งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเก็บตัวอย่างและนำส่งตัวอย่าง ทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเก็บตัวอย่างและนำส่งตัวอย่าง ทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเก็บตัวอย่างและนำส่งตัวอย่าง ทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2

2 เทคนิคการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ

3 วัตถุประสงค์ในการตรวจวิเคราะห์
เพื่อนำผลวิเคราะห์ไปประกอบการขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สำรวจวิจัยข้อมูล 2. เพื่อตรวจสอบคุณภาพอาหาร เครื่องดื่ม และน้ำบริโภค ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุขหรือมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อหาสาเหตุด้านระบาดวิทยาอันเนื่องมาจากอาหาร 4. เพื่อให้ประชาชน ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร

4 เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ที่ตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ที่ตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ E.coli Staphylococcus aureus Salmonella spp. Clostridium perfringens Bacillus cereus Vibrio cholerae Vibrio parahaemolyticus

5 การเก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการ

6 อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้สุ่มเก็บตัวอย่าง
1. อุปกรณ์และภาชนะที่ปราศจากเชื้อ 2. อุปกรณ์และภาชนะที่ผู้ประกอบการใช้ 3. อุปกรณ์และภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ( ต้มหรือจุ่มใน 70%alcohol เผาไฟ ) 4. ใช้ถุงพลาสติกใหม่ ๆพลิกด้านในออก

7 วิธีการสุ่มและเก็บตัวอย่างอาหาร
1. ให้เก็บตัวอย่างโดยวิธีสุ่ม ( Random Sampling ) ตามจำนวนหน่วย หรือปริมาณตามต้องการ โดยสุ่มเก็บตัวอย่าง ที่ผลิตในรุ่นเดียวกัน หรือ วัน เดือน ปี ที่ผลิตเหมือนกัน เช่น น้ำ 1 ลิตร เก็บ 8 ขวด ต่อ 1 ตัวอย่าง ที่ผลิตวันที่ 1 เม.ย 55

8 2. ปิดภาชนะให้เรียบร้อยพร้อมติดฉลาก
อาหารที่ไม่ใช่ตัวอย่างเดียวกันต้องแยกภาชนะบรรจุ ห้ามปนกัน 3. ฉลากกำกับตัวอย่างอาหาร - ชื่อและนามสกุลของเจ้าของตัวอย่างอาหาร - สถานที่เก็บตัวอย่างอาหาร ( ที่อยู่ ) - ชื่อหรือชนิดตัวอย่างอาหาร - วันที่ เดือน ปี และเวลาที่เก็บตัวอย่าง - ชื่อผู้นำส่งตัวอย่าง * กรณีเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ต้องระบุเพิ่ม - ข้อมูลทางระบาดวิทยา - อาการของผู้ป่วยและระยะเวลาการเกิดโรค 4. หมายเลขโทรศัพท์ผู้ส่งตัวอย่าง หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

9 ปริมาณตัวอย่าง กรณีปกติ
ปริมาณตัวอย่าง กรณีปกติ ตัวอย่างอาหาร 4 หน่วยบรรจุ x 500 กรัม 2. น้ำบริโภค ประมาณ 1 ถัง หรือ 6 ขวดx 950 มิลลิลิตร 3. น้ำแข็ง 6 ถุง x 1 กิโลกรัม 4. นมพร้อมดื่ม อย่างน้อย 3 – 6 หน่วยบรรจุ 5. Swab ภาชนะสัมผัสอาหาร และมือ หมายเหตุ ตัวอย่างอาหารชนิดอื่น ๆ ส่งปริมาณตามคู่มือ การให้บริการตรวจวิเคราะห์ ของศูนย์วิทยาศาสตร์การ- แพทย์ที่ 2 อุดรธานี

10 ปริมาณตัวอย่าง กรณีเกิดการระบาด ของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ
ปริมาณตัวอย่าง กรณีเกิดการระบาด ของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 1. อาหาร อย่างน้อย 200 กรัม 2. น้ำ/น้ำแข็ง ประมาณ 1 – 5 ลิตร 3. นมพร้อมดื่มให้เก็บนมที่เหลือจากการดื่ม หรือให้เก็บนม ที่ผลิตในlot เดียวกัน *หรือเท่าที่เหลืออยู่ที่สามารถเก็บได้ ในกรณีที่ไม่มีตัวอย่าง เหลืออยู่ให้เก็บจากตัวอย่างที่มาจากแหล่งเดียวกัน ใช้ส่วนประกอบหรือมีวิธีการปรุงเหมือนกับอาหารที่ต้องสงสัย

11 วิธีการเก็บรักษาและการนำส่งตัวอย่างอาหาร
1.ตัวอย่างที่เน่าเสียง่าย เมื่อสุ่มตัวอย่างและติดฉลากเรียบร้อยแล้ว ต้องนำ ภาชนะบรรจุตัวอย่างอาหารนั้นใส่ในถุงพลาสติกที่ สะอาดอีกชั้นหนึ่งรัดปากถุงให้เรียบร้อย เก็บในภาชนะ ที่สามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้ที่ประมาณ 4 oC ห้ามแช่แข็ง ยกเว้น ตัวอย่างที่แช่แข็ง ต้องนำส่งในสภาพที่แช่แข็ง

12 การนำส่งตัวอย่างอาหาร
การนำส่งห้องปฏิบัติ ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า ก่อนนำส่ง โดยจะต้องนำส่ง ภายในไม่เกิน 4 -6 ชั่วโมง กรณีที่จะตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา ไม่เกิน 72 ชั่วโมง กรณีที่จะตรวจทางเคมีและกายภาพ

13 นำส่งตัวอย่างทุกครั้งต้องมีหนังสือนำส่ง
โดยแจ้ง รายละเอียดของตัวอย่างที่ส่งตรวจ จำนวนตัวอย่างและจำนวนหน่วยของแต่ละตัวอย่าง วัตถุประสงค์หรือรายการที่ต้องการให้ตรวจ กรณีเป็นอาหารที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุให้เกิด อาการอาหารเป็นพิษ ต้องแจ้งข้อมูลทางระบาดวิทยา โดยละเอียดเพื่อเป็นแนวทางในการหาสาเหตุ ของการเกิดโรค

14 0 4220 7368 0 4220 7364 – 66 ต่อ 113 งานวิเคราะห์อาหารจุลชีววิทยา
เบอร์โทรศัพท์ ในเวลาราชการ – 66 ต่อ 113 เบอร์โทรศัพท์ นอกเวลาราชการ 1. นางเกตุ สินเทศ 2. นางโชติวรรณ พรทุม 3. นายสุริยา สารีบุตร


ดาวน์โหลด ppt การเก็บตัวอย่างและนำส่งตัวอย่าง ทางห้องปฏิบัติการด้านอาหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google