งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 บุคคล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 บุคคล."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 บุคคล

2 วัตถุประสงค์เฉพาะบท นักศึกษาเข้าใจ การเริ่มต้นของสภาพบุคคล ความสามารถ ของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ การสิ้นสภาพบุคคลของบุคคลธรรมดา สิทธิหน้าที่ของนิติ บุคคล ความสามารถของนิติบุคคล สิ่งซึ่งได้กับสภาพบุคคล

3 ความหมาย บุคคล หมายถึง ผู้ทรงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย( Subject of Law)
ผู้ทรงสิทธิ ได้แก่ ผู้ที่กฎหมายให้การรับรองว่าเป็นผู้มี สิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง ในการเลือกตั้ง ฯลฯ และได้รับการคุ้มครองจาก กฎหมาย ผู้ทรงหน้าที่ ได้แก่ ผู้ที่มีหน้าที่ต้องกระทำ งดเว้นกระทำ

4 ร.ธ.น. พ.ศ.2550 มาตรา 32 วรรค 1 “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย” มาตรา 33 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครอง เคหสถานโดยปกติสุข....”

5 คำพิพากษาฎีกาที่ 540/2506 มัสยิดที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ย่อมไม่อยู่ในฐานะรับอุทิศทรัพย์สินที่มีผู้จะอุทิศให้

6 ประเภทของบุคคล ตามกฎหมายไทยมี 2 ประเภท
ตามกฎหมายไทยมี 2 ประเภท 1. บุคคลธรรมดา (Natural person) หมายถึง คน 2. นิติบุคคล (Juristic person) หมายถึง บุคคลที่ กฎหมายสมมุติขึ้นโดยรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

7 บุคคลธรรมดา การเริ่มสภาพบุคคล
สภาพบุคคลเริ่มขึ้นเมื่อใด? = เมื่อไหร่ถึงจะเริ่มนับว่าเป็นคน ?= ผู้ ทรงสิทธิหน้าที่เริ่มขึ้นเมื่อใด? ป.พ.พ. ม.15 ว.1 “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่ รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย” (Personality begins with the full completion of birth)

8 สภาพบุคคลของบุคคลธรรมดาเริ่มขึ้นเมื่อ
1. คลอด และ ทารกหลุดพ้นจากมารดาหมดทั้งตัว 2. อยู่รอดเป็นทารก ทารกนั้นมีแสดงการมีชีวิตภายหลังจากที่มีการคลอด เช่น หัวใจเต้น สายสะดือเต้น มีการเคลื่อนไหวชัดเจน ของกล้ามที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ

9 กรณีศึกษา กรณีแรก นายเอกขับรถโดยประมาทชน นางโท ซึ่งกำลัง ตั้งครรภ์ท้องแก่ เป็นเหตุให้ นางโท แท้งบุตร กรณีที่ 2 นายดำขับรถโดยประมาทชน ด.ช.แดง ถึงแก่ ความตาย ทั้งสองกรณี นายเอก และนายดำ จะต้องรับโทษที่เท่ากัน หรือไม่

10 มาตรา 291 “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำ นั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท” มาตรา 300 “ผู้ใดทำกระทำโดยประมาทและการกระทำ นั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส(แท้งลูก) ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

11 กรณีศึกษา นายมา ถึงแก่ความตายซึ่งในขณะนั้นนายมามีภริยาคือ นางน้อย ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ท้องแก่ และมีบุตรชายอีก 1 คนคือ ด.ช. เก่ง เช่นนี้ถ้ามรดกของนายมา จะตกทอด แก่ผู้ใด? มาตรา 1604 “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมี สภาพบุคคล..” มาตรา 1635 (โดยสรุป) ถ้าผู้ตายมีบุตรและคู่สมรสในขณะที่ ถึงแก่ความตาย บุตรและคู่สมรสของผู้ตายได้รับส่วนแบ่ง เท่ากัน

12 การขยายความคุ้มครองถึงสิทธิของทารกในครรภ์มารดา
มาตรา 15 “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็น ทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่า ภายหลัง คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก” สรุปได้ว่า กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่ทารกย้อนไปตั้งแต่ขณะที่ยัง อยู่ในครรภ์มารดา หากได้คลอดและอยู่รอด ทารกนั้นก็สามารถที่จะ เรียกร้องสิทธิต่างๆบรรดาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่ตนอยู่ในครรภ์ได้

13 กรณีศึกษา นายมา ถึงแก่ความตายซึ่งในขณะนั้นนายมามีภริยาคือ นางน้อย ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ท้องแก่ และมีบุตรชายอีก 1 คนคือ ด.ช. เก่ง เช่นนี้ถ้ามรดกของนายมา จะตกทอด แก่ผู้ใด? มาตรา 1604 “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมี สภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 บุคคล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google