อย่างง่ายชนิดหนึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่ กับความพร้อมขององค์กรในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย บุคลากร รวมทั้งความต้องการที่แน่นอนของผู้ใช้ระบบ

11 ข้อดีของการพัฒนาระบบแบบRAD
1. สามารถช่วยให้พัฒนาระบบได้สำเร็จลุล่วงโดยใช้เวลาน้อยที่สุด 2. ผู้ใช้สามารถใช้ระบบได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าระบบเวอร์ชั่นแรกจะยังไม่สามารถทำงานได้ ครอบคลุมหน้าที่ทุกส่วนงานก็ตาม 3. การเปลี่ยนแปลงการออกแบบและพัฒนาระบบทำได้ผลดีและรวดเร็ว 4. ใช้เวลาในการรอผลตอบสนองจากผู้ใช้ไม่มาก (ทำงานได้ดีสำหรับการพัฒนาระบบที่ยึดถือ เวลาเป็นหลักสำคัญ) 5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจระบบดีขึ้น 6. ลดงบประมาณค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรคน

12 ข้อดีของการพัฒนาระบบแบบRAD
1. มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา 2. ผู้ใช้ต้องรอระบบที่สมบูรณ์ 3. การสร้างต้นแบบของระบบทีละส่วน ด้วยความเร็วในขณะที่มีการรวบรวมวิเคราะห์และออกแบบไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ขาดความรอบคอบในการตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา เมื่อติดตั้งและใช้งานระบบ 4. การเน้นระยะเวลาที่สั้น ลดค่าใช้จ่ายส่งผลให้ได้ระบบที่มีคุณภาพต่ำ 5. คุณภาพของเอกสารประกอบระบบจะมีมาตรฐานลดลง 6. ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ 7. ยากต่อการควบคุมความสอดคล้องของส่วนประกอบต่างๆ ของระบบ 8. ต้องทำการทดสอบบ่อยครั้ง 9. ยากต่อการบำรุงรักษา (Maintenance)

13

14 3.5.3 Agile Methods Agile Method เป็นวิธีในการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยมีหลักการในการพัฒนาระบบที่เน้นการทำงานที่ รวดเร็ว มีการเตรียมพร้อมที่จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะความ ต้องการของผู้ใช้ วิธีพัฒนาแบบนี้ถือเป็นการพัฒนาแบบทำซ้ำที่จะต้องมีการพบปะสนทนากับผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา และในขณะที่พบปะกันนั้นก็จะถือเป็นช่วงระยะเวลาของการส่งงานไปในตัวด้วย

15

16 ข้อดีของการพัฒนาระบบแบบ Agile Method
1. สามารถกำหนดขอบเขตงานขั้นต่อไปได้อย่างรวดเร็ว โดยดูแนวโน้มทั้งด้านธุรกิจ และเทคโนโลยีด้วย 2. ส่งมอบชิ้นงานได้รวดเร็ว 3. มีประสิทธิภาพถึงแม้ว่างานนั้นๆ จะยังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องของความ ต้องการของผู้ใช้ 4. รองรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้การพัฒนามีความ ยืดหยุ่นมากกว่า 5. ลูกค้าพึงพอใจมากกว่าเพราะตรงกับความต้องการในตลอดทุกขั้นตอนการทำงาน 6. แนวโน้มว่าจะต้องแก้งานในส่วนที่เสร็จสิ้นแล้วน้อยมาก เพราะมีการอัพเดทความ ต้องการของผู้ใช้อยู่เสมอ

17 ข้อเสียของการพัฒ นาระบบแบบ Agile Method
1. ทีมพัฒนาอาจใช้วิธีนี้ไม่ได้ ถ้าลูกค้าไม่มีความเชื่อใจในตัวทีมพัฒนา 2. สมาชิกในทีมพัฒนาจะต้องมีทักษะด้านการปฏิสัมพันธ์ที่ดีเพราะต้องติดต่อพบปะกับลูกค้าเสมอ 3. เนื่องจากเป็นวิธีแบบทำซ้ำที่ต้องมีการพูดคุยเรื่องความต้องการหลายๆ รอบทำให้มีโอกาสสูงที่ขอบเขตของโครงงานจะ กว้างเกินไปไม่มีที่สิ้นสุด 4. ส่งผลเสียต่อทีมพัฒนาในเรื่องของตารางเวลานัดหมายและส่งผลเสียต่อผู้ใช้ในเรื่องของค่าใช้จ่าย 5. ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการเห็นตัวงานเป็นชิ้นเป็นอันในเวลาที่ค่อนข้างสม่ำเสมอและอยู่ในขอบเขตงบประมาณที่กำหนดไว้ ตายตัว ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดของวิธีพัฒนาแบบAgile 6. ต้องเข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กรมากกว่าวิธีแบบอื่น ๆ รวมถึงต้องตัดสินใจว่าควรใช้วิธีใดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของ องค์กรดังกล่าว 7. เนื่องด้วยขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียเวลาของวิธีแบบ Agile ทำให้ผู้บริหารหัวเก่าบางท่านไม่นิยมและพร้อมที่จะเลือกใช้ วิธีทันทีถ้าวิธีดังกล่าวสามารถสร้างผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงกันและมีขั้นตอนที่ง่ายกว่า

18 3.6 เครื่องมือในการพัฒนาระบบ
CASE Tools หมายถึงซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือที่มีส่วนประกอบช่วยสนับสนุนการทำงานในกิจกรรมต่างๆ ของงาน วิศวกรรมซอฟต์แวร์ไม่ว่าจะเป็นความต้องการ การออกแบบการเขียนโปรแกรม และการทดสอบโปรแกรม CASE Tools สามารถจำแนกได้หลายประเภท โดยมีหลักการจำแนกหลายอย่าง โดยหากจำแนกตามกระบวนการ ทำงานขั้นตอนต่างๆ แล้ว สามารถแบ่ง CASE Tools ออกเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

19 CASE Tools เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ (Software Requirement Tools)
เครื่องมือออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Design Tools) เครื่องมือสร้างซอฟต์แวร์ (Software Construction Tools) เครื่องมือทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing Tools) เครื่องมือบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Software Maintenance Tools) เครื่องมือจัดการโครงแบบ (Software Configuration Management Tools) เครื่องมือคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Tools)

20 CASE Tools เครื่องมือบริการงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering ManagementTools)

21 3.7 ความต้องการของระบบ ความต้องการของระบบ (System requirements) คือ รายการความต้องการของ ระบบงานในที่นี้หมายถึงคุณลักษณะในด้านต่างๆ การหาความต้องการของผู้ใช้ ผู้พัฒนาจะต้องแจกแจงความ ต้องการของผู้ใช้ตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. ผลลัพธ์หรือข้อมูลนำออก (Output) 2. ข้อมูลนำเข้า (Input) 3. การประมวลผล (Process) 4. ความสามารถของระบบ (Performance) 5. การควบคุม (Control)

22 3.7.1 วิธีการกำหนดความต้องการของระบบ
เริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงในระบบเดิม โดยนักวิเคราะห์ระบบและทีมงาน จะต้องพบและพูดคุยกับผู้ใช้งานในองค์กรเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ตาม นักวิเคราะห์ระบบควรคำนึงถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยสิ่งที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฟอร์ม รายงาน รายละเอียดการทำงานและเอกสารอื่นๆ ที่เป็นแหล่งข้อมูลขององค์กร ภายในเอกสาร ดังกล่าวจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบทราบถึงรายละเอียดของระบบได้ เช่น 1. เป้าหมายขององค์กรทำให้ทราบว่าองค์กรดำเนินงานอะไรและอย่างไร 2. สารสนเทศที่ผู้ใช้งานต้องการในการดำเนินงาน 3. ประเภทของข้อมูล ขนาด และจำนวนข้อมูลที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน

23 3.7.2 เทคนิคและวิธีการในการรวบรวมข้อเท็จจริงและสารสนเทศที่จะทำให้ได้ข้อมูลมาอย่างเป็นลำดับ ครบถ้วน และถูกต้อง ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ นักวิเคราะห์ระบบควรจะทราบก่อนว่าตนเองต้องการข้อมูล อะไรบ้าง หาก นักวิเคราะห์ไม่แน่ใจ นักวิเคราะห์ระบบควรพยายามตอบคำถามเหล่านี้ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ เช่น • ระบบเดิมมีปัญหาอย่างไร และรองรับความต้องการทางธุรกิจอะไรบ้าง • ระบบใหม่ต้องรองรับอะไรเพิ่มเติมจากระบบเก่า • ระบบใหม่ต้องประมวลผลข้อมูลอะไร

24 3.7.2 เทคนิคและวิธีการในการรวบรวมข้อเท็จจริงและสารสนเทศที่จะทำให้ได้ข้อมูลมาอย่างเป็นลำดับ ครบถ้วน และถูกต้อง คำถามเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นแนวทางสำหรับนักวิเคราะห์ระบบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่จะต้องทำการศึกษา และรวบรวม ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ นั้นทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้ 1. รวบรวมข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์ (Documents) 2. รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Interview) 3. รวบรวมข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม (Questionnaire) 4. รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ (Observation)

25 การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์
เป็นขั้นตอนแรกที่ควรทำในการรวบรวมข้อมูล นักวิเคราะห์จะรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่มีอยู่โดย การอ่าน ตัวอย่างเอกสาร สิ่งพิมพ์ ที่ควรศึกษาได้แก่ 1. แผนภาพงาน (Flow Charts) และแผนภาพ (Diagrams) 2. พจนานุกรม หรือแหล่งเก็บข้อมูลโครงการ (Dictionary or Repository) 3.เอกสารการออกแบบ ได้แก่ ข้อมูลผลลัพธ์ และฐานข้อมูล 4. เอกสารการเขียนโปรแกรม 5. คู่มือการใช้งานและการอบรม (Operation and Training Manual) 6. แบบฟอร์มหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีในองค์กร

26 การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์

27 การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์หมายถึง การพูดคุยกับผู้ใช้ในลักษณะตัวต่อตัวหรืออาจจะทำการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ก็ได้ หากนักวิเคราะห์ระบบไม่สามารถเดินทางไปสัมภาษณ์ด้วยตนเองได้ เพื่อความเข้าใจตรงกันทั้ง2 ฝ่าย การรวบรวมข้อมูล จากสัมภาษณ์นั้น นักวิเคราะห์ระบบมีแนวทางการทำงานดังรูปที่ 3-6 ข้อดี 1. สามารถเปลี่ยนแปลงคำถามตามสถานการณ์ได้ 2. รู้จักผู้ให้ข้อมูลและทัศนคติต่อองค์กร ข้อเสีย 1. ใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูล 2. ได้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงเนื่องจากผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่กล้าพูดความจริง

28 การรวบรวมข้อมูลจากการจัดทำแบบสอบถาม
หมายถึงการสำรวจข้อมูลโดยให้ผู้ใช้ตอบคำถามลงในกระดาษ สิ่งแรกที่นักวิเคราะห์ระบบต้องทำคือ การ เลือกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม โดยมีแนวทางการเลือกดังต่อไปนี้ 1. เลือกตามความสะดวก (Convenient to Sample) ได้แก่ คนที่ทำงาน 2. เลือกโดยวิธีสุ่ม (Random) 3. เลือกตามวัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนด (Purposeful Sample) เช่น เลือกผู้ที่เคยใช้ระบบนั้นนาน กว่า 2 ปี หรือเลือกผู้ที่ใช้ระบบบ่อยที่สุด 4. เลือกจากกลุ่มต่างๆ ที่จัดแบ่งไว้ (Stratified Sample) เช่น แบ่งกลุ่มผู้ใช้ กลุ่มผู้บริหาร จากนั้นสุ่ม เลือกจากแต่ละกลุ่ม

29 การรวบรวมข้อมูลจากการจัดทำแบบสอบถาม
โดยทั่วไปแบบสอบถามสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. ประเภทที่ 1 คือ Free Format: เป็นแบบสอบถามที่ให้อิสระในการตอบ 2. ประเภทที่ 2 คือ Fixed Format: คำถามในแบบสอบถามต้องการคำตอบที่เจาะจงลงไป โดยมีคำตอบ ให้ผู้ตอบเลือกมี 3 ประเภท - Multiple Choices: มีคำตอบหลายข้อให้เลือกตอบ - Rating Question: มีคำตอบเป็นตัวเลือกเพื่อให้แสดงความคิดเห็น - Ranking Question: เป็นการจัดลำดับความสำคัญของคำตอบต่างๆ

30

31

32 การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ (Observation)
เป็นการเก็บข้อมูลโดยการเข้าไปสังเกตการทำงานของพนักงานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริงของพนักงาน เพื่อสังเกต พฤติกรรมการทำงาน อารมณ์ในการทำงาน เป็นต้น ประเภทของการสังเกตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1. การสังเกตทางตรง (Direct observation) เป็นการสังเกตและบันทึกข้อมูลขณะที่ผู้ใช้กำลัง ปฎิบัติงาน 2. การสังเกตทางอ้อม (Indirect observation) เป็นการเก็บข้อมูลจากผลการทำงานเช่นรายงาน ต่างๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

33 ข้อดี 1. ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง 2
ข้อดี 1. ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง 2. นักวิเคราะห์ระบบสามารถเห็นขั้นตอนการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริง 3. เมื่อเทียบกับเทคนิคอื่นๆ การสังเกตการณ์เป็นเทคนิคที่ใช้เงินทุนต่ำ 4. นักวิเคราะห์ระบบสามารถวัดผลการดำเนินการของเทคนิคนี้ได้ ข้อเสีย 1. มีผลกระทบการทำงานของเจ้าหน้าที่อาจทำให้อึดอัดและผิดพลาดได้ 2. ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก ไม่เช่นนั้นอาจได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนทุกเงื่อนไขในการ ดำเนินการ 3. การดำเนินการบางงานอาจมีลักษณะงานที่ไม่สะดวก หรือช่วงเวลาไม่ตรงกันกับนัก วิเคราะห์ระบบ 4. การดำเนินการบางขั้นตอนอาจมีเงื่อนไขบางประการที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก 5. เจ้าหน้าที่อาจปฏิบัติงานไม่เต็มที่เมื่อทราบว่านักวิเคราะห์จะเข้ามาสังเกตการณ์ โดย ปฏิบัติงานเท่าที่ต้องการให้นักวิเคราะห์ระบบทราบเท่านั้น

34 3.8 การออกแบบระบบเพื่ออนาคต
ในการออกแบบระบบสารสนเทศนั้น นักวิเคราะห์ระบบควรจะทำการออกแบบเพื่อการ เปลี่ยนแปลงหรือการขยายตัวธุรกิจของลูกค้าในอนาคตไว้ด้วย (Future Growth) หมายความว่าหากมี การเปลี่ยนเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ จำนวนข้อมูลและผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ระบบควรจะสามารถปรับปรุง ได้ง่ายเพื่อรองรับการขยายหรือเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ได้ เรียกว่า “ความสามารถในการปรับขนาด (Scalability)” ความสามารถในการปรับขนาดหมายถึงขีดความสามารถในการปรับปรุงระบบ สารสนเทศในเวลาที่ความต้องการของธุรกิจเปลี่ยนแปลงในอนาคต มีข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของผลลัพธ์ ข้อมูล นำเข้าและการประมวลผลทั้งในปัจจุบันและอนาคต

35 3.9 ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของ
เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเป็นเจ้าของระบบสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership: TCO) ได้แก่ - ต้นทุนที่เกิดจากการทำงานของระบบ (Operational cost) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยระบบ เช่น ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น - ต้นทุนที่เกิดจากการดูแลรักษาระบบ (Support cost) ตัวอย่างเช่น การที่เรามีคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้นอย่างน้อยเราต้องคำนึงถึงดูแลรักษาเมื่อมีปัญหาในการดำเนินการ ไม่ว่าจะจาก ไวรัส การโจมตี หรือ แม้แต่จากบุคคลเอง

36 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google