ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ
โรคที่เกิดจาก ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease) Free Powerpoint Templates
2
โรคเบาหวาน (Diabetes)
สาเหตุ เบาหวาน เกิดจากการผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่จับน้ำตาลเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของไม่เพียงพอ อันส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งปกติน้ำตาลถูกใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ซึ่งเบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิด
3
ภาพ Islet of Langerhans
4
ประเภทของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน ชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม
5
อาการเบาหวาน 1.ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากไตกรองน้ำตาลออกมามาก ปัสสาวะจึงหวาน 2.กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง 4.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง 5.เบื่ออาหาร 6.สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน 7.ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ สังเกตได้จากแผลหายยาก 8.น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อันเนื่องมาจากร่างกาย ต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทนน้ำตาล 9.อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง 10.อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
7
การป้องกันการเป็นเบาหวาน
1.ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ :แก้ไขปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน 2.ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค 3.ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด สม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม 4. ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา
8
การรักษา 1.)เลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่ โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้จากอาหารโดยประมาณจากคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) ประมาณ 55-60%โปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20%ไขมัน ประมาณ 25% 2.)ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรจะต้องลดปริมาณการรับประทานลง โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคย3.รับประทานปรกติ และพยายามงด อาหารมันๆ ทอดๆ รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย
9
การรักษา 4.หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
5.พยายามรับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอกันในทุกมื้อ 6.หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม 7.แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปรกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป
10
โรคแอดดิสัน (addison’s disease)
สาเหตุ เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อยกว่าปกติเกิดจากต่อมหมวกไตชั้นนอกถูกทำลาย อาการ เบื่ออาหารน้ำหนักลด (ผอมลง) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซีด อาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกบ่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังจะมีสีดำที่บริเวณที่มีรอยถูไถ ผู้ป่วยมักมีความดันโลหิตต่ำ ทำให้มีอาการหน้ามืด
11
ภาพต่อมหมวกไต
12
อาการของโรคแอดดิสัน
13
การรักษา ให้กินสเตอรอยด์ เช่น ไฮโดรคอร์ดิโซน (Hydrocortisone) วันละ มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งควรกินเป็นประจำทุกวันไปจนตลอดชีวิต ข้อแนะนำ 1. ผู้ป่วยควรกินอาหารให้เค็มจัด เพราะต้องการเกลือโซเดียมมากขึ้น 2. โรคนี้มีทางรักษาเช่นคนปกติ แต่ต้องกินยาทุกวัน 3. ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือมีอาการไม่สบายอื่นๆ ควรรีบหา หมอ เพื่อป้องกัน ภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงาน
14
โรคคุชชิง (Cushing’s syndrome)
สาเหตุ เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์จากต่อมหมวกไตในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์ นาน ๆ อาการ มักจะค่อย ๆเกิดขึ้นช้า ๆ ในระยะแรกหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระจันทร์และออกสีแดง มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง เรียว่า อาการหนอกควาย รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว แต่แขนขาลีบเล็กลง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า ผิวหนังจะออกเป็นลายสีคล้ำ ๆ ที่บริเวณ มักมีสิวขึ้น และมีขนอ่อนขึ้นที่หน้า กระดูกอาจพุกร่อน อาจมีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวน
15
อาการของโรคคุชชิง
16
การรักษา วินิจฉัยโดยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นหัวใจหรือทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ ในรายที่มีสาเหตุจากการกินสเตอรอยด์ ควรค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง ห้ามหยุดยาลงทันที อาจทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงานเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้ ถ้ามีสาเหตุจากการเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แล้วให้กินยาสเตอรอยด์ทดแทนไปชั่วชีวิต
17
ข้อแนะนำ 1. โรคนี้มักเกิดจากการใช้สเตอรอยด์มากเกินไปเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยานี้พร่ำเพรื่อ ยกเว้นโรคบางโรคอาจต้องใช้ยานี้รักษา ซึ่งก็ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์ 2. โรคนี้ถ้าไม่รักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อน อันตรายถึงตาย
18
โรคHyperparathyroidism
สาเหตุ Hyperparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากฮอร์โมนพาราธอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์มากเกินไป อาการ - Ca2+ และ PO43- ในเลือดสูง - Ca2+ สะสมมากที่หัวใจ ปอด ทำให้แข็ง - เลือดแข็งตัวเนื่องจากเกิดบาดแผล - กระดูกบาง ฟันหัก และผุง่าย การรักษา การรักษาฉีด Calcitonin เพื่อต้านการทำงานของ Parathormone
19
ภาพต่อมพาราไทรอยด์
20
ภาพอาการของโรคHyperparathyroidism
21
ภาพกลไกลพาราธอร์โมนที่ไปมีผลต่อกระดูก
22
คอพอก (goiter) เป็นกลุ่มโรคที่มี ต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ คอพอกมี2แบบ
1.คอพอกแบบเป็นพิษ 2.คอพอกแบบไม่เป็นพิษ ภาพต่อมไทรอยด์
23
คอพอกแบบเป็นพิษ (Thyrotoxicosis)
สาเหตุ เกิดจากฮอร์โมนไทรอกซีนมากเกินความต้องการของร่างกายแต่ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้อาจเกิดจากต่อมไทรอยด์ผิดปกติเอง อาการ ต่อมไทรอยด์อาจจะโตหรือไม่ก็ได้ ใจสั่น ทำให้เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยจึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกลี้ลุกลน พูดเร็ว มักเป็นคนขี้ร้อน ชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลดลง ตาโปน การรักษา รับประทานยา ,การผ่าตัด ,ทานไอโอดีน-131
24
ภาพอาการคอพอกแบบเป็นพิษ
25
อาการ คอพอกแบบไม่เป็นพิษ(Non-thyrotoxicotic Goiter) สาเหตุ การรักษา
ขาดไอโอดีน ร่างกายมีความต้องการฮอร์โมนมากขึ้น เนื้องอกของต่อม อาการ เชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบและร่วงง่าย ท้องผูก น้ำหนักเพิ่ม คอพอกออกมา การรักษา ผ่าตัดกับใช้ยาร่วมด้วย
26
ภาพอาการคอพอกแบบไม่เป็นพิษ
27
บรรณานุกรม www.netterimages.com www.thaidiabetes.blogspot.com
28
สมาชิกกลุ่ม 1.นายจิรพนธ์ เจียรจรูญศรี เลขที่ 1ก ม.5/1
1.นายจิรพนธ์ เจียรจรูญศรี เลขที่ 1ก ม.5/1 2.นายณัฐพันธ์ สิริจันทรดิลก เลขที่ 6ก ม.5/1 3.นายพงศธร กรรมสิทธิ์ เลขที่ 4ข ม.5/1
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.