ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAnon Jetatikarn ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ค่าวคืออะไร “ค่าว” หมายถึงคำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไปแบบร่ายและจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ มีหลายชนิดคือ เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า“ค่าวธรรม” ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า “ค่าวใช้” ถ้านำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า “ค่าวซอ”หรือ “เล่าค่าว” และถ้าหากเป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า “จ๊อย” แม้ชาวบ้านที่พูดคล้องจองกันเรียกว่า “อู้เป็นค่าวเป็นเครือ”
2
คุณสมบัติของนักแต่งค่าว มีดังนี้ 1 ) มีใจรักในการแต่งค่าวและเป็นคนอารมณ์สุนทรีย์ 2 ) ถ้าแต่งกลอนเป็น จะทำให้แต่งค่าวได้ง่ายขึ้น 3 ) รู้ฉันทลักษณ์ค่าว ได้แก่ สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์ 4 ) แยกเสียงโทและเสียงตรีออก จะทำให้แต่งค่าวได้ไพเราะยิ่งขึ้น
3
สำนวนค่าว มี 3 ส่วน คือ บทขึ้นต้น , บทดำเนินเรื่อง และบทสุดท้าย
สำนวนค่าว มี 3 ส่วน คือ บทขึ้นต้น , บทดำเนินเรื่อง และบทสุดท้าย ฉันทลักษณ์ของค่าว มีดังนี้ 1 ) ค่าว 1 บท มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค 2 ) สามวรรคแรกมี 4 คำ ส่วนวรรคที่สี่ มี คำมี 3 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา 4 ) การส่งสัมผัสประกอบด้วย สัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบาทสัมผัสระหว่างวรรคส่งจากวรรคท้ายวรรคที่สอง ไปยังคำท้ายวรรคที่สามของทุกบาท 5 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา ตามตำแหน่งที่กำหนด
4
บทขึ้นต้น – ๑ บท จะมี ๑๑ วรรค ๆ ละ ๔ คำ
ผังค่าว บทขึ้นต้น – ๑ บท จะมี ๑๑ วรรค ๆ ละ ๔ คำ -สีเขียวแทนเสียงสามัญ-
5
บทดำเนินเรื่อง – จะมีกี่บทก็ได้ บทหนึ่งจะมี ๑๐ วรรคๆละ ๔ คำเช่นกัน
ผังค่าว บทดำเนินเรื่อง – จะมีกี่บทก็ได้ บทหนึ่งจะมี ๑๐ วรรคๆละ ๔ คำเช่นกัน -สีเขียวแทนเสียงสามัญ-
6
บทสุดท้าย – มี ๖ วรรคๆละ ๔ คำ และนิยมลงท้ายด้วยคำว่า “ก่อนแล่นายเหย”.
ผังค่าว บทสุดท้าย – มี ๖ วรรคๆละ ๔ คำ และนิยมลงท้ายด้วยคำว่า “ก่อนแล่นายเหย”. -สีเขียวแทนเสียงสามัญ-
7
การสัมผัส ตัวอย่าง “สะหรียินดี ตุ๊ปี่ตุ๊น้อง ที่มาอยู่ห้อง เอกพุทธฯ ปี๋สาม รวมตึงหมดนี้ เก้าคนหลากหลาม น้ำใจ๋งดงาม เหมือนกั๋นจุ๊ผู้ วิชาจัดการ ศึกษาสงฆ์สู้ หื้อแต่งกล๋อนซอ ค่าวจ๊อย * การสัมผัสมีดังนี้ 1 ) ( น้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ห้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง ( สาม ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( หลาม ) ในบรรทัดที่สอง 2 ) ( หลาม ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( งาม ) ในบรรทัดที่สอง 3 ) ( ผู้ ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( สู้ ) ในบรรทัดที่สาม
8
การบังคับวรรณยุกต์ 1. ( สรียินดี ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -
สะหรียินดี ตุ๊ปี่ตุ๊น้อง ที่มาอยู่ห้อง เอกพุทธฯ ปี๋สาม รวมตึงหมดนี้ เก้าคนหลากหลาม น้ำใจ๋งดงาม เหมือนกั๋นจุ๊ผู้ วิชาการจัดการ ศึกษาสงฆ์สู้ หื้อแต่งกล๋อนซอ ค่าวจ๊อย 1. ( สรียินดี ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ - ( ตุ๊ปี่ตุ๊น้อง ) วรรคสอง เสียงตรี ( น้อง ) ( ที่มาอยู่ห้อง ) วรรคสาม เสียงโท ( ห้อง ) ( เอกพุทธฯปี๋สาม ) วรรคสี่ เสียงจัตวา ( สาม )
9
การบังคับวรรณยุกต์ 2. (รวมตึงหมดนี้) วรรคหนึ่ง – บังคับเสียงตรี (นี้)
การบังคับวรรณยุกต์ 2. (รวมตึงหมดนี้) วรรคหนึ่ง – บังคับเสียงตรี (นี้) ( เก้าคนหลายหลาม ) วรรคสอง บังคับเสียงจัตวา ( หลาม ) ( น้ำใจ๋งดงาม ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( งาม ) ( เหมือนกั๋นจุ๊ผู้ ) วรรคสี่ บังคับเสียงโท ( ผู้ ) 3. ( วิชาการจัดการ ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ - ( ศึกษาสงฆ์สู้ ) วรรคสอง บังคับเสียงโท ( สู้ ) (หื้อแต่งกล๋อนซอ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( เฮา ) ( ค่าวจ๊อย) วรรคสี่ บังคับเสียงตรี ( จ๊อย )
10
บทดำเนินเรื่อง ตัวอย่าง
ทุกรูปนี้หนา มีความเรียบร้อย ต่างจ่องห้อย เบิกบาน หัวหน้าห้องนั้น น้ำใจอาจหาญ พระครูวิธานสาธุวัตรเจ้า เลขาฯแถมกา สุชาติแบบเบ้า กอยช่วยแบ่งเบา ภาระ หลวงพ่อชุมพล คน * การสัมผัสมีดังนี้ 1 ) ( น้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ห้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง ( สาม ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( หลาม ) ในบรรทัดที่สอง 2 ) ( หลาม ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( งาม ) ในบรรทัดที่สอง 3 ) ( ผู้ ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( สู้ ) ในบรรทัดที่สาม
11
การสัมผัส ตัวอย่าง “สะหรียินดี ตุ๊ปี่ตุ๊น้อง ที่มาอยู่ห้อง เอกพุทธฯ ปี๋สาม รวมตึงหมดนี้ เก้าคนหลากหลาม น้ำใจ๋งดงาม เหมือนกั๋นจุ๊ผู้ วิชาจัดการ ศึกษาสงฆ์สู้ หื้อแต่งกล๋อนซอ เน้อครับ * การสัมผัสมีดังนี้ 1 ) ( น้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ห้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง ( สาม ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( หลาม ) ในบรรทัดที่สอง 2 ) ( หลาม ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( งาม ) ในบรรทัดที่สอง 3 ) ( ผู้ ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( สู้ ) ในบรรทัดที่สาม
12
การสัมผัส ตัวอย่าง “สะหรียินดี ตุ๊ปี่ตุ๊น้อง ที่มาอยู่ห้อง เอกพุทธฯ ปี๋สาม รวมตึงหมดนี้ เก้าคนหลากหลาม น้ำใจ๋งดงาม เหมือนกั๋นจุ๊ผู้ วิชาจัดการ ศึกษาสงฆ์สู้ หื้อแต่งกล๋อนซอ เน้อครับ * การสัมผัสมีดังนี้ 1 ) ( น้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ห้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง ( สาม ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( หลาม ) ในบรรทัดที่สอง 2 ) ( หลาม ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( งาม ) ในบรรทัดที่สอง 3 ) ( ผู้ ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( สู้ ) ในบรรทัดที่สาม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.