ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAmbrose Morton ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
แนวความคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศ concept and policy of development
2
เนื้อหาประกอบด้วย 1. เศรษฐศาสตร์กับการศึกษาการพัฒนา (Economics and Development Studies) 2. มิติในการพัฒนา (Dimensions in Development) 3. การแบ่งกลุ่มประเทศ (Classification of Countries) 4. โครงครอบทางอุดมการณ์กับการพัฒนา (Ideological Superstructure and Development) 5. ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ (Theories of Economic Development) 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Development Strategies) 7. การพัฒนาแบบทางเลือก (Alternative Development)
3
1. เศรษฐศาสตร์กับการศึกษาการพัฒนา (Economics and Development Studies)
4
วิชาเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม วิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political economy)
ธรรมชาติของวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ (The Nature of Development Economics) แนวคิดของ Michael P. Todaro, 2000, p.7- วิชาเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม วิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political economy) วิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ (Development economics)
5
วิชาเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม
เศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิคและแบบนีโอคลาสสิค (classical and neoclassical economics) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการแข่งขันสมบูรณ์ ของประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้า การปรับราคาโดยอัตโนมัติ การตัดสินใจบน พื้นฐานของความพอใจหน่วยสุดท้ายของผู้บริโภคและบนพื้นฐานเรื่องกำไรของ ภาคเอกชน ดุลยภาพทางในผลผลิตกับทรัพยากรในการแข่งขัน โดยมีสมมติฐาน ว่าการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของผู้ที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปอย่างมี “เหตุผล (rationality), เป็นเชิงวัตถุวิสัย (materialistic), เป็นปัจเจกลักษณะ เฉพาะตัว (individualistic), และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง (Self-interested orientation)”
6
วิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political economy)
ศึกษากระบวนการทางด้านสังคมและสถาบันที่กลุ่ม ผู้นำทางการเมืองและเศรษฐกิจกลุ่มต่างๆ มีอิทธิพลต่อ การจัดสรรทรัพยากรที่หายากทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่าจะเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือผลประโยชน์ ของประชาชนส่วนใหญ่ ดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์ การเมืองจึงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและ เศรษฐกิจโดยมีจุดเน้นที่บทบาทของอำนาจในการ ตัดสินใจในทางเศรษฐกิจ
7
วิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ (Development economics)
ครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ การเมืองเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในเชิง โครงสร้างและสถาบันของทั้งประเทศอันจะทำให้ผลของ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ ดังนั้น การมีบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของรัฐบาลและการตัดสินใจร่วมกัน ทางเศรษฐกิจที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจึงเป็น องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ
8
คุณค่าหรือค่านิยมในวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทางด้านสังคมศาสตร์จึงมีความเกี่ยวข้อง กับมนุษย์และระบบสังคมมนุษย์ทำกิจกรรมในระบบสังคม เพื่อ ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านวัตถุ เช่น อาหาร ที่อยู่ อาศัยเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และเพื่อตอบสนองความต้องการที่ ไม่ใช่วัตถุ เช่น การศึกษา ความรู้ การเติมเต็มทางด้านจิตวิญญาณ
9
เศรษฐกิจในฐานะที่เป็นระบบสังคม
วิชาเศรษฐศาสตร์และระบบเศรษฐกิจในประเทศโลกที่สาม ควรได้รับการพิจารณาในมุมมองที่กว้างกว่าวิชาเศรษฐศาสตร์ แบบดั้งเดิม นั่นคือ การมองว่าเป็น “ระบบสังคม” (social systems)ของประเทศและของโลก ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างปัจจัยในทาง เศรษฐกิจและไม่ใช่เศรษฐกิจ (economic and non-economic factors)
10
ความหมายของการพัฒนา เนื่องจากความหมายของการ พัฒนาอาจแตกต่างกันไปในความ นึกคิดของแต่ละคน ดังนั้นเราจึง ควรมาทำความเข้าใจให้ตรงกันใน คำนิยามหรือความหมายหรือ เกณฑ์ในการวัดมิฉะนั้นเราไม่อาจ บอกได้ว่าประเทศไหนกำลังพัฒนา หรือไม่พัฒนา
11
นิยามแบบดั้งเดิม (conventional Definition )
ความหมายดั้งเดิมของการพัฒนา เป็นความหมายในทางเศรษฐกิจที่ หมายถึง “ความสามารถของประเทศ ในการสร้างและรักษาระดับผลผลิต มวลรวมประชาชาติหรือรายได้ ประชาชาติ (gross national product หรือ GNP)1 หรือผลผลิตมวลรวม ภายในประเทศ
12
นิยามหลังดั้งเดิม (Post-Conventional Definition)
จากประสบการณ์ของการพัฒนาในช่วง ทศวรรษ 1950s และ 1960s ที่พบว่า ประเทศโลกที่สามหลายประเทศมีอัตรา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ตามเป้าหมาย แต่ระดับการครองชีพของ คนจำนวนมากยังเหมือนเดิม ทำให้นัก เศรษฐศาสตร์พัฒนาการพบว่าต้องมี ความผิดพลาดในการนิยามความหมาย ของพัฒนาอย่างแคบ
13
ค่านิยมหลักสามประการของการพัฒนา
จากนิยามของการพัฒนาที่มุ่งแสวงหาชีวิต ที่ดีกว่าทั้งในทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ เราอาจจะสรุปเป็นค่านิยมหลักสาม ประการที่เป็นฐานทางด้านแนวคิดและ แนวปฏิบัติ คือ อาหารที่เพียงพอแก่การยัง ชีพ (sustenance) การนับถือตนเอง (self- esteem) และเสรีภาพ (freedow) ค่านิยม ทั้งสามเป็นเป้าหมายที่ทุกคนและทุกสังคม แสวงหาและเป็นความจำเป็นพื้นฐานของ มนุษย์
14
คำถามเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
Michael P. Todaro, 2000, p.9-11 และ E. Wayne Nafziger, 1997, 5-6) 1. ความหมายที่แท้จริงของ “การพัฒนา” คืออะไร ทฤษฎีและแนวความคิดต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจจะช่วยให้เราเข้าใจกระบวนการพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างไร 2. อะไรคือที่มาของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับ ระหว่างประเทศ ใครได้ประโยชน์จากความเจริญเติบนั้นและทำไม ทำไมบาง ประเทศจึงมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในขณะที่บางประเทศยังคงยากจนอยู่ 3. ทฤษฎีการพัฒนาใดที่มีอิทธิพลที่สุด การด้อยพัฒนาเกิดจากปรากฏการณ์ ภายในประเทศหรือภายนอกประเทศ
15
4. เราเรียนรู้อะไรบ้างจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีเงื่อนไขที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันในกระบวนการพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา 5. การปรับปรุงบทบาทและสถานภาพของผู้หญิงจะมีผลในทางบวกต่ออนาคตของ การพัฒนาหรือไม่ 6. การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรจะเป็นภัยคุกคามต่อความก้าวหน้าทาง เศรษฐกิจของ ประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ ครอบครัวขนาดใหญ่ทำให้ความยากจน และความไม่มั่นคงทางการเงินขยายตัวขึ้นหรือไม่ 7. ทำไมจึงเกิดการว่างงานอย่างมากในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในเขตเมือง และทำไมคนจึงยังคงอพยพจากชนบทสู่เมืองอยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าโอกาสหางานดูจะเลือน ราง
16
8. ระบบการศึกษาของประเทศโลกที่สามส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือไม่ หรือเพียงกลไกที่ทำให้คนบางกลุ่มหรือบางชนชั้นยังคงรักษา สถานภาพทางด้านความมั่นคั่งอำนาจ และอิทธิพลเอาไว้ 9. ในขณะที่ % ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาอาศัยอยู่ใน ชนบท เราจะส่งเสริมชนบทและการเกษตรกรรมอย่างไร ราคาสินค้าเกษตรที่ สูงขึ้นเพียงพอที่จะกระตุ้นการผลิตอาหารหรือไม่ หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลง เชิงสถาบันในชนบทอย่างไร เช่น การจัดสรรที่ดินใหม่ (land redistribution) การคมนาคมขนส่ง การศึกษา การให้สินเชื่อ ฯลฯ 10. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนหมายถึงอะไร มีต้นทุนทางเศรษฐกิจ อะไรบ้างในการทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ใครรับผิดชอบต่อการทำลาย สิ่งแวดล้อมของโลก-ประเทศที่ร่ำรวยหรือประเทศที่ยากจน
17
11. การขยายตัวทางการค้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาของประเทศ ยากจนหรือไม่ใครได้ประโยชน์จากการค้านี้ และแต่ละประเทศมีความ ได้เปรียบอย่างไร 12. ควรส่งเสริมการส่งออกสินค้าขั้นปฐม เช่น สินค้าเกษตร หรือไม่ หรือ ประเทศยากจนทุกประเทศต้องพัฒนาอุตสาหกรรมโดยการพัฒนาโรงงาน อุตสาหกรรมหนักอย่างรีบด่วนเท่าที่จะเป็นไปได้ 13. ประเทศกำลังพัฒนาเป็นหนี้ต่างประเทศได้อย่างไร และผลของการเป็น หนี้ต่อเศรษฐกิจของทั้งประเทศยากจนและประเทศที่พัฒนาแล้ว
18
14. รัฐบาลประเทศยากจนควรมีนโยบายต่อไปนี้เมื่อไร และภายใต้เงื่อนไขใดบ้าง--- ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การขึ้นภาษีศุลกากร การกำหนดโควตาใน การนำเข้าสินค้าที่ไม่จำเป็นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ หรือการเยียวยา ปัญหาดุลการชำระเงินเรื้อรัง 15. ควรส่งเสริมบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และแข็งแรงให้มาลงทุนในประเทศที่ยากจน หรือไม่ ถ้าควร---จะมีเงื่อนไขใดบ้าง การเกิดขึ้นของ “โรงงานระดับโลก” (global factory ) และโลกาภิวัฒน์ด้านการค้าและการเงินมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไร 16. อะไรคือผลกระทบของความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศร่ำรวย ประเทศกำลังพัฒนาควรแสวงหาความช่วยเหลือเช่นนี้ต่อไปหรือไม่ ถ้าควร---ควรจะอยู่ ภายใต้เงื่อนไขใดและเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง ประเทศที่พัฒนาแล้วควรให้ความช่วยเหลือ ต่อไปหรือไม่ ภายใต้เงื่อนใดและเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง
19
17. ตลาดเสรีและการถ่ายโอนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นคำตอบตอบปัญหาการ พัฒนาหรือไม่ หรือรัฐบาลประเทศโลกที่สามยังคงมีบทบาทสำคัญในการดำเนิน เศรษฐกิจต่อไป 18. อะไรคือบทบาทของนโยบายทางด้านการเงินและการคลังในการส่งเสริมการ พัฒนาการใช้จ่ายทางด้านทหารช่วยกระตุ้นหรือฉุดความเจริญทางเศรษฐกิจ 19. การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจจากระบบคอมมูนิสต์ไปสู่ระบบทุนนิยมในอดีต ประเทศสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกมีผลต่อการลงทุนระหว่างประเทศของ ภาคเอกชนและต่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศต่อโลกที่สามหรือไม่ 20. อะไรคือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญอยู่ในศตวรรษ ที่ยี่สิบเอ็ด การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ( interdependence) ที่เพิ่มมาก ขึ้นระหว่างประเทศโลกที่หนึ่งกับประเทศโลกที่สามจะช่วยหรือชะลอการพัฒนาใน อนาคต
20
วัตถุประสงค์สามประการของการพัฒนา
เพื่อเพิ่มและกระจายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย และการได้รับความคุ้มครอง เพื่อยกระดับการดำรงชีพ ทั้งในแง่ของรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น การ มีงานทำ การมีการศึกษาที่ดีขึ้น เพื่อขยายทางเลือกทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ปัจเจกชนและ ประเทศชาติ
21
2. มิติในการพัฒนา (Dimensions in Development)
22
ระเบียบวาระเพื่อการพัฒนาของนายบูโทรส บูโทรส กาลี (Boutros Boutros Ghali)
1. สันติภาพคือรากฐานของการพัฒนา (Peace as the foundation) 2. การพัฒนาเศรษฐกิจคือจักรกลของความก้าวหน้า (The economy as the engine of progress ) 3. สิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของความยั่งยืน (The environment as a basis for sustainability)
23
ระเบียบวาระเพื่อการพัฒนาของนายบูโทรส บูโทรส กาลี (Boutros Boutros Ghali) (ต่อ)
4. ความยุติธรรมคือเสาหลักของสังคม (Justice as a pillar of society) 5.ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดี (Democracy as good governance)
24
เลขาธิการสหประชาชาติติคนปัจจุบัน
อดีตนายกรัฐมนตรีของโปรตุเกส แอนโตนิโอ กูเตอร์เรส ได้รับเลือก อย่างไม่เป็นทางการให้เป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนใหม่ แทนนาย บัน คี มูน ปัจจุบันอายุ 67 ปี เคยเป็นนายกฯ ของโปรตุเกสแล้ว เขายัง ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ระหว่างปี ค.ศ ด้วย ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
25
“ไม่มีใครชนะในสงคราม ทุกคนพ่ายแพ้
กันหมด” ปี 2017 กูแตร์เรส ได้ขอให้ชาวโลกร่วมกันตั้งปณิธานสำหรับปีใหม่ ว่าจะ แก้ปัญหาด้วยการทำให้เกิดสันติภาพเป็นอันดับแรก พร้อมกับเรียกร้องให้ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน รัฐบาล หรือผู้นำ ช่วยกันอย่างหนักในปี 2017 เพื่อกำจัดความแตกต่างออกไป และว่า สันติภาพจะเป็นเป้าหมาย และแนวทางในการปฏิบัติ “ความพยายามที่จะบรรลุผลในฐานะครอบครัวเดียวกันของมนุษยชาติ ศักดิ์ศรี และความหวัง ความก้าวหน้า และความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับ สันติภาพ แต่สันติภาพ ก็ขึ้นอยู่กับเรา”
26
นิยามและมิติต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ
มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางด้านสังคม - ปัญหาความยากจน - ปัญหาด้านสุขอนามัย - ปัญหาด้านการศึกษา มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม ภาพการแสดงมิติต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ 7 มิติ
27
มิติทางเศรษฐกิจ
28
มิติทางด้านสังคม
29
มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม
30
มิติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
31
Enlightenment วางอยู่บนหลักการทางปรัชญาที่สำคัญ 4 ประการ คือ
หลักมนุษย์นิยม หลักเหตุผลนิยม หลักวัตถุนิยม หลักวิวัฒนาการ
32
หลักมนุษย์นิยม ปฏิเสธความสูงสุดของพระเจ้าว่าไม่ได้เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของมนุษย์อีกต่อไป แนวคิดนี้ หันไปยกย่องความสามารถของมนุษย์และระบบคิดอย่างมีเหตุและผล และเชื่อว่ามนุษย์ต้อง เอาชนะธรรมชาติและปลดปล่อยตัวเองจากโซ่ตรวนทางธรรมชาติ ดังนั้นความก้าวหน้าของ มนุษย์จึงถูกอธิบายด้วยขนาดและความสามารถของมนุษย์ที่ดัดแปลงและเอาชนะธรรมชาติ
33
หลักมนุษย์นิยม ทักทายกฎแห่งชะตากรรมที่ถูกกำหนดจากพระเจ้าต่อมาหลักการนี้ได้ พัฒนาขึ้นมาเป็นหัวใจของระบบภูมิปัญญา “วิทยาศาสตร์” ในยุค ปัจจุบัน ที่เชื่อว่าทุกสิ่งต้องสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุและผลอย่าง แน่ชัด แล้วทุกระบบล้วนแต่มีกฎที่แน่นอนดำรงอยู่และสามารถ พิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วย
34
หลักมนุษย์นิยม เชื่อว่า วัตถุคือฐานจริงของโลก โลกนี้ไม่ใช่โลกแห่งจิตวิญญาณ หรือโลกพระเจ้า การเคลื่อนตัวของโลกทางวัตถุจะมีบทบาท กำหนดเหนือการเปลี่ยนทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางจิต วิญญาณ
35
หลักวิวัฒนาการ หรือพัฒนาการประวัติศาสตร์สังคมและวิทยาศาสตร์ก็ได้รับการ อธิบายว่ามีพัฒนาการอย่างมีกฎเกณฑ์จากสังคมหรือระบบที่ล้าหลังป่า เถื่อนสู่สังคมที่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ และมีระบบระเบียบ มีขั้นตอน ในการพัฒนาแน่นอน
36
นิยามและมิติต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ (ต่อ)
มิติทางด้านการเมืองและวิธีการ ปกครอง (Governance) - มิติทางด้านการเมือง ได้แก่ การ ส่งเสริมประชาธิปไตย ทั้งในแง่ อุดมการณ์ทางการเมือง (political democracy)ระบอบการปกครอง (political regime) และวิธีการดำเนิน ชีวิตของประชาชน (ways of life)
37
มิติทางด้านการเมืองและวิธีการปกครอง (Governance)
38
มิติด้านวิธีการปกครอง (Governance)
39
มิติทางด้านการบูรณาการระหว่างประเทศ
40
เสาหลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 4 ต้น ได้แก่
เสาหลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 4 ต้น ได้แก่ ประชาธิปไตยทางการเมือง (political democracy ) ความเสมอภาค (equality) เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน (freedom & human rights) การมีส่วนร่วมของประชาชน (popular participation)
41
ประชาธิปไตยทางการเมือง (political democracy )
การมีรัฐบาลที่ชอบธรรม (legitimate government) : เป็นที่ยอมรับของประชาชน หรือได้ อำนาจจากประชาชน ความเป็นตัวแทนของประชาชน (representativeness) : ผู้แทนของประชาชนต้องแสดงบทบาท เป็นตัวแทนของประชาชนด้วยการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง ความอดกลั้นอดทน (tolerance) : การยอมความแตกต่าง ไม่ใช้ความรุนแรง ความยุติธรรม (justice) : การยึดหลักนิติธรรมและคุณธรรม การใช้เหตุผล (rationality) ในการแก้ปัญหา การใช้หลักปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่แต่เคารพเสียงส่วนน้อย (majority rule, minority rights) การตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติบริหาร ตุลาการ
42
ความเสมอภาค (equality)
การเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล กลุ่มชน ทั้งในด้านเพศสภาพ (หญิง-ชาย) ด้านศาสนา ด้านสีผิว ด้านเชื้อชาติ ให้ความเสมอภาคในด้านโอกาสการศึกษา การมีงานทำ การเข้าถึงบริการของรัฐ ให้ความเสมอภาคในด้านรายได้ บนหลักการของงานเท่ากันเงินเท่ากัน
43
เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน (freedom & human rights)
เคารพในสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ (natural rights) ซึ่งได้แก่สิทธิในการมีชีวิต (rights to life), สิทธิใน การครอบครองทรัพย์สิน (rights to property) และเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ที่ไม่ละเมิดหรือล่วงเกินเสรีภาพของบุคคลอื่น การให้สิทธิทางการเมือง (political rights) สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการชุมนุมทางการเมือง ฯลฯ การให้สิทธิ์แก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการ คนชรา เด็ก ฯลฯ
44
การมีส่วนร่วมของประชาชน (popular participation)
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ชุมชน สังคม เครื่องมือในการมีส่วนร่วมได้แก่ การทำประชาพิจารณ์ การทำประชามติ การลงชื่อเสนอกฎหมาย การลงชื่อถอดถอนนักการเมืองและข้าราชการ การให้การปรึกษาด้านการเมืองแก่ประชาชนเพื่อให้ รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดี การมีส่วนร่วมของประชาชน อาจทำในฐานะปัจเจกบุคคลหรือการรวมกลุ่มเป็น “ประชาสังคม” เช่น องค์กรระดับรากหญ้าของประชาชน (people’s organizations) อาทิ ชมรม สตรี สหกรณ์ออมทรัพย์หรือเครือประชาชน หรือองค์การพัฒนาเอกชน (non- governmental organizations หรือ NGOs)
45
นิยามและมิติต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ (ต่อ)
มิติทางด้านการพัฒนามนุษย์ -การพัฒนามนุษย์ ในทศวรรษ 1990s โครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDP) ได้ กำหนดให้ทศวรรษ 1990sเป็นทศวรรษแห่ง การพัฒนามนุษย์ (A Decade of Human Development ) โดยได้วางแนวทางการพัฒนา ประเทศให้ประเทศสมาชิกยึด “ประชาชนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา” (people-centered development)
46
นิยามและมิติต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ (ต่อ)
มิติทางด้านการพัฒนามนุษย์ - ความมั่นคงของมนุษย์แนวคิดที่สำคัญ อีกประการหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนา มนุษย์ คือ แนวคิดเรื่องความมั่นคงของ มนุษย์ (human security ) โดยนัก เศรษฐศาสตร์ชาวเอเชีย ชื่อ มาห์บับ อุล ฮัก (Mahbub UI Hag) ที่ได้พัฒนาให้กับ สหประชาชาติใน ค.ศ. 1994
47
นิยามและมิติต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ (ต่อ)
มิติทางด้านการพัฒนามนุษย์ - เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ตั้งแต่ ค.ศ เป็นต้นมา สหประชาชาติ ได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่ เรียกว่า “เป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษ”(MDGs) โดยการลงสัตยาบัน ร่วมกันของประเทศสมาชิกจำนวน 189 ประเทศ ที่กรุงนิวยอร์กว่าจะปฏิบัติตาม MDGs ซึ่งมี 8 ข้อ
48
3. การแบ่งกลุ่มประเทศ ( Classification of Countries)
49
เมื่อเริ่มมีการสนใจอย่างจริงจัง เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง หลัง 1940s และต้น 1950s จะมีการ เรียกขานประเทศต่างๆ ว่าเป็น ประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน แตกต่างกันตามช่วงเวลา ทศวรรษ 1950s เรียกประเทศที่มีสภาพ เศรษฐกิจล้าหลังและยากจนว่า “ประเทศด้อยพัฒนา” (Underdeveloped Countries )
50
ในทศวรรษนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจใน โลกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (Pax Americana) ให้ความสนใจประเทศ ยากจนที่มีประมาณสามในสี่ของ ประเทศต่างๆ ในโลก ทั้งในทวีปเอเชีย อัฟฟริกาและ ละตินอเมริกา ประเทศเหล่านี้ส่วน ใหญ่เป็นอดีตอาณานิคมของประเทศที่ ร่ำรวยในยุโรปตะวันตกและ สหรัฐอเมริกา
51
การสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจได้รับการนิยามใหม่ โดยเน้นถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น กล่าวคือ การพัฒนาจะหมายถึง การสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ การลดหรือขจัดปัญหาความยากจน การแก้ปัญหาหรือลดปัญหาไม่เท่า เทียมกัน การแก้ปัญหาการว่างงาน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เศรษฐกิจ สังคม
52
การพัฒนาตามแนวคิดใหม่ ต้องประกอบด้วย
การมีสิ่งจำเป็นพื้นฐานเพื่อการดำรง อยู่ของชีวิต การที่มนุษย์มีความรู้สึกถึงศักดิ์ศรีหรือ คุณค่าของตนเองและมีความ ภาคภูมิใจในตัวเอง การที่มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกและ กำหนดจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต ของตนเอง
53
ธนาคารโลกได้แบ่งระดับการพัฒนาของประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม
กรุงเทพมีรายได้ต่ำ (low income economies) - มีรายได้ต่ำกว่า US$ 725 มีจำนวน 51 ประเทศ กลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง (middle-income economies) - กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ ( lower middle income economies) มีรายได้อยู่ ในช่วงUS$ 726-$2,895 มีจำนวน 40 ประเทศ
54
ธนาคารโลกได้แบ่งระดับการพัฒนาของประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม (ต่อ)
- กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ( higher middle income economies) มีรายได้ อยู่ในช่วง US$2,896-8,955 มีจำนวน 17 ประเทศ กลุ่มที่มีรายได้สูง (high income economies) - มีรายได้สูงกว่า US$ 8,956 มีจำนวนรวม 25 ประเทศ
55
การแบ่งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
มีการเรียกขานกลุ่มประเทศกำลัง พัฒนาว่าเป็น “ประเทศซีกโลกใต้” (the South) และเรียกประเทศที่พัฒนา แล้วว่าเป็น “ประเทศซีกโลกเหนือ” (the north) ในขณะที่เรียกประเทศโลก คอมมิวนิสต์ว่า “ประเทศซีกโลก ตะวันออก” (the East) และเรียก ประเทศโลกเสรีว่า “ประเทศซีกโลก ตะวันตก” (the west)
56
มีการแบ่งกลุ่มประเทศในซีกโลกใต้และประเทศในซีกโลกตะวันออก (ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศกำลังเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ไปสู่ระบบทุนนิยมเสรีและผนวกเข้ากับกระบวนการโลกาภิวัตน์มากขึ้น) ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 1. กลุ่มประเทศในช่วงการเปลี่ยนผ่าน จำนวน 26 ประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกและอดีตสหภาพ โซเวียต
57
2. กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrializing Countries หรือ NICs) จำนวน 3 ประเทศ(เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์) ไม่นับฮ่องกงซึ่งรวมเป็นจีนแล้วตั้งแต่ปี 1997 และบางทีก็มีการนับรวมเม็กซิโก บราซิล และประเทศอื่นๆ ด้วย 3. กลุ่มประเทศสมาชิกองค์การโอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries ) หรือ OPCE ซึ่งมีจำนวน 8 ประเทศ ลิเบีย ซาอุดีอาระเบีย เวเนซูเอล่า กาบอง อิหร่าน อิรัก อินโดนีเซีย และไนจีเรีย
58
กลุ่มประเทศสมาชิก OPCE แม้จะมี รายได้ค่อนข้างสูง แต่ประสบปัญหา คล้ายคลึงกับประเทศกำลังพัฒนา คือ มีอัตราการไม่รู้หนังสือค่อนข้างสูง อัตราการตายของทารกค่อนข้างสูง และต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศ จึงเข้าร่วมกับ UNCTAD ในระหว่างปี ค.ศ เพื่อรับหลักการ และโครงการที่จะลดผลกระทบในทาง ลบจากระเบียบเศรษฐกิจที่มีต่อการ พัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา
59
4. โครงครอบทางอุดมการณ์กับการพัฒนา (Ideological Superstructure and Development)
60
ความหมายและที่มา อุดมการณ์ (ideology) หมายถึง ชุดของ ความคิดที่เป็นพื้นฐานของการกระทำ ทางด้านการเมือง อุดมการณ์ หมายถึง ทฤษฎีการเมืองต่างๆ ที่มุ่งสู่การกระทำ (action oriented) เป็นเชิง วัตถุวิสัย(materialistic) เป็นที่นิยมแพร่หลาย (popular) และใช้ภาษาง่ายๆ (simplistic) ทฤษฎีเหล่านี้เป็นตัวที่ช่วยเสริมเงื่อนไขทาง การเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรม
61
คุณลักษณะที่สำคัญของอุดมการณ์
เป็นศัพท์ทางการเมืองแต่สามารถใช้กับ บริบทอื่นๆ ได้ด้วย อุดมการณ์ประกอบด้วยทัศนะของปัจจุบัน และวิสัยทัศน์ในอนาคต วิสัยทัศน์ในอนาคตนักแสดงออกรายการ ปรับปรุงในทางวัตถุให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน อนาคตที่ต้องการมักจะบรรลุได้ในช่วง ชีวิตของคนคนหนึ่ง (แสดงให้เห็นถึง ความหวัง)
62
คุณลักษณะที่สำคัญของอุดมการณ์ (ต่อ)
อุดมการณ์เน้นการกระทำ ที่แสดง ทิศทางเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ที่บรรลุ เป็นหมาย อุดมการณ์จะมุ่งไปที่การจูงใจมวลชน เพื่อเรียกร้องให้สื่อมวลชนใช้ความ พยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
63
- การจัดประเภทของอุดมการณ์ - อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองในการพัฒนาประเทศ - อุดมการณ์เสรีนิยม (Liberalism) แนวคิดนี้แพร่หลายไปในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศและประเทศแถบยุโรปตะวันออกหลังการการปฏิวัติในปี ค.ศ และ 1991 (พวกมาร์กซิสม์มองว่าเสรีนิยมสะท้อนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน)
64
ค่านิยมและความเชื่อหลักของเสรีนิยม
ปัจเจกชน (Individual) เสรีภาพ (Freedom) เหตุผล (Reason) ความยุติธรรม (Justice) ขันติธรรม (Tolerance)
65
ปัจเจกชน (Individual)
ได้รับสิทธิตามธรรมชาติจากพระเจ้าในด้านการมีชีวิต มีเสรีภาพ และ มีทรัพย์สิน (life, liberty, and property) มีความปรารถนาที่จะสร้างสังคมที่บุคคลแต่ละคนสามารถพัฒนา ศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่
66
เสรีภาพ (Freedom) เสรีภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงอยู่ของมนุษย์ทำให้มนุษย์มีทางเลือก เสรีภาพเป็นเงื่อนไขที่ประชาชนและพัฒนาทักษะและความถนัดและเติมเต็ม ศักยภาพของตน เสรีภาพที่ไร้ข้อจำกัดอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น
67
เหตุผล (Reason) เหตุผลกดปล่อยมนุษย์ชาติจากความงมงายและไสยศาสตร์และการ ครอบงำของขนบธรรมเนียมประเพณี ให้ความสำคัญกับการขยายตัวขององค์ความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ ให้กับสำคัญกับการศึกษาเพราะทำให้ บุคคลสามารถปรับปรุงตัวเองและสังคมได้ มองว่ามนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ใช้เหตุผลและต้องไม่ได้และต้องไม่ใช้ กำลังหรือความก้าวร้าว
68
ความยุติธรรม (Justice)
แนวคิดนี้อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคในด้านสิทธิต่างๆและใน โอกาสที่จะพัฒนาทักษะและความสามารถที่ไม่เท่าเทียมกับคนอื่นแล้ว ควรได้รับผลตอบแทนตามความรู้ความสามารถ เชื่อในระบบคุณธรรมซึ่งใช้ความสามารถเป็นหลักในการให้ความดี ความชอบ
69
ขันติธรรม (Tolerance)
ยอมรับความหลากหลายทางด้านศิลปะทักษิณและธรรม วัฒนธรรมและการเมือง หมายถึงความอดกลั้นหรือเต็มใจที่จะให้คนอื่นได้คิดได้ พูดและได้กระทำในสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย คติธรรมเป็นการการันตีเสรีภาพของบุคคลและเชื่อใน สังคมดุลยภาพ
70
เสรีนิยมกับประชาธิปไตย (Liberalism and Democracy)
รัฐเสรี (Liberal state) รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional government) กฎประชาธิปไตย (Democratic rule)
71
รัฐเสรี (Liberal state)
นักปรัชญาการเมืองที่เสนอแนวคิดเหล่านี้ ได้แก่ Thomas Hobbes, John Locke, และ Thomas Jefferson อธิบายว่า รัฐต้องเป็นกลางและดูแลผลประโยชน์ของทุกคน ถ้าประชาชนมีความขัดแย้ง กัน รัฐจะต้องบังคับให้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา
72
รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional government)
การระบุเป็นกฎหมายในรัฐธรรมนูญฉบับเดียว ส่วนประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญไม่เป็นลาย ลักษณ์อักษรเช่น สหราชอาณาจักร ก็จะระบุให้กฎหมายลูก (statute law) เพื่อ ตรวจสอบรัฐบาลผ่านหลักการยุติธรรม การแบ่งแยก (the separation of power) อำนาจระหว่างสถาบันต่างๆ คือ สถาบันนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ มีการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) ดังที่ Montesquieu ( ) กล่าวว่า Power should be a check to power ทั้งนี้สถาบันตุลาการ ตีความเจตนารมณ์ของกฎหมาย และตรวจการใช้อำนาจของรัฐบาล จึงต้องมีความเป็น อิสระและไม่ฝักฝ่ายการเมืองฝ่ายใด
73
กฎประชาธิปไตย (Democratic rule)
ประชาธิปไตยทางตรง (direct democracy) ใช้ในยุคกรีกโบราณที่เป็นชุมชนขนาดเล็ก ประชาชนจึงมาประชุมและตกลงร่วมกัน ในปัจจุบันรูปแบบนี้คือ การลงประชามติ ประชาธิปไตยทางอ้อม (indirect democracy) คือการที่ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปใช้ อำนาจแทนเรา ทำให้ประชาธิปไตยแบบนี้ใกล้เคียงกับคำว่า government for the people มากกว่า government by the people เช่นในกรณีประชาธิปไตย ทางตรง
74
เสรีนิยมแบบคลาสสิก (Classical Liberalism)
สิทธิตามธรรมชาติ (Natural rights) Locke และ Jefferson เห็นพ้องกันว่า รัฐควรมีบทบาท น้อยที่สุด คือเพียงแต่รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ปกป้องทรัพย์สินของปัจเจกชน ป้องกันการโจมตีจากภายนอก และ ประกันว่าสัญญาจะยังใช้ได้อยู่ ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็เป็นเรื่องของ ประชาชนเอง Jefferson กล่าวว่า That government is best which govern least”
75
- อุดมการณ์ประโยชน์นิยม (Utilitarianism) Jeremy Bentham และ James Mill นักคิดแนวประโยชน์นิยมมองว่ามนุษย์แสวงหาความสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยหรือการไม่มีความสุข
76
- เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) Adam Smith เชื่อในเสรีภาพของตลาดซึ่งหมายถึงเสรีภาพในการเลือกประชาชนซึ่งจะกำหนดอุปสงค์และอุปทานที่เป็นกลไกตลาด ดังนั้นระบบเศรษฐกิจจึงควรปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ เพราะตลาดถูกจัดการโดย มือที่มองไม่เห็น (invisible hand)
77
- Social Darwinism เสรีนิยมคลาสสิก โดย Herbert Spencer ( ) นักปรัชญาสังคมชาวอังกฤษ นำทฤษฎีวิวัฒนาการ (a theory of evolution) ของ Charles Darwin ( ) ที่กล่าวถึงกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (a process of natural selection) และหลักการการอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด (the survival of the fittest) มาอธิบายการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคมว่า ผู้ที่เหมาะสมที่สุดโดยธรรมชาติที่จะอยู่รอด จะลอยขึ้นสู่ด้านบน ในขณะที่ผู้ที่เหมาะสมน้อยกว่าจะจมลงข้างล่าง (Those who are best suited by nature to survive rise to the top, while the less fit fall to the bottom.) - เสรีนิยมสมัยใหม่ (Modern Iiberalism)
78
- เสรีนิยมสมัยใหม่ (Modern Iiberalism)
- เสรีนิยมสมัยใหม่ (Modern Iiberalism) เสรีนิยมสมัยใหม่พบว่าทุนนิยมอุตสาหกรรมไม่ได้นำความมั่งคั่งมาให้ทุกคน แต่การแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่มีข้อจำกัดทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ดังนั้นจึงมีการทบทวนบทบาทของรัฐกันใหม่ เพราะรัฐที่มีบทบาทน้อยไม่อาจจัดการกับความยุติธรรมและความไม่เสมอภาคในหมู่ประชาชนได้ เสรีนิยมสมัยใหม่จึงสนับสนุนรัฐเข้าแทรกแซง (interventionist) เพื่อช่วยขจัดความ อยุติธรรมและความไม่เสมอภาคต่างๆ
79
ตามหลักการพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่
ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individuality) เสรีภาพในทางบวก (Positive freedom) เสรีนิยมทางสังคม (Social liberalism)
80
ตามหลักการพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่
ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individuality) แนวคิดของ John Stuart Mill ถูกจัดว่าเป็น หัวใจของเสรีนิยม เพราะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเสรีนิยมแบบคลาสสิกกับเสรีนิยมสมัยใหม่ ผลงานของ Mill ในหนังสือ On Liberty “(1859) สะท้อนแนวคิดแบบเสรีนิยมสมัยใหม่ โดยมีความเห็นต่างจาก Jeremy Bentham Bentham แห่งสำนักประโยชน์นิยม ที่เน้นความสุขสูงสุดสำหรับคนจำนวนมากที่สุด
81
ตามหลักการพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่
เสรีภาพในทางบวก (Positive freedom) Green เชื่อว่ารัฐมีความรับผิดชอบทางสังคมต่อพลเมืองของตนในการหยิบยื่นโอกาสที่เท่า เทียมกันในการพัฒนาและแนวคิดจะคล้ายกับพวกสังคมนิยมแต่ Green ก็ไม่ได้ให้สังคมมา ก่อน ปัจเจกบุคคล นั้นคือ รัฐไม่สามารถบังคับประชาชนให้เป็นคนดีได้ รัฐทำได้เพียงสร้าง เงื่อนไขเพื่อให้คนตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบในทางศีลธรรม แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับพวกเสรีนิยมคลาสสิกลงที่อยากให้ปัจเจกชนพึ่งตนเอง มีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง ที่แตกต่างกัน คือ ต้องมีการสร้างเงื่อนไขทางสังคมที่จะทำให้คนพึ่งตนเองได้ อาจสรุปได้ว่า สาระสำคัญของแนวคิดนี้คือ การช่วยปัจเจกชนให้ช่วยตนเองได้ (to help individual to help themselves)
82
ตามหลักการพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่
เสรีนิยมทางสังคม (Social liberalism) ในยุคนี้และสมัยจึงกลายเป็น รัฐ สวัสดิการ ด้วยเหตุผล คือ รัฐบาล ต้องการประสิทธิภาพ มีกำลังแรงงาน ที่สุขภาพดี และ มีกองทัพที่เข้มแข็ง รวมทั้งแรงกดดันของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งในแง่คนงานในภาคอุตสาหกรรม และชาวนาในชนบทที่ต้องการโอกาส ที่เท่าเทียมกัน
83
- เสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) เสรีนิยมสมัยใหม่ (modern liberalism) แย้งว่าประชาชนคือทรัพยากรหลักที่สำคัญของประเทศ ไม่ใช่อุตสาหกรรม รัฐบาลจึงควรสนับสนุนตรงไปที่ประชาชนโดยรวมมากกว่าพวกคนรวย การเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนโดยโครงการต่างๆ ของรัฐจะทำให้คนซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้นจึงเพิ่มกำไรของนายทุน และนายทุนจะเพิ่มค่าจ้างและเพิ่มการลงทุน นโยบายนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นโยบายถึงอุปสงค์ (demand-side policy) และรัฐจะเพิ่มภาษีและควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น แต่เนื่องจากนโยบายแบบนี้ต้องใช้เงินมากกว่า นโยบายฝั่งอุปทาน ดังนั้นรัฐจึงเก็บภาษีคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นด้วย แต่เนื่องจากคนชั้นกลางมีจำนวนมากและไม่ได้รับการปกป้องเท่าคนรวยกับคนจน จึงทำให้คนชั้นกลางรับภาระภาษีหนัก
84
- เสรีนิยมในศตวรรษที่ 21 (Liberalism in the twenty-first century) นักทฤษฏีสังคมของสหรัฐฯ ชื่อ Francis Fukuyama (1989) ถึงกับกล่าวว่า เรามาถึงปลายทางของวิวัฒนาการทางด้านอุดมการณ์ของมนุษย์ชาติแล้ว จักรวาลภิวัตน์ (univeraslization) ของเสรีไทยประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นรูปแบบสุดท้ายของรัฐบาลมนุษย์
85
5. ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ
86
เนื้อหาสาระในบทนี้จะเป็น การศึกษาวิวัฒนาการทางปัญญา ในเชิงประวัติศาสตร์ของ นักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ พัฒนาการเกี่ยวกับเหตุผลของการ พัฒนาและกระบวนการพัฒนาซึ่ง รวมเรียกว่าทฤษฎีการพัฒนา เศรษฐกิจ
87
ทฤษฏีการพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 18
E. Wayne Nafziger ได้อธิบายยุค คลาสสิกในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็น ยุคต้นของการพัฒนาชุมนิยมในยุโรป ตะวันตกว่าแม้ตัวแบบนี้จะเน้นที่การ เจริญเติบโตของประเทศที่พัฒนาแล้ว ในยุโรป แต่ก็ยังมีอิทธิพลอยู่จนทุก วันนี้ในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วน ทฤษฏีวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ของ มาร์คก็ได้รับการพัฒนาต่อไปเป็น ทฤษฏีพึ่งพา
88
ทฤษฎีการพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 20
ทฤษฎีขั้นตอนการพัฒนาแบบเฉียง ขึ้น (The Linear-Stages Theory) - ขั้นตอนการเติบโตของรอสทาว (Rostow’s Stages of Growth)
89
รอสทาวได้แบ่งพัฒนาการของสังคม เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. สังคมดั้งเดิม (Traditional society) 2. ขั้นเงื่อนไขที่ต้องเตรียมการก่อนพุ่ง ทะยาน (Pre-condition) 3. ขั้นทะยานขึ้นหรือเพิ่มการพัฒนา (Take off) 4. ขั้นขับเคลื่อนสู่ความมีวุฒิภาวะ (Maturity) 5. ขั้นเหลือกินเหลือใช้หรือสังคมอุดมโภคา (Age of high mass consumption)
90
ข้อวิจารณ์ ในขณะที่ทฤษฏีของรอสทาวได้รับความ สนใจเป็นอย่างมากในหมู่ข้าราชการของ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1960s โดยเฉพาะอย่างจากหน่วยงานที่ ให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ (international aid agencies) เพราะ ทฤษฏีนี้ให้ความหวังถึงการเจริญเติบโต อย่างยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนาโดย การอัดฉีด ความช่วยเหลือจาก ต่างประเทศเข้าไป แต่ทฤษฎีของรอส ทาวก็ได้รับความวิพากษ์วิจารณ์อย่าง กว้างขวาง
91
ทฤษฏีวัฏจักรแห่งความยากจน (Theory of Vicious Circle)
ทฤษฎีนี้อธิบายว่าปัจจัยที่ทำให้เกิด ความเจริญเติบโต (growth) คือ การ ลงทุน เพราะทำให้เกิดการผลิต เกิดการ จ้างงาน เกิดรายได้ เกิดการออม และ การออมจะนำไปสู่การลงทุน ที่เพิ่มขึ้นเป็นวัฎจักรที่เรียกว่า กระบวนการพัฒนา (development process)
92
ตัวแบบการเจริญเติบโตของฮาร์รอด-โดมาร์
ข้อสรุปสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ 1. การลงทุนเป็นหัวใจของการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจเพราะเป็นการเพิ่มผลิตภาพการผลิตของ ระบบเศรษฐกิจ อันจะนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น 2. อัตราการเจริญเติบโตของ GDP (g) ขึ้นอยู่กับการ ออมของประเทศ (s) โดยผกผันกับอัตราส่วนของทุน ต่อแรงงานของประเทศ (national capital-output ratio (k) ดังนั้นจึงเป็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเชิง สมการคือ g =s/k 3. การรักษาระดับการจ้างงานเต็มที่จะต้องอาศัย อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงพอที่จะดูดซับ เงินออมสำหรับการลงทุน
93
- ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (Structural-Change Model)
ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญ มี 2 ทฤษฎี คือ - ทฤษฎีการพัฒนาของลูอิส (Lewis’s Theory of Development) - การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและ กระสวนของการพัฒนา (Structural Change and Patterns of Development)
94
- การปฏิวัติการพึ่งพาระหว่างประเทศ (The International Dependence Revolution)
ทฤษฎีนี้ประกอบด้วยแนวคิดใหญ่ๆ 3 แนว คือ - ตัวแบบการพึ่งพาแบบอาณานิคมใหม่ (Neocolonial Dependence Model) - ตัวแบบกระบวนที่ผิดพลาด (The False Paradigm Model) - การพัฒนาแบบทวิลักษณ์ (The Dualistic Development Thesis)
95
การวิเคราะห์ปัญหาของประเทศยากจนในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ทฤษฎีนี้วิเคราะห์ว่า การด้อยพัฒนาเป็นผล มาจากการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มี ประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากนโยบายราคาที่ ผิดพลาดและการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงเกินไป (เช่น กรณีควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ อุตสาหกรรมไม่คิดปรับปรุงการผลิตเพื่อการ ประหยัดน้ำมัน ทำให้ประเทศต้องเสียเงินตรา ต่างประเทศมากในการซื้อน้ำมันราคาแพง)
96
ข้อเสนอเชิงทฤษฎีในการแก้ปัญหาของประเทศยากจนในการพัฒนาประเทศ
พวกเสรีนิยมใหม่(neo-liberals) เสนอว่าถ้า จะให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตและมี ประสิทธิภาพ จะต้องให้ตลาดแข่งขันกัน อย่างเสรี มีการถ่ายโอนวิสาหกิจภาพวัดสวย ภาคเอกชนส่งเสริมการค้าเสรีระหว่าง ประเทศและการขยายการส่งออก ปล่อยเสรี อัตราแลกเปลี่ยนตอนรับนักลงทุนกับ ประเทศที่พัฒนาแล้ว และขจัดการกำกับ ควบคุมจากรัฐบาลและการบิดเบือนราคาทั้ง ในปัจจุบันการผลิต ผลผลิต และการตลาด เงิน
97
สาระสำคัญของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบฉันทานุมัติวอชิงตัน ได้แก่
การยกเลิกการควบคุมราคา (price decontrol) วินัยทางการคลัง (fiscal discipline) จัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายของรัฐบาล (public expenditure priorities) ปฏิรูปภาษี (tax reform)
98
สาระสำคัญของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบฉันทานุมัติวอชิงตัน ได้แก่
การเปิดเสรีทางการเงิน (financial liberalization) อัตราแลกเปลี่ยน (exchange rates) การเปิดเสรีทางการค้า (trade liberalization) การออมภายในประเทศ (domestic savings) การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (foreign direct investment) การถ่ายโอนกิจกรรมภาครัฐสู่ภาคเอกชน (privatization)
99
สาระสำคัญของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบฉันทานุมัติวอชิงตัน ได้แก่ (ต่อ)
ปฏิรูปภาษี (tax reform) การเปิดเสรีทางการเงิน (financial liberalization) อัตราแลกเปลี่ยน (exchange rates)
100
สาระสำคัญของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบฉันทานุมัติวอชิงตัน ได้แก่ (ต่อ)
การเปิดเสรีทางการค้า (trade liberalization) การออมภายในประเทศ (domestic savings) การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (foreign direct investment) การถ่ายโอนกิจกรรมภาครัฐสู่ ภาคเอกชน (privatization)
101
สาระสำคัญของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบฉันทานุมัติวอชิงตัน ได้แก่ (ต่อ)
การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (foreign direct investment) การถ่ายโอนกิจกรรมภาครัฐสู่ภาคเอกชน (privatization) การลดกฎระเบียบ ลดการควบคุมและลด การกำกับ (deregulation) สิทธิในทรัพย์สิน (property rights)
102
ทฤษฎีที่สนับสนุนแนวนโยบายแบบฉันทานุมัติวอชิงตัน
การวิเคราะห์ตลาดเสรี (free Market Analysis) ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)
103
ทฤษฎีที่สนับสนุนแนวทางการพัฒนาแบบหลังฉันทานุมัติวอชิงตัน
แนวทางนี้จัดว่าเป็นแขนงความคิดล่าสุด ของพวกโต้กลับการปฏิวัติด้วยแนวทาง แบบนีโอคลาสสิก เป็นแนวคิดของพวกนัก เศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก พวกนี้ ตระหนักว่ามีการมีความไม่สมบูรณ์หลาย อย่างในตลาดปัจจัยการผลิตและผลผลิตใน ประเทศกำลังพัฒนา และตระหนักว่ารัฐบาล จะต้องมีบทบาทสำคัญในการเอื้ออำนวยการ ทำงานของตลาดผ่าน การแทรกแซงอย่างไม่ เลือกสรร
104
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Development Strategies)
105
1.ยุทธศาสตร์การลงทุนทางเศรษฐกิจ : เน้นการเจริญเติบโต (the growth oriented approach)
วัตถุประสงค์ : เพื่อเพิ่มอัตราของ ผลผลิต (increase rate of output) โดย การเพิ่มอัตราการก่อตัวของทุน (increasing rate of capital formation) จึงเน้นการออมและการลงทุนด้วย สมมติฐานการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ของ GNP จะนำมาซึ่งมาตรการฐานการ ครองชีพที่สูงขึ้น
106
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจประกอบด้วยกลยุทธ์ต่อไปนี้
กลยุทธ์การลงทุนขนานใหญ่ (Big push) การเจริญเติบโตแบบสมดุล (Balanced growth) กลยุทธ์การเติบโตแบบไม่สมดุล (Unbalanced growth) กลยุทธ์การส่งออกสินค้าขั้นปฐม (Primary export expansion strategy) กลยุทธการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นภาค เศรษฐกิจนำ (Industrialization as a leading sector)
107
ข้อดีของนโยบาย ISI กลยุทธ์นี้เน้น/ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้า ที่ได้นำเข้าหรือกำลังนำเข้าเพื่อลดการ นำเข้า/ไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไปด้วยเหตุผล คือ (1) เพื่อจะได้ประหยัดเงินตรา ต่างประเทศ (แก้ปัญหาด้าน ดุลการชำระเงิน) (2) เพื่อเป็นการเริ่มต้น ของการพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศ อุตสาหกรรม (3) ลดการพึ่งพาการนำเข้า และ (4) ช่วยแก้ปัญหาการเสียเปรียบได้ อัตราการค้า
108
มาตรการเพื่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ
การปราบปรามสหภาพแรงงาน กดค่าครองชีพและกรดค่าจ้างแรงงาน การกำหนดโควตาการนำเข้าเพื่อสร้าง บรรยากาศปกป้อง การใช้นโยบายทางการคลัง การใช้มาตรการด้านสินเชื่อ จัดหาแหล่งทุน โดยการก่อตั้ง หน่วยงานที่จะจัดหาเงินทุน
109
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม : เน้นการเจริญเติบโตพร้อมการกระจายรายได้ใหม่
2.1 แนวทางที่เน้นการจ้างงาน (Employment-oriented approach) 2.2 แนวทางที่เน้นการขจัดความยากจน (Anti-poverty approach) 2.3 แนวทางที่เน้นการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน (Basic-needs approach) แนวความคิดและคุณลักษณะที่สำคัญของแนวทางนี้
110
3. ยุทธศาสตร์การค้าของประเทศไทย
นโยบายทางด้านการค้าของประเทศไทย 1. ระเบียบว่าด้วยการให้มีชิ้นส่วนที่ผลิต ภายในประเทศ (Domestic-content regulations) 2. การส่งเสริมการส่งออก (Export promotion) 3. การลงทุนจากต่างชาติ (Foreign investment)
111
3. ยุทธศาสตร์การค้าของประเทศไทย (ต่อ)
4. การปกป้องคุ้มครองการผลิตสินค้า หัตถอุตสาหกรรมบางอย่าง (Selective protection) 5. การแข็งค่าเงิน (Currency overvaluation) 6. การห้ามนำเข้าและการตั้งข้อจำกัด การนำเข้า 7. วัฒนธรรมการส่งออก (Export culture)
112
7. การพัฒนาแบบทางเลือก (Alternative Development)
113
อธิบายแนวทางการพัฒนาแบบ อื่นๆ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนากระแส หลัก ซึ่งอาจเรียกแนวทางการ พัฒนาแบบนี้ว่าเป็น "การพัฒนา แบบทางเลือก" หรือที่ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ เรียกว่า "การ พัฒนาแบบชุมชนท้องถิ่นพัฒนา"
114
1. แนวทางการพัฒนาแบบวัฒนาธรรมชุมชน
สาระสำคัญของแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน : แนวคิดของปัญญาชน 5 ท่าน - บาทหลวงนิพจน์ เทียนวิหาร - บำรุง บุญปัญญา - อภิชาต ทองอยู่ - ประเวศ วะสี - กาญจนา แก้วเทพ
115
2. แนวทางการพัฒนาแบบธัมมิกสังคมนิยม
ท่านพุทธทาสภิกขุซึ่งเป็นผู้ก่อกำเนิดแนว ทางการพัฒนาแบบนี้ ได้คิดค้นทฤษฏีพุทธ สังคมที่ไม่ได้ผสมผสานพุทธศาสนาเข้ากับ ปรัชญาการเมืองและโครงสร้างเศรษฐกิจแบบ ตะวันตกเลย ซึ่งแตกต่างจากการพัฒนาใน แนวพุทธสังคมนิยมแบบอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960s เช่น ของนางบันดารา ไนเยเก แห่งศรีลังกา อูนุ แห่งพม่า หรือ สมเด็จสีหนุแห่งกัมพูชา หรือชาวพุทธใน เวียดนามก่อนสงครามเวียดนามซึ่งอาจใช้ แนวทางสังคมนิยมแบบตะวันตก หรือแบบ ลัทธิมาร์กซิสต์
116
3. แนวทางการพัฒนาแบบชุมชนาธิปไตย
พิทยา ว่องกุล เป็นคนบัญญัติศัพท์คำว่าชุม ชนาธิปไตย โดยให้ความหมายว่าชุมชนมี อำนาจในทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ หรือ ชุมชนมีอำนาจอธิปไตยในทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยการสะสมทุนทางเศรษฐกิจใน ชุมชน ทุนจากทรัพยากรธรรมชาติใน ท้องถิ่น ทุนจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ทุน ทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทุนทางสังคม วัฒนธรรม และทุนทางด้านจริยธรรม
117
4. แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development)
แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) ของตะวันตก จะเน้นเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะ เกิดปัญหาจากการผลาญทรัพยากรของโลก อย่างมหาศาลในประเทศที่พัฒนาแล้ว จนมี เสียงเรียกร้องให้ทบทวนแนวคิดการพัฒนา เสียใหม่ (development rethinking)
118
5. แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐศาสตร์สีเขียวและการเมืองสีเขียว
5.1 เศรษฐศาสตร์สีเขียว (Green Economics) เศรษฐศาสตร์สีเขียว (Green Economics) เป็นกระบวนทัศน์ ใหม่ที่เชื่อมโยงทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์เข้ากับนิเวศวิทยา1 โดยมี อี.เอฟ.ชูมัค เกอร์ (E.F.Schumacher) ที.บารานอฟ (T.Baranoff) และ บี.คอมมอนเนอร์ (B.Commoner) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความ สนใจในด้านนี้ หลักคิดที่สำคัญของเศรษฐศาสตร์สีเขียว คือ การอธิบายว่า การสนองความ ต้องการทางวัตถุไม่อาจทำให้มนุษย์หรือสังคมมีความสุขได้
119
5. แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐศาสตร์สีเขียวและการเมืองสีเขียว
5.2 การเมืองสีเขียว (Green Politics) หรือนิเวศวิทยา การเมือง (Political Ecoogy) - อุดมการณ์นี้เริ่มเฟื่องฟูขึ้นเมื่อพรรคเขียวต่างๆ ได้รับ เลือกเข้าสู่รัฐสภาในประเทศต่างๆ ในยุโรปพร้อมๆ กับกลุ่ม เคลื่อนไหวเช่น Green Peace, Friend of the Earth, Earth lsland ฯลฯ ออกมาเคลื่อนไหวทั้งเพื่อให้เกิดแรงกดดันทาง การเมืองต่อรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางด้าน สิ่งแวดล้อม และเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนโลกทัศน์และ จิตสำนึกที่มีต่อระบบนิเวศ อันจะนำมาสู่การเปลี่ยนท่าทีและ พฤติกรรมโดยสมัครใจในการดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดเป็นการทำการเมืองภาคประชาชน (civil politics) - พรรคการเมืองที่มีนโยบายแบบสีเขียวพรรคแรกของโลก คือ “พรรคคุณค่า” ในประเทศนิวซีแลนด์ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2515
120
6. แนวคิดและทฤษฏีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
6.1 เศรษฐกิจพอเพียง (Economic self- sufficiency) 6.2 เกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนว พระราชดำริ
121
การพัฒนานโยบายสาธารณะ ภายใต้แนวคิดรัฐศาสตร์เชิงปริมาณ
กิจกรรมในชั้นเรียน 1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาเรื่อง ความ ไม่แน่นอนของระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยกับแนวคิดในการสร้างระบอบ การปกครองเพื่อความสมดุลทางอำนาจ 2. ส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอองค์ ความรู้ที่ได้หน้าชั้นเรียน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.