ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPhaibun Darawan ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ผู้จัดทำ นางนพมาศ สวัสดินันทน์ ตำแหน่ง ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย
นางนพมาศ สวัสดินันทน์ ตำแหน่ง ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา 23สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
2
คำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
3
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกลักษณะของคำไทยแท้ได้ 2. บอกหลักสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตได้ 3. บอกหลักสังเกตคำที่มาจากภาษาเขมรได้ 4. เมื่อกำหนดคำให้สามารถบอกได้ว่ามาจากภาษาใด 5. ตอบคำถามจากเนื้อเรื่องได้
4
สาระการเรียนรู้ 1. หลักสังเกตคำไทยแท้ 2. หลักสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี
1. หลักสังเกตคำไทยแท้ 2. หลักสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี 3. หลักสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต 4. หลักสังเกตคำที่มาจากภาษาเขมร
5
หลักสังเกตคำไทยแท้ คำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่คำไทยแท้ทั้งหมดมีคำที่มาจากภาษาต่างประทศมาปะปนอยู่ด้วยดังนั้นราจึงควรทราบลักษณะของคำไทยแท้ซึ่งมีหลักสังเกตดังต่อไปนี้ 1. คำไทยแท้ส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวและเป็นคำทั้ง 7 ชนิด คำนาม เช่น ไก่ นา ไฟ ปู คำสรรพนาม เช่น เธอ ฉัน แก เขา คำกริยา เช่น กิน นอน ทำ เขียน คำวิเศษณ์ เช่น ดี ต่ำ ดำ สูง
6
หลักสังเกตคำไทยแท้( ต่อ )
คำบุพบท เช่น ใต้ ใน บน ริม คำสันธาน เช่น จึง เพราะ แต่ ก็ คำอุทาน เช่น ว้าย แหม เอ๊ะ อ้าว มีคำไทยแท้ที่มีหลายพยางค์ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้ 1. เกิดจากการกร่อนเสียง เช่น หมากพร้าว กร่อนเสียงเป็น มะพร้าว หมากปราง กร่อนเสียงเป็น มะปราง ต้นขบ กร่อนเสียงเป็น ตะขบ สายเอว กร่อนเสียงเป็น สะเอว ตาวัน กร่อนเสียงเป็น ตะวัน
7
หลักสังเกตคำไทยแท้( ต่อ )
2. เกิดจากการแทรกเสียง เช่น ลูกดุม แทรกเสียงเป็น ลูกกระดุม ผักสัง แทรกเสียงป็น ผักกระสัง 3. เกิดจากการเติมเสียง เช่น โจน เติมเสียงเป็น กระโจน ทำ เติมเสียงเป็น กระทำ 2. คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ 3. คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา 4. ไม่ใช่ ฆ ณ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ เป็นพยัญชนะต้น ยกเว้น ฆ่า ระฆัง เฆี่ยน ศอก ศึก ธ เธอ ณ ฯพณฯ ใหญ่ หญ้า หญิง 5. คำไทยแท้มีการใช้วรรณยุกต์เพื่อแสดงความหมายของคำ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.