ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 3 การจัดทำกฎหมาย
2
ระบบกฎหมาย 1. ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบนี้ถือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นเป็นที่มาของกฎหมายในการพิจารณาพิพากษาคดีต่างๆ รวมทั้งยังมีการนำจารีตประเพณีมาใช้ในบางกรณีด้วยเหมือนกัน เมื่อไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ในเรื่องนั้นๆ ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ก็อย่างเช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส
3
2. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี ระบบกฎหมายนี้มีที่มา จากประเทศอังกฤษ ระบบกฎหมายนี้จึงถือว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นมีอยู่แล้วผู้พิพากษาเป็นผู้มีหน้าที่ค้นให้พบและนำเอามาใช้ กล่าวคือเมื่อมีคำพิพากษาในคดีใดแล้วคำพิพากษานั้นก็เป็นหลักการ หรือบรรทัดฐานในการพิจารณาพิพากษาคดี ประเทศที่ใช้ระบบนี้ ได้แก่ อเมริกา
4
ลำดับขั้นศักดิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฏหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5
1. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่สำคัญ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เป็นแม่บท หรือเป็นหลักสำคัญในการกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ กฎหมายอื่นใดจะมาลบล้างหรือขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญย่อมไม่ได้
6
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นกฎหมายสูงสุด ว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองราชอาณาจักรไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 18 จัดให้มีการออกเสียงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้
7
2. พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติขึ้นเฉพาะเรื่อง พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองลงมาจากรัฐธรรมนูญ กฎหมายในประเทศไทยส่วนใหญ่ออกในรูปแบบพระราชบัญญัติเสมอ เช่น พระราชบัญญัติการพิมพ์ พระราชบัญญัติยาเสพติด เป็นต้น
8
3. ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้รวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันมาบัญญัติไว้รวมกันเป็นเรื่อง เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ เพื่อสะดวกในการศึกษาและใช้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
9
4. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ฝ่ายบริหารมักได้รับมอบอำนาจให้ออกกฎหมายได้ในยามฉุกเฉิน จำเป็นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นกฎหมายชั่วคราวที่จะต้องนำเข้าเสนอฝ่ายนิติบัญญัติภายในเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หากไม่ได้รับอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนั้นก็เป็นอันตกไป หากได้รับอนุมัติก็จะกลายสภาพเป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์
10
5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดย ฝ่ายบริหาร พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจตราขึ้นโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย การออกกฎหมายชนิดนี้ต้องอาศัยอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามพระราชบัญญัติซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์สำคัญไว้เป็นแม่บทเพื่อให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติได้เป็นผลดียิ่งขึ้น เช่น พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
11
6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ออกโดยฝ่ายบริหาร เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติต้องอาศัยหลักการในกฎหมายหลักมาขยายต่อในรายละเอียดเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร โดยปกติกฎกระทรวงมักออกโดยรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่เป็นแม่บทให้อำนาจไว้
12
7. กฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น
กฎหมายลายลักษณ์อักษรเหล่านี้จะออกได้ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทกำหนดให้อำนาจได้ เช่น พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
13
จงตอบคำถามต่อไปนี้ กฎหมายใดมีศักด์สูงสุดในบรรดากฎหมายทั้งหมด กฎหมายใดมีศักด์เท่ากับพระราชบัญญัติ กฎหมายใดเป็นกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีสามารถออกได้ในกรณีฉุกเฉิน กฎหมายใดจัดเป็นกฎหมายลำดับรอง เนื่องจากต้องอาศัยกฎหมายแม่บทในการจัดทำกฎหมาย กฎหมายใดที่จัดทำโดยรวบรวมกฎหมายทำนองเดียวกันไว้ในฉบับเดียวกัน พระมากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการตรากฎหมายใดขึ้นได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย เทศบัญญัติ ข้อบังคับตำบล จัดเป็นกฎหมายประเภทใด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จะประกาศให้ประชาชนทราบโดยวิธีใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มีอำนาจในการออกกฎหมายใด กฎหมายในประเทศไทยส่วนใหญ่ออกกฎหมายในรูปแบบกฎหมายระบบใด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.