ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โภชนาการ สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โดย นางสาว ลักษณ์กมล ปราบกรี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
2
โรคเก๊าท์คืออะไร โรคข้ออักเสบ
เกิดจากความผิดปกติของ metabolism ของกรดยูริคในร่างกาย ทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้น แล้วเกิดการตกผลึกเกลือยูเรทไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อ และไต จะทำให้เกิดนิ่วในไต หรือไตวายเรื้อรัง
3
สาเหตุของโรคเก๊าท์ ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริคสูง (กรดยูริคในเลือดสูงเกิดจากการเผาผลาญสารพิวรีนในร่างกาย แล้วได้กรดยูริคออกมา) 1.1 การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง 1.2 เกิดจากการสลายตัวของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ เช่น เซลล์มีการทำงานมากขึ้น 2. การขับกรดยูริคออกจากร่างกายลดลง 2.1 1/3 ของปริมาณกรดยูริค จะขับออกทางระบบทางเดินอาหาร /3 ของปริมาณกรดยูริค จะขับออกทางไต
4
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา, เบียร์ และไวน์ เลิกดื่มโดยเด็ดขาด - ยีสต์ที่ใช้ในการหมักเบียร์มีสารพิวรีนสูง - จะทำให้เกิดกรดแลคติคในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะไปแย่งการขับdรดยูริคออกทางไต - ถ้าดื่มเป็นประจำจะกระตุ้นตับให้สร้างกรดยูริคมากขึ้น
5
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อาหารที่มีสารพิวรีนมากที่สุด (>150 mg ต่อ อาหาร 100 g) เครื่องในสัตว์ กะปิ, น้ำพริก ปลาซาร์ดีน น้ำสกัดจากเนื้อ, น้ำเคี่ยวเนื้อ (บักกุ๊ตเต๋) ปลาแอนโชวี่ ซุปก้อน ปลากระตัก เนื้อไก่, เป็ด, นก (โดยเฉพาะตามข้อ และมีหนัง) ปลาดุก ยีสต์ ปลาขนาดเล็ก ยอดผักต่างๆ, หน่อไม้ฝรั่ง และหน่อไม้ทุกชนิด ไข่ปลา ใบขี้เหล็ก
6
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อาหารที่มีสารพิวรีนมาก ( mg ต่อ อาหาร 100 g) เนื้อหมู, เนื้อวัว (1-2 ส่วนต่อวัน) เนื้อปลาทุกชนิด (1-2 ส่วนต่อวัน) เนื้อสัตว์ทะเล เช่น ปลาหมึก, กุ้ง, ปู และหอย เมล็ดถั่วแห้ง (ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วลิสง), ถั่วลันเตา ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี ไม่สีเอารำออก, ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวที่ไม่ขัดขาว ผักชะอม, ผักโขม, กระถิน, สะตอ, กะหล่ำดอก, เห็ด
7
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย (0-50 mg ต่อ อาหาร 100 g) รับประทานได้ นม และผลิตภัณฑ์จากนม (recommended low fat/ free fat milk and products) ไข่เป็ด, ไข่ไก่ น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ข้าวขาว, ธัญพืชที่ขัดเอาเปลือกออก เส้นก๋วยเตี๋ยว, วุ้นเส้น ผัก (ยกเว้นที่มีสารพิวรีนมากและยอดผัก) เกาลัด, เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
8
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
พลังงาน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อ้วน และไม่มีอาการของโรคเก๊าท์กำเริบ ควรได้รับพลังงานตามปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วนก็ควรจะควบคุมอาหารเพื่อให้น้ำหนักลด เพราะความอ้วนทำให้อาการโรคเก๊าท์กำเริบขึ้นได้
9
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
4. โปรตีน ควรได้รับตามปกติ กรัม/ 1 kg น้ำหนักตัว/ วัน หลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก 5. ไขมัน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เพราะจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ ซึ่งส่งผลต่อการขับถ่ายกรดยูริคได้ลดลง
10
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
คาร์โบไฮเดรต ควรได้รับให้พอเพียงจากข้าว แป้ง และผลไม้ ส่วนน้ำตาลโดยเฉพาะที่มีฟรุกโตสเป็นองค์ประกอบ ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น
11
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
งดอาหารที่ให้พลังงานมาก ขนมหวานต่างๆ เครื่องดื่มที่มีรสหวานจากน้ำตาล และฟรุกโตสคอร์นไซรัป อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับกรดยูริค
12
Questions & Answers
13
Thank you very much for Your attention
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.