ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี
คำแนะนำก่อนเข้าปฏิบัติการ 1. ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการเคมี 2. ความปลอดภัยในการทำปฏิบัติการเคมี 3. อุปกรณ์เครื่องแก้ว 4. เทคนิคในห้องปฏิบัติการ โครงสร้างอะตอม หรือ Atomic structure 1
2
ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการเคมี
รักษาความสะอาดเรียบร้อยในห้องปฏิบัติการ เมื่อทำการทดลองเสร็จสิ้นแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดโต๊ะ ให้สะอาด ถ้าทำสารเคมีหกบนโต๊ะหรือบนพื้น ให้ทำความสะอาดทันที ก่อนใช้สารเคมีชนิดใดก็ตาม ให้อ่านฉลากชื่อสารให้แน่ใจเสียก่อน ห้ามยกขวดหรือภาชนะใส่สารเคมีส่วนกลางไปใช้ที่โต๊ะ ไม่เติมสารเคมีมากเกินความจำเป็น สารเคมีที่ใช้ไม่หมด ไม่ควรใส่กลับลงในขวดเก็บสารนั้นอีก ไม่ใช้ปิเปตหรือหลอดหยดที่ใช้แล้วดูดสารละลายจากขวดที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อื่นหรือจากขวดที่มีหลอดหยดอยู่แล้ว ไม่ทิ้งก้านไม้ขีดไฟ กระดาษลิตมัสหรือของแข็งใดๆ ที่ไม่ละลายน้ำลงในอ่างล้างมือ ห้ามเผาเครื่องแก้วชนิดเนื้อแก้วหนา เช่น กระบอกตวง บิวเรต หรือขวดใส่สารด้วยเปลวไฟจากตะเกียงโดยตรงเพราะอาจแตกได้ง่าย ส่วนถ้วยกระเบื้องอาจเผาในเปลวไฟโดยตรงได้ แต่ไม่ควรเผาให้ร้อนเร็วเกินไป
3
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี
เพื่อให้การทดลองในห้องปฏิบัติการเคมีดำเนินไปอย่างเรียบร้อย และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการทุกคน ทุกคนปฏิบัติตามกฎและระเบียบต่อไปนี้ ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการและแว่นนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในห้องปฏิบัติการเคมี ผู้ที่สวมแว่นสายตาอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้แว่นนิรภัย ห้ามเล่นและห้ามรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม หรือสูบบุหรี่ในห้องปฏิบัติการเคมี ห้ามทำการทดลองใดๆ นอกเหนือจากที่ได้มอบหมาย ห้ามทำการทดลองโดยไม่มีผู้ควบคุม เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ให้รายงานผู้ควบคุมทราบทันที ห้ามชิมสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อใช้ปิเปตดูดสารละลาย ห้ามใช้ปากดูด ใช้เครื่องแก้วด้วยความระมัดระวัง เมื่อทำเครื่องแก้วแตกต้องเก็บกวาดให้เรียบร้อย
4
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี
ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย (ต่อ) สำหรับปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สพิษ กรดเข้มข้น หรือแอมโมเนียให้ทำการทดลองในตู้ดูดควันเสมอ ห้ามทิ้งสารเคมีใดๆ ลงในถังขยะ สารเคมีที่ละลายในน้ำได้ให้ละลายในน้ำแล้วเทลงอ่างน้ำทิ้ง สารที่ไม่ละลายในน้ำ ให้เทรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้
5
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี
Measuring cylinder Beaker Burette Calibrated pipette Volumetric pipette Volumetric flask
6
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี (ต่อ)
Test tube and test tube rack Burette clamp Test tube holder Clamp Bunsen burner Ring stand with ring Clamp holder Crucible tongs
7
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี (ต่อ)
Mortar and pestle Triple beam balance Buchner funnel Filtering flask Separatory funnel Glass funnel Conicle flask
8
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี (ต่อ)
Wash bottle Dropper Crucible and lid Thermometer Rubber stopper Test tube brush Pipette bulb
9
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
การวัดปริมาตรของเหลว อุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวมีหลายชนิดเราจะเลือกใช้ชนิดใดขึ้นอยู่กับว่าต้องการวัดปริมาตรให้ได้แม่นยำเพียงใด และต้องการใช้อุปกรณ์นั้นในการบรรจุ (contain) หรือในการถ่าย (deliver) ของเหลวที่มีปริมาตรแน่นอน เราทราบแล้วว่าตามปรกติระดับของของเหลวในภาชนะใดๆ มักไม่เป็นระนาบตรงในแนวราบ แต่จะมีลักษณะเป็นพื้นผิวโค้งลง หรือ โค้งขึ้น เรียกว่า เมนิสคัส (meniscus) ในการอ่านระดับของของเหลวนั้น วิธีที่ถูกต้องคือ อ่านระดับของส่วนที่ต่ำสุดของเมนิสคัสที่โค้งลง หรือส่วนสูงของเมนิสคัสที่โค้งขึ้น โดยให้เมนิสคัสอยู่ตรงระดับตาพอดี และในบางกรณีก็อาจเพิ่มความถูกต้องในการอ่าน ปริมาตรได้โดยขีดเส้นตรงสีเข้มบนแผ่นกระดาษสีขาว นำไปทาบไว้ หลังเมนิสคัสพร้อมกับเลื่อนขึ้นลงจนเส้นตรง (ในแนวระดับ) นี้แตะกับเมนิสคัสพอดีแล้วจึงอ่านปริมาตรจากตำแหน่งของเส้นตรง
10
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
การวัดปริมาตรของเหลว
11
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
การวัดปริมาตรของเหลว สำหรับการวัดปริมาตรที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูงกว่า 1–2 cm3 อาจใช้กระบอกตวง (measuring cylinder) ขนาดใดขนาดหนึ่ง และในงานที่ต้องการทราบปริมาตรโดยประมาณเท่านั้นก็อาจใช้บิกเกอร์หรือขวดรูปกรวยที่มีขีดบอกปริมาตรได้ ในกรณีที่ต้องการความแม่นยำค่อนข้างสูง ( 0.01 cm3 ) อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้บรรจุของเหลวที่มีปริมาตรแน่นอนได้แก่ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask) ขนาดต่างๆ ซึ่งมีขีดบอกปริมาตรไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามถ้ารินของเหลวในขวดนี้ลงในภาชนะอื่นจะได้ของเหลวน้อยกว่าปริมาตรที่บรรจุเสมอเพราะจะมีของเหลวบางส่วนตกค้างอยู่ภายในขวด การถ่ายของเหลวที่มีปริมาตรแน่นอนทำได้โดยใช้บิวเรต (burette) หรือ ปิเปต (pipette) บิวเรตที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมีทั่วไป มีความจุ 25 cm3 หรือ 50 cm3 มีขีดแบ่งปริมาตรเป็นช่วงๆ ละ 0.1 cm3 แต่อ่านได้ถูกต้องประมาณ 0.02 cm3 ปิเปตก็มีหลายขนาดเช่นกันแต่ที่ใช้สำหรับปฏิบัติการเคมีทั่วไปมักมีความจุ 10 cm3 หรือ 25 cm3 และวัดปริมาตรได้ถูกต้องประมาณ 0.05 cm3
12
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
วิธีใช้บิวเรต มีดังนี้ 1. นำบิวเรตที่สะอาดและแห้งมายึดติดกับขาตั้งด้วยที่ยึดดังแสดง ปิดก๊อกที่ปลายล่างของบิวเรตแล้วรินของเหลวที่ต้องการใช้ผ่านกรวยแก้วลงในบิวเรตจนเกือบเต็ม (ถ้าบิวเรตสะอาดแต่ไม่แห้ง ให้ใช้ของเหลว ปริมาณเล็กน้อยกลั้วภายในบิวเรต 1-2 ครั้ง แล้วไขทิ้งทางปลายล่าง ก่อนจะบรรจุของเหลวลงไป
13
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
วิธีใช้บิวเรต มีดังนี้ 2. ใช้มือซ้ายเปิดก๊อกโดยจับคร่อมบิวเรตดังแสดงในรูปปล่อยให้ของเหลวส่วนหนึ่งไหลออกเพื่อไล่ฟองอากาศจากปลายล่างของบิวเรตปิดก๊อกประมาณ 10 วินาที แล้วบันทึกระดับของเหลวในบิวเรตให้ได้ ทศนิยม 2 ตำแหน่ง (หรืออาจปรับระดับของเหลวให้ตรงกับขีด 0 หรือขีดอื่นก็ได้) 3. เมื่อต้องการถ่ายของเหลวในบิวเรตลงทำปฏิกิริยากับของเหลว หรือ สารละลายอีกชนิดหนึ่งในขวดรูปกรวย (ในการไตเตรต) ให้ใช้มือขวาจับคอขวดรองรับตรงปลายล่างของบิวเรต และใช้มือซ้ายเปิดก๊อกในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้วเพื่อให้ของเหลวทั้งสองชนิดผสมเข้ากันดีจะต้องแกว่งหรือเขย่าขวดเบาๆอยู่ตลอดเวลาขณะถ่ายของเหลวจากบิวเรตลงสู่ขวด 4. เมื่อได้ของเหลวตามปริมาณที่ต้องการแล้วให้ปิดก๊อกแล้วรอ 15 วินาที ก่อนอ่านและบันทึกระดับของเหลวที่เหลือในบิวเรตปริมาตรของของเหลวที่ถูกถ่ายออกจากบิวเรตจะหาได้จากผลต่างระหว่างระดับของเหลวที่อ่านได้ทั้งสองครั้ง
14
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
วิธีใช้ปิเปต มีดังนี้
15
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
วิธีใช้ปิเปต มีดังนี้ 1. ใช้มือบีบอากาศออกจากลูกยาง (pipette bulb) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วนำลูกยางไปสวมที่ปลายบนของปิเปตที่สะอาดและแห้ง (ถ้าปิเปตไม่แห้งต้องกลั้วด้วยของเหลวที่ต้องการวัดปริมาตร เช่นเดียวกับในการใช้บิวเรต) 2. จุ่มปลายล่างของปิเปตลงในของเหลวที่ต้องการวัดปริมาตร คลายมือที่บีบลูกยางออกให้ของเหลวถูกดูดขึ้นไปในปิเปตจนเลขขีดบอกปริมาตรบนก้านปิเปตประมาณ 3 cm 3. ดึงลูกยางออก และรีบใช้นิ้วชี้ขวาปิดปลายบนของปิเปตทันที ค่อยๆขยับนิ้วชี้ขวาไปมา ปล่อยอากาศเข้าในปิเปตทีละน้อยให้ระดับของของเหลวลดลงมาจนเมนิสคัสแตะกับขีดบอกปริมาตรพอดี แล้วกดนิ้วปิดปลายบนให้แน่น ไม่ให้อากาศเข้าได้อีก
16
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี
วิธีใช้ปิเปต มีดังนี้ 4. ยกปิเปตขึ้นให้พ้นจากของเหลว ใช้กระดาษเช็ดมือซับหยดของเหลวที่เกาะอยู่ภายนอกปิเปตให้แห้ง 5. (ขณะนี้นิ้วชี้ขวายังปิดอยู่ที่ปลายบนของปิเปต) จุ่มปลายปิเปตลงในภาชนะที่จะใช้ใส่ของเหลวยกนิ้วชี้ขวาขึ้น ปล่อยให้ของเหลวในปิเปตลงจนหมดแตะปลายปิเปตกับข้างภาชนะเพื่อให้ของเหลวหยดสุดท้ายไหลลงด้วย ห้ามเขย่า เป่า หรือเคาะปิเปตกับข้างภาชนะที่รองรับเป็นอันขาด ถึงแม้จะเห็นว่ายังมีของเหลวติดค้างอยู่ปลายปิเปตเล็กน้อยก็ตาม มิฉะนั้นปริมาตรของเหลวที่ถ่ายออกจาก ปิเปต อาจผิดพลาดได้
17
Thank You
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.