ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยFlorine St-Louis ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ความหมายของพลังงาน และความสำคัญของการประหยัดพลังงาน
พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำให้เกิดงานได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดการเคลื่อนที่ เคลื่อนไหว หรือเติบโตได้ พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปแบบได้ตามกฎอนุรักษ์พลังงาน ที่ว่าพลังงานทั้งหมดมีค่าคงที่เสมอโดยพลังงานทั้งหมดประกอบด้วยพลังงานย่อยอื่นๆที่อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานไปได้
2
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการศึกษาเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติทุกอย่าง มีการเรียนรู้เป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ ตั้งแต่การคิดแก้โจทย์ปัญหา โดยเริ่มจากการค้นคว้าหาความรู้และสังเกตหาหลักฐานจากสิ่งที่ประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา แล้วตั้งสมมติฐาน วางแผนการดำเนินการ และดำเนินการตามแผน นำผลมาวิเคราะห์ วิจารณ์และสรุปผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหานั้นที่สามารถจัดการได้อย่างเป็นระบบระเบียบ นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีในการประดิษฐ์คิดค้น และการสร้างสรรค์
3
กรณีศึกษา โทรศัพท์มือถือ ชุมชนที่มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการวางแผนการดำรงชีวิตของชุมชน
4
การประหยัดพลังงานเพื่อการ
ดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบายแบบ พอเพียงไม่ได้ทำให้ท่านมีชีวิตที่ ลำบากเหมือนคนในยุคโบราณ แต่ทำให้ท่านดำรงชีวิตได้สบายตามปกติ มีเงินเหลือใช้มากขึ้น ไม่ตกอยู่ในสภาวะค่าครองชีพสูง มีสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่ดีที่ไม่ต้องกังวลและแก่งแย่งหาพลังงานเพราะเกิดความขาดแคลนไม่พอใช้
5
กรณีศึกษา: โคเจเนอเรชันในโรงงานย้อมผ้า
โรงงานย้อมผ้าลดค่าใช้จ่ายพลังงานด้วยการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมในระบบโคเจเนอเรชัน โรงงานสามารถผลิตไฟฟ้าและใช้ความร้อนที่เหลืออยู่ในแก๊สร้อนที่ออกจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปใช้กับกระบวนการผลิตของโรงงาน ทำให้ได้พลังงานความร้อนที่เพียงพอต่อกระบวนการผลิตของโรงงานตลอดเวลา โรงงานสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินได้อีกด้วย มีการวิจัยเพื่อประเมินความเป็นไปได้และความคุ้มทุนในการใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในระบบ โดยต้องมีการเลือกจัดการพลังงานของโรงงานอย่างระบบ พบว่าระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1.1 ปี เท่านั้น
6
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนัก
ในการใช้พลังงาน
7
สาเหตุที่ความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
ประชากรโลกเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยไม่รู้คุณค่า
8
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนัก ในการใช้พลังงาน
ภาวะคุกคามด้านพลังงาน ถ้าสังคมโลกขาดการจัดการด้านพลังงานอย่างเป็นระบบยั่งยืน อาจเผชิญกับปัญหาขาดแคลนพลังงานและความมั่นคงด้านการจัดหาพลังงานซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม เมื่อพลังงานปรับราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนสินค้ารวมไปถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น
9
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนักในการใช้พลังงานของประเทศไทย
นำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก ขาดขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม แม้จะเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ทำให้ต้นทุนพลังงานสูงกว่าที่ควรจะเป็น
10
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนัก ในการใช้พลังงานของประเทศไทย
ประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานที่สูงขึ้นทุกปีตลอดมาอาจจะประสบกับปัญหาภาวะคุกคามด้านพลังงานในอนาคตอันใกล้ พ.ศ นำเข้าพลังงานรวมประมาณ 40 % ของงบประมาณรายจ่ายของประเทศ นำเข้าน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน และไฟฟ้า
11
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2550
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนักในการใช้พลังงาน ของประเทศไทย: การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2550 ไทยใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 25,000 ล้านวัตต์(เมกะวัตต์) (ตู้เย็นขนาด 4.9 คิวกินไฟ 82 วัตต์) ใช้ พลังงานหมุนเวียน +การผลิตไฟฟ้าของผู้ประกอบการขนาดเล็ก มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 800 เมกะวัตต์ข้อเสียของพลังงานหมุนเวียน คือ ต้นทุนยังแพง (พลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุน 18 บาทต่อหน่วย) ใช้แก๊สธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้า 70%-80% ของเชื้อเพลิงรวม
12
43,558 ล้านวัตต์ ถ้าเศรษฐกิจโตปานกลาง ประเทศไทยจะมีความต้องการไฟฟ้า
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนักในการใช้พลังงาน ของประเทศไทย: การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย พ.ศ. 2550 คาดว่า ในปี 2559 ถ้าเศรษฐกิจโตปานกลาง ประเทศไทยจะมีความต้องการไฟฟ้า 43,558 ล้านวัตต์
13
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนัก ในการใช้พลังงานของประเทศไทย
ปัญหา 6 ประการ ของระบบพลังงานของประเทศไทย
14
ภาวะวิกฤติพลังงานและความตระหนัก ในการใช้พลังงานของประเทศไทย
ความต้องการพลังงานขั้นต้นเพิ่มขึ้น ความต้องการพลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น ปัญหาความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน ปัญหาความมั่นคงและเสถียรภาพของ การผลิตไฟฟ้า ปัญหาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ปัญหาความยากจนทางพลังงาน ปัญหาการพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยี ปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การเกิดภาวะโลกร้อน Apec Energy Demand and Supply Outlook 2006
15
การใช้พลังงานกับวิกฤติภาวะโลกร้อน
สาเหตุของภาวะโลกร้อน: แก๊สที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ ต่างๆ แก๊สมีเทนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหิน และ แก๊สธรรมชาติ (เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ เช่น มูลสัตว์เลี้ยง การปลูกข้าว) แก๊สไนตรัสออกไซด์จากการสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิง (เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ย มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย) คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน เป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และเป็นสารที่ทำลายโอโซนทำให้รังสี Ultraviolet B ส่งมายังผิวโลกมากขึ้น ส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และคนมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น อุณหภูมิของโลก ค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยราย 5 ปี ค่าอุณหภูมิที่ผิดปกติไป ปี ค.ศ.
16
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ
กรณีศึกษา: ประเทศญี่ปุ่น แก๊สมีเทนจากนาข้าวในญี่ปุ่น และการวิจัยผลกระทบของโลกร้อนต่อ "ข้าวญี่ปุ่น" และหาวิธีป้องกันไม่ให้พืชอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมีคุณภาพที่ด้อยลง อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นและสูงกว่าที่เคยบันทึกไว้ในช่วง 30 ปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 30 ราว องศาเซลเซียส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นวิเคราะห์ว่าหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป "ข้าว" ต้องได้รับผลกระทบเป็นแน่ รวมทั้งธัญพืชอื่นๆ ทั้งข้าวโพดและข้าวสาลี คาร์บอนในดินที่ถูกกักไว้ใต้น้ำในนาข้าวจะถูกเปลี่ยนให้เป็นก๊าซมีเทน และ 1 ใน 4 ของปริมาณก๊าซมีเทนในญี่ปุ่นมาจากนาข้าว วิจัยหาวิธีลดการเกิดก๊าซมีเทนจากการปลูกข้าว
17
กรณีศึกษา:การทำลายเตาถ่านหินในจีน
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน พยายามกำจัดปริมาณการใช้ถ่านหินแถบชานกรุงปักกิ่ง เพื่อลดมลภาวะทางอากาศในเมืองก่อนที่จะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2008 ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพ
18
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ
อุทกภัย คลื่นความร้อน อุทกภัย พายุรุนแรงขึ้น การละลายของธารน้ำแข็ง อากาศโลกเปลี่ยนแปลง ภัยแล้ง การแพร่ระบาดของสิ่งมีชีวิตพืช และสัตว์ที่แปลกไปจากเดิม การเสียสมดุลธรรมชาติ ภัยแล้ง ธารน้ำแข็งละลาย พายุ
19
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ
กรณีศึกษา: กรุงเทพฯในอีก 100 ปี กรุงเทพฯสูงกว่าระดับน้ำทะเลอ่าวไทยเพียง เมตร ระดับน้ำทะเลอ่าวไทยสูงขึ้น 2-3 มิลลิเมตรต่อปี
20
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ
อากาศโลกเปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะโลกร้อน สภาวะอากาศหนาวผิดปกติในปี 2551 หิมะตกในกรุงแบกแดด เมืองหลวงอิรัก ซึ่งอิรักเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยทะเลทรายและบ่อน้ำมัน สำนักอุตุนิยมวิทยาอิรักแถลงว่าเกิดจากกระแสลม 2 สายมาปะทะกันเหนือท้องฟ้าอิรัก โดยสายหนึ่ง เป็นอากาศแห้งและเย็น อีกสายหนึ่งชื้นและอุ่น หิมะตกเป็นครั้งแรกในบางพื้นที่ของอิหร่านที่ไม่เคยมีหิมะตกเลย
21
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ
ภาวะโลกร้อน เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น พบว่าภูเขาน้ำแข็งเหล่านั้นมีการละลายเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต ดังนั้นน่าจะมีผลกระทบต่อการสูงขึ้นของระดับน้ำทั่วโลก อนาคตน้ำอาจจะท่วมโลกก็ได้ ถ้าประชากรโลกไม่ช่วยกันลดการก่อภาวะโลกร้อนขึ้น ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงขึ้น กว่าปัจจุบันถึง เมตร ในอีก 92 ปีข้างหน้า คือ ในปี พ.ศ. 2643
22
ประเด็นอภิปราย ท่านคิดว่าต่อไปนี้ท่านจะเป็นบุคคลสำคัญที่สามารถมีส่วนร่วมในสังคมต่อการแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศด้วยการปฏิบัติตนให้เกิดความเคยชินในชีวิตประจำวันที่ยังคงความสะดวกสบายแบบพอเพียงอะไรบ้าง?
23
ประเด็นอภิปราย (ภาวะโลกร้อน)
ยกตัวอย่างเหตุการณ์อื่นๆที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันที่ท่านคิดว่าเป็นผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อน ท่านคิดว่าในอดีตท่านเคยมีส่วนในการทำสิ่งที่มีผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อนหรือไม่ อย่างไร? ถ้าให้ท่านมีส่วนช่วยทำประโยชน์ต่อการลดภาวะโลกร้อน ท่านคิดว่าจะทำอะไรบ้าง?
24
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาการใช้พลังงานเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน
25
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการแก้ปัญหาด้านพลังงาน
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในการวางแผนการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ในการจัดการวางระบบเพื่อก่อให้เกิดเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน วางแผนเรื่องพลังงานที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ วางแผนการประหยัดพลังงานและการผลิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
26
การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหา การขาดแคลนพลังงานในอนาคต
จัดหาแหล่งพลังงานที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ โดยเน้นพลังงานสะอาด ที่ไม่ก่อมลภาวะทำลายสิ่งแวดล้อมของสังคม และมีปริมาณมหาศาลไม่ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนในอนาคต สามารถพิจารณาพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกต่างๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
27
กรณีศึกษา: เซลล์เชื้อเพลิง เทคโนโลยีพลังงานแห่งอนาคต
เซลล์เชื้อเพลิงหรือ Fuel cells เป็นอุปกรณ์ที่แปลงพลังงานเคมีในเชื้อเพลิงไปเป็นพลังงานไฟฟ้า องค์การนาซา ได้นำมาใช้หลักการพัฒนาขับเคลื่อนยานอวกาศที่มีมนุษย์อวกาศอยู่ด้วย โดยใช้ไฮโดรเจนบริสุทธิ์ยิ่งยวดกับออกซิเจนเป็นเชื้อเพลิง เซลล์เชื้อเพลิงมีหลักการคล้ายแบตเตอรี่ ที่แตกต่างคือ แบตเตอรี่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวเก็บและจ่ายประจุไฟฟ้า ซึ่งจะทำงานได้ต้องมีการชาร์จไฟฟ้าหรือป้อนไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าภายนอกเข้าสู่ระบบเท่านั้น แต่เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตและจ่ายไฟฟ้าได้เองซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีของขั้วไฟฟ้าของเซลล์เชื้อเพลิง วัตถุดิบในกระบวนการผลิตไฮโดรเจนที่มักนำมาใช้ประกอบด้วย แก๊สธรรมชาติและวัตถุดิบจากพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น แก๊สชีวภาพ เมธานอล และเอทานอล ในอนาคตอาจรวมถึงไฮโดรเจนจากการแยกน้ำด้วยพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้เมื่อต้นทุนต่ำลง
28
กรณีศึกษา:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการแก้ปัญหาด้านพลังงานทางเลือก
กรณีศึกษา:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการแก้ปัญหาด้านพลังงานทางเลือก เทศบาลนครศรีธรรมราชตั้งศูนย์รับซื้อน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารแล้วจากประชาชนไปผลิตไบโอดีเซลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับรถยนต์สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันดีเซลได้ประมาณ 3000 บาท โดยมีต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเฉลี่ยราคาลิตรละ บาท
29
การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต
ลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานอย่างประหยัดด้วยหลักการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ห้า เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่นำพลังงานไปใช้งานได้เต็มที่ช่วยประหยัดไฟได้
30
การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต
ใช้ไฟฟ้าเมื่อจำเป็นไม่ฟุ่มเฟือย การเปิด-ปิดไฟอาคาร การรีดผ้า การเปิด-ปิดโทรทัศน์ การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ การสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน
31
การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต
การประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊สธรรมชาติ การใช้รถยนต์ด้วยวิธีประหยัดน้ำมัน เช่น ใช้รถคันเล็กลง Car pool การขนส่งโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ เช่น ขี่จักรยานแทน
32
ประเด็นอภิปราย อะไรบ้างที่ท่านเคยทำมาตลอดในการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยจนน่าเบื่อ? และอะไรที่ท่านคิดว่าน่าจะลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวในการใช้พลังงานเพื่อการดำรงชีวิตที่สบายอย่างพอเพียง และให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและจัดระบบการใช้พลังงานให้เกิดความยั่งยืน ยกตัวอย่างพร้อมอธิบายกรณีที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ พลังงานเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนต้องนำ กระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย อย่างไร ?
33
กิจกรรมโครงงาน ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม:
โครงการรณรงค์การประหยัดพลังงานในรูปแบบต่างๆ โครงการท่องเที่ยวสีเขียว โครงการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน
34
เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน พลังงานน้ำด้วยการสร้างเขื่อน เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า ใช้แรงดันน้ำที่กักเก็บในอ่างเก็บน้ำ(Reservoir) มาดันให้กังหันน้ำ(Turbine) หมุนโดยกังหันน้ำซึ่งเป็นตัวต้นกำลังต่อเชื่อมกับส่วนที่หมุน(Rotor) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Generator) ด้วยแกน shaft ในแนวตั้ง ทำให้ Rotor หมุนตามด้วยความเร็วรอบที่เท่ากันกับกังหันน้ำ 150 รอบต่อนาที เมื่อป้อนไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อกระตุ้น (Excite) ให้ขดลวดของ Rotor (Rotor winding) จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นที่ Rotor winding เมื่อสนามแม่เหล็กหมุนตัดกับขดลวดที่อยู่กับที่ (Stator winding) แรงดันไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นที่ Stator winding ที่ระดับ 13,800 โวลต ์ และแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นไปที่ระดับ 230,000 โวลต์ ด้วยหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า ก่อนที่จะส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าระบบไฟฟ้าของประเทศ พลังงานสะอาด แต่การสร้างเขื่อนทำให้เกิดน้ำท่วม ทำลายสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
35
เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า การเผาไหม้พลังงานฟอสซิล:- น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน ถ่านหินและแก๊สสามารถขุดเจาะหาได้ตามธรรมชาติ การเผาไหม้ถ่านหินเกิดมลภาวะ ต้องการเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดและน้ำมันเชื้อเพลิงสะอาด
36
เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
37
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตไฟฟ้า สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ทางเลือกในอีก 20 ปี ข้างหน้า “พลังงานนิวเคลียร์” พลังงานสะอาดไม่ก่อมลภาวะ เหมือนพลังงานฟอสซิล
38
เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานสะอาด การสร้างเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า เป้พลังงานแสงอาทิตย์
39
เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน พลังงานลม เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า พลังงานสะอาด ใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า
40
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน
ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน พลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า ใช้พลังงานน้ำพุร้อนแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า พลังงานสะอาด
41
เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า พลังงานจากคลื่นทะเลและกระแสน้ำ พลังงานสะอาด
42
เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์จากปฏิกิริยาฟิวชัน(ระหว่างการวิจัยนานาชาติ) พลังงานจากการเผาขยะได้โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
43
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยานยนต์ในการขนส่ง และการดำรงชีวิตประจำวัน
44
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันเป็นการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น
45
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยานยนต์ในการขนส่ง และการดำรงชีวิตประจำวัน การใช้พลังงานฟอสซิล พลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องอบแห้ง พลังงานน้ำ พลังงานลม - 3k
46
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยานยนต์ในการขนส่ง และการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การหุงต้มอาหาร พลังงานชีวมวล :-แก๊สชีวภาพ :-เอทานอล :-ไบโอดีเซล
47
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยานยนต์ในการขนส่ง และการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การหุงต้มอาหาร ประเทศไทยนำน้ำมันปาล์มมาผลิตพลังงานทดแทนไบโอดีเซล ต้นปี 2551 มีการปรับราคาน้ำมันพืชที่ทำจากปาล์มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภค เกิดนโยบายการนำเข้าน้ำมันปาล์มในประเทศไทยขึ้นกระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรฯ และ กระทรวงพาณิชย์ ต้องมีการบริหารจัดการต่อการขยายพื้นที่ปลูกพืชน้ำมันทั้งระบบ ไม่เฉพาะเป็นเพียงน้ำมันปาล์มเท่านั้น อินโดนีเซียและมาเลเซียมีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไปยังแถบยุโรปที่หันมาส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มแพงขึ้น
48
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยานยนต์ในการขนส่ง และการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การหุงต้มอาหาร พลังงานน้ำมันจากพลาสติกและยางรถยนต์
49
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพลังงาน ทางเลือกไปใช้ในการพัฒนาและลดภาวะโลกร้อน
เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยานยนต์ในการขนส่ง และการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การหุงต้มอาหาร พลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
50
ประเด็นอภิปราย ทดลองวางแผนระยะเร่งด่วนและระยะยาวเกิน 15 ปีในการเลือกใช้พลังงานทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ ที่มีผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน เสนอแหล่งพลังงานทางเลือกที่เหมาะสมอื่นๆ (ถ้ามี) โดยมีแนวทางการจัดการระบบอย่างยั่งยืนมั่นคง สารบัญหลัก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.