งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 16 เป็นข้อมูลที่หน่วยงานกำหนดการคุ้มครองข้อมูลข่าวสาร ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 1. ให้เปิดเผย ลับ 2. มิให้เปิดเผย

2 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 17 “จนท.รัฐเห็นว่า การเปิดเผยอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้แจ้งผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด” - จนท.รัฐต้องแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้าน ภายในเวลาที่กำหนด (ไม่น้อยกว่า 15 วัน) - จนท.รัฐต้องพิจารณาว่า เหตุผลที่คัดค้าน ฟังขึ้นหรือไม่ - แจ้งผลการพิจารณา และแจ้งสิทธิอุทธรณ์ตาม ม.18 เปิด ปิด

3 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 20 ความรับผิด การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใด แม้เข้าข่ายต้องรับผิดจามกฎหมายใด เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิด หากทำการโดยสุจริต (1) ข้อมูลข่าวสารตาม ม.15 ถ้าดำเนินการถูกต้องตามมาตรา 16 (2) ข้อมูลข่าวสารตาม ม.15 เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับตามกฎกระทรวง เปิดเผยเพื่อประโยชน์สำคัญยิ่งกว่า เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์อื่น และกระทำโดยสมควรแก่เหตุ การเปิดเผยตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐพ้นความรับผิดตามกฎหมาย ถ้าหากมี

4 หมวด 3 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
4

5 ความหมาย “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” (ม. 4 วรรคที่ห้า)
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” (ม. 4 วรรคที่ห้า) ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ __________ ของบุคคล เช่นการศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือ ______________ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย สิ่งเฉพาะตัว สิ่งบอกลักษณะอื่น

6 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล : องค์ประกอบ
ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่ง เฉพาะตัวของบุคคล ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล มีสิ่งบอกลักษณะ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ 6

7 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
สิ่งเฉพาะตัวบุคคล สิ่งที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้น เช่น เช่น ฐานะการเงิน ชื่อ-นามสกุล การศึกษา ลายพิมพ์นิ้วมือ ประวัติสุขภาพ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง ประวัติอาชญากรรม รูปภาพ ประวัติการทำงาน ฯลฯ 7

8 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา 23 หน่วยงานของรัฐ ต้องดำเนินการ ดังนี้ จัดให้มีระบบข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่เกี่ยวข้อง/จำเป็น และยกเลิกเมื่อหมดความจำเป็น เก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูล จัดพิมพ์ในราชกิจจาฯ เช่น ประเภทของบุคคลที่เก็บ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ แหล่งที่มาของข้อมูล เป็นต้น แก้ไขให้ถูกต้องเสมอ จัดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อไม่ให้นำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

9 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา 24 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่ * ต่อ จนท. ในหน่วยงาน เพื่อนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ * การใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ * ต่อหน่วยงานที่ทำงานด้านแผน/การสถิติ/สำมะโน * การใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย * ต่อหอจดหมายเหตุฯ เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา * ต่อ จนท. เพื่อป้องกันการฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย * กรณีจำเป็นเพื่อป้องกัน/ระงับอันตรายต่อชีวิต/สุขภาพ * ต่อศาล และ จนท. หน่วยงาน/บุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย * กรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

10 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา 25 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เกี่ยวกับตน สิทธิได้รู้ข้อมูลส่วนบุคคลของตน (ขอตรวจดู หรือได้รับสำเนา) สิทธิในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารของตน สิทธิในการอุทธรณ์ กรณีหน่วยงานไม่ลบหรือเปลี่ยนแปลงตาม คำขอ (ภายใน 30 วัน)

11 (1) หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์ จะเก็บรักษา
เอกสารประวัติศาสตร์ (1) หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์ จะเก็บรักษา (2) มีอายุครบกำหนด  ตาม ม. 14 เมื่อครบ 75 ปี  ตาม ม. 15 เมื่อครบ 20 ปี ให้ส่งมอบให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อคัดเลือกให้ประชาชนศึกษา

12 การส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์
มาตรา 26 ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษา หรืออายุครบกำหนด ส่งมอบหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อครบกำหนด 75 ปี (มาตรา 14) 20 ปี (มาตรา 15) * ขอขยายเวลา ได้คราวละ 5 ปี (ผู้มีอำนาจฯ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 3) ขอเก็บไว้เองก็ได้

13 องค์กรตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
16/09/61 กขร. หน่วยงานของรัฐ สขร. ประชาชน กวฉ. 13

14 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)
16/09/61 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) รมต.ที่ นรม. มอบหมายเป็นประธาน กขร. ปลัดกระทรวง….. นร/กห/กษ/กค/กต/มท/พณ เลขาธิการ…….. สคก/กพ/สมช/สผ ผู้อำนวยการ….. สขช/สงป ผู้ทรงคุณวุฒิ……. ภาครัฐและเอกชน 9 ท่าน 14

15 อำนาจหน้าที่ของ กขร. 16/09/61 1. สอดส่อง ดูแล แนะนำการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. 2. ให้คำปรึกษาแก่ จนท.รัฐ/หน่วยงานรัฐตามที่รับคำขอ 3. เสนอแนะการตราพระราชกฤษฎีกา/กฎกระทรวง/ระเบียบ 4. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตาม ม.13 5. จัดทำรายงานการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. เสนอ ครม. อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 6. ดำเนินการตามที่ ครม. หรือ นรม. มอบหมาย (ม. 28) 7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. นี้ 15

16 คณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร 5 สาขา
16/09/61 คณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร 5 สาขา สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมและการเกษตร สาขาเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ สาขาการแพทย์และสาธารณสุข สาขาต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย 16

17 อำนาจหน้าที่ของ กวฉ. พิจารณาเรื่องอุทธรณ์
16/09/61 อำนาจหน้าที่ของ กวฉ. พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ * คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูล ตาม ม. 14 และ 15 * คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน ตาม ม. 17 * คำสั่งไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูล ข่าวสารส่วนบุคคล ตาม ม. 25 17

18 สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.)
มีหน้าที่ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการและ วิชาการให้แก่ กขร. และ กวฉ. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้

19 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
16/09/61 - กำหนดนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลฯ - จัดตั้ง คกก.ข้อมูลข่าวสารฯ ของหน่วยงาน (มติ ครม. 29 ธ.ค. 2541) - จัดศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน (ประกาศ กขร. 29 ธ.ค. 2541) - ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายใน 7 วัน (มติ ครม. 9 มี.ค. 2542)

20 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
รายงานผลปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ปีละ 1 ครั้ง (มติ ครม. 21 ธ.ค. 2546) - บริการข้อมูลอย่างรวดเร็ว (มติ ครม.28 ธ.ค. 2547) นำข้อมูลตาม ม.7/ม.9 เผยแพร่ในเว็บไซต์ (มติ ครม. 20 เม.ย. 2554) - อบรมความรู้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ สนง. ก.พ. หรือหลักสูตรที่จัดของหน่วยงาน (มติ ครม. 24 ม.ค. 2555)

21 ประชาชนผู้ทรงสิทธิรับรู้
ประชาชนคนไทย คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล/กลุ่มบุคคล เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ในกรณีที่กระทบสิทธิของตน)

22 กระบวนการใช้สิทธิของประชาชน
สิทธิอุทธรณ์ - คำสั่งมิให้เปิดเผย (ม.14 และ ม.15) - คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผย (ม.17) - คำสั่งไม่แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (ม.25) สิทธิได้รู้ - ยื่นคำขอ (ม.11) - เข้าตรวจดู (ม.7 แล 9) - ได้รับสำเนา/สำเนารับรองถูกต้องฯลฯ สิทธิร้องเรียน - กรณีไม่จัดหาข้อมูล/ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย/ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือไม่อำนวยความสะดวก ฯลฯ (ม.13) - กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลแต่ผู้ขอไม่เชื่อ (ม.33)

23 การขอข้อมูลข่าวสาร 16/09/61 บุคคลสามารถใช้สิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐได้ โดยการยื่นคำขอ (การเขียนคำขอเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานทั้งผู้ขอ และหน่วยงานของรัฐ) บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการได้ ยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด ค่าธรรมเนียมการขอสำเนา (A 4 ไม่เกิน 1 บ.) หรือ ขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง (คำรับรองละไม่เกิน 5 บ.) 23

24 ตัวอย่าง คำขอข้อมูลข่าวสารของราชการ
16/09/61 วันที่ เรียน ข้าพเจ้าชื่อ นามสกุล อยู่บ้านเลขที่ หมู่ที่ ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด ไปรษณีย์ โทรศัพท์ มีความประสงค์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของท่าน ดังต่อไปนี้ ระบุเหตุผล (ถ้ามี) ระบุเหตุผล (ถ้ามี) โดยต้องการ ( ) ขอตรวจดู ( ) ขอสำเนา ( ) ขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง โดยยินยอมเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ (ถ้ามี) ลงชื่อ ผู้ยื่นคำขอ ( ) 24

25 การร้องเรียน 16/09/61 มาตรา 13 ประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนหน่วยงานของรัฐได้ ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารลงในราชกิจจาฯ (ม.7) 2. ไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดู (ม.9) 3. นิ่งเฉย ไม่จัดหาข้อมูลให้ตามคำขอ (ม.11) 4. ปฏิบัติงานล่าช้า 5. ไม่ได้รับความสะดวก 6. ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ 25

26 การร้องเรียน 16/09/61 มาตรา 33 ประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ใช้อำนาจเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องได้ โดย คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ (กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ขอ และผู้ขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง) 26

27 ตัวอย่าง การเขียนหนังสือร้องเรียน
16/09/61 วันที่ เดือน พ.ศ เรียน ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้าพเจ้าชื่อ นามสกุล อยู่บ้านเลขที่ ตรอก/ซอย หมู่ที่ ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด รหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์ ขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการว่า หน่วยงานของรัฐ คือ ได้กระทำการเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้ (1) (2) (3) พร้อมนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วย คือ เรื่อง จำนวน แผ่น ลงชื่อ ผู้ร้องเรียน ( ) สถานที่ติดต่อ : ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ 10300 27

28 ขั้นตอนการใช้สิทธิร้องเรียน
16/09/61 ขั้นตอนการใช้สิทธิร้องเรียน ประชาชนยื่น คำร้องเรียนต่อ กขร. สขร. รับเรื่อง เจ้าหน้าที่ สขร. ให้คำแนะนำหน่วยงานที่ถูกร้องเรียน หน่วยงานปฏิบัติตาม แจ้งผลให้ผู้ร้องทราบและยุติเรื่อง หน่วยงานไม่ปฏิบัติตาม นำเสนอเรื่องให้ คอก. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน เชิญหน่วยงานไปชี้แจง คอก. ประชุมพิจารณาและแจ้งผลให้ ผู้ร้องเรียนและหน่วยงานทราบ * คอก. พิจารณาให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน ภายใน 30 วัน กรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาได้แต่ต้องแสดงเหตุผล รวมแล้วไม่เกิน 60 วัน หน่วยงานรายงานผลการปฏิบัติ ยุติเรื่องและรายงาน กขร. ทราบ 28

29 การอุทธรณ์ อุทธรณ์ ได้ใน 3 กรณี
16/09/61 อุทธรณ์ ได้ใน 3 กรณี 1. จนท.รัฐมีคำสั่งไม่เปิดเผย/ปฏิเสธคำขอข้อมูลตาม ม.14/ม เป็นลายลักษณ์อักษร ต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน (ม.18) 2. จนท.รัฐไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียตาม ม.17 วรรคสาม ต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน ( ม.18) 3. หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง/ลบข้อมูลส่วนบุคคลตามที่มีคำขอ ต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน (ม. 25 วรรคสี่) โดยยื่นคำอุทธรณ์มาที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ 29

30 ตัวอย่าง การเขียนหนังสืออุทธรณ์
16/09/61 วันที่ เดือน พ.ศ เรียน ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้าพเจ้าชื่อ นามสกุล อยู่บ้านเลขที่ ตรอก/ซอย หมู่ที่ ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด รหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์ ขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการว่า หน่วยงานของรัฐ คือ ได้กระทำการดังนี้ 1. ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ตามที่ข้าพเจ้าขอ ซึ่งเป็นข้อมูลเรื่อง หรือ 2. ไม่รับฟังคำคัดค้านของข้าพเจ้าที่คัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเรื่อง หรือ 3. ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับข้าพเจ้าเรื่อง จึงอุทธรณ์คำสั่งของหน่วยงานดังกล่าว และขอให้กรรมการดำเนินการต่อไป พร้อมนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วยแล้ว คือ (1) จำนวน แผ่น ลงชื่อ ผู้อุทธรณ์ ( ) สถานที่ติดต่อ : ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ 10300 30

31 ขั้นตอนการใช้สิทธิอุทธรณ์
16/09/61 ขั้นตอนการใช้สิทธิอุทธรณ์ ประชาชนยื่น คำอุทธรณ์ต่อ กขร. สขร. รับเรื่อง คอก.พิจารณาส่งเรื่องอุทธรณ์ พิจารณาส่งเรื่องให้ กวฉ. แต่ละสาขา กวฉ. พิจารณารับเรื่อง และเชิญผู้อุทธรณ์ และหน่วยงานมาขี้แจง กวฉ. พิจารณาวินิจฉัย และมีคำวินิจฉัย กวฉ. แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ หน่วยงานถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายใน 7 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัย กวฉ.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน กรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาได้ แต่ต้องแสดงเหตุผล รวมแล้วไม่เกิน 60 วัน 31

32 คำวินิจฉัยของ กวฉ. 16/09/61 คำวินิจฉัยของ กวฉ. ให้เป็นที่สุด (ม. 37) ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ กวฉ. ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ (พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ม. 42) หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยโดยเคร่งครัดภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับทราบคำวินิจฉัย ถ้าไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร ให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษทางวินัยทุกกรณี (มติ ครม. 9 มี.ค. 2542) ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีปกครองเพื่อเพิกถอน คำวินิจฉัย (มติ ครม. 11 เม.ย. 2549) 32

33 การปฏิบัติตามคำแนะนำ/ความเห็น
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 มี.ค ให้เจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานรัฐปฏิบัติ ดังนี้ 1. เมื่อ กขร. ให้คำแนะนำ/ความเห็นต่อเรื่องร้องเรียน ให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยด่วนที่สุด 2. เมื่อ กวฉ. มีคำวินิจฉัย ให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตาม คำวินิจฉัยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง 3. หากไม่ปฏิบัติตาม โดยไม่มีเหตุผลโดยสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษทุกกรณี

34 บทกำหนดโทษ การฝ่าฝืน ม. 32 (เรียกบุคคล/ให้ส่งเอกสาร)
16/09/61 การฝ่าฝืน ม. 32 (เรียกบุคคล/ให้ส่งเอกสาร) มีโทษตาม ม.40 (จำคุก 3 เดือน/ปรับ 5,000 บาท) การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข/ข้อจำกัด ตาม ม.20 (การเปิดเผยข้อมูล เจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องรับผิดหากทำโดยสุจริต) มีโทษตาม ม.41 (จำคุก 1 ปี/ปรับ 20,000 บาท) 34

35 เงื่อนไข/ข้อจำกัด มาตรา 20
จนท.รัฐ ไม่ต้องรับผิดหากกระทำโดยสุจริตในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม ม.15 - เมื่อ จนท.รัฐ ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 - เมื่อ จนท.รัฐ ในระดับตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทำโดยสมควรแก่เหตุ ซึ่งจะต้องกำหนดข้อจำกัดเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลนั้นไว้ด้วย

36 Website : http://www.oic.go.th E-mail : infothai@oic.go.th
สถานที่ติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 2 ทำเนียบรัฐบาล กทม โทรศัพท์ : โทรสาร : Website :

37 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ กำหนดให้ หน่วยงานรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (ประกาศ กขร. 24 ก.พ. 2541) 1. จัดให้มีสถานที่ให้ประชาชนค้นหา/ศึกษา 2. จัดทำดัชนี เพื่อประชาชนสามารถค้นหาได้เอง 3. จัดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนสามารถค้นหาได้สะดวก 4. กำหนดระเบียบปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน

38 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ป้ายชื่อศูนย์

39 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร อุปกรณ์ เช่น Computer / โต๊ะ เก้าอี้

40 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ป้ายบอกทาง

41 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตู้เอกสารใส่แฟ้มข้อมูลฯ

42 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์


ดาวน์โหลด ppt การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google