ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ. ศ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม The Comptroller General’s Department กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจ้างภาครัฐ
2
การใช้บังคับตามระเบียบฯ
3
กระบวนการบริหารงานพัสดุ
กำหนดความต้องการ งบประมาณ เบิกจ่ายเงิน การจัดทำ จำหน่ายพัสดุ ควบคุมพัสดุ จัดหาพัสดุ
4
กระบวนการจัดหาพัสดุ การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา
ประเภทของการจัดหา การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การเช่า การแลกเปลี่ยน
5
ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ
เจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง - โดยแต่งตั้ง(ข้าราชการ, ลูกจ้างประจำ/ชั่วคราว) หน.เจ้าหน้าที่พัสดุ - โดยตำแหน่ง - โดยแต่งตั้ง (ข้าราชการ) หัวหน้าส่วนราชการ - อธิบดี (ส่วนกลาง) - ผู้ว่าราชการจังหวัด (ภูมิภาค) ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ-จ้าง - หัวหน้าส่วนราชการ - ปลัดกระทรวง - รัฐมนตรีเจ้าสังกัด คณะกรรมการต่าง ๆ /ผู้ควบคุมงาน
6
คณะกรรมการในการซื้อ/จ้าง
4 คกก. ตรวจการจ้าง+ผู้ควบคุมงาน คกก. รับและเปิดซองประกวดราคา คกก. พิจารณาผลการประกวดราคา คกก. จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ คกก. จัดจ้างโดยวิธีพิเศษ คกก. ตรวจรับพัสดุ คกก. เปิดซองสอบราคา
7
องค์ประกอบของคณะกรรมการ
- ประธาน 1 คน - กรรมการอย่างน้อย 2 คน - แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ หรือเทียบเท่าขึ้นไป **การแต่งตั้งคณะกรรมการจะต้องแต่งตั้งเป็นครั้งๆ ไป** (ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ)
8
ข้อห้าม แต่งตั้งกรรมการรับและเปิดซอง ประกวดราคา เป็น กรรมการพิจารณาผล
แต่งตั้งกรรมการรับและเปิดซอง ประกวดราคา เป็น กรรมการพิจารณาผล การประกวดราคา แต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือพิจารณาผล การประกวดราคา เป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ ข้อห้าม
9
องค์ประกอบของคณะกรรมการต้องเป็นข้าราชการเท่านั้นหรือไม่
หลักการ ประธาน/กรรมการ ต้องเป็นข้าราชการ ผู้ตรวจรับ ข้าราชการ/ลูกจ้าง กวพ. ยกเว้นให้ดังนี้ (กค (กวพ) ๐๔๐๘.๔/ว ๑๕๕ ลว. ๑ พ.ค. ๕๐) กรณีมหาวิทยาลัย ให้พนักงานมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการ หรือผู้ตรวจรับพัสดุ/งานจ้างได้ กรณีส่วนราชการอื่น ให้พนักงานราชการเป็นผู้ตรวจรับ พัสดุ/งานจ้างได้
10
การประชุมของคณะกรรมการ
- ประธาน + กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และประธานจะต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง องค์ประชุม - ถือเสียงข้างมาก - ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียง เพิ่มอีก 1 เสียง มติกรรมการ ยกเว้น - คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ - คณะกรรมการตรวจการจ้าง - ต้องใช้มติเอกฉันท์
11
วิธีการจัดหา การจัดซื้อหรือจ้าง วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท
วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท วิธีสอบราคา เกิน100,000 บาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท วิธีประกวดราคา เกิน 2,000,000 บาท วิธีพิเศษ เกิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไข วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีกำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ตามระเบียบฯ พัสดุ ปี 49 การจัดซื้อหรือจ้าง วิธีการจัดหา
12
วิธีการซื้อ/จ้าง (6 วิธี)
1. กรณีใช้วงเงินเป็นตัวกำหนดวิธีการ - วิธีตกลงราคา ครั้งหนึ่ง ไม่เกิน , บาท - วิธีสอบราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า , บาท แต่ไม่เกิน 2,000, บาท - วิธีประกวดราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า 2,000, บาทขึ้นไป
13
2. กรณีใช้วงเงินและเงื่อนไขเป็นตัวกำหนดวิธีการ
2.1 ซื้อโดยวิธีพิเศษ วงเงินเกินกว่า , บาท - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ 23 2.2 จ้างโดยวิธีพิเศษ - วงเงินเกินกว่า , บาท - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ 24
14
3. กรณีใช้เงื่อนไขเป็นตัวกำหนดวิธีการ
- วิธีกรณีพิเศษ (ได้แก่ การซื้อ/จ้างจากส่วนราชการ, รัฐวิสาหกิจ , หน่วยงานตามกฎหมายท้องถิ่น) เงื่อนไข : 1. เป็นผู้ทำ/ผลิตเองและนายกรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแล้ว 2. มีกฎหมาย/มติคณะรัฐมนตรี ให้ผู้ซื้อ/จ้าง 4. อื่น ๆ - การจัดซื้อ/จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ตามระเบียบฯ พัสดุ ปี 49)
15
ขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้าง
การตรวจรับ - คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ - คณะกรรมการตรวจการจ้าง - ผู้ควบคุมงาน ขอความเห็นชอบ ดำเนินการ วิธีจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป 6 วิธี ขออนุมัติ - หัวหน้าส่วนราชการ - ปลัดกระทรวง/ทบวง - รัฐมนตรีเจ้าสังกัด การทำสัญญา หัวหน้าส่วนราชการ
16
การทำรายงานความเห็นชอบ
หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
17
รายงานขอซื้อ – จ้าง (ข้อ 27)
หลักการ ** ก่อนการซื้อ – จ้างทุกวิธีต้องทำรายงาน ** ข้อยกเว้น *** ข้อ 39 วรรคสอง ไม่ต้องมีรายงาน ตามระเบียบฯ ข้อ 27 ***
18
รายละเอียดของรายงาน - เหตุผลความจำเป็น - รายละเอียดของพัสดุ
- ราคามาตรฐาน หรือราคากลาง หรือราคาครั้งหลังสุดไม่เกิน 2 ปี - วงเงินที่จะซื้อ/จ้าง - กำหนดเวลาที่ต้องใช้ - วิธีจะซื้อ/จ้าง - ข้อเสนออื่นๆ * การแต่งตั้งคณะกรรมการ * การออกประกาศสอบราคา หรือประกวดราคา
19
การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา (1)
2 จนท. พัสดุ หน. จนท.พัสดุ หน. ส่วนราชการ รายงาน (27) 1 5 4 3 ติดต่อ 6 ส่งของ/งาน เสนอราคา ใบสั่ง เห็นชอบ (29) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ ตรวจการจ้าง ผู้ตรวจรับพัสดุ/ผู้ตรวจรับการจ้าง ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง
20
การดำเนินงานโดยวิธีตกลงราคา (2)
กรณีจำเป็นเร่งด่วน ไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน ดำเนินการตามปกติไม่ทัน ข้อยกเว้น วิธีการ - เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ ผู้รับผิดชอบดำเนินการไปก่อน - รายงานขอความเห็นชอบหัวหน้าส่วนราชการ - ใช้รายงานเป็นหลักฐานการตรวจรับ - วงเงินไม่เกิน10,000 บาท ทำรายงานเฉพาะ รายการที่จำเป็นได้
21
การตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (ระเบียบข้อ ๕ ประกอบข้อ ๑๕ ตรี วรรคสอง)
ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หมายถึง ๑. บุคคล /นิติบุคคล เป็นผู้มีส่วนได้เสีย (ทางตรง/อ้อม) รวมคู่สมรส/บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ ได้แก่ - มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร - มีความสัมพันธ์ในเชิงทุน - มีความสัมพันธ์ในลักษณะไขว้กัน ๒. เข้าเสนอราคา /เสนองาน ในคราวเดียวกัน
22
ความสัมพันธ์ในเชิงทุน
หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หุ้นส่วนไม่จำกัด ความรับผิด ใน หจก. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก., บ.มหาชน (>25% / กวพ.กำหนด) หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ / หจก. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก. บมจ.
23
ความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร
ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน มีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการ บุคคลหรือนิติบุคคลอีกรายหนึ่งหรือหลายราย
24
ความสัมพันธ์ในลักษณะไขว้กัน
- ผู้จัดการ - หุ้นส่วนผู้จัดการ - กรรมการผู้จัดการ - ผู้บริหาร - ผู้มีอำนาจใน การดำเนินงาน - หุ้นส่วนใน ห้างหุ้นส่วน สามัญ / หจก. - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ใน บจก. / บมจ.
25
EX. บริษัท A บริษัท B หจก. C เชิงบริหาร - นาย ก. กรรมการผู้จัดการ
- นาย ก. เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการ - นาย ข. กรรมการผู้จัดการ เชิงทุน - นาย ก ถือหุ้น 26% - นาย ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ - นาย ก. ถือหุ้น 20% เชิงไขว้ - นาย ก ถือหุ้น 26% - นาย ก. เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ EX.
26
การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (1)
เผยแพร่เอกสาร - ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า 10 วัน / นานาชาติไม่น้อยกว่า 45 วัน - ส่งประกาศให้ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้าง โดยตรง หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้มากที่สุด - ปิดประกาศเผยแพร่ ณ ที่ทำการโดย เปิดเผย เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ข้อ 27 ข้อ 29 จัดทำประกาศ (ข้อ 40)
27
การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (2)
การยื่นซอง - ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึง ประธานกรรมการ - ยื่นซองด้วยตนเอง / ทางไปรษณีย์ (กรณีที่กำหนดไว้) - เจ้าหน้าที่รับโดยไม่เปิดซอง - หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การเก็บรักษาซอง การรับซอง - ระบุวันและเวลารับซอง - ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที
28
คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (ข้อ 42)
การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (3) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (ข้อ 42) ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ประกาศชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ เปิดซองใบเสนอราคาเฉพาะผู้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแล้วคัดเลือก ผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขและเสนอราคาต่ำสุด ราคาเท่ากันหลายรายยื่นซองใหม่ ถูกต้องรายเดียวดำเนินการต่อได้
29
กรณีเกินวงเงิน (ข้อ 43) การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (4)
ถ้าไม่ได้ผลอีก ขอเพิ่มเงิน หรือยกเลิกการสอบราคา เรียกรายต่ำสุดมาต่อรองให้อยู่ในวงเงินหรือ สูงกว่าไม่เกิน 10 % ถ้าไม่ได้ผลให้เรียกทุกรายมายื่นซองใหม่
30
ขั้นตอนการประกวดราคา
จัดทำเอกสาร ประกวดราคา (ข้อ 44) จัดทำรายงานขอซื้อ/จ้าง และแต่งตั้งคณะ- กรรมการ (ข้อ 27) การประกาศเผยแพร่การประกวดราคา (ข้อ 45, 46) การขออนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง (ข้อ 65) การพิจารณาผล การประกวดราคา (ข้อ 50) การรับและเปิดซอง (ข้อ 49) การทำสัญญา (ข้อ )
31
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (1)
เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ข้อ 29 ข้อ 27 - ทำตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด - แตกต่างหรือไม่รัดกุมส่ง สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจ จัดทำเอกสาร (ข้อ 44)
32
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (2)
การประกาศข่าวการประกวดราคา ส่งไปรษณีย์ EMS ออกประกาศ ณ ที่ทำการ ส่งวิทยุและหนังสือพิมพ์ ส่งกรมประชาสัมพันธ์ ส่งองค์การสื่อสารมวลชน ส่งศูนย์รวมข่าวประกวดราคา ส่ง สตง. ในตู้ปิดประกาศมีกุญแจปิด มีผู้ปิดและผู้ปลดประกาศ ซึ่งมิใช่ คนเดียวกัน และมีพยานรับรองด้วย
33
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (3)
ประกาศ ไม่น้อยกว่า 7 วัน ทำการ ให้ขาย ห้ามมีเงื่อนไขในการให้/ขาย คำนวณราคา วันรับซองประกวดราคา ห้ามร่นหรือเลื่อนวันรับซอง และเปิดซองประกวดราคา
34
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (4)
คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา - รับซองราคา - ตรวจหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกันส่ง สำเนาให้ธนาคาร - รับเอกสารตามบัญชีรายการ หากไม่ถูกต้องให้บันทึกไว้
35
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (5)
คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา - ส่งเอกสารส่วนที่ 1 ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวด ราคาเพื่อตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน เปิดซองและอ่านแจ้งราคาโดยเปิดเผยเฉพาะที่ผ่านการ ตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน - ลงลายมือชื่อกำกับเอกสารทุกฉบับ - ส่งมอบเรื่องทั้งหมดให้คณะกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคา
36
การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (6)
ใช้วิธีพิเศษ - ประกวดราคาใหม่ ไม่ได้ผลดี อนุโลมข้อ 43 - สูงกว่าวงเงิน - คัดเลือกสิ่งของ/งานจ้าง รายต่ำสุด - พิจารณาราคา เกณฑ์ปกติ ยื่นซองใหม่ - เท่ากันหลายราย ยกเลิก/ ดำเนินการต่อไป - ถูกต้องรายเดียว (51) ยกเลิก - ไม่มีผู้เสนอราคา หรือไม่ถูกต้องตาม spec (52) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา - ตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะ
37
การดำเนินการซื้อโดยวิธีพิเศษ (1)
เงื่อนไข (ข้อ 23) วงเงินเกินหนึ่งแสนบาท วิธีการ (ข้อ 57) จนท. พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ให้ความเห็นชอบ 29 รายงาน ข้อ 27 - จะขายทอดตลาด เจรจาตกลงราคา - ซื้อเพิ่ม (Repeat Order) เจรจาผู้ขายรายเดิม เงื่อนไขเดิม ราคาเดิม หรือดีกว่า - เร่งด่วนช้าเสียหาย เชิญผู้มีอาชีพขายมาเสนอราคาและต่อรอง - ราชการลับ
38
การดำเนินการซื้อโดยวิธีพิเศษ (2)
เงื่อนไข (ข้อ 23) วงเงินเกินหนึ่งแสนบาท วิธีการ (ข้อ 57) สั่งตรงโดยให้หน่วยงานอื่นในต่างประเทศ สืบราคาให้ - ซื้อจากต่างประเทศ เชิญผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายมาเสนอราคา และต่อรอง - จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เชิญเจ้าของมาตกลงราคา - ซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างเฉพาะ - ดำเนินงานโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายและผู้เสนอ ราคาที่ถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) ต่อรองราคา
39
การดำเนินการจ้างโดยวิธีพิเศษ (1)
- กรณีเป็นงานที่ต้องใช้ช่างฝีมือโดย เฉพาะหรือชำนาญโดยพิเศษ - เชิญผู้มีอาชีพโดยตรงมาเสนอราคา เงื่อนไข (ข้อ 24) วงเงินเกิน 1 แสนบาท วิธีการ (ข้อ 58) จนท. พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ให้ความเห็นชอบ 29 รายงาน ข้อ 27 - เร่งด่วนช้าเสียหาย - กรณีเป็นงานจ้างซ่อมที่ไม่ทราบ ความเสียหาย
40
การดำเนินการจ้างโดยวิธีพิเศษ (2)
ราชการลับ เชิญผู้มีอาชีพโดยตรงมาเสนอราคา จ้างเพิ่ม (Repeat Order) เจรจากับผู้รับจ้างรายเดิม ราคาต่ำกว่าหรือราคาเดิม สืบราคาจากผู้มีอาชีพรับจ้างและ ผู้เสนอราคาที่ถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) ต่อรองราคา ดำเนินการโดยวิธีอื่น ไม่ได้ผลดี
41
การดำเนินการซื้อและการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ (1)
จนท.พัสดุ รายงาน 27 สั่งซื้อ/จ้าง วงเงินไม่เกิน 100,000 หัวหน้า จนท.พัสดุ สั่งซื้อ/จ้าง วงเงินเกิน 100,000 หัวหน้าส่วนราชการ
42
การดำเนินการซื้อและการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ (2)
ส่วนราชการ /รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมาย ท้องถิ่น - วงเงินเกิน 100,000 บาท หส.ราชการเป็นผู้สั่งซื้อหรือจ้าง - วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท เป็นอำนาจ หัวหน้า จนท.พัสดุ (ข้อ27) (ข้อ29) จนท.พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ติดต่อตกลงราคา กับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1. เป็นผู้ทำ/ผลิตเองและนายกรัฐมนตรีอนุมัติ หลักการแล้ว 2. มีกฎหมาย/มติคณะรัฐมนตรี ให้ผู้ซื้อ/จ้าง เงื่อนไข :
43
สัญญา สัญญา หมายถึง การใด อันได้กระทำลง โดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งเน้นโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลหรือนิติบุคคล ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
44
รูปแบบของสัญญา 1. เต็มรูป (ข้อ 132)
1.1 ทำสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด ส่ง สนง.อัยการ 1.2 มีข้อความแตกต่าง เสียเปรียบ/ไม่รัดกุม สูงสุดพิจารณา 1.3 ร่างใหม่ 2. ลดรูป (ข้อ 133) ข้อตกลงเป็นหนังสือ (ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง) 2.1 ตกลงราคา ส่งของภายใน 5 วันทำการ 2.3 กรณีพิเศษ การซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษ (บางกรณี) 3. ไม่มีรูป (ข้อ 133 วรรคท้าย) 3.1 ไม่เกิน 10,000 บาท 3.2 ตกลงราคา กรณีเร่งด่วน ตามข้อ 39 วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้
45
เงื่อนไขที่สำคัญของสัญญา
1. ข้อตกลงเรื่องรูปแบบ ปริมาณ จำนวน ราคา 2. การจ่ายเงิน (งวดเงิน) 3. การจ่ายเงินล่วงหน้า (ข้อ 68) 4. หลักประกัน 5. การส่งมอบ การตรวจรับ 6. การขยายเวลา งดหรือลดค่าปรับ 7. การปรับ 8. การประกันความชำรุดบกพร่อง
46
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
หลัก ห้ามแก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อยกเว้น กรณีจำเป็น ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์ กรณีแก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
47
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา(2)
อำนาจอนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา หัวหน้าส่วนราชการ ** หลักการแก้ไขฯ ** การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา สามารถที่จะพิจารณาดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในช่วงเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาก็ตาม แต่อย่างช้าจะต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ได้ทำการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างไว้ใช้
48
การกำหนดค่าปรับ (1) อัตราและเงื่อนไข
** การซื้อ/จ้าง ไม่ต้องการผลสำเร็จพร้อมกัน กำหนด ค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ ** การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราร้อยละ 0.01 – 0.10 ของราคางานจ้างนั้น (ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท)
49
การกำหนดค่าปรับ (2) อัตราและเงื่อนไข
** งานก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อการจราจร กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.25 ของราคางานจ้างนั้น หมายเหตุ การกำหนดค่าปรับข้างต้น ในอัตราหรือ เป็นจำนวนเงินเท่าใด อยู่ในดุลพินิจของ หัวหน้าส่วนราชการ
50
การคิดค่าปรับตามสัญญา
แจ้งการปรับเมื่อครบกำหนดสัญญา/ผิดสัญญาต้อง คิดค่าปรับนับถัดจากวันครบกำหนดสัญญา/ข้อตกลง โดยหักจำนวนวันที่ใช้ไปในการตรวจรับออกก่อน สงวนสิทธิปรับ เมื่อส่งมอบของ/งาน ไม่ตรงตามสัญญา เงื่อนไขสัญญาของเป็นชุด ปรับทั้งชุด ของติดตั้ง/ทดลอง/ปรับตามราคาของทั้งหมด
51
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139)
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139) อำนาจอนุมัติ หัวหน้าส่วนราชการ สาเหตุ (1) เหตุเกิดจากความผิด ความบกพร่องของราชการ (2) เหตุสุดวิสัย (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิด
52
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139)
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139) วิธีการ - คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลา ที่กำหนด คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองด ค่าปรับ หรือขยายเวลามิได้ เว้นแต่กรณี ตาม (1) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือส่วนราชการทราบดี อยู่แล้วตั้งแต่ต้น - พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง
53
การรับมอบและการปรับ 1. ....................... กำหนดส่ง 17 ม.ค. 2.
กำหนดส่ง 17 ม.ค. 2. ส่ง 14 ม.ค. 1 รับ 20 ม.ค. แจ้งให้แก้ไข ส่ง รับ 2 2 ปรับ 24 ม.ค ม.ค. ลดปรับ
54
การรับมอบและการปรับ(ต่อ)
ข้อ 71(4) “ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งถูกต้องตั้งแต่วันที่ได้นำ พัสดุมาส่ง” ......ปรับ ? วัน ครบกำหนด 17 มค. ส่งถูกต้อง 24 ม.ค. ตามสัญญา จะต้องถูกปรับ 18 ม.ค ม.ค. = x วัน *กรรมการล่าช้า (เป็นเหตุพิจารณาลดค่าปรับตามระเบียบฯ ข้อ 139) 15 ม.ค. – 20 ม.ค. = Y วัน ...ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ถูกปรับ X – Y = ? วัน
55
หลักประกัน (ข้อ 141) เงินสด หลักประกันที่ใช้กับสัญญา
หลักประกันสัญญา หลักประกันซอง เงินสด เช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย หนังสือค้ำประกัน ธ หนังสือค้ำประกัน บ พันธบัตรรัฐบาล หลักประกันที่ใช้กับสัญญา หนังสือค้ำประกันธนาคาร ต่างประเทศ (กรณีประกวด ราคานานาชาติ)
56
การนำหลักประกันซองมากกว่า ๑ อย่าง มารวมกัน เพื่อใช้เป็นหลักประกันซองในงานจ้างเหมาเดียวกัน ได้หรือไม่
กวพ. วินิจฉัย * ตามระเบียบฯ ข้อ ๑๔๑ กำหนดว่า “หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาให้ใช้ หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด” เจตนารมณ์ตามระเบียบฯ ให้เลือกหลักประกันอย่างใดก็ได้ ดังนั้น หากใช้หลักประกันตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๔๑ รวมกัน ก็ย่อมกระทำได้
57
การคืนหลักประกัน (ข้อ 144)
มูลค่าหลักประกัน ร้อยละ 5 ของวงเงิน / ราคาพัสดุ ที่จัดหาในครั้งนั้น เว้นแต่ การจัดหาที่สำคัญพิเศษ กำหนดสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 * กรณีส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ เป็นคู่สัญญา / ผู้เสนอราคา - ไม่ต้องวางหลักประกัน (ข้อ 143) การคืนหลักประกัน (ข้อ 144) ซอง คืนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันพิจารณาเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว สัญญา คืนโดยเร็ว / อย่างช้าไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันที่คู่สัญญา พ้นข้อผูกพันแล้ว
58
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ผู้รับจ้าง ผู้ขาย คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจการจ้าง หัวหน้าส่วนราชการ ส่งมอบ แก้ไขเปลี่ยนแปลง สัญญา งด ลดค่าปรับ ขยายสัญญา
59
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
หน้าที่ ตรวจรับ ณ สถานที่ที่กำหนดในสัญญา ตรวจทดลองตามสัญญา ตรวจในวันที่ส่งมอบ ให้เสร็จภายใน 5 วันทำการ ไม่รวมวันตรวจทดลองทางวิทยาศาสตร์/ วิชาการ รับเฉพาะที่ถูกต้อง เว้นแต่ - ตกลงเป็นอื่น - พัสดุเป็นชุด มติไม่เอกฉันท์ ต้องเสนอหัวหน้าส่วนราชการสั่งงาน
60
คณะกรรมการตรวจการจ้าง
หน้าที่ ตรวจรายงาน ผู้ควบคุมงาน พิจารณาคำสั่งหยุดงาน รายงานหัวหน้าส่วนราชการ นับแต่ประธานรับทราบ ต้องตรวจให้เสร็จ ภายใน 3 วันทำการ (แต่ละงวด) ภายใน 5 วันทำการ (งวดสุดท้าย) ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงาน มติไม่เอกฉันท์ เสนอหัวหน้าส่วนราชการ
61
งานที่ต้องมีผู้ควบคุมงาน
งานดัดแปลง งานก่อสร้าง งานเคลื่อน ย้ายอาคาร งานซ่อมแซม งานต่อเติม งานรื้อถอน
62
ผู้ควบคุมงาน (1) หน้าที่ ตรวจและควบคุมงานทุกวัน
รายงานการ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ ตรวจงานให้แล้วเสร็จ โดยแยกดังนี้ แบบราคาเหมารวม 3 วันทำการ (งวดงานและงวดสุดท้าย) แบบราคาต่อหน่วย
63
ผู้ควบคุมงาน (2) แบบราคาต่อหน่วย
ผู้ควบคุมงาน (2) แบบราคาต่อหน่วย ราคาไม่เกิน 30 ล้านบาท วัน ทำการ (รายงวด) วัน ทำการ (ครั้งสุดท้าย) ราคาไม่เกิน 60 ล้านบาท วัน ทำงาน (รายงวด) 12 วัน ทำการ (ครั้งสุดท้าย) ราคาไม่เกิน 100 ล้านบาท 12 วัน ทำงาน (รายงวด) วัน ทำการ (ครั้งสุดท้าย) ราคาเกิน 100 ล้านบาท วัน ทำงาน (รายงวด) วัน ทำการ (ครั้งสุดท้าย)
64
การจ้างที่ปรึกษา
65
การจ้างที่ปรึกษา การจ้างที่ปรึกษา หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึงการจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ ปรึกษา หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจหรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านการศึกษา สำรวจ ออกแบบและควบคุมงาน และการวิจัย แต่ไม่รวมถึงการให้บริการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ ปรึกษาไทย หมายความว่า ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทยและ ได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง
66
การจ้างที่ปรึกษา หลัก ข้อยกเว้น ให้ส่วนราชการจ้าง ที่ปรึกษาไทยเป็น
ที่ปรึกษาหลัก (Lead Firm) สามารถจ้างที่ปรึกษา ต่างประเทศ โดยต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 10 เมษายน 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์การจ้าง ที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานรัฐ
67
การจ้างที่ปรึกษามี 2 วิธี
1 วิธีตกลง 2 วิธีคัดเลือก
68
การจ้างที่ปรึกษา มี 2 วิธีคือ
วิธีตกลง วิธีคัดเลือก
69
รายงานขอจ้างที่ปรึกษา (1)
รายงาน (ข้อ 78) จนท.พัสดุ หน.ส่วนราชการ รายละเอียดรายงาน เหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา ขอบเขตโดยละเอียดของงานที่จะจ้าง (TOR) คุณสมบัติของที่ปรึกษา วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาโดยประมาณ กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน เหตุผลในการจ้างโดยวิธีตกลง ข้อเสนออื่นๆ
70
คณะกรรมการจัดจ้างที่ปรึกษา
มี 2 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินการจัดจ้าง ที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง 1. คณะกรรมการดำเนินการจัดจ้าง ที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก 2.
71
ประธานกรรมการ 1 คน องค์ประกอบคณะกรรมการจัดจ้างที่ปรึกษา
กรรมการอย่างน้อย 4 คน ระดับ 6 หรือ เทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อย คน กรณีที่ดำเนินการด้วยเงินกู้ให้มีผู้แทน จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังด้วย คน
72
ข้อหารือของหน่วยงาน หารือว่า
การจ้างที่ปรึกษา ต่างกับการจ้างอย่างไร - การจ้างที่ปรึกษา หมายถึง การจ้างบุคคล หรือนิติบุคคล ที่ประกอบธุรกิจหรือสามารถให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งด้านศึกษา สำรวจ ออกแบบและควบคุมงาน และการวิจัย ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถ หรือความชำนาญในทางวิชาการเพื่อให้ได้ผลสำเร็จ ของงาน - การจ้างที่มิได้มีสาระสำคัญที่จะต้องใช้ความรู้ในเชิงวิชาการ เป็นการเฉพาะ และมีลักษณะเป็นเพียงการจ้างทำของหรือจ้างเหมาบริการทั่วไป ซึ่งจะต้องใช้ผู้ที่มีฝีมือเฉพาะหรือมีความชำนาญ เป็นพิเศษเท่านั้น เป็นการจ้างโดยวิธีพิเศษ ข้อ ๒๔ (๑)
73
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง หมายถึง การจ้าง ที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างที่ปรึกษารายใด รายหนึ่ง ซึ่งเคยทราบและเคยเห็นความสามารถและผลงานมาแล้ว และเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้
74
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงราคา(1)
เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบฯ ตามรายงานดังกล่าวแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้าง ซึ่งสามารถจ้างได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ - เป็นการจ้างที่มีค่างานไม่เกิน 100,000 บาท - เป็นการจ้างเพื่อทำงานต่อเนื่องจากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว - เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่า ผู้เชี่ยวชาญในงาน ที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด และเป็นการจ้างที่มี ค่างานจ้างไม่เกิน 2,000,000 บาท - เป็นการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นใดที่มี กฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุนให้ดำเนินการจ้าง ได้โดยตรง
75
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงราคา(2)
เป็นการจ้างที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการโดยให้หัวหน้าส่วนราชการ จะต้องทำรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็นของการจ้าง โดยวิธีตกลงให้ กวพ. ทราบ โดยมิชักช้า แต่อย่างช้า ต้องไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีการจ้าง แต่ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วยว่าสัญญาจ้างจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ กวพ. ให้ความเห็นชอบ
76
คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลงมีหน้าที่ ดังนี้
คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลงมีหน้าที่ ดังนี้ พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบริการที่จะจ้าง และเจรจาต่อรอง พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดไว้ในสัญญา ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
77
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก หมายถึง การจ้างที่ปรึกษาโดยการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานให้เหลือน้อยราย
78
คัดเลือกที่ปรึกษาให้น้อยราย และคัดเลือกรายที่ดีที่สุด
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก รายงาน (ข้อ 78) จนท.พัสดุ หน.ส่วนราชการ ที่ปรึกษาจากต่างประเทศ ขอรายชื่อจากสถาบันการเงินหรือองค์การระหว่างประเทศ ที่ปรึกษาไทย ขอรายชื่อจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง วิธีการ คัดเลือกที่ปรึกษาให้น้อยราย (ไม่เกิน 6 ราย) และคัดเลือกรายที่ดีที่สุด การดำเนินการ
79
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจ้างที่ปรึกษาขอรายชื่อของที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้มากรายที่สุด ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก คัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยราย โดยให้เหลืออย่างมาก 6 ราย ให้ส่วนราชการออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ เพื่อให้ยื่นข้อเสนอรับงาน ตามวิธีหนึ่งวิธีใด (1) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกัน โดยแยกเป็น 2 ซอง (2) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว
80
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพิจารณาว่า ที่ปรึกษาที่มายื่นซองมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ประกาศรายชื่อที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ทุกรายและจัดลำดับไว้
81
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
ในกรณีที่ใช้วิธี (1) ยื่น 2 ซอง ให้เปิดซองเสนอด้านราคาของที่ปรึกษา ที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุด และเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม ในกรณีที่ใช้วิธี (2) ยื่นซองเดียว ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอ ด้านเทคนิคที่ดีที่สุด มายื่นข้อเสนอด้านราคาและเจรจาต่อรอง ให้ได้ราคาที่เหมาะสม กรณีถ้าหากเจรจากับที่ปรึกษาไม่ได้ผล ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณายกเลิกการเจรจากับที่ปรึกษารายนั้น แล้วเปิดซอง ข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุด รายถัดไป หรือเชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุด รายถัดไปให้ยื่นข้อเสนอด้านราคาและเจรจาต่อรองให้ได้ราคา ที่เหมาะสม
82
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไขที่จะกำหนด ไว้ในสัญญา ให้คณะกรรมการฯ รายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ กรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตาม (1) หลังจากตัดสินทำสัญญา กับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอ ด้านราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง
83
การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ส่วนราชการออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ ให้ยื่นข้อเสนอ 1. ให้ที่ปรึกษายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกัน โดยแยกออกเป็น 2 ซอง 2. ให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพิจารณาว่าที่ปรึกษาที่มายื่นซองมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ 3. ประกาศรายชื่อที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน 4. ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา ทุกรายและจัดลำดับ 5.
84
การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับไว้ ลำดับที่ 1-3 พร้อมกันแล้วเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุดมาเจรจาต่อรองเป็นลำดับแรก ถ้าเจรจาไม่ได้ผลให้ยกเลิกแล้วเจรจากับรายที่เสนอราคาต่ำรายถัดไป ตามลำดับ 6. เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไขที่จะกำหนดไว้ในสัญญา 7. ให้คณะกรรมการฯ รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ 8.
85
ผู้มีอำนาจสั่งจ้างที่ปรึกษา (ข้อ 91)
หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน 50 ล้าน ปลัดกระทรวง เกิน 50 แต่ไม่เกิน 100 ล้าน รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน 100 ล้าน
86
การจ่ายเงินล่วงหน้า ในกรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้จ่ายได้ ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างตามสัญญา และที่ปรึกษา จะต้องวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร เพื่อค้ำประกัน เงินค่าจ้างที่ได้รับล่วงหน้าไป จะให้ที่ปรึกษาใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารวางค้ำประกันแทนเงินที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย กรณีจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าไม่ได้เกิน ร้อยละ 50 และไม่ต้องมีหลักประกันเงินล่วงหน้าก็ได้
87
การคืนหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า)
การคืนหนังสือค้ำประกัน (หลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า) ให้คืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ที่ปรึกษา เมื่อได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างที่จ่ายตามผลงานในแต่ละงวดจนครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย
88
หลักประกันผลงาน หลักประกันผลงาน
การจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ที่ปรึกษาที่แบ่งการชำระเงินออกเป็นงวดให้หักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินค่าจ้าง หรือ ให้ที่ปรึกษาใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารวางค้ำประกันแทนเงินที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย
89
การคืนหลักประกันผลงาน
คืนภายใน 45 วัน นับแต่ (ตัวอย่างเช่น “การจ่ายเงินงวดสุดท้าย” เป็นต้น )
90
การลงโทษผู้ทิ้งงาน
91
หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน (1)
1. ผู้ได้รับคัดเลือกไม่มาทำสัญญา - เสนอราคาทุกวิธี ซึ่งทางราชการสนองรับราคาแล้ว เว้นแต่วิธีตกลงราคา วิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ ที่ไม่มีการยืนราคา และมีการถอนคำเสนอก่อนที่ ทางราชการสนองรับ 2. คู่สัญญา/ผู้รับจ้างช่วงไม่ปฏิบัติตามสัญญา - ทำสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว ผิดสัญญาและทางราชการบอกเลิกสัญญา 3. คู่สัญญาไม่แก้ไขความชำรุดบกพร่อง - กรณีต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามสัญญา หรือแจ้งให้แก้ไขแล้ว ไม่แก้ไข 4. พัสดุตามสัญญา/วัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน/ไม่ครบถ้วน ทำให้งานเสียหายอย่างร้ายแรง - ต้องรับผิดทุกกรณี ไม่คำนึงถึงการแก้ไข หรือการชดใช้
92
หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน (2)
5. งานก่อสร้างสาธารณูปโภค ใช้ของที่มีข้อบกพร่อง/ไม่ได้มาตรฐาน/ไม่ครบถ้วน - ไม่จำเป็นต้องเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง 6. ที่ปรึกษาที่มีผลงานบกพร่อง/ผิดพลาด/ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง - ผลงานที่ทำกับคู่สัญญา 7. ผู้กระทำการขัดขวางการแข่งขันราคา/กระทำการโดยไม่สุจริตในการเสนอราคา - สมยอมกันในการเสนอราคา เสนอราคาโดยทุจริต - ใช้ชื่อผู้อื่นเสนอราคา ใช้เอกสารปลอม เอกสารเท็จ 8. เจตนาปกปิดการมีผลประโยชน์ร่วมกัน - มีความสัมพันธ์ทางบริหาร มีความสัมพันธ์กันในเชิงไขว้กัน - มีความสัมพันธ์ทางทุน
93
การพิจารณาผู้ทิ้งงานทั่วไป
1. หัวหน้าส่วนราชการรายงานเสนอปลัดกระทรวงพร้อมความเห็นโดยเร็ว - หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง - ไม่เกิน 15 วัน 2. ปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ส่งชื่อให้ผู้รักษาการสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน - ไม่เกิน 15 วัน 3. กวพ. เสนอความเห็นว่าสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน 4. ผู้รักษาการตามระเบียนพิจารณาสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน 5. ผู้รักษาการระบุชื่อผู้ทิ้งงานในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน 6. ผู้รักษาการแจ้งเวียนชื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ของรัฐทราบ/แจ้งผู้ทิ้งงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
94
การพิจารณาผู้ทิ้งงาน
1. ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคล ดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน หรือไม่ กรณีทิ้งงานทั่วไป ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะถูกลงโทษชี้แจง ภายในกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน กรณีมีการขัดขวางการแข่งขันราคา ต้องแจ้งเหตุที่สงสัยไปให้ ผู้เสนอราคา/เสนองานที่ถูกสงสัยทราบ ชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 15 วัน - ชี้แจงด้วยวาจา , ลายลักษณ์อักษร 2. ดำเนินการต่อไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ทิ้งงานทั่วไป
95
ผลการลงโทษผู้ทิ้งงาน
1. ลงโทษนิติบุคคล ถ้าการกระทำเกิดจากผู้บริหาร ลงโทษผู้บริหารด้วย 2. การสั่งลงโทษนิติบุคคล มีผลถึงนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภท เดียวกัน ซึ่งมี ผู้บริหารคนเดียวกันด้วย 3. การสั่งลงโทษบุคคลธรรมดา มีผลถึงนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าว เป็นผู้บริหารด้วย หมายเหตุ ผู้บริหาร - หุ้นส่วนผู้จัดการ/กรรมการผู้จัดการ/ผู้บริหาร/ ผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้นๆ
96
การเพิกถอนผู้ทิ้งงาน
1. ได้ถูกลงโทษตัดสิทธิมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี 2. มิได้กระทำไปด้วยเจตนาทุจริต หรือเป็นการเอาเปรียบ ทางราชการ หากเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือด้วยความจำเป็นบางประการ 3. เป็นนิติบุคคลที่มีฐานะมั่นคง มีเกียรติประวัติดีมาก่อน 4. ยอมรับและรู้สำนึกความผิดในการกระทำของตน 5. ผู้ถูกลงโทษต้องยื่นคำขอ
97
การอุทธรณ์การลงโทษ 1. ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้รักษาการตามระเบียบภายใน 15 วัน นับแต่วันรับแจ้งการลงโทษ 2. ชี้แจงข้อเท็จจริง (ถ้ามี) 3. การพิจารณาอุทธรณ์ เป็นไปตามกฏหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง - พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 4. คำสั่งยกอุทธรณ์ โดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย - ผู้อุทธรณ์ มีอำนาจยื่นฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน ตาม กฎหมาย 5. คำสั่งเพิกถอนการทิ้งงาน (ปฏิบัติตามกฎหมาย)
98
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.