ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หลักสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม
สมชาย หอมลออ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ที่ปรึกษามูลนิธิผสานวัฒนธรรม ที่ปรึกษาสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน “กฎหมายใดจะยิ่งกว่าความเป็นธรรม ไม่มี”
2
การดำเนินคดีหรือการพิจารณาคดี
การดำเนินคดีเป็นการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ เมื่อมีการกล่าวหาว่าเขากระทำผิด การดำเนินคดีมีสามสี่ขั้นตอนคือ ชั้นเจ้าพนักงาน หรือชั้นก่อนฟ้องคดี ชั้นประทับรับฟ้องและชั้นพิจารณาคดี ชั้นบังคับคดีและบังคับโทษ การพิจารณาคดีที่เป็นธรรม “Fair Trail” คลุม “การดำเนินคดีที่เป็นธรรม” คือ กฎหมายเป็นธรรมหรือไม่? การบังคับใช้กฎหมายเป็นธรรมหรือไม่? การตีความกฎหมายหรือการพิจารณาคดีเป็นธรรมหรือไม่? การลงโทษและการบังคับคดี บังคับโทษ เป็นธรรมหรือไม่? อะไรคือความเป็นธรรม? เรามีสิทธิตรวจสอบไหม? ตรวจสอบอย่างไร?
3
ความเป็นธรรม/ความยุติธรรม
ความเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปราถนา คือ “เสมอภาค เท่าเทียม ไม่ลำเอียง ไม่อคติ ไม่เลือกปฏิบัติ Fairness เอื้ออาทร” มีหลักการที่เกี่ยวกับความเป็นธรรมมากมาย โดยสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผล สอดคล้องกับความจริง และมีลักษณะเป็นพลวัฒน์ เช่น อยู่ก่อน มาก่อนได้ก่อน อ่อนแอกว่า จำเป็นกว่า ลำบากกว่าได้สิทธิก่อน หรือได้มากกว่า อาวุธที่เท่าเทียมกัน หลักความเหมาะสมหรือตามสมควรแก่เหตุหรือตามสมควรแก่กรณี หลักการได้สัดส่วน หลักจำเป็น หลักป้องกัน หลักผู้ก่อมลภาวะต้องจ่าย ผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชอบ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อสร้างและรักษาไว้ซึ่งสังคมอารยะ หรือสังคมที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่อ่อนแอ เปราะบาง เกิดความขัดแย้งถึงขั้น จลาจล หรือเป็นกลียุค ความเป็นธรรมมีสองมุม ความเป็นธรรมของบุคคลและสังคม แยกกันไม่ออก
4
การดำเนินคดีใดขัด/ไม่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน ย่อมไม่เป็นธรรม
ไม่มีคำนิยามคำว่า “สิทธิมนุษยชน (Human Rights)” เพราะมีพลวัฒน์ เป็นกฎที่มีอยู่โดยธรรมชาติ “กฎธรรมชาติของสังคมมนุษย์” หรือ “ธรรม” ดังที่มีคำกล่าวว่า “คุณธรรม ค้ำจุนโลก” หลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชนคือ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อิสระภาพ เสรีภาพ เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ และภราดรภาพ (ปฏิญญาสากล ข้อ 1) ลักษณะสำคัญของสิทธิมนุษยชนคือ เป็นสิทธิที่มนุษยทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด (Inherent) เป็นสิทธิที่มีลักษณะสากล ทุกคน ทุกหมู่เหล่า (Universal) เป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลได้ (Inalienable) มีหลายด้านแต่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ (Indivisible)
5
สิทธิมนุษยชนสามารถจำแนกเป็นด้านต่างๆได้ดังนี้ เช่น
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สิทธิเสมอภาคระหว่างเพศ เช่น ความเสมอภาคหญิง-ชาย-เพศต่างๆที่หลากหลาย สิทธิในการพัฒนา และสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนอาจจำแนกเตามสิทธิของกลุ่มชนต่างๆได้ เช่น สิทธิเด็ก เช่นการศึกษา การพัฒนาบุคลิกภาพ การแสดงความเห็นการดำเนินคดี สิทธิสตรี เช่น การทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สัดส่วนหญิงชาย สิทธิชนกลุ่มน้อย และชนพื้นเมือง เช่นการประกอบอาชีพ วัฒนธรรม สิทธิคนพิการ เช่นการศึกษา การประกอบอาชีพ การเข้าถึงบริการสาธารณะ สิทธิของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยาน เช่นคดีที่รวดเร็วและเป็นธรรม สิทธิด้านแรงงาน เช่นค่าจ้างขั้นต่ำ สวัสดิการต่างๆ ฯลฯ
6
สิทธิมนุษยชนในมุมมองด้านความมั่นคงของมนุษย์
ประชาชนสร้างรัฐ เพื่อความมั่นคงของประชาชน มิใช่เพื่อกดขี่ประชาชน ความมั่นคงของประชาชนจึงเป็นจุดมุ่งหมายของการมีรัฐหรือกฎหมาย ความมั่นคงของประชาชนได้แก่ เสรีภาพหรือความปลอดพ้นจากความหวาดกลัว (Freedom from Fear) (สิทธิพลเมืองและการเมือง) เสรีภาพหรือความปลอดพ้นจากความขาดแคลน (Freedom from Wants) (สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม) รัฐอยู่นอกเหนือการควบคุมเท่าไร ความมั่นคงประชาชนน้อยลงเท่านั้น มีกฎหมายมากเท่าใด สิทธิเสรีภาพของประชาชนย่อมน้อยลงเท่านั้น สังคมจึงต้องมีมาตรการในการจำกัดอำนาจรัฐ เพราะรัฐนั้นอันตรายมากหากควบคุมไม่ได้ โดยรัฐจะวางตัวอยู่เหนือสังคม และบงการสังคม เป็นรัฐเผด็จการ
7
สิทธิมนุษยชนกับกฎหมายบ้านเมือง
สิทธิมนุษยชนต้องมีกฎหมายบ้านเมือง (ในและระหว่างประเทศ) รองรับ ประชาชนสร้างสังคม สังคมจึงสร้างรัฐ ที่ปกครองโดยใช้กฎหมายบ้านเมือง กฎหมายบ้านเมือง แบ่งเป็นนิติบัญญัติ (การออกกฎหมาย) บริหาร (การบังคับใช้กฎหมาย) ตุลาการ (การตีความกฎหมาย) และองค์กรอื่นๆของรัฐ สังคมสร้างรัฐ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ (รัฐ-รัฐ) เพื่อทำหน้าที่ ยอมรับ (Recognize) สิทธิมนุษยชน เคารพ (Respect) สิทธิมนุษยชน ปกป้องคุ้มครอง (Protect) สิทธิมนุษยชนและ ส่งเสริมหรือเติมเต็ม (Fullfill) สิทธิมนุษยชนของทุกคน ความรับผิดชอบของ non-state actors เช่นกลุ่มติดอาวุธ บรรษัทยักษ์ใหญ่ ประชาชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องมีอำนาจควบคุมตรวจสอบรัฐ
8
การดำเนินคดีใดที่ขัดหรือไม่สอดคล้องกับนิติธรรมย่อมไม่เป็นธรรม
นิติธรรม/นิติรัฐ การดำเนินคดีใดที่ขัดหรือไม่สอดคล้องกับนิติธรรมย่อมไม่เป็นธรรม สำนัก นิติธรรม (Rule of Law-Common Law) vs นิติรัฐ (Legal State-Civil Law) ?? หลักการสำคัญคือ การปกครองโดยกฎหมาย มิใช่โดยบุคคล จึงไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ กฎหมายต้องแน่นอน ชัดเจน เข้าใจได้ ไม่อาจแปลความได้ตามอำเภอใจ ทุกคนอยู่ใต้กฎหมายโดยเสมอหน้ากัน แม้ผู้ออก บังคับใช้ และวินิจฉัยกฎหมาย Rule of Law มิใช่ Rule by Law กล่าวคือ กฎหมายต้องเป็นธรรมคือ เป็นที่ทราบโดยทั่วไป ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ต้องเป็นธรรม ประชาชนมีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ การพิจารณาคดีต้องเป็นธรรม (Fair Trial) มีการแยกอำนาจ ตรวจสอบถ่วงดุล นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการที่เป็นอิสระ กฎหมาย (โดยเฉพาะอาญา) ไม่มีผลนย้อนหลังในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ต้องหา/จำเลย
9
ประชาชนกับรัฐ (กฎหมายบ้านเมือง)
ประชาชน/สังคมผู้สร้างรัฐ จึงมีสิทธิควบคุม ตรวจสอบรัฐ เพื่อให้ทำหน้าที่ปกป้อง/ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ไม่วางตนอยู่เหนือสังคม และเป็นรัฐเผด็จการ สิทธิมนุษยชน โดยทั่วไปก็ถูกจำกัดได้ เช่น เสรีภาพในการชุมนุม การสมาคม การสื่อสาร แสดงออกและการเผยแพร่ข้อมูลความคิดเห็น ฯลฯ สิทธิมนุษยชนบางอย่างจำกัดไม่ได้ ถือเป็นสิทธิอันสัมบูรณ์ (Absolute Rights) เช่น ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสรีภาพจากการอุ้มหาย อุมฆ่า อุ้มทรมาน ฯลฯ การจำกัดสิทธิมนุษยชนต้องกระทำโดยชอบ คือสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และต้องกระทำโดยกฎหมาย ซี่งมี 2 ลักษณะ โดยกฎหมายปกติ เช่น ป. อาญา ป. วิธีอาญา ฯลฯ ตรวจสอบตามปกติ โดยกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎหมาย ปปง. ฯลฯ ตรวจสอบมากเป็นพิเศษ
10
สิทธิของบุคคลอาจถูกจำกัดได้ โดยรัฐในเงื่อนไขต่าง ๆ
ในภาวะฉุกเฉิน (รวมทั้งกฎอัยการศึก) ซึ่งคุกคามความอยู่รอดของชาติ (กติกาสิทธิพลเมืองฯ ข้อ ๔) เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและสวัสดิภาพของสังคมประชาธิไตย (สิทธิของสังคม) เพื่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและอิสระภาพของผู้อื่น ส่งเสริมสิทธิของผู้อ่อนแอ/ด้อยโอกาส โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เท่าที่จำเป็น สมควรแก่กรณี และต้อง ไม่ละเมิดหลักมูลฐานตาม รธน.และกฏหมายระหว่างประเทศ
11
การจำกัดสิทธิของบุคคล รัฐต้องดำเนินการโดยชอบโดยยึดหลัก
การจำกัดสิทธิของบุคคล รัฐต้องดำเนินการโดยชอบโดยยึดหลัก โดยยึดหลักนิติรัฐหรือนิติธรรมเท่านั้น โดยสมควรแก่กรณี และโดยความจำเป็น ไม่ทำลายโอกาสในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล ดำเนินการโดยชอบโดยอาศัยอำนาจและขั้นตอนของกฎหมาย [ปฏิญญา-๒๙ (๒) กติกาสิทธิพลเมือ-๔ รธน.-๒๙] ไม่ขัดหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติ เช่นศักดิ์ศรีมนุษย์ ไม่เลือกปฏิบัติ[ปฏิญญา-(๒๙)] และหลักมูลฐานของสิทธิ ไม่มุ่งที่จะทำลายสิทธิและอิสระภาพในปฏิญญา (ปฏิญญา-๓๐) มีการตรวจสอบถ่วงดุลย์ โดยเฉพาะโดยศาลที่เป็นอิสระ การตีความกฎหมายต้องเไปในทางคุ้มครองสิทธิ มากกว่าการลิดรอนสิทธิ
12
ประชาชนกับรัฐ (ต่อ) การจำกัดอำนาจรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ และโยกฎหมายระหว่างประเทศ ร.ธ.น. 60 มาตรา 25 “สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำการนั้นได้และได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้น ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสังคมหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น” แต่ในแง่สิทธิมนุษย์ชน อำนาจและการใช้อำนาจของรัฐนั้น นอกจากต้องชอบด้วยกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญแล้ว ยังต้องชอบธรรม หรือชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชนอีกด้วย
13
ประชาชนกับรัฐ (ต่อ) การจำกัดอำนาจรัฐหรือหลักความชอบด้วยกฎหมายของรัฐ
“บุคคลจะทำการใดก็ได้ เว้นแต่ที่กฎหมายห้ามไว้ แต่รัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐจะ ทำการใดไม่ได้เลย เว้นแต่ที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้” (เพราะมนุษย์เกิดมา อิสระเสรี) ร.ธ.น. มาตรา ๒๖ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้...”
14
ประชาชนกับรัฐ (ต่อ) ร.ธ.น. 60 มาตรา 25 วรรคสาม
ร.ธ.น. 60 มาตรา 25 วรรคสาม “บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับ การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อ ใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้” แต่การตรวจสอบรัฐโดยประชาชนนั้น มิใช่จำกัดอยู่เฉพาะโดยการใช้ศาล หรือศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นแต่โดยกลไกสังคม และกลไกระหว่างประเทศด้วย ในรัฐเผด็จการ การตรวสอบโดยกฎหมายและกลไกระหว่างประเทศ ยิ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกฎหมายและกลไกในประเทศล้มเหลว หรือไม่เต็มใจในการตรวจสอบ
15
รัฐไทยมีพันธผูกพันที่ต้องปฏิบัติ ตามหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งข้อผูกพันทางกฎหมายและศีลธรรม
กฏบัตรสหประชาชาติ และปฏิบัติตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สนธิสัญญาสหประชาชาติ ด้านสิทธิมนุษยชน ๘ ฉบับ อนุสัญญา ILO และสนธิสัญญาด้านมนุษยธรรมต่างๆ ประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เช่น เรื่องผู้ลี้ภัย มาตรฐานสากลที่สหประชาชาติกำหนด เช่น สิทธิผู้ต้องหา ผู้ต้องขัง ตามกฎบัตรอาเซียน ปฏิญญา และข้อตกลงอื่นๆ เช่น AEC และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อตกลงแบบทวิภาคีกับเพื่อนบ้าน เช่นข้อตกลงเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ข้อเสนอแนะของกลไกระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน อื่นๆ
16
กฏบัตรสหประชาชาติ กับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
กฎบัตรสหประชาชาติ (๒๔๘๘) รวมทั้งมติของคณะมนตรีความมั่นคง เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ โดยประเทศสมาชิกมีพันธกรณีทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องปฏิบัติตาม เพื่อส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสันติภาพของโลก ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (๒๔๙๑) มาตรฐานสากล ข้อแนะนำ เป็นพันธกรณีทางศีลธรรมระหว่างประเทศ
17
ปฏิญญาสากลและมาตรฐานสหประชาชาติ ด้านสิทธิมนุษยชน
18
สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
สนธิสัญญสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคีแล้ว ๗ ฉบับ และลงนามแล้วอีก ๑ ฉบับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กติการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (ICRC) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD) อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้หายสาบสูญ (ICCPED) (ลงนามแล้วแต่ยังไม่ให้สัตยาบัน) ประเทศไทยต้องจัดทำรายงานและถูกตรวจสอบโดยกลไกตามสนธิสัญญา
19
สนธิสัญญาหรือข้อตกลงระดับภูมิภาค ASEAN ได้จัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน กลไกส่งเสริมและปกป้องสิทธิเด็กและสตรีอาเซียน และได้มีข้อตกลงแล้วเช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เช่นการก่อการร้าย และพันธทาฃศีลธรรมตามปฏิญญาสิทธิมนุยชนของอาเซียน บางภูมิภาคเช่นสหภาพยุโรป ได้พัฒนาไปถึงขั้นมีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนและจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชน ข้อตกลงทวิภาคีใน ASEAN เช่น MOU ระหว่างไทยกับประเทศลุ่มแม่นเรื่องการต่อต้านการค้าหญิงและเด็ก เรื่องแรงงานข้ามชาติกับประเทศ เพื่อนบ้าน การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฯลฯ
20
การตรวจสอบและการบังคับ ให้ปฏิบัติตามพันธกรณี ระหว่างประเทศ
การจัดทำรายงานการปฏิบัติตามสนธิสัญญาตามวาระโดยประเทศภาคี และ UP การร้องเรียนโดยรัฐภาคีอื่นให้ตรวจสอบ การร้องเรียนโดยบุคคลที่ไม่สามารถแสวงหาความเป็นธรรมในประเทศของตนได้แล้ว ต่อกลไกตามสนธิสัญญา หรือ UN การบังคับทางการทูต ทางเศรษฐกิจ และทางการทหาร เช่นสงครามเกาหลี อัฟกานิสถาน อื่นๆ
21
เหตุที่รัฐไม่ทำหน้าที่ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
๑. รัฐไม่เต็มใจ (Unwilling) ที่จะส่งเสริมหรือปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นผู้ละเมิดมีอิทธิพลเหนือรัฐ คนทำผิดลอยนวล ๒. รัฐไม่สามารถ (Unable) ที่จะส่งเสริมหรือปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นเกิดภาวะสงครามกลางเมือง กลุ่มนอกกฎหมาย นอกรัฐ มีอิทธิพล ในกรณีดังกล่าวกฎหมายและกลไกระหว่างประเทศจะเข้ามาแทรกแซงเพื่อบังคับให้รัฐทำหน้าที่
22
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกับการตรวจสอบรัฐ
ประชาชน/สังคมสร้างรัฐให้ทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีความรับผิดชอบ/สิทธิ (ปฏิญญานักปกป้องฯ) ที่จะ ข้อ ๑ ส่งเสริมและต่อสู้ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองและตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ข้อ ๕ ติดต่อสื่อสารกับองค์กรเอกชนหรือองค์กรระหว่างประเทศ ข้อ ๖ จัดพิมพ์ แจ้ง หรือเผยแพร่ ความคิดเห็น ข้อมูล ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ข้อ ๗ รณรงค์ให้เกิดการยอมรับแนวคิดสิทธิมนุษยชน ข้อ ๘ มีส่วนร่วมในการกำหนดและวิจารณ์รัฐบาลและนโยบายสาธารณะ ข้อ ๙ ร้องเรียนแสวงหาความเป็นธรรม/เยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ
23
ข้อเสนอต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ต้องมีความเชื่อมั่นและมั่นใจในการทำงานว่ามีความชอบธรรม โดยเฉพาะการตรวจสอบรัฐให้ทำหน้าที่ปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ต้องไม่ติดกรอบรัฐ อธิปไตย ไม่ว่าด้านกฎหมาย หรือกลไกของรัฐ ต้องมีความถูกต้องแม่นยำในข้อเท็จจริง ต้องอ้างอิงหลักสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรม และนิติธรรม อ้างอิงทั้งกฎหมายในประเทศ ได้แก่กฎหมายและรัฐธรรมนูญ กฎระเบียบปฏิบัติที่ชอบธรรม สนธิสัญญาระหว่างประเทศ หลัก แนวปฏิบัติ ข้อเสนอแนะระหว่างประเทศและข้อที่รับข้อเสนอแนะ ภาระผูกพันทั้งทางกฎหมายและทางศีลธรรม การสื่อสารต่อสังคม บุคคล องค์การและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างฉับไว ด้วยรูปแบบ วิธีการต่างๆ สิ่งท้าทายคือทำอย่างไรจึงยืนหลักสิทธิมนุษยชนโดยผสานกับสังคมได้?
24
HUMAN RIGHTS AND JUSTICE FOR ALL
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.