งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Criterion-related Validity

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Criterion-related Validity"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Criterion-related Validity
ความเที่ยงตรงตามการพยากรณ์ (predictive validity) เป็นความสอดคล้องของผลการวัดจากเครื่องมือที่สร้างขึ้นกับผลที่คาดคะเนว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต อาจกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงสั้นหรือช่วงยาวก็ได้ เช่น หากนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามาเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์มีผลการเรียนตลอดหลักสูตรอยู่ในเกณฑ์ดี แสดงว่าแบบทดสอบที่ใช้คัดเลือกนักเรียนนั้นมีความเที่ยงตรงตามการพยากรณ์สูง ต้องรอเวลาให้บุคคลปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องการศึกษานั้นสักช่วงหนึ่งก่อนแล้วจึงนำผลที่ได้นั้นมาหาความสัมพันธ์กับเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้น ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

2 ความเชื่อมั่น (Reliability)
เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่แสดงให้ทราบว่าเครื่องมือนั้นๆ ให้ผลการวัดที่สม่ำเสมอ แน่นอน คงที่มากน้อยเพียงใด หากเครื่องมือให้ผลการวัดที่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะนำไปใช้ กี่ครั้ง แสดงว่าเครื่องมือนั้นมีความเชื่อมั่นสูง ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

3 ความเชื่อมั่น (Reliability)
ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางจิตวิทยาและการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับความเที่ยงตรงและความคลาดเคลื่อนได้ 3 ลักษณะดังนี้ (kerlinger, 1973 : 404)          1) ความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องว่าเครื่องมือนั้นใช้วัดแล้ววัดอีกได้ผลเหมือนเดิม          2) ความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องว่าเครื่องมือนั้นวัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ต้องการวัดตามความหมายนั้นตรงกับความถูกต้อง          3) ความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องว่าเป็นความคลาดเคลื่อนในการวัดของเครื่องมือวัด ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

4 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
        1. การหาความเชื่อมั่นเชิงความคงที่ (Stability) ทำได้โดยใช้วิธีวัดซ้ำ คือให้ผู้ตอบกลุ่มเดียวทำแบบวัดชุดเดียวกันสองครั้งในเวลาห่างกันพอสมควร แล้วนำคะแนนทั้งสองชุดมาหาความสัมพันธ์กัน ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าสูงแสดงว่ามีความเชื่อมั่นสูง การวัดความคงที่โดยการวัดซ้ำสามารถใช้ได้กับเครื่องมือวัดที่เป็นแบบทดสอบ แบบสอบถามหรือแบบวัดเจตคติชนิดมาตราส่วนประมาณค่า โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Pearson Product moment Correlation Coefficient) ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

5 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
2. การหาความเชื่อมั่นเชิงความเท่าเทียมกัน (Equivalence) ทำได้โดยวิธีใช้แบบทดสอบคู่ขนาน (Parallel-form) ไปทดสอบพร้อมกันหรือเวลาใกล้เคียงกันสองฉบับกับกลุ่มเดียวกันแล้วนำคะแนนทั้งสองชุดมาหาความสัมพันธ์กัน ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าสูง แสดงว่ามีความเชื่อมั่นสูง คำนวณ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Pearson Product moment Correlation Coefficient) ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา


ดาวน์โหลด ppt Criterion-related Validity

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google