ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 กฎหมายสิ่งแวดล้อม ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 115/2561 เรื่อง แนวทางการตรวจประเมินการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตในนิคมอุตสาหกรรม ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 www.aimconsultant.com สงวนลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 1 1
สรุปสาระสำคัญ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศเป็นต้นไป วัตถุประสงค์การตรวจประเมินตามประกาศนี้ (1) เพื่อเป็นการตรวจประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตของผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ (ข้อบังคับคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559) และ (2) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรง หรือลดระดับความรุนแรง และลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต สุขภาพ ทรัพย์สินของบุคลากรและสิ่งแวดล้อมภายในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ ประเภทการตรวจประเมินให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 29/4 และ 29/46 ของข้อบังคับคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ดังนี้ www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (1) การตรวจประเมินภายใน โดยคณะผู้ตรวจประเมินภายในที่มีคุณสมบัติตามประกาศที่กนอ. กำหนด กรณีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม่สามารถหาผู้มีคุณสมบัติตามที่กนอ. กำหนดได้ ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นสามารถขอความร่วมมือจากคณะผู้ตรวจประเมินของสถานประกอบการอื่น หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ประกาศที่กนอ. กำหนดมาเป็นผู้ตรวจประเมินก็ได้ (2) การตรวจประเมินภายนอก โดยคณะผู้ตรวจประเมินภายนอกที่มีคุณสมบัติตามที่กนอ.กำหนด และขึ้นทะเบียนกับ กนอ. www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ การตรวจประเมินภายใน ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินภายในต้องจัดส่งรายละเอียดข้อมูล เช่น วัตถุประสงค์ของการตรวจประเมินภายใน รายละเอียดของโปรแกรมการตรวจประเมินภายใน ขอบเขตการตรวจประเมินภายใน หน่วยงานที่จะตรวจประเมินภายใน เกณฑ์การตรวจประเมิน เป็นต้น ก่อนดำเนินการตรวจประเมินภายใน (2) การประเมินผลการตรวจประเมินภายใน ควรระบุและเปรียบเทียบสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน และหลักฐานการตรวจประเมิน ที่สามารถทวนสอบได้กับเกณฑ์การตรวจประเมินภายใน เพื่อแสดงความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การตรวจประเมินภายใน www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (3) ให้หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินภายในสรุปผลการจรวจประเมินภายในแก่หน่วยงานที่ได้รับการตรวจประเมิน ดังนี้ (3.1) สิ่งที่สอดคล้องและสิ่งที่ไม่สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายใน (3.2) ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่ได้รับการตรวจประเมินจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายในและข้อบังคับ (3.3) โอกาสสำหรับการปรับปรุงเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ เมื่อดำเนินการตรวจประเมินภายในเสร็จสิ้นแล้ว ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) คณะผู้ตรวจประเมิน ต้องจัดทำรายงานการตรวจประเมินภายใน ซึ่งมีเนื้อหาตามข้อเท็จจริง มีความชัดเจน ระบุสิ่งที่พบจากการตรวจประเมินภายในและหลักฐานการตรวจประเมินภายในที่สอดคล้องและที่ไม่สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายใน รวมทั้งข้อเสนอแนะหรือโอกาสสำหรับการปรับปรุง(ถ้ามี) และผลสรุปการตรวจประเมินภายใน www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (2) การรับรองและจัดส่งรายงานการตรวจประเมินภายใน (2.1) กรณีข้อบกพร่องหลัก (Major Non-Conformity) ซึ่งระบุถึงความไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างมีนัยสำคัญ ให้หน่วยงานที่ได้รับการตรวจประเมินจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขอย่างเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมิน และต้องมีการแก้ไขในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ครบถ้วนหรือไม่มีการปฏิบัติดังกล่าวภายในระยะเวลาตามที่ได้ตกลงไว้กับคณะผู้ตรวจประเมินเพื่อไม่ให้เกิดความไม่สอดคล้องซ้ำอีก ทั้งนี้ คณะผู้ตรวจประเมินต้องตรวจติดตามผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการแก้ไขนั้นด้วย www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (2.2) กรณีข้อบกพร่องย่อย (Minor Non-Conformity) ซึ่งระบุถึงความไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างไม่มีนัยสำคัญ ให้หน่วยงานที่ได้รับการตรวจประเมินจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขอย่างเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายใน และต้องมีการแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่ได้ตกลงกับคณะผู้ตรวจประเมินเพื่อไม่ให้เกิดความไม่สอดคล้องซ้ำอีก ทั้งนี้ คณะผู้ตรวจประเมินภายในต้องตรวจติดตามผลการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติการแก้ไขนั้นด้วย www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (2.3) ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเก็บรายงานการตรวจประเมินภายในที่บันทึกส่วนที่บกพร่องที่ได้รับการแก้ไขแล้วไว้เป็นหลักฐานที่สถานประกอบการอย่างน้อย 3 ปี ตามข้อ 29/46(1) ขอข้อบังคับคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ การตรวจประเมินภายนอก ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินภายนอกกับกนอ.ได้ ในกรณีดังนี้ (1) กรณีการยื่นขอต่ออายุใบอนุญาต ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องยื่นคำขอรับการตรวจประเมินภายนอกต่อ กนอ. ตามแบบที่กนอ.กำหนด ภายใน 6 เดือนก่อนวันใบอนุญาตสิ้นสุด www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (2) กรณีการขอขยายกำลังการผลิตที่กระบวนการผลิตเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต (2.1) เมื่อผู้ประกอบอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรสวนขยายแล้วเสร็จ ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหนังสือแจ้งการทดลองเครื่องจักร (Commissioning) พร้อมทั้งยื่นคำขอรับการตรวจประเมินภายนอกต่อกนอ. ตามแบบที่กนอ. กำหนดโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกิน 60 วันก่อนวันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะยื่นคำขอแจ้งเริ่มประกอบอุตสาหกรรม (2.2) กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ประสงค์ขอแก้ไขการประกอบกิจการ ให้ยื่นคำขอรับการตรวจประเมินภายนอกต่อกนอ. ตามแบบที่กนอ. กำหนดภายใน 6 เดือนก่อนที่จะยื่นคำขอทั่วไป www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (3) กรณีเกิดอุบัติเหตุเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต (3.1) เมื่อเกิดอุบัติเหตุเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต และกนอ. มีคำสั่งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหยุดประกอบกิจการบางส่วนหรือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิตและในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (3.2) กรณีตาม (3.1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว และหากประสงค์จะประกอบอุตสาหกรรมต่อไป ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นคำขอรับการตรวจประเมินภายนอกตามแบบที่กนอ. กำหนดโดยเร็ว ทั้งนี้ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องมีหนังสือแจ้งต่อ กนอ. และจัดส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ได้มีการปรับปรุง แก้ไข หรือปฏิบัติให้ถูกต้องดังกล่าวพร้อมทั้งรายงานการตรวจประเมินภายนอกเพื่อพิจารณาตรวจสอบ และเมื่อมีคำสั่งหรืออนุญาตให้ประกอบอุตสาหกรรมได้แล้ว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจึงจะดำเนินการต่อไปได้ (4) ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นคำขอรับการตรวจประเมินภายนอกต่อ กนอ. ทุกๆ 3 ปี ตามแบบที่กนอ. กำหนด ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการภายใน 6 เดือนก่อนวันสุดท้ายของการตรวจประเมินภายนอกครั้งล่าสุดตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ การตรวจประเมินภายนอก ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเป็นผู้คัดเลือกคณะผู้ตรวจประเมินภายนอกตามบัญชีรายชื่อที่ขึ้นทะเบียนกับ กนอ. ซึ่งต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามประกาศที่กนอ. กำหนด การตรวจประเมินภายนอก ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ตรวจประเมินภายนอก ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ก่อนการตรวจประเมิน (2) กรณีการเก็บรวบรวมข้อมูลการตรวจประเมินภายนอกและการทวนสอบ ให้คณะผู้ตรวจประเมินใช้วิธีการตรวจประเมินตามหลักเชิงประจักษ์ ดังนี้ (2.1) การตรวจสอบเอกสาร และหลักฐานการบันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (2.2) การตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติงาน และการตรวจสอบการปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งนี้ หากผู้ตรวจประเมินประสงค์จะได้รูปถ่ายเพื่อใช้เป็นหลักฐาน ให้แจ้งผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อดำเนินการก็ได้ตามกฎ ระเบียบของผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้น (2.3) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะผู้ตรวจประเมินควรพิจารณาจำนวนข้อมูลที่เหมาะสมและเชื่อถือได้ และต้องบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (3) การประเมินผลการตรวจประเมินภายนอก จะต้องเปรียบเทียบสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน และหลักฐานการตรวจประเมินที่สามารถทวนสอบได้กับเกณฑ์การตรวจประเมินภายนอก เพื่อแสดงความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การตรวจประเมินภายนอก โดยคณะผู้ตรวจประเมินต้องปฏิบัติ ดังนี้ (3.1) ทบทวนสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน และหลักฐานที่สามารถทวนสอบได้ทุกขั้นตอนในระหว่างการตรวจประเมินภายนอก (3.2) บันทึกสิ่งที่สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายนอก โดยระบุสถานที่ หน่วยงาน กระบวนการที่ได้รับการตรวจประเมินภายนอก หรือสัมภาษณ์พนักงาน www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (3.3) บันทึกสิ่งที่ไม่สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมิน โดยระบุสถานที่ หน่วยงาน กระบวนการที่ได้รับการตรวจประเมินภายนอก หรือสัมภาษณ์พนักงาน พร้อมหลักฐานสนับสนุน และอาจจัดระดับความสำคัญของสิ่งที่ไม่สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายนอกเพื่อให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมดำเนินการแก้ไขตามระดับความสำคัญ (4) การเตรียมผลสรุปการตรวจประเมินภายนอกระหว่างคณะผู้ตรวจประเมินภายนอก ดังนี้ (4.1) ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินภายนอกและคณะผู้ตรวจประเมินภายนอก เพื่อทบทวนสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน หลักฐานการตรวจประเมินที่สามารถทวนสอบได้ และข้อมูลอื่นๆ ที่รวบรวมได้ระหว่างการตรวจประเมิน และตกลงผลสรุปการตรวจประเมินภายนอกแต่ละข้อกำหนดอย่างรอบคอบ www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (4.2) ผลสรุปของการตรวจประเมินภายนอก - สิ่งที่สอดคล้องและไม่สอดคล้อง - ข้อเสนอแนะเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขให้สอดคล้อง - โอกาสสำหรับการปรับปรุงเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น (5) การประชุมสรุปผลการตรวจประเมินภายนอกร่วมกับผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบอุตสาหกรรม โดยการประชุมดังกล่าวให้คณะผู้ตรวจประเมินเป็นผู้จัดทำบันทึกรายงานสรุปผลการตรวจประเมินภายนอกเบื้องต้น และรายชื่อผู้เข้าประชุม รวมทั้งรายชื่อพนักงานของ กนอ.(ถ้ามี) หรือผู้ตรวจประเมินภายนอกฝึกหัด(ถ้ามี) คณะผู้ตรวจประเมินและผู้แทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องลงนามรับทราบ www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจประเมิน ให้คณะผู้ตรวจประเมินมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดทำรายงานการตรวจประเมินภายนอก ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คำสั่งกนอ.นี้กำหนด พร้อมทั้งลงนามรับรองรายงานการตรวจประเมิน และจัดส่งรายงานซึ่งระบุวันที่ส่ง ตลอดจนจัดส่งรายงานในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ให้แก้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ชุด ภายในระยะเวลา 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้ดำเนินการตรวจประเมินภายนอกแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมส่งรายงานการตรวจประเมินภายนอกให้ กนอ.พิจารณาต่อไป www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องเก็บรายงานการตรวจประเมินภายนอกที่บันทึกสวนที่บกพร่องที่ได้รับการแก้ไขแล้ว 2 ฉบับล่าสุดไว้เป็นหลักฐานที่สถานประกอบการ และยื่นหลักฐานดังต่อไปนี้ ประกอบการยื่นขออนุญาตประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมต่อกนอ. เช่น รายงานการตรวจประเมินภายนอก แผนปฏิบัติการแก้ไขพร้อมทั้งหลักฐานการปฏิบัติการแก้ไข(ถ้ามี) รายงานการตรวจประเมินซ้ำ(ถ้ามี) และผลการตรวจความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการแก้ไขในรอบการตรวจประเมินภายนอกที่ผ่านมา(ถ้ามี) www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ การจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไข (1) กรณีข้อบกพร่องหลัก ซึ่งคณะผู้ตรวจประเมินระบุถึงความไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างมีนัยสำคัญ ให้ดำเนินการส่งรายงานการปิบัติการแก้ไขที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ(ถ้ามี) หรือจัดส่แผนปฏิบัติการแก้ไขตามแบบที่ กนอ. กำหนดสำหรับกรณีที่ยังไม่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จให้แก่คณะผู้ตรวจประเมินเพื่อพิจารณาภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ได้รับรายงานการตรวจประเมินภายนอกของคณะผู้ตรวจประเมิน เพื่อไม่ให้เกิดความไม่สอดคล้องซ้ำอีก www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ หากผู้ประกอบอุตสาหกรรมดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการแก้ไขแล้วเสร็จเกินกว่าวันที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ ให้ยื่นรายงานการตรวจประเมิน แผนการปฏิบัติแก้ไขพร้อมทั้งหลักฐานการปฏิบัติแก้ไข(ถ้ามี) ต่อ กนอ. ก่อนการพิจารณาประกอบการขออนุญาตประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมเป็นกรณีไป จากนั้นผู้ประกอบการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขนั้น และนำเสนอรายงานความคืบหน้าผลการปฏิบัติการแก้ไขทุก 3 เดือน จนกว่าแผนปฏิบัติการแก้ไขแล้วเสร็จต่อสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมหรือสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมที่กำกับ ดูแล www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (2) กรณีข้อบกพร่องย่อย ซึ่งคณะผู้ตรวจประเมินระบุถึงความไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างมีนัยสำคัญ ให้ดำเนินการ จัดส่งรายงานการปฏิบัติการแก้ไขที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ(ถ้ามี) หรือจัดส่งแผนปฏิบัติการแก้ไขตามแบบที่กนอ.กำหนดสำหรับกรณีที่ยังไม่ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จให้คณะผู้ตรวจประเมิน เพื่อพิจารณาภายในระยะเวลา 30 วันนับถัดจากวันที่ได้รับรายงานการตรวจประเมินจากคณะผู้ตรวจประเมิน เพื่อไม่ไห้เกิดความไม่สอดคล้องซ้ำอีก กรณีคณะผู้ตรวจประเมินเห็นชอบแผนปฏิบัติการแก้ไข ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ได้รับความเห็นชอบ www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ เกณฑ์พิจารณาการตรวจประเมินภายนอก แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติโดยถูกต้องและครบถ้วนตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้ทุกประการ ให้ถือว่าการปฏิบัติดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อบังคับ และผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินภายนอก (2) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติโดยถูกต้องและครบถ้วนตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้แล้ว แต่มีข้อบกพร่องย่อยบางประการที่ยังไม่ได้ปฏิบัติ ให้ถือว่าการปฏิบัติดังกล่าวไม่มีความสอดคล้องกับข้อบังคับอย่างไม่มีนัยสำคัญ และผ่านเกณฑ์การพิจารณาโดยที่คณะผู้ตรวจประเมินภายนอกมีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายนอกต่อไป www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ (3) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติตามข้อบังคับไม่ครบถ้วน หรือครบถ้วนแล้วแต่มีข้อบกพร่องหลักบางประการ ให้ถือว่าการปฏิบัติดังกล่าวไม่มีความสอดคล้องกับข้อบังคับอย่างมีนัยสำคัญและไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณา โดยคณะผู้ตรวจประเมินภายนอกมีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องตามเกณฑ์การตรวจประเมินภายนอก พร้อมทั้งต้องมีการแก้ไขเพื่อขอรับการตรวจประเมินซ้ำในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ครบถ้วน หรือไม่มีการปฏิบัติดังกล่าวตามข้อกำหนดนั้น www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ ความรับผิดชอบของ กนอ. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และสิทธิและความรับผิดชอบของคณะผู้ตรวจประเมินภายนอก กนอ. คณะผู้ตรวจประเมินภายนอกและผู้ตรวจประเมินภายนอกฝึกหัด (ถ้ามี) ต้องรักษาเอกสารหรือข้อมูลที่สำคัญของการตรวจประเมินภายนอก คณะผู้ตรวจประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระในการทวนสอบ มีข้อจำกัดของอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ มีสิทธิในการเข้าถึงเอกสารหรือหลักฐานที่จำเป็นในการจัดเก็บหรือทำลายเอกสารเบื้องต้นที่ได้รับจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม และเอกสารที่ได้รับระหว่างการตรวจประเมินภายนอก และต้องผูกพันในผลการรับรองของตนเอง www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมพิจารณาความเสี่ยงและความเหมาะสมด้วยความรอบคอบในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ หรือโอกาสสำหรับการปรับปรุงที่ได้รับจากคณะผู้ตรวจประเมินภายนอก ทั้งนี้ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสามารถจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อบกพร่องได้เอง กรณีหนังสืออนุญาตให้ประกอบอุตสาหกรรมอยุ่ระหว่างการพิจารณาของ กนอ. หรือเหลืออายุไม่ถึง 6 เดือนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมดังกล่าวสามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินภายนอกกับ กนอ. ได้นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และกนอ. จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ต่อไป www.aimconsultant.com
บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม ติดต่อเรา บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม. 10160 Tel. 02-489-2500-1, Fax : 02-489-2502 www.aimconsultant.com Email: marketing@aimconsultant.com