งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และความรับผิดทางละเมิด ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

2 กฎหมายที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการกรมสรรพสามิต
กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม - พ.ร.บ. ทุกฉบับที่รับผิดชอบ - ประมวลรัษฎากร - กฎหมายศุลกากร - พ.ร.บ. ชดเชยค่าภาษีอากร ฯ - พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรม ฯ ฯลฯ - ป. อาญา - ป. วิ. อาญา - พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ ฯลฯ กฎหมายควบคุมการปฏบัติราชการ - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ - พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ - พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ฯ กฎหมายอื่น ๆ

3 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภาษีสรรพสามิต พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม ใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ ยกเว้นจาก พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดฯ

4 คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร
วงจรการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ (ม ) เจ้าหน้าที่ (ม ) คู่กรณี (ม ) คณะกรรมการ (ม ) การแจ้ง (ม ) คำสั่งทางปกครอง (ม ) ระยะเวลาและอายุความ (ม ) อุทธรณ์ (ม ) เพิกถอน (ม ) ขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) บังคับทางปกครอง (ม ) ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร

5 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

6 ข้อที่ต้องพิจารณาตาม
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 กฎหมายเฉพาะ (กฎหมายสรรพสามิต) - มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม - มีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ** ต่ำกว่าหรือสูงกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ ** - มิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งตามกฎหมายสรรพสามิต

7 ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 34 ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

8 ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 45 เมื่อปรากฏว่าเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนได้ แต่ต้องแจ้งการเพิกถอนนั้นเป็นหนังสือให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยสิบห้าวัน เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง ผู้อุทธรณ์มีสิทธิดำเนินการไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

9 ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 66 ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด ในกรณีที่อธิบดีไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ก่อนที่รัฐมนตรีจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรี

10 ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 78 ผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนผู้ใดฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้แล้ว อธิบดีจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกินสามเดือนหรือจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ในกรณีที่มีการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิตเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนจัดการจำหน่ายบรรดาเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียนที่ได้ผลิตไว้ก่อนแล้ว ภายในเงื่อนไขที่อธิบดีเห็นสมควร ผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรี ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

11 ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 86 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ได้รับแจ้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ มีสิทธิคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน คำคัดค้านให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด มาตรา 89 ผู้ยื่นคำคัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยตามมาตรา 88 ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น อุทธรณ์ให้ยื่นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามแบบที่อธิบดีกำหนด...

12 ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 34 ผู้ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต่อรัฐมนตรีได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่ออธิบดีหรือเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยชี้ขาดของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

13 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ...
มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ... (8) การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในทางอาญา ... ” มาตรา 5 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

14 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 5 “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

15 พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต
1. คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำคำสั่งทางปกครอง (ม. 12 และ 13) 2. สิทธิของคู่กรณีในการมีทนายความหรือที่ปรึกษา (ม.23) 3. เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ (ม. 26) 4. การแจ้งสิทธิและการชี้แจง (ม. 27 และ 30)

16 พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต
5. รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง (ม. 37, 40 และ 41) 6. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (ม. 44) 7. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (ม. 49, ) 8. การขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) 9. การบังคับทางปกครอง (ม. 57, 62 และ 63) 10. การแจ้งคำสั่งทางปกครอง (ม. 68, 69, 70, 71 และ 74)

17 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 23 ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น

18 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 26 เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารดังกล่าว การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

19 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 16 บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกี่ยวกับการเสียภาษี หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าจัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร ...”

20 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 27 ให้เจ้าหน้าแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจำเป็นแก่กรณี ...” มาตรา 30 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

21 พ.ร.บ. วิ. ปกครองฯ มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ ...”

22 คำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 81 เมื่อประเมินแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินเป็นหนังสือต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษี มาตรา 88 ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายวินิจฉัยคำคัดค้านตามมาตรา 86 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำคัดค้านและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นคำคัดค้านโดยมิชักช้า … มาตรา 95 คณะกรรมการพิจารณอุทธรณ์มีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ เพิกถอนการประเมินหรือคำสั่งของผู้พิจารณาคำคัดค้าน หรือแก้การประเมินหรือคำสั่งของผู้พิจารณาคำคัดค้านให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แล้วแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ ในกรณีที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ให้ถือว่าได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์

23 คำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 33 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดไม่เกินหกเดือนหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาต (1) ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ (3) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ คำสั่งเช่นว่านั้นให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ถูกสั่งดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานปิดคำสั่งไว้ ณ สถานที่ที่ปรากฏในใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง

24 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2541
ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมินเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

25 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534
- ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และ 30 (2) มิได้บัญญัติให้การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน จึงย่อมอ้างเหตุอื่นที่มิได้อ้างไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินไม่ชอบ อันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นศาลได้

26 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2546
-คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างจำเลยกับโจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ทำเป็นหนังสือก็ย่อมต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ มาตรา 37 คือจะต้องให้เหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ประมวลรัษฎากร มาตรา 34 เพียงแต่กำหนดให้ทำเป็นหนังสือโดยมิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ แทน

27 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2546
- หนังสือแจ้งการประเมินภาษีและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ มาตรา 5 จึงต้องทำให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ มาตรา 37 ประมวลรัษฎากรมาตรา 19 ถึง 21 และมาตรา 34 เป็นบทกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ แทน

28 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 41 คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์ … (2) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง … เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทางปกครองประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิม ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิมและต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบด้วย กรณีตาม (2) (3) และ (4) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองนั้น

29 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 40 คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง

30 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 44 ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว ...”

31 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว

32 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว

33 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว

34 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 18 หนังสือเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษี หรือหนังสืออื่นที่มีถึงบุคคลใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของบุคคลนั้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ถ้าไม่สามารถส่งหนังสือตามวิธีในวรรคหนึ่ง จะกระทำโดยวิธีปิดหนังสือนั้นในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน โรงอุตสาหกรรม ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของผู้รับนั้นหรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้

35 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 64 กำหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปีนั้น มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย เว้นแต่จะได้เริ่มการในวันนั้น หรือมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย แม้ว่าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทำการงานสำหรับเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่บุคุคคลใดต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยกฎหมายหรือโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทำการงานสำหรับเจ้าหน้าที่หรือวันหยุดตามประเพณีของบุคคลผู้รับคำสั่ง ให้ถือว่าระยะเวลานั้นสิ้นสุดในวันทำงานที่ถัดจากวันหยุดนั้น เว้นแต่กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ที่มีคำสั่งจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

36 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 57 คำสั่งทางปกรองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

37 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 140 ทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ค้างชำระภาษีอาจถูกยึดและขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระภาษีที่ค้าง โดยให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึดหรือขายทอดตลาดได้โดยมิต้องขออำนาจศาล การยึดทรัพย์สินจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ส่งคำเตือนเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีที่ค้างภายในกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์สินจะกระทำมิได้ในระหว่างระยะเวลาที่ได้ยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 86 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 89 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 96 และตลอดเวลาที่ทำการพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านหรืออุทธรณ์ยังไม่ถึงที่สุด

38 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 63 ถ้าบทกฎหมายใดกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามาตรการบังคับนั้นมีลักษณะที่จะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับตามหมวดนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามหมวดนี้แทนก็ได้ มาตรา 62 ผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองอาจอุทธรณ์การบังคับทางปกครองนั้นได้ การอุทธรณ์การบังคับทางปกครองให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

39 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ
มาตรา 8 “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ...”

40 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 4 “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

41 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 5 “หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดซึ่งเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ...”

42 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 6 “ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้”

43 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 7 “ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ...”

44 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 9 “ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายนั้น”

45 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ
มาตรา 10 “ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ...”

46 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 11 “ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน และพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้ว หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ ก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ...” มาตรา 14 “เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา 11 ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง


ดาวน์โหลด ppt ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google