ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ทฤษฎี และหลักการพัฒนาชุมชน
ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม
2
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนา
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนา ความหมายของการพัฒนา ลักษณะของการพัฒนา ความเป็นมาของการพัฒนา แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา
3
ความหมายของการพัฒนา 1. ความหมายตามรูปศัพท์ การพัฒนา มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Development” แปลว่า การเปลี่ยนแปลงผ่านลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ไปสู่ระดับที่สามารถขยายตัว เติบโต มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น และเหมาะสมกว่าเดิม 2. ความหมายโดยทั่วไป หมายถึง การกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่งที่ดีกว่าอย่างเป็นระบบ โดยเน้นความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ
4
ความหมายของการพัฒนา 3. ความหมายทางเศรษฐศาสตร์
การพัฒนา หมายถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตมวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น 4. ความหมายทางพัฒนบริหารศาสตร์ การพัฒนามีความหมาย 2 ระดับ คือความหมายอย่างกว้างกับอย่างแคบ อย่างแคบ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระบบให้ดีขึ้น อย่างกว้าง หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในตัวระบบทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อม ในสมัยปัจจุบันเรียกกระบวนการนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างมีบูรณาการ
5
ความหมายของการพัฒนา 5. ความหมายทางเทคโนโลยี
การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรม และการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรืออาจเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมนุษย์ด้วยเทคโนโลยี 6. ความหมายทางการวางแผน ในการวางแผน การพัฒนา หมายถึง การชักชวน การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการปฏิบัติการตามแผนและโครงการอย่างจริงจัง เป็นไปตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกันเป็นวงจร โดยไม่มีการสิ้นสุด
6
ความหมายของการพัฒนา 7. ความหมายทางพุทธศาสนา
การพัฒนา มาจากภาษาบาลีว่า “วัฒนะ” แปลว่า เจริญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาคน และการพัฒนาสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คน เช่น การสร้างถนน บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน เป็นต้น 8. ความหมายทางสังคมวิทยา การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ซึ่งได้แก่ คน กลุ่มคน การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคม ที่เรียกว่า “การจัดระเบียบสังคม”
7
ความหมายของการพัฒนา 9. ความหมายทางด้านการพัฒนาชุมชน
นักพัฒนาชุมชนให้ความหมายไว้ว่า การพัฒนา หมายถึง การที่คนในชุมชนและสังคมโดยส่วนรวมได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อปรับปรุงความรู้ความสามารถของตนเอง และร่วมกันเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของตนเอง ชุมชน และสังคมให้ดีขึ้น โดยสรุป การพัฒนามีความหมายทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป จึงอาจสรุปในภาพรวมได้ว่า การพัฒนา หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อม ด้วยการวางแผนโครงการและดำเนินงานโดยมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่ตัวมนุษย์เอง
8
ลักษณะของการพัฒนา 1. เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น ด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เหมาะสม 2. มีลักษณะเป็นกระบวนการ (Process) คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามลำดับขั้นตอนและอย่างต่อเนื่อง 3. เป็นพลวัต (Dynamic) คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง 4. เป็นแผนและโครงการ คือ เกิดขึ้นจากการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ว่าจะเปลี่ยนแปลงใคร ด้านใด ด้วยวิธีการใด เมื่อไร ใช้งบประมาณเท่าใด ใครรับผิดชอบ เป็นต้น
9
ลักษณะของการพัฒนา 5. เป็นวิธีการ การพัฒนาเป็นมรรควิธี หรือกลวิธีที่นำมาใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 6. เป็นปฏิบัติการ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่เป็นเพียงแนวคิด เพราะการพัฒนาต้องนำมาใช้ปฏิบัติจริงจึงจะเกิดผลตามที่ต้องการ 7. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ 8. ผลที่เกิดขึ้นมีความเหมาะสมหรือพึงพอใจ ทำให้มนุษย์และสังคมมีความสุข
10
ลักษณะของการพัฒนา 9. มีเกณฑ์หรือเครื่องชี้วัด คือ สามารถบอกได้ว่าลักษณะที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นการพัฒนาหรือไม่ โดยอาจเปรียบเทียบกับสภาพเดิมก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง 10. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การพัฒนา นอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมนุษย์ สังคม และสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์แล้ว รูปแบบ กระบวนการ และวิธีการพัฒนาเองก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ย่อมยืดหยุ่นและเป็นไปเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางสังคมนั่นเอง
11
ความเป็นมาของการพัฒนา
“การพัฒนา” เป็นคำที่ถูกจุดประกายขึ้นในชุมชนโลก และใช้กันกว้างขวางภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ ประธานาธิบดีแฮรี เอส. ทรูแมน แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศเป็นครั้งแรกว่า ประเทศต่าง ๆ ทางซีกโลกทางใต้นั้นเป็นเขตด้อยพัฒนา (underdeveloped areas) ต่อมาคำว่า “การพัฒนา” แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ.1960 จอห์ เอฟ. เคเนดี ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้องค์การสหประชาชาติ (The United Nations) ประกาศปี ค.ศ เป็นทศวรรษแห่งการพัฒนา และประกาศปี ค.ศ เป็นทศวรรษที่ 2 ของการพัฒนาโลกต่อไป
12
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา
1. แนวคิดแบบวิวัฒนาการ (Evolution) เป็นการนำการพัฒนามาใช้อธิบายประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่เคลื่อนย้ายจากภาวะหนึ่งไปสู่อีกภาวะหนึ่งที่สูงกว่า 2. แนวความคิดแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) เป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงมี 3 รูปแบบ คือ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะวิวัฒนาการ (Evolution) ปฏิรูป (Reformation) และปฏิวัติ (Revolution)
13
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา
3. แนวความคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์นำการพัฒนาไปใช้จำแนกประเภทต่าง ๆ ตามที่กำหนด เช่น รายได้ จำนวนผู้รู้หนังสือ การมีงานทำ เป็นต้น ออกเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Country) กำลังพัฒนา (Developing Country) และด้อยพัฒนา (Un-develop Country) 4. แนวความคิดแบบปฏิบัติการทางสังคม (Social Action) เป็นแนวความคิดที่เกิดจากรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ พยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในรูปของการวางแผนปฏิบัติการ เช่น การปฏิรูปที่ดิน การพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารคนจน และ OTOP เป็นต้น
14
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา
5. แนวความคิดแบบความขัดแย้งทางสังคม (Social Conflict) เป็นแนวความคิดของการพัฒนาประเทศด้วยระบอบสังคมนิยม ที่นำทฤษฎีความขัดแย้งมาใช้เป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบสังคม เช่น รัสเซีย จีน เวียดนาม เป็นต้น 6. แนวความคิดแบบการพัฒนาชุมชน (Community Development) เป็นแนวความคิดที่องค์การสหประชาชาตินำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาในประเทศด้อยพัฒนาทั่วโลกเพื่อให้เกิดภาวะทันสมัย (Modernization) ตามอย่างประเทศตะวันตก (Westernization)
15
Model ของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ
ปฏิบัติการทางสังคม การพัฒนาชุมชน ความขัดแย้งทางสังคม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.