บทที่ 5 ไดโอดชนิดพิเศษ ไดโอดชนิดพิเศษ เช่น ซีเนอร์ไดโอด ไดโอดเปล่งแสง โพโต้ไดโอด และไดโอดแบบอื่นๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการควบคุมในงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Electronic Circuits Design
Advertisements

บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
เพาเวอร์ แฟกเตอร์ หน่วยที่ 15 เครื่องวัด เครื่องวัดไฟฟ้า ( )
ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 8 พฤษภาคม 2558
บทที่ 8 เรื่อง เมชเคอร์เรนต์
โครเมี่ยม (Cr).
ครั้งที่ 7 รีจิสเตอร์ (REGISTER). รีจิสเตอร์ (Register) รีจิสเตอร์เป็นวงจรความจำที่ใช้ในการเก็บค่า ทางไบนารี่ ใช้ในการเก็บค่าในระหว่างการ ประมวลผลโดยใช้ฟลิป.
โปรแกรมคำนวณคะแนน สหกรณ์ ตามเกณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ กรมส่งเสริม สหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงิน และร้านค้า วิธีการใ ช้
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
สื่อการเรียนการสอน วิชา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
Material requirements planning (MRP) systems
ELECTRONICS Power อาจารย์ผู้สอน การประเมินผล Lab ปฏิบัติ
Gas Turbine Power Plant
การใช้หม้อแปลงไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพ.
องค์ประกอบและเทคนิคการทำงาน
เครื่องวัดแบบชี้ค่าศูนย์
การควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้า
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
ความเค้นและความเครียด
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม เพื่อจำลองระบบไมโครคอนโทรลเลอร์
บทที่ 3 คุณลักษณะของไดโอด
คุณลักษณะของสัญญาณไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 4 : สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ (Transmission Media and Multiplexing) Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
DC Voltmeter.
จากรูปที่ 13.3 ที่เวลา เมื่อไม่มีสัญญาณที่อินพุตทรานซิสเตอร์ จะไม่ทำงานและอยู่ในสภาวะ OFF คาปาซิเตอร์ C จะเก็บประจุเพื่อให้แรงดันตกคร่อมมีค่าสูง ทำให้มีกระแสไหลผ่าน.
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
บทที่ 1 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
Vernier เวอร์เนียร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดระยะ (distance) หรือ ความยาว (length) ให้ได้ค่าอย่างละเอียด เวอร์เนียร์ต่างจากไม้บรรทัดทั่วๆไป เพราะมี 2 สเกล.
Basic Electronics.
ประเภทแผ่นโปร่งใส (แผ่นใส) รายวิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
เครื่องมือช่างยนต์ (Auto Mechanic hand tools)
Watt Meter.
ประเภทแผ่นโปร่งใส (แผ่นใส) รายวิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
เพื่อพัฒนาพลังงานรองรับวิกฤตการณ์พลังงานของประเทศ
ชุดที่ 1 ไป เมนูรอง.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
แผ่นดินไหว.
วงจรข่ายสองทาง (Two Port Network)
การวิเคราะห์ฟอลต์แบบไม่สมมาตร Unsymmetrical Fault Analysis
ระบบไฟฟ้าที่มีใช้ในประเทศไทย แบ่งได้ดังนี้
Nikola Tesla . . อัจฉริยะโลกลืม
สแกนเนอร์ (Scanner) สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้
โดย นายอนุชา ศรีเริงหล้า นักอุตุนิยมวิทยาปฏิบัติการ
SMS News Distribute Service
บทที่7 ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน โดย
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทที่ 11 พัลส์เทคนิค
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
วงจรอาร์ ซี ดิฟเฟอเรนติเอเตอร์
ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา
ค่ารูรับแสง - F/Stop ค่ารูรับแสงที่มีค่าตัวเลขต่ำใกล้เคียง 1 มากเท่าไหร่ ค่าของรูรับแสงนั้นก็ยิ่งมีความกว้างมาก เพราะเราเปรียบเทียบค่าความสว่างที่ 1:1.
การจัดการความรู้ด้านงานสนับสนุน
บทที่ 5 พัลส์เทคนิค
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
เครื่องโทรศัพท์ติดต่อภายใน intercommunication
การวิเคราะห์สถานะคงตัวของ วงจรที่ใช้คลื่นรูปไซน์
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ของเสียง Doppler Effect of Sound
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 5 ไดโอดชนิดพิเศษ ไดโอดชนิดพิเศษ เช่น ซีเนอร์ไดโอด ไดโอดเปล่งแสง โพโต้ไดโอด และไดโอดแบบอื่นๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการควบคุมในงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม เช่นการนำซีเนอร์ไดโอดไปใช้ควบคุมแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงในวงจรแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงอย่างง่ายๆ โดยต่อร่วมกับวงจรเรียงกระแส ดังแสดงในรูป ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้งานไดโอดชนิดพิเศษต่างๆ คือใช้ซีเนอร์ไดโอดสร้างแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าแรงดันคงที่ จ่ายให้กับไดโอดแสงชนิดอินฟาเรด ส่งแสงให้กับตัวรับแสง เช่นโพโต้ไดโอดในวงจร การเชื่อมโยงสัญญาณทางแสงนี้เรียกว่า Optical link เมื่อพิจรณาการควบคุมในวงการอุตสาหกรรม มีการใช้ไดโอดชนิดพิเศษตรวจจับการเคลื่อนที่ของวัตถุ ดังนั้นจึงควรศึกษาสิ่งต่อไปนี้ให้เข้าใจ http://www.star-circuit.com/article/main.html

- การทำงานของซีเนอร์ไดโอด - พารามิเตอร์ และพิกัดของซีเนอร์ไดโอด - หลักการทำงาน และการใช้งานของไดโอดเปล่งแสง - หลักการทำงานของโฟโต้ไดโอด - การเลือกไดโอดชนิดพิเศษไปใช้งานจากตารางข้อมูล http://www.star-circuit.com/article/main.html

ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) ซีเนอร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดพิเศษที่สร้างให้มีความแตกต่างกับการทำงานของไดโอดทั่วๆไป กล่าวคือเมื่อได้รับไบอัสตรงให้กับซีเนอร์ไดโอดจะทำงานเหมือนกับไดโอดเรียงกระแสคือนำกระแสได้และมีแรงดันตกคร่อมไดโอดขณะได้รับไบอัสตรง แต่เมื่อซีเนอร์ไดโอดได้รับไบอัสกลับถึงค่าแรงดันที่กำหนด (กำหนดค่าแรงดันขึ้นในซีเนอร์ไดโอดเช่น 2.2V, 5.1V, 6V, 10V, 12V ฯลฯ) ซีเนอร์ไดโอดจะนำกระแสได้และจะเกิดแรงดันตกคร่อมตัวเองที่เท่ากับค่าแรงดันที่กำหนดมาจากบริษัทผู้ผลิต กราฟลักษณะสมบัติของซีเนอร์ไดโอดดังรูป

การพังทลายของซีเนอร์ (Zener Breakdown) การพังทลายของซีเนอร์ การพังทลายของไดโอดแบ่งเป็น 2 ชนิด คือการพังทลายแบบอวาลานซ์ เมื่อไดโอดได้รับไบอัสกลับแรงดันสูงมากทำให้มีกระแสไหลย้อนกลับผ่านไดโอดจำนวนมากทำให้รอยต่อของไดโอดทะลุและใช้งานไม่ได้ การพังทลายอีกแบบหนึ่ง คือการพังทลายแบบซีเนอร์เป็นการพังทลายที่เกิดขึ้นกับแรงดันไบอัสกลับค่าต่ำๆ ซึ่งกำหนดได้จากการโด๊ปสารกึ่งตัวนำที่ใช้สร้างเป็นซีเนอร์ไดโอด การพังทลายแบบซีเนอร์นี้ จะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดจำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องรักษาไม่ให้เกินค่าสูงสุด และจะเกิดภาวะที่แรงดันตกคร่อมซีเนอร์ไดโอดมีค่าคงที่ เรียกว่าแรงดันซีเนอร์ (Zener Voltage =Vz) คุณสมบัติข้อนี้สามารถนำซีเนอร์ไดโอดไปสร้างเป็นวงจรควบคุมแรงดันไฟตรงจากแหล่งจ่ายไฟตรงให้มีค่าแรงดันที่คงที่ได้ ซีเนอร์ไดโอดที่ใช้อยู่ในท้องตลาดมีแรงดันซีเนอร์ตั้งแต่ 1.8V -200 V http://www.star-circuit.com/article/main.html

คุณสมบัติของการพังทลาย คุณสมบัติการพังทลาย พิจรณาจากกราฟลักษณะสมบัติ โดยเฉพาะการพังทลายของซีเนอร์ไดโอดเมื่อได้รับไบอัสกลับดังรูป เมื่อเพิ่มแรงดันไบอัสกลับจนถึงค่าแรงดันซีเนอร์ จะเกิดกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดมากขึ้น ที่จุดเอียงของกราฟ จะมีกระแสไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดเท่ากับ Izk และถ้าซีเนอร์ไดโอดได้รับแรงดันสูงขึ้นอีกกระแสจะเพิ่มขึ้นแต่แรงดันของซีเนอร์จะคงที่ แต่ถ้าเพิ่มกระแสเกินกว่าค่ากระแสซีเนอร์สูงสุด Izm แรงดันซีเนอร์จะไม่คงที่

ดังนั้นการนำเอาซีเนอร์ไดโอดไปใช้ในการควบคุมให้แรงดันไฟตรงคงที่ โดยใช้ค่าแรงดันซีเนอร์นั้นจึงต้องออกแบบวงจรควบคุมให้มีกระแสไหลผ่านไดโอดย่านระหว่างค่ากระแส Izk ถึงค่า Izm สำหรับกระแส Izt หมายถึง ค่ากระแสทดสอบค่าแรงดันซีเนอร์ ซึ่งเป็นค่ากระแสที่พิกัดของแรงดันซีเนอร์ตามค่าที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ http://www.star-circuit.com/article/main.html

วงจรสมมูลของซีเนอร์ไดโอด เนื่องจากซีเนอร์ไดโอดมีคุณสมบัติจ่ายแรงดันคงที่เมื่อได้รับไบอัสกลับ ดังนั้นในอุดมคติ ซีเนอร์ไดโอดจึงมีวงจรเทียบเท่าหรือวงจรสมมูลเป็นแบตเตอรี่มีขนาดแรงดันไฟตรงเท่ากับ Vz โดยมีขั้วบวกของ Vz อยู่ที่แคโถด แลขั้วลบของ Vz อยู่ที่แอโนด แต่ในทางปฏิบัติจะมีค่าความต้านทานภายในรอยต่อของซีเนอร์ไดโอดอยู่ด้วย ดังนั้นวงจรสมมูลของซีเนอร์ไดโอดในทางปฏิบัติจึงเป็นดังรูป ซึ่งมีค่าความต้านทานของซีเนอร์ไดโอด นี้มีค่าเท่ากับสมการ http://www.star-circuit.com/article/main.html

การนำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งาน จากคุณสมบัติการควบคุมแรงดันตกคร่อมตัวเอง ให้คงที่ที่ย่านกระแสย่านหนึ่ง (ระหว่าง Izm ถึง Izk) จึงมีผู้นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานอย่างกว้างขวาง และที่นิยมใช้มากที่สุดคือใช้ซีเนอร์ไดโอดควบคุมแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้คงที่ในวงจร และอาจใช้ซีเนอร์ในวงจรตัดรูปสัญญาณ http://www.star-circuit.com/article/main.html

การควบคุมแรงดันขาออกให้คงที่เมื่อแรงดันขาเข้าเปลี่ยนแปล เมื่อนำซีเนอร์ไดโอดต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าปรับค่าได้ และปรับค่าแรงดันที่ป้อนเข้าซีเนอร์ไดโอดให้มีค่ามากกว่าแรงดันซีเนอร์ จะเกิดกระแสซีเนอร์ไหลผ่าน R และซีเนอร์ไดโอดจะเห็นว่าแรงดันขาออกของวงจร มีค่าคงที่เมื่อสัเกตจากมิแตอร์ แต่ถ้าลดแรงดัน Vi ลงแต่ต้องไม่น้อยกว่าค่าของ Vz จะทำให้กระแส Iz ลดลงซึ่งถ้ากระแส Iz มีค่าอยู่ระหว่าง Izk ถึง Izm แล้วค่าแรงดัน Vo จะยังคงอยู่เสมอ http://www.star-circuit.com/article/main.html

การควบคุมแรงดันเมื่อโหลดเปลี่ยนแปลง เมื่อโหลด RL มาต่อเข้าที่เอาพุตของวงจรควบคุมแรงดันคงที่ที่ใช้ซีเนอร์ไดโอด ซึ่งซีเนอร์ไดโอดจะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันตกคร่อมโหลด ให้มีแรงดันคงที่ค่าแรงดันซีเนอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับค่ากระแสที่ไหลผ่านซีเนอร์ไดโอดนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงค่าของกระแสโหลด IL เนื่องจากค่าความต้านทานโหลดเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้จะทำให้ค่ากระแสซีเนอร์ IZ เปลี่ยนแปลงด้วย การที่ซีเนอร์ไดโอดจะรักษาแรงดันซีเนอร์ Vz ให้มีค่าคงที่ได้กระแสซีเนอร์ต้องมีค่าอยู่ระหว่าง Izk ถึง Izm และย่านกระแสที่โหลดเปลี่ยนแปลงไป แต่ระดับแรงดันตกคร่อมโหลดยังคงอยู่ได้เรียกว่า Load Regulation

ไดโอดทางแสง (Optical Diodes) ไดโอดทางแสง ที่นิยมใช้มากมี 2 ชนิดคือ ไดโอดเปล่งแสงLED และโฟโต้ไดโอด และจะใช้อุปกรณ์ทั้งสองนี้ในการรับส่งไฟฟ้า โดยเปลี่ยนเป็นรูปแสง โดยใช้ไดโอดเปล่งแสงเป็นตัวส่งแสง และใช้โฟโต้ไดโอดเป็นตัวรับแสง http://www.star-circuit.com/article/main.html

ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode) เมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิดซิลิคอน หรือเจอมาเนียมมาผสมกับสารบางชนิด จะทำให้เกิดประกฏการที่เปลี่ยนแปลงไปจากรอยต่อพี-เอ็นปกติ เช่นเมื่อนำซิลิกอนผสมกับแกลเลี่ยมอาซาไนด์ และทำเป็นรอยต่อ พี-เอ็นเมื่อนำรอยต่อพีเอ็นดังกล่าวให้ไบอัสตรงจะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านรอยต่อพีเอ็น ประกฏการนี้เกิดกับไดโอดเปล่งแสง(LED) เท่านั้น เรียกชื่อว่า Electroluminescence http://www.star-circuit.com/article/main.html

แต่เมื่อให้ไบอัสกลับกับไดโอดเปล่งแสง (LED) ไดโอดจะไม่นำกระแส และไม่เปล่งแสง ไดโอดเปล่งแสงจะเปล่งแสงได้เมื่อได้รับไบอัสตรงเท่านั้น ไดโอดเปล่งแสงมีสัลักษณ์ดังนี้ http://www.star-circuit.com/article/main.html

แสงที่ปล่อยออกมาจากไดโอดเปล่งแสงมีหลายสี เกิดจากสารที่ผสมเข้ากับรอยต่อพี-เอ็น เช่น แกลเลี่ยมอาซาไนต์ ทำให้ไดโอดเปล่งแสงอินฟาเรดแกลเลียมอาซาไนต์ ฟอสไฟต์ ทำให้เปล่งแสงสีแดงหรือเหลือง และแกลเลี่ยมฟอนไฟด์ ทำให้เปล่งแสงสีเขียว เป็นต้นเมื่อให้ไบอัสตรงกับไดโอดเปล่งแสงดังรูปจะทำให้เกิดพลังงานแสงที่ไดโอดเปล่งออกมามีหน่วยเป็นมิลลิวัตต์ ซึ่งกำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะแปรไปตามค่าของกระแสไบอัสตรงที่ไดโอดเปล่งแสง ดังการฟ http://www.star-circuit.com/article/main.html

ความยาวคลื่น (Wave Length) ไดโอดเปล่งแสงชนิดที่เปล่งแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้โดยมากจะเป็นแสงสีแดง ปกติจะมีความยาวคลื่นของแสงเท่ากับ 660 nm (นาโนเมตร) แต่ถ้าเป็นไดโอดเปล่งแสงอินฟาเรด ซึ่งเป็นแสงที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (Univissible) จะมีความยาวคลื่นแสงเท่ากับ 940 nm http://www.star-circuit.com/article/main.html

โฟโต้ไดโอด (Photodiode) โฟโต้ไดโอด การทำงานของโฟโต้ไดโอดนั้นจะตรงกันข้ามกับไดโอดเปล่งแสงคือ เมื่อโฟโต้ไดโอดไม่ได้รับแสงนั้นจะไม่มีกระแสไหลผ่านโฟโต้ไดโอด (ไม่นำกระแส) แต่ถ้าได้รับแสงเข้าที่รอยต่อพี-เอ็นของโฟโต้ไดโอดจะมีกระแสไหลผ่านได้ กระแสดังกล่าวจะไหลได้เมื่อ โฟโต้ไดโอดได้รับไบอัสกลับเท่านั้น http://www.star-circuit.com/article/main.html

http://www.star-circuit.com/article/main.html

การประยุกต์ใช้งาน ผู้อ่านควรเข้าใจถึงจุดประสงค์ที่ผู้เขียนต่องการให้สามารถประยุกต์นำเอาซีเนอร์ไดโอด ไดโอดเปล่งแสง โฟโต้ไดโอด ไปใช้งานได้ตามลำดับต่อไปนี้ - ศึกษาว่าวงจรจ่ายแรงดันคงที่ที่ใช้ซีเนอร์ไดโอดได้อย่างไร - ศึกษาว่าไดโอดเปล่งแสงทำงานอย่างไร - ศึกษาการทำงานของโฟโต้ไดโอดและการนำไปใช้งาน - ตรวจสอบวงจรจากแผ่นวงจรพิมพ์ ได้อย่างถูกต้อง - ตรวจซ่อมวงจรเมื่อเกิดปัญหาเบื้องต้นได้ http://www.star-circuit.com/article/main.html

ระบบการนำไปใช้งานการตรวจนับวัตถุด้วยแสง การทำงานของวงจรแบ่งตามลำดับดังนี้ 1. วงจร Zener Regulated DC Power Supply เป็นวงจรจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ โดยใช้ซีเนอร์ได้โอดเป็นตัวควบคุมแรงดันคงที่ 2. วงจร Infrared Emitter คือวงจรส่งสัญญาณแสงใช้ไดโอดเปล่งแสงชนิดอินฟาเรด (แสงสีแดงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า) เป็นตัวส่งแสง เพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่ผ่าน 3. วงจร Infrared Detector คือวงจรรับสัญญาณอินฟาเรดที่ส่งจากวงจรในข้อ 2 โดยตัวรับ เป็นโฟโต้ไดโอด http://www.star-circuit.com/article/main.html

4. วงจร THRESHOLD CIRCUITเป็นวงจรที่รับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของแสงที่ ได้รับจากโฟโต้ไดโอดซึ่งเป็นสัญญาณอนาลอกมาแปลงเป็นพัลส์สี่เหลี่ยม เพื่อนำไปใช้ในวงจรนับจำนวน 5. วงจร Digital Counter and Disply คือวงจรที่รับสัญญาณพัลส์จากวงจรที่ 4 มาเข้า วงจรนับจำนวนที่ไอซี และแสดงการนับเป็นตัวเลขดิจิตอล http://www.star-circuit.com/article/main.html