ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
มาตรฐานการจัดซื้อเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
Green Procurement มาตรฐานการจัดซื้อเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม Training Document
2
วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพเชิงสิ่งแวดล้อม ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต และจัดจำหน่ายโดยบริษัท โดยการชี้ชัดถึงสารเคมี (สารเคมีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม) ที่ถูกห้ามและต้องการการจัดการแบบพิเศษเมื่อถูกใช้ในวัตถุดิบ ส่วนผสมอุปกรณ์ ชิ้นส่วน เป็นต้น
3
Green Procurement คือ อะไร เป็นระบบที่ว่าด้วยการจัดการ การไม่ใช้สารเคมีปริมาณที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการตรวจสอบว่ามีปริมาณไม่เกินตามมาตราฐาน สามารถส่งผลิตภัณฑ์ขายในกลุ่มประเทศ EU ได้
5
การห้ามใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยกลุ่มบริษัท พานาโซนิค
อิเล็คทริค กรุ๊ป ต้องไม่มีสารอันตราย 6 ชนิด ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ รวมทั้งหีบห่อที่บรรจุผลิตภัณฑ์นั้นๆด้วย สารอันตราย 6 ชนิด ดังกล่าวได้แก่ 1. ตะกั่ว (Pb) <=300 PPM(PLASTIC), <=1000 PPM(METAL) 2. แคดเมียม (Cd.) <= 75 PPM(PLASTIC), <=100 PPM(METAL) 3. ปรอท (Hg.) <= 1000 PPM (PLASTIC) 4. โครเมี่ยม 6 (Cr. ) <= 1000 PPM 5. โพลีโบรมิเนท ไบฟีนีล (PBB.) และ 6. โพลีโบรมิเนท ไดฟีนีล อีเทอร์ (PBDE.) + 6
6
ข้อกำหนดที่ใช้อ้างอิง
แนวทางในการจัดการควบคุมการใช้สารอันตรายต้องห้าม กลุ่มบริษัทมัทสุชิตะ อิเล็คทริค กรุ๊ป อ้างอิงระเบียบหรือข้อกำหนดในการดำเนินการ ดังนี้ 1. RoHS. 2. WEEE. และ 3. ELV. (EVL=End Of Life vehicle)
7
สรุปสาระสำคัญของRoHS
RoHS หรือ Restriction of the Use of Certain Hazardous Substances in electrical and electronic equipment คือ ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์
8
สรุปสาระสำคัญของRoHS (ต่อ)
1. ตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd.) 2. ปรอท (Hg.) โพลีโบรมิเนท ไบฟีนีล (PBB.) และ 3. โครเมี่ยม 6 (Cr. ) โพลีโบรมิเนท ไดฟีนีล อีเทอร์ (PBDE.) +6
9
สรุปสาระสำคัญของWEEE
WEEE หรือ Waste Electrical and Electronic Equipment คือ ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ ระเบียบ WEEE จะเป็นการกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดการในช่วงของการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ โดยให้ผู้ผลิตต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดยใช้วิธีกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้ซ้ำ (Reuse) / การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) / การนำทรัพยากรกลับคืน (Recovery)
10
สรุปสาระสำคัญของWEEE
1. เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในครัวเรือน เช่น เครื่องดูดฝุ่น เตารีด 3. อุปกรณ์โทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ 4. อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับผู้บริโภค เช่น โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ 5. อุปกรณ์ให้ความสว่าง เช่น หลอดไฟประเภทต่างๆ
11
สรุปสาระสำคัญของWEEE
6. เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สว่านไฟฟ้า จักรเย็บผ้า 7. ของเล่นเด็ก อุปกรณ์ให้ความบันเทิง เครื่องกีฬาที่ใช้ไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้า เกมส์วิดีโอและเครื่องบังคับ 8*. เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องฉายรังสีเพื่อรักษาโรค 9*. เครื่องตรวจสอบและควบคุม เช่น เครื่องจับควันไฟในอาคาร 10. เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ** กลุ่ม 8 และ 9 ถูกยกเว้นตามระเบียบของ RoHS
12
หลักการและเหตุผลของ การป้องกันการเกิดขยะ (waste prevention) เช่น
RoHS, WEEE และ ELV (ต่อ) การป้องกันการเกิดขยะ (waste prevention) เช่น โดยการลดการใช้สารอันตรายเป็นส่วนประกอบของ ผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงวิธีการผลิต 2. การนำขยะไปใช้ใหม่ (recycling and reuse) โดย กำหนดให้ขยะจากบรรจุภัณฑ์ รถยนต์ที่หมดสภาพ แบตตารี่ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นขยะ ประเภทที่ต้อง ดำเนินการก่อน (priority)
13
หลักการและเหตุผลของ 3. การปรับปรุงและกำกับดูแลการกำจัดขยะในขั้นสุดท้าย
RoHS, WEEE และ ELV (ต่อ) 3. การปรับปรุงและกำกับดูแลการกำจัดขยะในขั้นสุดท้าย (improving final disposal and monitoring) ขยะที่ไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ จะดำเนินการโดย - นำไปเผา ซึ่งจะต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อไม่ให้เป็น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และมีการกำหนดระดับการปล่อย สารพิษของเตาเผา (limits on emission levels from incinerators) ด้วย - นำไปฝัง ซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายหากไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว และ อนุญาตให้ทำกับขยะบางประเภทเท่านั้น
14
ผลกระทบจากระเบียบของ RoHS, WEEE และ ELV
จากระเบียบของ EU ดังกล่าว ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องที่ต้องการส่งออกไปยัง EU โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยัง EU และทั่วโลกอันมีมูลค่าที่สูงยิ่งนั้น จึงต้องวางแผนล่วงหน้าในการจำกัดการใช้สารอันตรายทั้ง 6 ชนิด ในชิ้นส่วนต่างๆทั้งนี้เพื่อเป็นโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดของ EU
15
อันตรายที่เกิดจากสารต้องห้าม 6 ชนิด
สารอันตราย 6 ชนิด ส่งผลต่อมนุษย์ดังนี้ 1. ตะกั่ว [ Lead (Pb) ] - ส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง - ลดความสามารถด้านการเรียนรู้ - ลดอัตราการเจริญเติบโต - ลดประสิทธิภาพการทำงานของไต
16
อันตรายที่เกิดจากสารต้องห้าม 6 ชนิด (ต่อ)
สารอันตราย 6 ชนิด ส่งผลต่อมนุษย์ดังนี้ 2. แคดเมียม [ Cadmium(Cd.) ] - เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง - ส่งผลต่อกระดูก - ส่งผลต่อระบบการหายใจ
17
อันตรายที่เกิดจากสารต้องห้าม 6 ชนิด (ต่อ)
สารอันตราย 6 ชนิด ส่งผลต่อมนุษย์ดังนี้ 3. ปรอท [ Mercury (Hg.) ] - เกิดอาการชักกระตุก - ลดความสามารถด้านการเดิน, การทรงตัว - ส่งผลเกิดอาการชักที่รุนแรงและอาจถึงขั้น เสียชีวิตได้
18
อันตรายที่เกิดจากสารต้องห้าม 6 ชนิด (ต่อ)
สารอันตราย 6 ชนิด ส่งผลต่อมนุษย์ดังนี้ 4. โครเมี่ยม 6 (Cr. ) Hexavalent chromium - เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง - การหายใจติดขัดคล้ายอาการคนเป็นหอบ, ไอ - มีผลต่อการทำงานของระบบการหายใจและปอด + 6
19
อันตรายที่เกิดจากสารต้องห้าม 6 ชนิด (ต่อ)
สารอันตราย 6 ชนิด ส่งผลต่อมนุษย์ดังนี้ 5. โพลีโบรมิเนท ไบฟีนีล (PBB.) และ 6. โพลีโบรมิเนท ไดฟีนีล อีเทอร์ (PBDE.) - มีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย - ส่งผลต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของ ทารกที่อยู่ในครรภ์
20
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารต้องห้าม 6 ชนิด
ขยะในกลุ่มของ WEEE นั้นสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากขาดการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันกว่า 90% ถูกจัดการโดยการฝัง, การเผา หรือการนำกลับมาใช้ใหม่โดยขาดการบำบัดเบื้องต้น การเผา ขยะในกลุ่มของ WEEE ประมาณว่ามีการแพร่กระจายของ Hg. กว่า 36 ตันต่อปี และCd. กว่า 16 ตันต่อปี ทั่วแถบยุโรป และพบการแพร่กระจายของDioxins อย่างมากในอากาศของแถบยุโรป
21
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารต้องห้าม 6 ชนิด (ต่อ)
07/11/61 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารต้องห้าม 6 ชนิด (ต่อ) การฝัง ขยะในกลุ่มของ WEEE พบการรั่วไหลของ Hg. Cd. และ PBDE ทั้งในพื้นดินและน้ำไต้ดิน การนำกลับมาใช้ใหม่ ขยะในกลุ่มของ WEEE การนำพลาสติกที่มีสารหน่วงการติดไฟ (Frame Retardant : PBB, PBDE) กลับมาใช้ใหม่โดยขาดการบำบัดเบื้องต้น ในระหว่างกระบวนการสารเหล่านี้จะเกิดเป็น Dioxins ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง
22
ทำไมมี ประทับตรา GREEN PART ที่ใบกำกับผลิตภัณฑ์
เมื่อผลิตภัณฑ์มีการตรวจสอบว่าสารเคมี 6 ชนิด ไม่เกินตามมาตรฐานของลูกค้ากำหนด จะต้องมีการ ทำสัญญาลักษณ์ที่ผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ของเราทำสัญญาลักษณ์ไว้ที่ใบกำกับ ซึ่งมี ประทับตราสีเขียวว่า GREEN PART
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.