งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Hip Disease พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Hip Disease พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Hip Disease พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์
พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

2 โครงสร้าง สะโพกคือข้อต่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย
ลักษณะ Ball-and-socket เบ้าของสะโพกคือกระดูก Acetabulum หัวกระดูกที่เข้าในเบ้านี้คือ Femoral Head ซึ่งอยู่ปลายด้านบนสุดของกระดูก Femur (ต้นขา) ผิวของกระดูกทั้งสองส่วนปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน เป็นเนื้อเยื่อบางๆห่อหุ้มรอบๆข้อสะโพก ที่เรียกว่า Synovial membrane เป็นเหมือนหมอนรับแรงกระแทกระหว่างข้อและช่วยให้ข้อหมุนได้ง่าย ในคนที่สะโพกแข็งแรงปกติ เนื้อเยื่อนี้จะมีน้ำหล่อเลี้ยงที่กระดูกอ่อน และช่วยลดการเสียดสีเวลาขยับสะโพก แถบของเนื้อเยื่อที่เรียกว่า Ligaments (The hip capsule) เชื่อมหัวสะโพกและเบ้าให้สอดรับกันอย่างมั่นคง

3 Photo

4 สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก
Osteoarthritis เป็นข้อเสื่อมที่เกิดจาก การเสื่อมตามอายุ โดยปกติจะเกิดในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป และมักจะมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อนที่เป็นเหมือนหมอนรองรับแรงกระแทกของกระดูกสะโพกเสื่อมลงทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสีกันจึงทำให้เกิดสะโพกยึดและปวดสะโพก ข้อเสื่อมอาจมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตของสะโพกที่ผิดปกติตั้งแต่วัยเด็กด้วย

5 สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก
Rheumatoid arthritis เป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำให้ Synovial membrane เกิดการอักเสบและหนาตัว การอักเสบเรื้อรังจะทำลายกระดูกอ่อนและทำให้ปวดและข้อยึด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคหลักในกลุ่มที่เรียกว่า Inflammatory arthritis

6 สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก
Post-traumatic arthritis อาจตามมาด้วยสะโพกบาดเจ็บหรือสะโพกหัก กระดูกอ่อนอาจจะถูกทำลายและทำให้ปวดสะโพกและข้อยึดในเวลาต่อมา Avascular necrosis สะโพกบาดเจ็บจากการที่สะโพกเคลื่อนหรือสะโพกหักอาจทำให้เลือดที่มาเลี้ยงบริเวณหัวกระดูกสะโพกไม่เพียงพอ จึงเรียกว่า Avascular necrosis เมื่อขาดเลือดมาเลี้ยงอาจทำให้เซลล์ผิวกระดูกตาย และตามมาด้วยข้อเสื่อม โรคอื่นๆบางโรคก็สามารถก่อให้เกิด Avascular Necrosis ได้

7 สาเหตุทั่วๆไปจากการปวดกระดูกสะโพก
Childhood hip disease ทารกและเด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสะโพก ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างเรียบร้อยในวัยเด็ก แต่ก็อาจจะเกิดข้อเสื่อมได้ในอนาคต เพราะสะโพกอาจจะไม่เติบโตตามปกติ และผิวข้อก็ได้รับผลกระทบ

8 ถึงเวลาผ่าตัดสะโพกหรือยัง ?
คนไข้ที่เหมาะสมในการผ่าตัด ไม่มีอายุหรือน้ำหนักตัวที่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัดนี้ ดูจากความเจ็บปวดและความลำบากในการใช้งานสะโพกของคนไข้ โดยไม่คำนึงถึงอายุ คนไข้ส่วนใหญ่ที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจะอายุประมาณ 50-80ปี แต่แพทย์จะประเมินเป็นรายๆไปโดยทุกอายุสามารถได้รับผลการผ่าตัดที่ดีเหมือนกันหมด ตั้งแต่วัยรุ่นที่เป็นข้อเสื่อมในช่วงอายุน้อยจนไปถึงสูงอายุที่ข้อเสื่อมตามวัย

9 เมื่อไหร่ที่สมควรผ่าตัด
ปวดสะโพกจนทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้ เช่น เดิน หรือ งอเข่า ปวดสะโพกต่อเนื่องแม้จะพักอยู่เฉยๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ข้อสะโพกยึดทำให้ขยับ ยกขาได้น้อยลง ทานยาต้านการอักเสบ กายภาพ และใช้อุปกรณ์ค้ำยันแล้วไม่ได้ผล

10 Photo

11 Total Hip Replacement ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม วัสดุข้อเทียมที่ใส่เข้าไปจะไปแทนที่กระดูกที่เสื่อมและกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ หัวกระดูกสะโพกที่เสียหายจะถูกเอาออกและแทนที่ด้วยก้านโลหะซึ่งนำไปวางตรงกลางเบ้าของข้อสะโพก ซึ่งมีทั้งแบบ Cemented หรือ press fit โลหะหรือ Ceramic ball ที่อยู่ตรงส่วนปลายด้านบนของ ก้านโลหะ จะถูกวางแทนในส่วนของหัวกระดูกสะโพกที่เอาออกไป ผิวกระดูกอ่อนของเบ้า (Acetabulum) จะถูกแทนที่ด้วย เบ้าโลหะ บางครั้งอาจต้องใช้ Screw หรือ Cement เพื่อยึดเบ้านี้ พลาสติก เซรามิค หรือ Metal spacer จะใส่อยู่ระหว่างหัวสะโพกอันใหม่กับเบ้าเพื่อให้ผิวข้อลื่น หมุนได้สะดวก

12 เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
ผลการตรวจ - คนไข้ต้องได้รับการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ปอด ดูแลผิวก่อนผ่าตัด - บริเวณผิวหนังไม่ควรมีแผลติดเชื้อใดๆ หรือมีการระคายเคืองก่อนผ่าตัด ถ้ามีให้แจ้งแพทย์เพื่อรักษาผิวหนังให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด บริจาคเลือด - คนไข้ หรือญาติ ต้องบริจาคเลือดก่อนการผ่าตัด เพื่อเก็บไว้ใช้หลังผ่าตัด

13 โรคประจำตัว และยาที่รับประทาน
- แจ้งแพทย์ให้ทราบถึงโรคประจำตัวของคนไข้ และยาที่ทานอยู่ อาจจะปรึกษาอายุรแพทย์ร่วมด้วย เพื่อประเมินว่ายามีผลต่อการผ่าตัด หรือไม่ จะให้หยุดหรือทานต่อเมื่อใด (โดยเฉพาะยา Anti Coagulant) ลดน้ำหนัก - หากคนไข้น้ำหนักตัวมาก อาจจะต้องให้คนไข้ลดน้ำหนักก่อนการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดจากน้ำหนักตัวมายังสะโพกและลดความเสี่ยงในการผ่าตัดด้วย

14 ตรวจฟัน - ถึงแม้ว่าการติดเชื้อจากการผ่าตัดสะโพกจะพบได้ไม่บ่อย การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้หากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปสู่ระบบกระแสเลือด ดังนั้นการทำฟันใหญ่ๆ ควรจะทำก่อนที่จะผ่าตัดให้เรียบร้อย การผ่าตัดหลังทำฟันควรห่างไปอีกหลายสัปดาห์ ตรวจปัสสาวะ - คนไข้ที่มีประวัติติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือเพิ่งเป็นเร็วๆ นี้ควรจะพบแพทย์ทางเดินปัสสาวะเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าสามารถผ่าตัดได้ก่อนผ่าตัด ชายสูงอายุที่มีโรคทางต่อมลูกหมากควรรับการรักษาให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด

15 Pre – op day สอนการประเมิน pain score สอนการป้องกัน Thromboembolism
วิสัญญีพยาบาลประเมินคนไข้ว่าวิธีใดที่เหมาะกับคนไข้ที่สุด

16 Operation day NPO IV Fluid Retain Foley’s cath Pre - medication
ตรวจเช็คเลือดที่จอง Antibiotic ก่อนไป OR

17 การผ่าตัด การใช้ยาชา ยาสลบ
- วิธีทั่วไปๆ ของการระงับความรู้สึก มี 2 วิธีคือ General Anesthesia หรือ Spinal block วัสดุผิวข้อสะโพกเทียม

18 ขั้นตอนผ่าตัด ระยะเวลาผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง แพทย์จะตัดกระดูกอ่อนและกระดูกส่วนที่เสียหาย และใส่วัสดุข้อสะโพกเทียม เข้าไปแทนตามแนวกระดูกและโครงสร้างของสะโพก

19 Post op V/S Pain management
Keep leg abduction to prevent dislocation of the prosthesis - abduction pillow turning with pillow between legs Observe wound drain ( ml in 1st 24 h, ≤30 ml in 48 h

20 Prevent Thromboembolism
Prevent infection Prevent pneumonia Wound care Physical therapy, use of assistive devices

21 อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
infection การติดเชื้อจะเกิดบริเวณผิวๆรอบๆแผลหรือลึกลงไปในวัสดุเทียม อาจเกิดขณะอยู่โรงพยาบาลได้หรือหลังกลับบ้านไปแล้วได้ และอาจเกิดหลังจากนั้นอีกหลายปีก็ได้ - การติดเชื้อเล็กน้อยจากแผลรักษาโดยยาฆ่าเชื้อ ถ้าติดเชื้อลึกลงไปอาจต้องผ่าตัดและเอาวัสดุข้อสะโพกเทียมออกมา การติดเชื้อจากส่วนใดๆ ก็ตามในร่างกายสามารถจะแพร่ไปบริเวณที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อได้ ดังนั้นควรดูแลเรื่องความสะอาดตามร่างกาย

22 การป้องกันการติดเชื้อ
สาเหตุการติดเชื้อที่พบได้บ่อยของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมาจากแบคทีเรียที่แพร่ในระบบเลือด จากการทำฟัน ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อผิวหนัง สัญญาณเตือนการติดเชื้อ  ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ รีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที - เป็นไข้ (สูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส) - หนาวสั่น - ปวด บวม แดง ร้อน เพิ่มมากขึ้นรอบแผลสะโพก - แผลของเหลวซึมออกมา - ปวดสะโพกมากขึ้นทั้งขณะพักและทำกิจกรรม

23 อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ (ต่อ)
ลิ่มเลือดแข็งตัว Thromboembolism การเกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำหรือเชิงกรานเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดได้บ่อยที่สุดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ลิ่มเลือดเหล่านี้อันตรายถึงแก่ชีวิตหากหลุดไปในกระแสเลือดแล้วไปที่ปอด - ให้กระดกข้อเท้าในช่วงแรกๆ - ใส่เครื่องป้องกันบริเวณขา - ให้ยารับประทาน

24

25 สัญญาณเตือนของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน - ปวดน่องและขาซึ่งไม่เกี่ยวกับแผลผ่าตัด
- ปวดหรือแดงร้อนที่น่อง - บวมบริเวณต้นขา น่อง ข้อเท้า เท้า สัญญาณเตือนของลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด - หายใจถี่แบบเฉียบพลัน - เริ่มปวดหน้าอกเฉียบพลัน - ปวดหน้าอกพร้อมๆ กับไอ

26 อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ (ต่อ)
dislocation มีความเสี่ยงของหัวสะโพกหลุดออกจากเบ้าสูงในช่วงเดือนแรกๆ ของการผ่าตัดในขณะที่เนื้อเยื่อกำลังสมาน การเคลื่อนหลุดจะพบได้ไม่บ่อย ถ้าหัวสะโพกหลุดออกจากเบ้า การจัดให้เข้าที่จะทำให้มันกลับไปอยู่ที่เดิมได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าสะโพกยังคงเคลื่อนหลุดอีก อาจจะต้องมีการผ่าตัดซ้ำอีกรอบ

27 อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ (ต่อ)
สะโพกหลวมและเสื่อม หลายปีผ่านไป สะโพกเทียมอาจจะสึกหรือหลวมได้จากการใช้งานทำกิจกรรมต่างๆ ทุกๆ วัน สามารถเกิดจากกระดูกบางลงตามธรรมชาติที่เรียกว่า Osteolysis ถ้าเจ็บจากสะโพกหลวมอาจต้องทำการผ่าตัดรอบสองที่เรียกว่า Revision

28 Discharge Plan การดูแลแผลผ่าตัด - คนไข้จะมีไหมเย็บแผล/max เย็บที่ผิวหนัง ซึ่งจะเอาออกประมาณ2อาทิตย์หลังผ่าตัด - พยายามเลี่ยงไม่ให้แผลเปียกจนกว่าแผลจะติดกันจนแห้งสนิท อาหารที่ควรทาน - ช่วงสัปดาห์แรกๆหลังผ่าตัดอาจอยากอาหารลดลง ควรทานอาหารให้ครบทุกหมู่และทานอาหารเสริมธาตุเหล็กซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เนื้อเยื่อที่แผลสมานติดกันได้ดีและกล้ามเนื้อแข็งแรง อย่าลืมเน้นอาหารเฉพาะโรคด้วย และดื่มน้ำมากๆ

29 Discharge Plan (ต่อ) ในช่วงอาทิตย์แรกหลังผ่าตัด คนไข้ควรที่จะสามารถกลับไปทำกิจกรรมเบาๆ ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมที่คนไข้ทำได้ - ฝึกเดินเรื่อยๆ โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เริ่มจากในบ้านก่อนแล้วค่อยๆ ออกไปนอกบ้าน - ออกกำลังกายวันละหลายๆ ครั้งและฝึกให้สะโพกแข็งแรงขึ้นด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย แต่ในช่วงอาทิตย์แรกๆ อาจจะมีนักกายภาพช่วยบ้างในช่วงแรก - การมีเพศสัมพันธ์ อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 6 สัปดาห์

30 Discharge Plan (ต่อ) หลีกเลี่ยงการลื่นหกล้ม - หากล้มในช่วงอาทิตย์แรกหลังผ่าตัดอาจมีผลทำให้ต้องผ่าตัดใหม่ซ้ำอีก ไม่แนะนำให้ขึ้นบันไดจนกว่าสะโพกจะแข็งแรงและขยับได้ คนไข้ควรใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน ไม้เท้าสี่ขา หรือราวจับ หรือมีคนช่วยประคอง จนกว่าคนไข้จะทรงตัวดีขึ้น และแข็งแรงมากขึ้น

31 - มีราวจับที่มั่นคงในห้องน้ำ มีราวบันไดที่มั่นคงตลอดทาง
Discharge Plan (ต่อ) การจัดระเบียบบ้าน - มีราวจับที่มั่นคงในห้องน้ำ มีราวบันไดที่มั่นคงตลอดทาง - เก้าอี้ที่นั่งสบาย มั่นคง มีที่วางเท้าให้สามารถยกขาให้สูงได้ มีพนักพิง มีที่วางแขน - มีเก้าอี้ไว้นั่งขณะอาบน้ำ - มีตัวช่วยใส่หรือถอด รองเท้า ถุงเท้า และตัวช่วยเอื้อมหยิบสิ่งของต่างๆเพื่อไม่ให้สะโพกต้องอมากเกินไป - เอาพรมที่อาจทำให้ลื่นและสายไฟที่วางระเกะระกะออกจากพื้นที่ทางเดินในบ้าน

32 Discharge Plan (ต่อ) เพื่อป้องกันข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุดและฟื้นตัวได้ดี ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดต้องระวังดังนี้ - ห้ามไขว่ห้าง - ห้ามงอสะโพกมากกว่า 90 องศา - อย่าบิดเท้าเข้ามาหรือแบะออกมากเกินไป - ใช้หมอนข้างกั้นระหว่างขาตอนนอนจนกว่าแพทย์จะสั่งให้เอาออกได้

33 ป้องกันและดูแลข้อสะโพกเทียมให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น
Discharge Plan (ต่อ) ป้องกันและดูแลข้อสะโพกเทียมให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น - ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อจะรักษาความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวสะโพก - ระมัดระวังเรื่องการหกล้มและบาดเจ็บเป็นพิเศษ ถ้ากระดูกขาหัก อาจจะต้องทำการผ่าตัดเพิ่มอีก - แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบว่าคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมมา และอาจต้องทานยาฆ่าเชื้อก่อนทำฟัน - พบแพทย์เพื่อตรวจติดตามอาการหลังผ่าตัดเป็นประจำ เพื่อตรวจร่างกาย และX-rays เช็คดูความเรียบร้อยของข้อสะโพกเทียม

34 อย่าลืม! แจ้งให้ผู้อื่นทราบ
ข้อสะโพกเทียมอาจจะกระตุ้นสัญญาณตรวจโลหะในเครื่องตรวจโลหะเพื่อความปลอดภัยที่สนามบินและทางเข้าตึก - แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าคนไข้ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หรือนำเอกสารไปยืนยัน เช่นใบรับรองแพทย์

35 Thank You


ดาวน์โหลด ppt Hip Disease พว. ชิดชนก ไชยกุล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google