ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
โรคพยาธิตัวกลม เป็นปัญหาในลูกสัตว์ (อายุน้อยกว่า 6 เดือน) เช่น พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน(ลูกกระบือ) พยาธิปากขอ เป็นต้น ส่วนใหญ่ติดจากการกินพยาธิตัวอ่อนที่อยู่ในทุ่งหญ้า นอกจากนี้ตัวอ่อนพยาธิตัวกลมบางชนิดสามารถไชเข้าทางผิวหนัง หรือบางชนิดอาจติดผ่านทางรกและน้ำนมแม่สัตว์ โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
2
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
การรักษา ใช้ยากลุ่มBenzimidazoles เช่น Fenbendazole, Oxfendazole หรือ ยา Levamisole หรือ Ivermectin เป็นต้น ยาที่แนะนำให้ใช้โดยกรมปศุสัตว์คือยาที่ราคาถูกมาก แต่สามารถใช้ยาถ่ายพยาธิตัวกลมทั่วไปที่มีขายในท้องตลาดได้ โปรแกรมการถ่ายพยาธิตัวกลมในลูกโค (กรมปศุสัตว์) ช่วงอายุ 3 อาทิตย์แรกให้ถ่ายพยาธิไส้เดือนด้วยยา Piperazine หรือ Pyrantel tartrate ส่วนในลูกกระบือให้ถ่ายพยาธิหลังจากคลอด 2 อาทิตย์ ช่วงอายุ 10 อาทิตย์ให้ถ่ายพยาธิซ้ำอีกครั้งด้วยยา Thiabendazole โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
3
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
การควบคุมและป้องกันโรค 1. ถ่ายพยาธิลูกสัตว์ก่อนปล่อยลงแปลงหญ้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์และถ่ายตามโปรแกรมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ หรือ ปีละอย่างน้อย 2 ครั้งในโคที่โตเต็มที่ 2. กำจัดอุจจาระและของเสีย ในฟาร์มไม่ให้เป็น แหล่งเพาะพันธุ์โรค 3. กำจัดพาหะนำโรค 4. ดูแลไม่ให้สัตว์ขาดอาหาร โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
4
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
โรคพยาธิตัวตืด ส่วนพยาธิตัวตืด (Moniezia spp.) อาจเป็นปัญหาในบางพื้นที่ที่มี ไรในทุ่งหญ้าเป็นพาหะนำโรค แต่จะเป็นปัญหาน้อยกว่าพยาธิที่ดูดเลือด ยกเว้นแต่การมีพยาธิจำนวนมากและเป็นพยาธิที่มีขนาดใหญ่ทำให้ทางเดินอาหารอุดตันได้ อาจทราบได้จากการที่พบตัวพยาธิหรือปล้องสุกของพยาธิปนออกมากับอุจจาระ การรักษาใช้ยาในกลุ่ม Benzimidazoles เช่น Albendazole, Oxfendazole เป็นต้น ยานี้สามารถใช้ถ่ายพยาธิได้ทั้งพยาธิตัวกลมและพยาธิตัวตืด ที่มาภาพ Taira et al., 1995 A Color Atlas of Clinical Helminthology of Domestic Animals. โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
5
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
เชื้อบิดคือพยาธิชนิดโปรโตซัว มักเป็นในลูกสัตว์อายุหลายอาทิตย์จนถึงหลายเดือน ระบาดมากในฤดูฝน เกิดจากการกินเชื้อที่อยู่ใน ดิน ทำให้เกิดอาการท้องเสียเป็น มูกเลือด มีกลิ่นคาวจัด สัตว์จะแสดง อาการปวดท้องยืนโก่งหลัง อาการ จะรุนแรงมากในลูกสัตว์ ทำให้ถึง ตายได้ การรักษา ให้ยา Sulfadimethoxine กิน ขนาด 100, 50, 50 mg/kg BW กินติดต่อกัน 3 วัน เชื้อ Eimeria zuernii และ Eimeria bovis (ใหญ่สุด) โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
6
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ ระบาดวิทยา เป็นพยาธิที่สำคัญในโค กระบือ อายุมากกว่า 8 เดือน รวมทั้ง แพะ แกะ (หรือหลังจากสัตว์กินหญ้าประมาณ 3 เดือน) และมีการระบาดในพื้นที่ที่มีหนองน้ำ โดยมีหอยชนิดหนึ่งเป็นพาหะนำโรค ในประเทศไทยมีการระบาดทุกภาค เฉลี่ยประมาณ 10 % (0-80%) การติดต่อ โดยการกินระยะติดต่อ (metacercaria) ซึ่งอยู่ที่หญ้า โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
7
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
อาการของโรคพยาธิใบไม้ในตับ โค> 8 เดือน จะป่วยเป็นโรค ซึ่งบางตัวจะแสดงอาการท้องเสีย และเหนื่อยง่าย การตรวจอุจจาระพบ ไข่พยาธิใบไม้ในตับ (40X) ฝาปิด โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
8
พื้นที่ที่มีการระบาดจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำและเป็นเวลานาน
9
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
10
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
วิการพยาธิใบไม้ในตับโค (Fasciola gigantica) ระยะตัวอ่อนของพยาธิ ~ 6-8 wk ระยะตัวแก่ของพยาธิ ~ 8-12 wk ที่มาภาพ Taira et al., 1995 A Color Atlas of Clinical Helminthology of Domestic Animals. โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
11
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
การรักษา มีทั้งการให้ยากิน เช่น Albendazole Triclabendazole และยาฉีดเช่น Nitroxynil แต่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะจะให้ในโครีดนม จะต้องให้ยาตามโปรแกรม อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง การควบคุมโรค 1. กำจัดอุจจาระไม่ให้มีไข่พยาธิลงไปในน้ำ 2. ถมแหล่งที่ลุ่มขังน้ำ 3. ไม่เลี้ยงสัตว์ให้กินหญ้าบริเวณแหล่งน้ำที่มีการระบาดของโรค 4. กำจัดหอย: ทางตรงคือ กำจัดพืชน้ำในคลอง ส่วนทางอ้อม เช่น เลี้ยงเป็ด โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.