งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปูนซีเมนต์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปูนซีเมนต์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปูนซีเมนต์

2 ปูนซีเมนต์ ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุที่เมื่อทำปฎิกิริยากับน้ำแล้วจะให้แรงยึดเกาะทั้งแบบ adhesion และ cohesion ซึ่ง จะเชื่อมประสานส่วนประกอบต่างๆ เช่น หิน ทราย และวัสดุอื่นๆเข้าด้วยกันและเมื่อแข็งตัวแล้วจะกลายเป็นสารประกอบใหม่ที่มีคุณสมบัติแข็งคล้ายหิน

3 วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์
2. ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) วัตถุดิบที่ให้แร่ ได้แก่ หินดินดานหรือหินเชล (shale) หินชนวน (slate) ดินเหนียว (clay) 3. อลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) วัตถุดิบที่ให้แร่ได้แก่ หินดินดานหรือหินเชล (shale) หินชนวน (slate) ดินเหนียว (clay) 1 แคลเซียมออกไซด์(CaO) วัตถุดิบที่ให้แร่ ได้แก่ หินปูน (limestone) ดินสอพอง (chalk) ปูนขาว (marl) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ 4 เหล็กออกไซด์ (FeO2 , Fe2O3) วัตถุดิบที่ให้แร่ ได้แก่ ดินลูกรัง และดินศิลาแลง (laterite) 5. แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) วัตถุดิบที่ให้แร่ได้แก่ แร่ยิบซัม (CaSO4)

4 วิธีการผลิตปูนซีเมนต์
ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. การเตรียมวัตถุดิบ (Preparing of Raw Materials) 2. การเผาวัตถุดิบ (Calcining) 3. การบดปูนเม็ด (Cement Mill)

5 การผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ มี 2 วิธี
1. การผลิตปูนซีเมนต์แบบเปียก (Wet Process) 2. การผลิตปูนซีเมนต์แบบแห้ง (Dry Process)

6 การผลิตปูนซีเมนต์แบบเปียก (Wet Process)
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตคือ  ดินขาว (Marl) และดินเหนียว (Clay) สำหรับดินขาวมีอยู่ในระดับฟื้นดินหรือใต้ดินตามธรรมชาติ โดยปกติจะมีความชื้นสูง

7 วิธีการผลิตปูนซีเมนต์แบบเปียก
นำวัตถุดิบผ่านการย่อยให้มีขนาดเล็กลงผสมกันตามสัดส่วน ตีรวมกับน้ำจนเป็นน้ำดิน ส่งเข้าเตาเผ่าอุณหภูมิ ประมาณ ̊C ผสมยิปซัมบดให้ละเอียด ปูนซีเมนต์ผง

8 การผลิตปูนซีเมนต์แบบแห้ง (Dry Process)
การผลิตปูนซีเมนต์แบบแห้ง เหมาะสำหรับวัตถุดิบ ที่มีความชื่นต่ำ เช่น หินปูน หรือ หินดินดานเป็นส่วน ผสม โดยนำวัตถุดิบทั้งหมดมาบดรวมกันในอัตราส่วนที่ เหมาะสมแล้วนำไปเผาในลักษณะฝุ่นแห้งเป็นวิธีที่นิยม ใช้ในปัจจุบัน

9 วิธีการผลิตปูนซีเมนต์แบบแห้ง
หินปูน หินดินดาน แร่เหล็กหรือดินลูกรัง บดเป็นผงละเอียด อบด้วยความร้อนเพื่อไล่น้ำออก ผสมยิปซัมและบดเป็นผง เผาในเตาเผาแบบหมุนที่ ̊C ปูนซีเมนต์ผง ปูนเม็ด

10 สารประกอบหลัก ชื่อสารประกอบหลัก สัญลักษณ์ทางเคมี ชื่อย่อ
ไตรแคลเซียม ซิลิเกต (Tricalcium Silicate) 3CaO.SiO2 C3S ไดแคลเซียม ซิลิเกต (Dicalcium Silicate) 2CaO.SiO2 C2S ไตรแคลเซียม อลูมิเนต (Tricalcium Aluminate) 3CaO.Al2O3 C3A เตตราแคลเซียมอลูมิโนเฟอร์ไรท์ 4CaO. Al2O3.Fe2O3 C4AF

11 ประเภทของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ไว้ 5 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนธรรมดา สำหรับใช้ในการทำคอนกรีต หรือ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ต้องการคุณภาพพิเศษกว่าธรรมดา และใช้สำหรับงานการก่อสร้างตามปกติทั่วไป ประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สำหรับใช้ในการทำคอนกรีต หรือ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกิดความร้อนและทนซัลเฟตได้ปานกลาง

12 ประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดแรงสูงเร็ว ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการให้เกิดแรงบีบน้ำหนักได้เร็ว เหมาะสำหรับใช้ในงานคอนกรีตที่ต้องการถอดแบบได้เร็ว หรืองานที่ต้องการใช้เร็วเพื่อแข่งกับเวลา ประเภทที่ 4 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ ใช้ในงานคอนกรีตที่มีเนื้อหนาๆ เช่น การสร้างเขื่อนกั้นน้ำจืดขนาดใหญ่งานโครงสร้างที่เป็นแท่งหนามากๆ ประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตได้สูง ใช้ในงานก่อสร้างในทะเลหรือตามชายฝั่งทะเล บนดินที่มีความเค็มปนอยู่ หรือใช้บริเวณที่มีซัลเฟตสูง

13 ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement)
ปูนซีเมนต์ที่ได้จากการผสมวัสดุเฉื่อย เช่น ทราย หรือหินปูน ลงไปบดพร้อมกับปูนเม็ดของปูนปอร์ตแลนด์ธรรมดา คุณสมบัติ : ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.80 การใช้งาน : เหมาะกับงานก่ออิฐ ฉาบปูน เนื่องจากมีความลื่น ทำงานง่าย ยืดหดตัวน้อยทำให้พื้นผิวสวยเรียบ คงทน ไม่หลุดล่อน นิยมใช้กับงานก่อสร้างอาคารบ้านขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และงานปั้น

14 ปูนซีเมนต์สำหรับงานขุดเจาะ
บ่อน้ำมัน คุณสมบัติ : ที่สำคัญคือต้องมีความหนืดต่ำในช่วงต้นเพื่อให้สามารถสูบไปได้ในระดับความลึกที่ต้องการ และแข็งตัวได้รวดเร็วภายในเวลาที่กำหนด ทนทานต่ออุณหภูมิ ความดัน และการกัดกร่อนของน้ำทะเล การใช้งาน : เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมงานขุดเจาะบ่อน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

15 ประโยชน์ของปูนซีเมนต์
-ใช้ก่ออิฐ -ใช้ทำคานคอนกรีต -ใช้ทำเสาอาคารทั่วไป -ใช้ทำถนน -ใช้ทำสะพาน

16 แหล่งที่พบวัตถุดิบ ดินสอพอง แหล่งใหญ่อยู่ที่ตำบลท่าแค และตำบลท่าตะโก จังหวัดลพบุรี หินเชล พบที่อุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงใหม่  ดินเหนียว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี ลำปาง เชียงใหม่ ดินลูกรัง พบที่ส่วนใหญ่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินศิลาแลง ที่ราบสูงโคราช อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ แร่ยิปซัม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดเลย เป็นต้น

17 สมาชิก เสนอ น.ส.รุ่งอรุณ จารย์เจริญ เลขที่ 26
น.ส.รุ่งอรุณ จารย์เจริญ เลขที่ 26 น.ส.ณัฐจรีย์ ศรีนทีทันดร เลขที่ 30 น.ส.เนาวรัตน์ แซ่โซ้ง เลขที่ 33 น.ส.ศศิวนันท์ วงศ์ชัย เลขที่ 38 น.ส.อภิณีย์ วงศ์ชัย เลขที่ 43 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 รายวิชาเคมี 5 ว 30225 โรงเรียนเชียงของวิทยาคม เสนอ ครู แสงหล้า คำหมั้น


ดาวน์โหลด ppt ปูนซีเมนต์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google