ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หอผู้ป่วย อายุรกรรม หญิง 3
2
ไตวายเรื้อรัง
3
ไต
4
ไต มีหน้าที่อะไร ขับถ่ายของเสียที่เกิดจาการเผาผลาญอาหารประเภท โปรตีน ควบคุมสมดุลย์ของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย ผลิต และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่นฮอร์โมนทีกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
5
ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร
- เกิดจาก กรวยไตอักเสบเรื้อรัง - เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน - ทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว - โรคเบาหวาน - จากโรค SLE - จากยาบางชนิด
6
ระยะ ของไตวาย 1.ไตวายระยะแรก
การทำงานของไตลดลงมากกว่า 50% บางรายอาจยังไม่มีอาการ ต้องใช้การตรวจทางห้องปฎิบัติการช่วยในการวินิจฉัย
7
2.ไตวายระยะปานกลาง การทำงานลดลงมากกว่า 75% ผู้ป่วยเริ่มมีอาการจากการคั่งของของเสีย เช่น ปัสสาวะออกน้อย เพลีย ไม่มีแรง บวม คันตามตัว หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูง
8
3.ไตวายระยะสุดท้าย ไตทำงานลดลงอย่างมาก หน้าที่ของไต เหลือน้อยกว่า 10% ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น
9
เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
* ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้น เนื่องจากไตไม่สามารถ ดูดซึมน้ำกลับ * เหนื่อยง่าย * อ่อนเพลีย * ความจำไม่ดี นอกจากนี้ยังมีอาการตามระบบต่างๆดังนี้
10
1.ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
-มีการกระตุกของกล้ามเนื้อ - ปลายมือปลายเท้าชา - เป็นตะคริว และชัก 2.ระบบทางเดินอาหาร -เบื่ออาหาร -คลื่นไส้ อาเจียน
11
3.ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการคั่งของเกลือและน้ำ จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย 4.ผิวหนัง มีอาการคัน ผิวจะมีสีเหลือง-น้ำตาล
12
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การตรวจนับเม็ดเลือด พบว่ามีซีด 2. การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ 3. ตรวจการทำงานของไต เช่น BUN/Cr 4. การตรวจขนาดไตโดยอาจจะใช้ ultrasound หรือ CT
13
การรักษา หลักการรักษาไตวายประกอบด้วย 1. การควบคุมอาหารสำหรับโรคไต 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3. การล้างไตผ่านทางช่องท้อง 4. การเปลี่ยนไต
14
อาหารผู้ป่วยโรคไต
15
1.โปรตีน ที่ควรรับประทานคือ
* ไข่ให้รับประทานไข่ขาวเนื่องจากไข่แดงมีcholesterol มาก * เนื้อสัตว์ให้รับประทานเนื้อปลาเป็นหลัก ไม่ควรรับประทานโปรตีนมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดของเสียคั่งในร่างกายได้
16
2.แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต
ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น ผู้ป่วยควรรับประทานหมู่นี้ให้มาก ยกเว้นไตวายจากโรคเบาหวานต้องปรึกษาแพทย์
17
3.ไขมัน หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์เช่น มันหมู มันไก่ น้ำมันมะพร้าว ให้ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทน
18
4.เกลือแร่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม เช่น หมูเค็ม ไส้กรอก ผักดองและ อาหารตากแห้ง อาหารสำเร็จรูป เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูง บวม น้ำท่วมปอด
19
5. Potassium โพแทสเซียม ถ้าระดับโพแทสเซียม สูงมากอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ *ผักที่ควรงด บร๊อคโคลี่ แครอท * ผลไม้ที่ควรงดได้แก่ มะพร้าว ส้ม กล้วย ฝรั่ง องุ่น
20
6.เหล็ก ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับธาตุเหล็กเสริมในรูปของยารับประทาน 7.น้ำ ผู้ป่วยดื่มน้ำไม่เกินวันละประมาณ 500 มิลลิลิตร ไม่ควรดื่มน้ำแร่
21
การรักษา
22
การล้างไตผ่านทางท้อง
หลักการฟอกไตวิธีนี้คือ การใส่สายเข้าไปในช่องท้อง แล้วใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงปล่อยออก
23
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
เป็นการนำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียม ซึ่งจะกรองเอาของเสียออก เลือดที่ผ่านการกรองก็จะกลับเข้าสู่เครื่องไตเทียม และเข้าสู่ร่างกาย
24
การฟอกเลือดจะต้องมีการนำเลือดจากหลอดเลือดมาฟอกโดยทำได้ 2 วิธี
1. ใช้เข็มแทงเข้าหลอดเลือดที่บริเวณคอ และหลอดเลือดขาหนีบ 2. การต่อหลอดเลือดแดง และดำ วิธีนี้เป็นวิธีการที่ถาวร
25
ข้อปฏิบัติก่อนการฟอกเลือด
ควรงดรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนฟอก 4-6 ชั่วโมง ถ้ามีการเสียเลือดมาก เช่นมีประจำเดือน อุจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ให้แจ้งแพทย์ทราบทุกครั้ง
26
การเปลี่ยนไต Kidney Transplant
คือการนำไตที่ไม่เป็นโรค มาผ่าตัดให้กับคนที่เป็นโรคไตวาย
27
ขอให้มีสุขภาพดีทุกท่าน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.