ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMillicent Wilson ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
2
กำเนิดระบบสุริยะ เกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่น ที่เรียกว่า โซลาร์เนบิวลา (Solar Nebula) เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานที่ใจกลางของกลุ่มก๊าซ เกิดเป็นดาวฤกษ์ คือ ดวงอาทิตย์ ประมาณร้อยละ 99.8 ของมวลทั้งหมด เศษฝุ่นและก๊าซที่เหลือจากการเกิดดาวฤกษ์ เคลื่อนที่อยู่ล้อมรอบ เกิดการรวมตัวกันภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง กลายเป็นดาวเคราะห์และวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะ ระบบสุริยะ ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 8 ดวง เรียงตามลำดับจากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวเคราะห์นั้นไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เราสามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวดาวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์แล้วเข้าสู่ตาเรา
3
ดาวเคราะห์ทั้ง 8 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้
แบ่งตามลักษณะทางกายภาพหรือลักษณะพื้นผิว 1. ดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์แข็ง (Inner or Terrestrial Planets) : จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของ ได้แก่ ดาวพุธ , ดาวศุกร์,โลก และดาวอังคาร ซึ่งจะใช้แถบของดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง 2. ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ก๊าซ (Outer or Giant Gas Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ ที่เพิ่งเย็นตัว ผิวรอบนอกปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี , ดาวเสาร์ , ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
4
แบ่งตามวงทางโคจร โดยใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งดาวเคราะห์ได้ ดังนี้ 1. ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ 2. ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
5
ดาวศุกร์อยู่ใกล้ โลกมากที่สุด สามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่า ใหญ่เป็นอันดับ 6 เนื่องจากขนาดมวล ความหนาแน่นและองค์ประกอบของธาตุต่างๆ มีความคล้ายคลึงกับโลกมาก จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดโลก ชาวโรมันเรียก วีนัส เป็น เทพธิดาแห่งความรักถ้าเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ เรียกว่า ดาวประจำเมือง ถ้าเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ดาวประกายพรึก ชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่ของดาวศุกร์เป็นแก๊สดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ มากที่สุดและเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นดาวพุธจึงร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลากลางคืน จึงได้ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง สังเกตเห็นด้วยตาเปล่า ได้ตอนใกล้ค่ำและช่วงรุ่งเช้า ดาวพุธ ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร ดาวพุธหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยัง ทิศตะวันออกกินเวลาประมาณ วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 88 วัน
6
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใหญ่เป็นอันดับ 7 ผิวพื้นเป็นหิน
สีแดงจึงได้ชื่อว่าเทพเจ้าแห่งสงคราม หรือดาวเคราะห์สีแดง หินบนดาวอังคารที่มีสีแดงเพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของ ดาวอังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจาก หินแดงนี้ผิวของดาวอังคารจึงเหมือนกับทะเลหินแดง อยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง คือโฟบอส และ ดีมอส โลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี ใหญ่เป็นอันดับ 5 โลกมีฉายาว่าดาวเคราะห์สีน้ำเงิน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียว ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมี ชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จาก ดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
7
เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งการเกษตร ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์สวยที่สุดเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 60 ดวง มีฉายาว่าโลกยักษ์ หรือดาวเคราะห์ ยักษ์ เนื่องจากเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 12 ปี นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารมากถึง 63 ดวง
8
หรือดาวมฤตยู เป็นดาวเคราะห์แก๊ส
สีน้ำเงินเขียวจึงได้ฉายาว่า เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าใหญ่เป็นอันดับ 3 มีวงแหวนบาง ๆ ล้อมรอบ นอกจากนี้ยังมีพื้นผิวและบรรยากาศคล้าย ๆ ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ดาวเนปจูน หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 27 ดวง หรือดาวเกตุเป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายเป็นเทพเจ้าแห่งทะเลหรือเรียกว่าดาวสมุทร โครงสร้างมีความคล้ายคลึงกับ กับดาวยูเรนัส ทุกประการ อาจเรียกว่าเป็น ดาวคู่แฝดก็ได้ เพียงมีขนาดเล็กกว่าและมวลมากกว่าเป็นดาวเคราะห์แก๊สสีน้ำเงิน ใหญ่เป็นอันดับ 4 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 165 ปี ดวงจันทร์ของดาวเนปจูนมีถึง 13 ดวง และ Triton จัดว่าเป็นดวงจันทร์ ที่สวยงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะเลยที่เดียว
9
เดิมเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล ดาวพลูโต มีข้อแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นอย่างมาก ด้วยมีขนาดเล็ก มีวงโคจรแบบ Eccentric (เยื้องศูนย์กลาง หรือคล้ายลูกเบี้ยว) รวมทั้งมีความเอียงเทลาด (Inclined) มากถึง 17 องศา ส่วองค์ประกอบของดาวพลูโต เป็นหินและน้ำแข็ง มีความต่างจากดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เพราะเมื่อตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็น ลักษณะแบบเดียวกับ ดาวหาง บัดนี้ดาวพลูโตถูกกำหนดประเภทให้ใหม่ เป็น “ ดาวเคราะห์แคระ ”
10
ข้อแตกต่างระหว่างดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระ
1. ดาวเคราะห์ (Planet) หมายถึง เทห์วัตถุที่มีสมบัติต่อไปนี้ โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาวสามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว ส่งผลให้ดาวอยู่ในสภาวะสมดุลไฮโดรสแตติก (hydrostatic equilibrium) เช่น ทรงกลม หรือเกือบกลม สามารถกวาดวัตถุในบริเวณข้างเคียงไปได้ 2. ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) หมายถึง เทห์วัตถุที่มีสมบัติดังต่อไปนี้ครบถ้วน โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาวสามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว ส่งผลให้ ดาวอยู่ในสภาวะสมดุลไฮโดรสแตติก เช่น ทรงกลม หรือเกือบกลม ไม่สามารถกวาดวัตถุในบริเวณข้างเคียงไปได้ ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์
11
ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ : ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
1) ชั้นโฟโตสเฟียร์ (Photosphere) เป็นบรรยากาศชั้นในสุดของดวงอาทิตย์ เป็นบริเวณที่มีการแผ่สเปกตรัมแบบต่อเนื่องออกมา ชั้นนี้มีจุดมืดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ซึ่งเกิดจากแก๊ซที่อยู่เหนือโฟโตสเฟียร์ขึ้นไป มีอุณหภูมิประมาณ 6,000 เคลวิน ชั้นโฟโตสเฟียร์เป็นบริเวณที่สว่างที่สามารถมองเห็นได้ 2) ชั้นโครโมสเฟียร์ (Chromosphere) เป็นชั้นบรรยากาศบางๆที่ห่อหุ้มชั้นโฟโตสเฟียร์ ชั้นนี้มีอุณหภูมิ 4,000 – 20,000 เคลวิน บรรยากาศชั้นนี้มีสีแดงซึ่งเกิดจากการลุกจ้า (Glow) ของไฮโดรเจน 3) ชั้นโคโรนา (Corona) เป็นชั้นบรรยากาศที่เจือจางและแผ่กระจายออกจากดวงอาทิตย์ได้ไกลมาก สามารถเห็นแสงส่วนนี้ในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ชั้นนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 1- 4 ล้านเคลวิน
12
ดวงอาทิตย์ (The Sun) ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจน 74% ต่อมวล ฮีเลียม 25% ต่อมวล และธาตุหนักอื่น ๆ อีก 1% ต่อมวล พลังงานของดวงอาทิตย์มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน จุดมืด (sunspots) บนดวงอาทิตย์ คือ บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้นสูงมาก บางครั้งจะมีการลุกจ้า (flares) การลุกจ้า (flares) บนดวงอาทิตย์เป็นการระเบิดรุนแรง ทำให้มีอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนความเร็วสูงหลุดออกมา สามารถส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโลก สนามแม่เหล็กโลก และเกิดปรากฎการณ์พายุสุริยะ
13
อิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก
ลมสุริยะ (solar wind) คือ เกิดจากการขยายตัวของโคโรนาของดวงอาทิตย์ทำให้ปลดปล่อยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนออกมาอย่างต่อเนื่องทุกทิศทุกทาง ตลอดเวลา แท้จริงเป็นพฤติกรรมทั่วไปของดวงอาทิตย์ และมีผลต่อโลกอยู่บ้าง เช่นทำให้เกิด พายุแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว เกิดปรากฎการณ์ออโรรา (แสงเหนือ-แสงใต้) พายุสุริยะ (solar storm) คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการลุกจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้ดวงอาทิตย์ ปลดปล่อยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนจำนวนมากและความเร็วสูงกว่าลมสุริยะ มีต่อระบบการสื่อสารคมนาคมทางวิทยุ ระบบการบิน ดาวเทียม ระบบไฟฟ้า ดาวเทียมและยานอวกาศที่อยู่ในอวกาศก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะได้ ลมสุริยะกับพายุสุริยะ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ลมสุริยะและพายุสุริยะ เหมือนกันตรงที่ต่างก็ปลดปล่อยอนุภาคออกมาจากดวงอาทิตย์ แต่แตกต่างกันในความรุนแรงและสาเหตุการเกิด พายุสุริยะจึงคล้ายกับลมสุริยะที่ประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนแต่มีพลังงานสูงกว่า
14
ดาวหางเป็น“ก้อนน้ำแข็งสกปรก” ประกอบด้วย
น้ำแข็ง ก๊าซต่างๆเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย นอกจากนี้ยังมีฝุ่นกับหินปะปนอยู่อีกด้วย ส่วนใหญ่มาจากบริเวณนอกระบบสุริยะที่เรียกว่า แถบคอยเปอร์ ดาวหางประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ 1. นิวเคลียส (Nucleus) ก็คือก้อนน้ำเข็งที่อยู่ใจกลางหัวดาวหาง 2. โคมา (Coma) เป็นกลุ่มก๊าซที่ระเหิดอยู่อย่างหนาแน่น ห้อมล้อมนิวเคลียสไว้กลายเป็นหัวดาวหาง 3. หาง (Tail) หางมีสองชนิดคือ หางฝุ่นและหางไอออน ส่วนมากที่เราเห็นกันชัดๆนั่นเป็นหางฝุ่น ส่วนหางไอออนนั้น เกิดจากการเรืองแสงของไอออนบริเวณหัวดาวหาง เมื่อได้รับพลังงานจากลมสุริยะ ดาวหางเฮียะกุตะเกะ ดาวหาง Helley ดาวหางตระกูลครอทซ์
15
อุกกาบาต (Meteor) เป็นวัตถุที่ล่องลอย
อยู่ในอวกาศ เมื่อเข้าใกล้โลกจะถูกดึงดูด ผ่านชั้นบรรยากาศตกลงสู่พื้นโลก ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่า “ สะเก็ดดาว ” ขณะที่ตกลงมาจะเสียดสีกับบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดการลุกไหม้เป็นลูกไฟพุ่งลงมาเป็นแสงสว่าง ถ้าเผาไหม้หมดในชั้นบรรยากาศ เรียกว่า “ ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ ” หากไหม้ไม่หมดและ ตกลงมาถึงโลก เรียกว่า “ อุกกาบาต ”
16
ก้อนหินขนาดเล็กซึ่งรวมอยู่ด้วยกันจำนวนหลายพันก้อน
อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี เรียกบริเวณนี้ว่า “แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt)” บางครั้งเรียก แถบดาวเคราะห์น้อยว่า “แถบหลัก”
17
ได้เวลาทำแบบฝึกหัด แล้วนะจ๊ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.