งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

- Introduction (punya)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "- Introduction (punya)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 - Introduction (punya)
Course outline - Introduction (punya) - Geological investigation (punya) - Remote sensing investigation (kritsanapol) Geochemical Investigation (punya) Geophysical Investigation (veera) - Drilling exploration & subsurface investigation (Pakdeepong) Reserve estimation (Pakdeepong) -Ore deposit model (punya) Exploration law and Report writing (punya) -

2 แนวคิดพื้นฐาน (General Consideration)
บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน (General Consideration)

3 การสำรวจแร่ (Mineral exploration)
เป็น วิชาทางวิทยาที่ศึกษาถึงขั้นตอนการสำรวจแหล่งแร่ ตั้งแต่การเริ่มต้นคิดวางแผนการสำรวจ การเลือกบริเวณของการสำรวจ ไปจนถึงประเมินผลการสำรวจว่ามีแร่มีค่ามากเท่าใดเละมีคุณภาพเป็นอย่างไร

4 การสำรวจแร่และการแสวงหาแร่ (Exploration and Prospecting)
การสำรวจแร่ คือ ขั้นตอนทั้งหมดของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มคิดวางแผนสำรวจ ไปจนถึงการค้นหาแร่ โดยอาศัยหลักวิชาการและเทคโนโลยีเข้าช่วย เป็นการศึกษาอย่างกว้างๆ ส่วนการแสวงหาแร่ เป็นการศึกษารายละเอียดเฉพาะแหล่งของตัวชี้วัดนั้น การสำรวจแร่มีขึ้นเนื่องจากการเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ประชากร จากการที่ประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้ needs หรือความต้องการ และอุปสงค์ (demand) ของอาหารและวัตถุดิบ energy and mineral และ mineral exploration มีความสัมพันธ์ดังนี้

5 แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการสำรวจกับประชากร

6 แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการสำรวจกับภาวะทางเศรษฐกิจ

7 Mineral Exploration and Economics
เมื่อการสำรวจมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจ ดังนั้นถ้าวัตถุดิบขาดแคลน ผลที่ตามมาคือราคาสินค้าจะสูงขึ้นจนผู้บริโภคไม่สามารถซื้อได้ ทำให้ต้องเพิ่มการสำรวจเพื่อตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้น

8 แผนภูมิแสดงความต้องการวัตถุดิบในสังคมมนุษย์

9 แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานด้านการสำรวจแหล่งแร่จนถึงการผลิตวัตถุดิบ

10 ในแง่เศรษฐกิจราคาสินค้ามักเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้ซื้อและจำนวนของที่มีขาย โดยราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นถ้าความต้องการสินค้ามีมากกว่าปริมาณสินค้า นั่นคิอการขยายตัวของอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ในทางตรงข้าม ถ้าผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าน้อยกว่าปริมาณสินค้าจะทำให้ราคาสินค้าลดลง แต่ถ้าขยายตัวเท่ากัน จะทำให้ราคาสินค้าคงที่ในที่สุด

11 ความสัมพันธ์ของราคาและ
ปริมาณวัตถุดิบกับอุปทาน ความสัมพันธ์ระหว่างราคา และปริมาณกับอุปสงค์

12 ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานกับดุลยภาพแห่งราคาและปริมาณ

13 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทานเมื่อเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบหรือปริมาณวัตถุดิบลดลง

14 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทานเมื่อราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น

15 ตัวอย่าง ข้อมูลเรื่องหินอ่อน-หินแกรนิต (block) ของสภาการเหมืองแร่ (ฉบับที่ 5 , 2536)
อธิบายถึงการกำหนดราคาหินบล๊อค เมื่อปริมาณการผลิตและปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้น โดยใช้เส้นอุปสงค์และอุปทานของหินมาเป็นตัวอธิบาย จากข้อมูลราคา และปริมาณการผลิตหินอ่อนและแกรนิต พบว่าแนวโน้มของระดับราคาหิน block ค่อนข้างคงที่ ในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้นตลอด กล่าวคือ อัตราการเพิ่มของการผลิต (อุปทาน) อยู่ในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกับอัตราเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ (อุปสงค์) ซึ่งส่งผลให้ราคานั้นคงที

16 ระดับราคาคงที่เนื่องจากราคาขยายตัวที่เท่ากันของอุปสงค์และอุปทานของหินประดับ

17 ระดับราคาสูงขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์มากกว่าอุปทานของหินประดับ

18 การสำรวจแร่ในอดีตและปัจจุบัน (Past and Present - day Exploration)
การเปรียบเทียบการสำรวจในอดีตและปัจจุบันในด้านต่างๆมีดังนี้ ความต้องการและประชากร อดีต : มีความต้องการแร่ต่ำ เนื่องจากประชากรน้อย จึงไม่เกิดความขาดแคลน ปัจจุบัน : มีความต้องการแร่สูงขึ้น เนื่องจากประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดปัญหาความขาดแคลน

19 กราฟแสดงผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ซึ่งได้จากทรัพยากรธรณีกลุ่มต่างๆ

20 กราฟแสดงอัตราส่วนระหว่างการลงทุนในตลาดกับ GDP (แกน y) กับปีพ. ศ

21 ต้นทุนการผลิต (cost) และราคาสินค้า (price)
อดีต : ส่วนใหญ่แร่มีราคาถูก ต้นทุนการผลิตต่ำเนื่องจากแร่มีความสมบูรณ์สูง ปัจจุบัน : ต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากแหล่งแร่มีความสมบูรณ์ลดลง , พยายามหาแร่ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เช่น พลอย หรือพยายามหาแร่ที่มีราคาแพง เช่นในภาวะสงคราม ได้แก่ ทังสเตน นิเกิล หรือแร่หายาก เทคโนโลยีและเครื่องมือ (Technology and Equipment) อดีต : สมัยก่อนหลายคนรู้ว่าสินแร่ Al มาจากบอกไซต์ แต่ต่อมาก็รู้ว่าตะกอนพวก pelletic ก็มี Al มากเหมือนกันแต่เทคโนโลยีการถลุงเอื้อให้เนื่องจากราคาแพงมาก ปัจจุบัน : มีการใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เช่น GPS ในการหาตำแหน่งแทนเข็มทิศ

22 ความกดดันทางการเมืองและภายนอก (Political and External pressure)
ความผันผวนทางการเมืองในไทยไม่ค่อยมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก จะเห็นได้จากการเกิดพฤษภาทมิฬ ซึ่งเป็นเรื่องทางการเมืองแต่ไม่มีผลทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวมากนัก แต่ผลกระทบจากภายนอก เช่นในปี 2540 เนื่องจากการเก็งกำไรค่าเงินบาทของนักลงทุนทางการเงินต่างชาติและการปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวอย่างฉับพลันทำให้การสำรวจลดลงอย่างทันทีด้วย ความรู้ (knowledge) อดีต : ใช้ความรู้น้อยในการสำรวจ ปัจจุบัน : ใช้ความรู้มากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลมากขึ้น เทคโนโลยีสูงขึ้น

23 การหาแร่และค่าใช้จ่าย (Ore finding and cost of exploration)
อดีต : หาง่ายเพราะความสมบูรณ์ยังสูง และเราหาแหล่งแร่ที่อยู่บนผิวดิน (surface deposit) ปัจจุบัน : แร่หายากขึ้นเพราะเหลือน้อยลงและเราหาแหล่งแร่ที่ถูกปิดทับ (concealed deposit) หรืออยู่ใต้ดิน การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร (Transportation and Communication) ปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น เส้นทางคมนาคมมีหลายทาง

24 ประสิทธิผลของการสำรวจแร่ (Optimization of Exploration)
คือความเหมาะสมหรือประโยชน์สูงสุดในการสำรวจ คือต้องพยายามทำให้อัตราผลตอบแทน (rate return) อย่างต่ำ ต้องมากกว่าอัตราดอกเบี้ย (interest rate) หมายถึง ผลตอบแทนที่ได้รับต้องมากกว่าดอกเบี้ยรายปีในการฝากเงินธนาคาร สถาบันเงินฝากหรือต้นทุนของเงินลงทุนที่หามาได้ ตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้เราทราบ optimization of exploration คือ วิธีการสำรวจ กระบวนการทางธรณีวิทยา

25 ความสำเร็จของการสำรวจแร่ (Exploration success)
ตัววัดความสำเร็จของการสำรวจคือการหาแหล่งแร่ให้พบเพื่อนำแร่ขึ้นมาใช้ แต่ไม่รวมถึงความสำเร็จในการเปิดเหมืองใหม่ โดยมากการเริ่มต้นการสำรวจมักมีค่าประสบความสำเร็จต่ำมาก

26 ราคาและการใช้ประโยชน์จากแร่
ในการสำรวจแร่ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการสำรวจแร่ คือราคาแร่ เช่นดีบุกในปัจจุบันมีราคาต่ำมาก เนื่องจากการใช้ประโยชน์มีจำกัดและถูกแทนที่ด้วยพลาสติก ทำให้ราคาดีบุกลดลง เหมืองดีบุกก็อยู่ไม่ได้ การสำรวจดีบุกจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป ดังนั้นความรู้ความเข้าใจเรื่องราคาและประโยชน์ของแร่จึงเป็นสิ่งที่นักสำรวจต้องให้ความสำคัญ

27 ผลผลิตแร่บางตัวที่สำคัญในปี 1994 แร่ที่เป็นแร่โลหะแสดงด้วยตัวเอียง

28 ผลผลิตแร่โลหะและแร่อุตสาหกรรมบางตัวที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ (%) จาก ค
ผลผลิตแร่โลหะและแร่อุตสาหกรรมบางตัวที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ (%) จาก ค.ศ

29 การพัฒนาเหมืองเปิด ในช่วงเริ่มต้น (แนว aa’) สินแร่ในสายแร่ถูกขุดออกไปมากกว่าส่วนที่เป็นดินเหนือแร่ แต่เมื่อเหมืองขุดลึกลงไปมากขึ้น อัตราส่วนระหว่างดินทิ้งกับสินแร่ก็มากขึ้น (จนถึงแนว bb’) ซึ่งลดลงจาก 1.6 ไปเหลือ1 (Barnes, 1988)

30 คำศัพย์ที่นักสำรวจควรรู้ในทางเหมืองแร่


ดาวน์โหลด ppt - Introduction (punya)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google