ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ๒๔ กันยายน ๒๕๖๐ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น
2
วรัท พฤกษากุลนันท์ ผู้อำนวยการสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สถานที่ทำงาน : อาคารเสมารักษ์ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 อีเมล์: Line ID : warath
3
การปฏิบัติงานราชการที่สำคัญ
การรับราชการ การปฏิบัติงานราชการที่สำคัญ 2555 ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษากรุงเทพมหานคร (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2555 ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 2558 ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) 2560 ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (อำนวยการ ระดับสูง) 2560 ผู้อำนวยการสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และ กิจการนักเรียน เลขานุการศูนย์ประสานงานการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (ศูนย์ ศธ.ภาค) คณะทำงานเพื่อจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดของศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการภาค และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรองรับการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด คณะทำงานและเลขานุการร่วมคณะทำงานจัดโครงสร้างการแบ่งงานภายในและกำหนดกรอบอัตรากำลังของสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เลขานุการคณะทำงานทบทวนบทบาท ภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการจริยธรรม ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการภายในองค์กร องค์การค้าของ สกสค. เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล รองประธานคณะทำงานจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ ตามนโยบายและการสั่งการของ หน.คสช. ฝสจว. รัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะทำงานพิจารณาทบทวนการกำหนดชื่อตำแหน่งในการบริหารภายในของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอการวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขานุการคณะทำงานฝ่ายเลขานุการประชุมเวทีสาธารณะ (Public Forum) ส่วนภูมิภาค :ปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย คณะทำงานฝ่ายเลขานุการจัดทำ Roadmap ปฏิรูปการศึกษา ประธานคณะทำงานติดตามและรายงานการดำเนินงานตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ คณะกรรมการประจำศูนย์ประสานงานร่วมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการประสานงานร่วมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองทางวิชาการสำหรับโครงการที่เสนอขอรับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา คณะกรรมการประเมินผลงานของบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการทบทวนบทบาทภารกิจและโครงสร้างของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คณะอนุกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสังคม ในคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฏร
4
การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
5
โครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
เป็นการใช้หลักการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่นและมีฐานะเป็นกรมที่สังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง สำนักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการดังกล่าวมีฐานะเป็นนิติบุคคล พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้การจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยออกเป็น 3 ส่วน การจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นการใช้หลักการแบ่งอำนาจ โดยราชการส่วนกลางเป็นเจ้าของอำนาจแล้วแบ่งอำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการให้แก่ภูมิภาคนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และการปฏิบัติของภูมิภาคนั้นจะต้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของส่วนกลางหรือของคณะรัฐมนตรีหรือตัวบทกฎหมายของประเทศ ราชการบริหารส่วนภูมิภาค มี 2 ระดับ คือ จังหวัด และอำเภอ เป็นการใช้หลักการกระจายอำนาจที่ส่วนกลางได้มอบอำนาจระดับหนึ่งให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการบริหารจัดการอย่างอิสระ โดยที่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน กิจกรรมที่ทำได้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการพัฒนา มีอิสระในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือการสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น ออกข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาบังคับในเขตการปกครองของตนได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งนี้ รูปแบบของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร ที่มา : - สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘ (หนังสือด่วนที่สุด ที่ สผ (สปช) ๐๐๑๔/๕๐๑๗ ลงวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘) เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษารายงานเรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น - คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๑) รับทราบข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปฯ ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะไปร่วมกับส่วนราชการและคณะกรรมการต่างๆ และ ๒) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
6
จำนวนโครงสร้างส่วนราชการ ในปัจจุบัน
สถานการณ์ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด (เดิม 14 กระทรวง 1 ทบวง 125 กรม) เป็น 20 กระทรวง 154 กรม การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม มีกรอบแนวคิดในการ ปรับโครงสร้างหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ (1) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนผู้รับบริการ และ ยกระดับขีดความสามารถ โดยรวมของหน่วยงานราชการ ให้ก้าวหน้าทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิ วัตน์และเงื่อนไขการแข่งขันใน เวทีโลก (2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารและประหยัดค่าใช้จ่าย ของภาครัฐ โดยลดความ ซ้ำซ้อนในการทำงานของ หน่วยงานภาครัฐ การลด ขั้นตอนในการทำงาน และการ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน (3) สร้างความรับผิดชอบและ ความโปร่งใสในราชการด้วยการ กำหนดบทบาทภารกิจและความ รับผิดชอบของหน่วยงานที่ ชัดเจน จำนวนโครงสร้างส่วนราชการ ในปัจจุบัน กระทรวง 20 กระทรวง กรมหรือส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกรม กรม (เพิ่มขึ้น 7 หน่วยงาน) กอง/สำนักหรือเทียบเท่ากอง 1,431 หน่วยงาน (เพิ่มขึ้น 220 หน่วยงาน) โดยมีบาง หน่วยงานเป็นส่วนราชการที่ไป ตั้งอยู่ในภูมิภาค (ในศูนย์/ เขต/ภาค) 2,616 หน่วยงาน หน่วยงานที่เป็นราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค 7,757 หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ 58 หน่วยงาน องค์การมหาชน 53 หน่วยงาน ที่มา : - สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘ (หนังสือด่วนที่สุด ที่ สผ (สปช) ๐๐๑๔/๕๐๑๗ ลงวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘) เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษารายงานเรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น - คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๑) รับทราบข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปฯ ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะไปร่วมกับส่วนราชการและคณะกรรมการต่างๆ และ ๒) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
7
ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบบริหารงานบุคคล ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
๑) ระบบราชการยังมีขนาดและบทบาทที่ไม่เหมาะสมกับภารกิจของรัฐ ทำหน้าที่หลากหลายทั้งเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ ควบคุมกำกับ (Regulator) และทำหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator) ทำให้ขนาดของหน่วยงานภาครัฐขยายตัวออกไปอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด งบประมาณเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่สัดส่วนงบลงทุนมีจำกัด ๒) โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม มีความเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อน ไม่ทำงานตามภารกิจหลักของตนเอง รวมกำลังคนอยู่ในสังกัดของราชการบริหารส่วนกลาง จัดโครงสร้างองค์กรในแนวดิ่ง (Vertical) มีระเบียบขั้นตอนควบคุมกลั่นกรองงานมากมาย ขาดความยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถให้บริการสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ ๓) ระบบราชการมีโครงสร้างรวมศูนย์อำนาจในราชการบริหารส่วนกลางมากกว่าการกระจายลงสู่พื้นที่ปฏิบัติการ การกระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นยังทำได้จำกัด และยังขาดระบบความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในทุกระดับ ๔) โครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถบริหารงานในลักษณะที่เป็นแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกที่เป็นภารกิจร่วมกันได้ เนื่องจากขาดระบบการทำงานที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแบบบูรณาการซึ่งยึดพื้นที่ ภารกิจตามอำนาจหน้าที่ และการมีส่วนร่วมโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Area, Function, and Participation) ที่มา : - สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘ (หนังสือด่วนที่สุด ที่ สผ (สปช) ๐๐๑๔/๕๐๑๗ ลงวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘) เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษารายงานเรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น - คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๑) รับทราบข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปฯ ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะไปร่วมกับส่วนราชการและคณะกรรมการต่างๆ และ ๒) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
8
ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบบริหารงานบุคคล ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
๕) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ยังทำงานแยกตามสาขาหน้าที่ของส่วนราชการต้นสังกัด ทั้งที่ควรมีบทบาททำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนราชการบริหารส่วนกลางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีหน่วยราชการที่เป็นส่วนภูมิภาคในจังหวัดภายใต้สังกัดกระทรวงเดียวกันหลายหน่วยงาน และไม่มีหน่วยงานที่เป็นตัวแทนกระทรวงอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งส่วนราชการที่เป็นราชการบริหารส่วนกลางไปตั้งอยู่ในพื้นที่ภูมิภาคเป็นจำนวนมากและมีรูปแบบที่หลากหลาย ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๖) ในระดับการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ยังมีประเด็นปัญหาการทับซ้อนในการทำงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การถ่ายโอนงานให้ท้องถิ่นยังไม่เป็นไปตามแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจ นอกจากนี้ แม้จะมีการถ่ายโอนงานแต่ก็มักจะไม่มีการเกลี่ยหรือถ่ายโอนอัตรากำลังและงบประมาณจากราชการบริหารส่วนกลางให้ท้องถิ่น ทำให้ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นขาดแคลนกำลังคนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ๗) การเลื่อน ย้าย และแต่งตั้ง รวมทั้งการพิจารณาบำเหน็จความชอบของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เป็นไปตามหลักความรู้ ความสามารถ และระบบคุณธรรม มีการอุปถัมภ์เล่นพรรคเล่นพวก และมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการบริหารงานบุคคลระหว่างข้าราชการประเภทต่างๆ ที่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการแต่ละประเภทแตกต่างกัน ที่มา : - สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘ (หนังสือด่วนที่สุด ที่ สผ (สปช) ๐๐๑๔/๕๐๑๗ ลงวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘) เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษารายงานเรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น - คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๑) รับทราบข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปฯ ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะไปร่วมกับส่วนราชการและคณะกรรมการต่างๆ และ ๒) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
9
กรอบแนวคิดที่ต้องคำนึงในการจัดโครงสร้างองค์การ ระบบงาน และอัตรากำลัง
ปัญหาโครงสร้างองค์กรภาครัฐ ระบบงานและอัตรากำลัง มีขนาดใหญ่เกินไป (Too Large) ไม่คำนึงถึงต้นทุน (Too Little emphasis on cost) มีกฎระเบียบมากเกินไป (Too many rules) ไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการและประชาชน (Too Little regard for customer and result) การบริหารจัดการไม่เพียงพอ (Not enough management) ทิศทางการจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงานฯ ใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic management มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพ (Small but beautiful) จัดโครงสร้างการบริหารแนวราบและกะทัดรัด (Lean & Flat Organization) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) มุ่งเน้นผู้รับบริการและประชาชน (Customer focus) กระจายอำนาจ (Decentralization) มีส่วนร่วม (Participation) สร้างความร่วมมือ (Collaboration) ป้องกันการทุจริต (Anti-corruption) มีคุณธรรมและซื่อสัตย์ (Integrity) มีศักดิ์ศรี (Dignity) มีความพร้อมรับผิด (Accountability) มีความคุ้มค่า (Value for money) สถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์ที่มุ่งหวัง กระแสโลก สนองตอบต่อการเปลี่นแปลงและไวต่อการปรับตัว ให้ทันการเปลี่ยนแปลง (Responsive and adaptive) มอบและกระจายอำนาจ (Decentralizing and empowering) บริหารราชการแบบส่วนร่วม (Participatory Governance) ขับเคลื่อนโดยผู้รับบริการและประชาชน (Customer driven) คำนึงถึงทั้งโลกและประชาชน (Globalized and localized) เผชิญกับความไม่แน่นอน ภัยก่อการร้ายและภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Coping with uncertainty and unexpected terrorist and natural calamities) พื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน (Area-Function-Participation) จัดการควบคู่ระหว่างโลกทางกายภาพและโลกอินเทอร์เน็ต (Duality of managing physical world and cyber world) คุณภาพการบริการสาธารณะที่ดี เหมาะสมตรงความต้องการของผุ้รับบริการ (Suitable) ทันเวลา (Timeliness) เข้าถึงบริการสาธารณะ (Accessibility) มีความถูกต้อง (Accuracy) มีความเรียบง่าย (Simplicity) มีความต่อเนื่อง (Continuity) ใส่ใจและให้เกียรติ (Courtesy) ปลอดภัย (Safety) หลากหลายช่องทาง (Multi channel) เสมอภาคและเป็นธรรม (Equity and Fairness) คาดการณ์ได้ล่วงหน้า (Predictability)
10
กรอบแนวคิดที่ต้องคำนึงในการจัดโครงสร้างองค์การ ระบบงาน และอัตรากำลัง
การบริหารงานแบบบูรณาการ บทบาท ขนาดและกำลังคนภาครัฐ ระบบบริหารกำลังคน รูปแบบองค์กรและความสัมพันธ์กับภาคส่วนอื่น เชิงพื้นที่ จังหวัด กลุ่มจังหวัด เชิงประเด็น/กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบองค์กร (ส่วนราชการ ,องค์การ มหาชน , องค์กรอิสระ ฯลฯ) รูปแบบการทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชน-ภาค ประชาชนและประชาสังคม (Contestability) การบริหารเชิงนโยบายตาม ยุทธศาสตรชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น รวมทั้ง หน่วยงานรูปแบบอื่น การถ่ายโอนอำนาจ ภารกิจ ตามความพร้อม การปรับบทบาทภาครัฐส่วนกลาง จากผู้ปฏิบัติ (Operator) มาสู่ การกำหนดและควบคุมกำกับให้ เป็นไปตามนโยบาย (Regulator) ระบบราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับนักการเมือง การตรวจสอบ ป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ การพัฒนาบุคลากรภาครัฐอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง ระบบราชการที่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า ถูกต้องและเป็นธรรม กำหนดขนาดที่เหมาะสมของหน่วยงานแต่ละประเภท กำหนดแนวทางการเกลี่ยกำลังคนภาครัฐเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ (Redeployment Program) ที่มา : - สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘ (หนังสือด่วนที่สุด ที่ สผ (สปช) ๐๐๑๔/๕๐๑๗ ลงวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘) เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษารายงานเรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น - คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๑) รับทราบข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปฯ ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะไปร่วมกับส่วนราชการและคณะกรรมการต่างๆ และ ๒) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
11
ประเด็นข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
และส่วนท้องถิ่น และการปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ ๑. กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ ชัดเจน และการจัดความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ๒. การทบทวนและจำแนกบทบาทภารกิจภาครัฐ ๓. ออกแบบโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมกับภารกิจต่างๆ ของภาครัฐในลักษณะที่มีความ คล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและยุบเลิก ทั้งระบบงบประมาณ และการบริหารกำลังคน การจัด ส่วนราชการประจำจังหวัดที่เป็นตัวแทนของกระทรวงที่แท้จริงในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ๔. พัฒนากลไกหรือเครื่องมือในการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างราชการ บริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ๕. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ๖. เสริมสร้างความเข้มแข็งและเร่งรัดการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗. การจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายร่วมกัน ๘. ส่งเสริมให้มีรัฐบาลระบบเปิด (Open Government) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้ภาคส่วน ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อเป็นเครือข่ายหรือพันธมิตรในการ ทำงานร่วมกัน ๙. รัฐต้องปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ ให้มีมาตรฐานสามารถขจัดความเหลื่อมล้ำ มี เอกภาพในด้านค่าตอบแทนและมีความเป็นกลางทางการเมือง และสนับสนุนให้บุคลากร ภาครัฐได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
12
การจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
ก่อนการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
13
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สาเหตุหลักที่ต้องมีการปฏิรูป การศึกษา คือ 1) กระแสการปฏิรูปของนานาชาติ 2) ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี มี ผลกระทบต่อการศึกษา 3) ปัญหาคุณภาพการจัดการศึกษา ทั้งด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศักยภาพ การแข่งขันกับประชาคมโลก การจัดการ ศึกษาไม่ทั่วถึงและไม่เป็นธรรม คุณภาพ การศึกษาตกต่ำไม่ทันโลก จึงนำไปสู่การ ปฏิรูปการศึกษาในกระบวนการปฏิรูป การศึกษา 4) การศึกษาไทยมีปัญหาคุณภาพ ตั้งแต่ ระดับอนุบาลถึงปริญญาเอก 5) ปัญหาการบริหารการศึกษาใน กระทรวงศึกษาธิการที่มีการรวมศูนย์ อำนาจ ขาดเอกภาพในการบริหาร ขาด ระบบประกันคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษา ขาดการมีส่วนร่วมของ ประชาชน นโยบายขาดความต่อเนื่อง และขาดความเชื่อมโยงกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ที่มา -ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา (2542) รายงานของ คณะกรรมการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาใน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2542 "การศึกษา" หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ (2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กร เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
14
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บริหารราชการส่วนกลาง
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการศาสนา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรม พลศึกษา กรมวิชาการ กรมศิลปากร กรมสามัญศึกษา กรมอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บริหารราชการส่วนกลาง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ -ประสานและจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม -กำกับเร่งรัด ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและเป็นหน่วยข้อมูลทางการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมในจังหวัด -ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานด้านการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมและควบคุมมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงภายในจังหวัด -งานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมของจังหวัด -ปฏิบัติราชการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือศึกษาธิการจังหวัด หรือตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนราชการหรือหน่วยงานระดับจังหวัด สังกัดกรมต้นสังกัด ที่จัดตั้งตามกฏหมายอื่นๆ สถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หน่วยงานระดับอำเภอ สถานศึกษา /วิทยาลัย บริหารราชการส่วนภูมิภาค
15
ส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการเดิม และส่วนราชการอื่นที่ย้ายมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งเป็นส่วนราชการใหม่ (องค์กรหลัก) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ส่วนราชการที่อยู่ในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ (เดิม) ส่วนราชการอื่นที่ย้ายมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมเป็นองค์กรหลักในปัจจุบัน สำนักงานปลัดกระทรวง (๒) กรมการศึกษานอกโรงเรียน (๓) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (๔) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (๑) สำนักงานปลัดกระทรวง -สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา -สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย -สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ (สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี) (๒) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๕) กรมวิชาการ (๖) กรมสามัญศึกษา (๗) สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ -ส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและอำเภอ (๓) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๘) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (๙) สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ทบวงมหาวิทยาลัย (๔) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๑๐) กรมอาชีวศึกษา (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
16
การจัดระเบียบบริหารราชการ และการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
ในปัจจุบัน
17
การจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๐ กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามที่มีกฏหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา ๔๑ การจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น การจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ๑) สำนักงานปลัดกระทรวง ๒) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กำหนดให้ส่วนราชการ (๒)-(๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ยกเว้นสำนักงานรัฐมนตรีไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล) กำหนดให้ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีเลขาธิการซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา (๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (๒) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น การจัดระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล ระเบียบปฏิบัติราชการหรือระเบียบปฏิบัติงานของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นสถานศึกษาในสังกัดและที่เป็นสถานศึกษาในกำกับให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการดังกล่าว
18
ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ (๕ กรม) ของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์ การแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จัดทำงบประมาณและบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง เพื่อการบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง (๑) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง (๒) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง (๓) แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ (๔) จัดทำงบประมาณและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการและการตรวจสอบภายในราชการทั่วไปของกระทรวง (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน (๗) ส่งเสริมสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย คณะกรรมการการศึกษาเอกชน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (๘) ส่งเสริมประสานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬา เพื่อการศึกษา ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง (๙) ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวง รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับงานความช่วยเหลือและความร่วมมือกับต่างประเทศในส่วนที่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง (๑๐) พัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของกระทรวง (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง ภารกิจเกี่ยวกับการจัดและการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๑) จัดทำข้อเสนอนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพยากร การจัดสรรทรัพยากรและบริหารงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๓) พัฒนาระบบการบริหาร และส่งเสริม ประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งส่งเสริมการนิเทศการบริหารการจัดการศึกษา (๔) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษา (๕) พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้วยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ และประสานส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นของเขตพื้นที่การศึกษา (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๑) จัดทำข้อเสนอแนวนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับ (๒) ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดงบประมาณและสนับสนุนทรัพยากร (๔) พัฒนาครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา (๕) ส่งเสริมประสานงานการจัดอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นและสถานประกอบการ (๖) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน (๗) จัดระบบ ส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ (๘) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและดำเนินการตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษามอบหมาย ภารกิจเกี่ยวกับการเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬากับการศึกษาทุกระดับ การเสนอนโยบายและแผนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการประเมินผลการจัดการศึกษา (๑) จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติที่ บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรด้านการศึกษาของชาติ (๒) ประสานการจัดทำข้อเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติ (๓) วิจัยและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษา การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้และภูมิปัญญาของชาติ ตลอดจนการรวบรวมและพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนานโยบายและแผนการศึกษาของชาติ (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นหรือคำ แนะนำในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา ภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยคำนึงถึงคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพ (๑) จัดทำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษาและแผนพัฒนาการอุดมศึกษา รวมทั้งงานด้านความสัมพันธ์ระดับอุดมศึกษากับต่างประเทศ (๒) จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร และการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน (๓) ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้วยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษในระบบอุดมศึกษา และประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และสนับสนุนการพัฒนาประเทศ (๔) เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอุดมศึกษาตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษามอบหมาย รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลและจัดทำสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญา องค์การมหาชน: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.), โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) หน่วยงานในกำกับ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา,สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) สภาการศึกษา กพฐ. กกอ. กอศ.
19
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สถาบันการอาชีวศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานรัฐมนตรี องค์การมหาชน : สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.), โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) หน่วยงานในกำกับ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา กพม. อ.ก.ค.ศ. ก.ต.ป.น. กพป. คกก.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (๑๘๓ เขต) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (๔๒ เขต) คกก. สถานศึกษาอาชีวศึกษา สถานศึกษา สภาการศึกษา กพฐ. กกอ. กอศ. ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรม การการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา สถานศึกษา ของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลในสังกัด สถานศึกษาระดับอุดม ศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลในกำกับ สถานศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาระดับปริญญาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล สนง.กศน. สช. สนง.ก.ค.ศ. หน่วยงานการศึกษา - สำนักงาน ก.ค.ศ. จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ - สำนักงาน กศน. และสำนักงาน กศน. จังหวัด จัดตั้งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ - สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ - สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และอำเภอ (เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้) จัดตั้งตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ คกก. โครงสร้างการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
20
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์ การแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ จัดทำงบประมาณและบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง เพื่อการบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง (๒) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง (๓) แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ (๔) จัดทำงบประมาณและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการและการตรวจสอบภายในราชการทั่วไปของกระทรวง (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน (๗) ส่งเสริมสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย คณะกรรมการการศึกษาเอกชน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถาบันพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (๘) ส่งเสริมประสานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬา เพื่อการศึกษา ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง (๙) ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวง รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับงานความช่วยเหลือและความร่วมมือกับต่างประเทศในส่วนที่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง (๑๐) พัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของกระทรวง (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง (๑๒) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
21
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงาน ปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓/๑ และข้อ ๓/๒ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ “ข้อ ๓/๑ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน เพื่อทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงโดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง (๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๓/๒ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ปลัดกระทรวงเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง (๒) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง (๓) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงและกระทรวง (๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย” กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓/๓ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ “ข้อ ๓/๓ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เพื่อทำหน้าที่หลักในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในกระทรวง รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะแก่ปลัดกระทรวงเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อปลัดกระทรวง (๒) ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ (๓) รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๔) คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (๕) ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (๓) และ (๔) และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๖) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำ รายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัดและการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อปลัดกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย”
22
- สำนักงาน ก.ค.ศ. จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
- สำนักงาน กศน. และสำนักงาน กศน. จังหวัด จัดตั้งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ - สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ 3 11 7 1 95 117
23
การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ
24
เอกสารประกอบการวิเคราะห์
• ข้อเสนอและ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (พ.ศ. ๒๕๕๘–๒๕๖๙) ของกระทรวงศึกษาธิการ • ข้อเสนอการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการและโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุมคณะทำงานทบทวนบทบาท ภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมราชวัลภล ชั้น ๒ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ • คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขแก่คนในชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (๒๕๕๗) กรอบความเห็นร่วมปฏิรูปประเทศไทยด้านการศึกษา .๘๐ หน้า • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๒๕๔๘) .รายงานการสัมมนา เรื่อง ๖ ปี กับการปฏิรูปการศึกษา .กรุงเทพฯ : .บริษัท พริกหวานกราฟิค จำกัด • รายงานการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการและโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมบรรจง ชูสกุลชาติ ชั้น ๖ อาคารสำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ • สภาปฏิรูปแห่งชาติ (๒๕๕๘) .ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น (สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ๒๕๕๘ (หนังสือด่วนที่สุด ที่ สผ (สปช) ๐๐๑๔/๕๐๑๗ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘) เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษารายงานเรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น) • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๒๕๕๒) .สรุปผลการดำเนินงาน ๙ ปี ของการปฎิรูปการศึกษา (พ.ศ.๒๕๔๒- ๒๕๕๑) .ห้างหุ่นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น :กรุงเทพฯ . ๗๒ หน้า • สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๕๗) .การประชุมเวทีสาธารณะ (Public Forum) ส่วนภูมิภาค : ปฎิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย • สำนักวิชาการและสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (๒๕๕๗). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านการศึกษา : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร. ๑๐๒ หน้า • สำนักกรรมาธิการ ๓ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (๒๕๕๘) .รายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูปที่ ๑๖ เรื่อง การปฏิรูประบบการจัดการศึกษา วาระปฏิรูปที่ ๑๗ เรื่อง การปฏิรูประบบการคลังด้านการศึกษา (ด้านอุปสงค์) วาระปฏิรูปที่ ๑๘ เรื่อง การปฏิรูประบบการเรียนรู้ และร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ พ.ศ ๑๓๓ หน้า • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ . แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
25
ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
๑) การบริหารงานแบบแยกส่วน ขาดการบูรณาการ และไม่สอดคล้องกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การจัดระเบียบบริหารราชการและการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางที่หัวหน้าส่วนราชการ ทั้ง ๕ องค์กรหลัก (กรม) ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยต้องการให้มีความเป็นเอกภาพในนโยบาย แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ องค์กรหลักแต่ละส่วนราชการมีการบริหารงานแบบแยกส่วน (Fragmentation) ไม่ยืดหยุ่น มีการกระจุกรวมอำนาจการตัดสินใจการบริหารและงบประมาณไว้แต่ในส่วนกลางที่ยังไม่เหมาะสมกับการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทและสภาพพื้นที่ที่มีศักยภาพและภูมิสังคมแตกต่างกัน ขาดการประสานเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจสู่การปฏิบัติ และประสบปัญหาในการประสานราชการที่ต้องเชื่อมโยงกับกระทรวงและส่วนราชการอื่นทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น) ที่ยังมีปัญหาค่อนข้างมาก รวมทั้งการรับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวงและดำเนินงานต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นงานที่ต้องปฏิบัติตามสายงานการบังคับบัญชาในกระทรวงยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก ตลอดจนมีการกระจุกรวมอำนาจการตัดสินใจการบริหารและงบประมาณไว้แต่ในส่วนกลาง การจัดสรรงบประมาณและการส่งเสริมที่ยังไม่เหมาะสมกับการศึกษาในแต่ละระดับและประเภท ๒) โครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถบริหารงานเชิงพื้นที่ในลักษณะที่เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่เป็นภารกิจร่วมกันได้ โครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถบริหารงานในลักษณะที่เป็นแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกที่เป็นภารกิจร่วมกันได้ เนื่องจากขาดระบบความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแบบบูรณาการ ซึ่งเกิดจากการบริหารราชการในระดับพื้นที่ ยังทำงานแยกตามสาขาหน้าที่ของส่วนราชการต้นสังกัด ไม่มีหน่วยงานที่เป็นตัวแทนกระทรวงอย่างแท้จริงในการทำหน้าที่ประสานแนวระนาบ การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ต้องลงสู่พื้นที่จึงไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีเป้าหมายร่วมกันของกระทรวง ขาดระบบความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน กลไกในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้เกิดผลอย่างจริงจัง รวมทั้งขาดระบบและกลไกที่สร้างภาวะความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อผลการจัดการศึกษาของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทุกระดับ ๓) เขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้เป็นเขตพื้นที่การศึกษาของกระทรวงอย่างแท้จริง ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา ได้ถูกออกแบบให้เขตพื้นที่การศึกษามีสถานะเป็น “เขตบริการ” อันเป็นการแบ่งโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นๆ ดังนั้นเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฏหมายระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมิใช่เขตพื้นที่เดียวกันกับเขตจังหวัดซึ่งเป็น “เขตบริหาร” ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งบทบาทและภารกิจของเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการบริหารและจัดการศึกษาเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้ปฏิบัติภารกิจที่ครอบคลุมทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งไม่เป็นเขตพื้นที่ของกระทรวงศึกษาธิการอย่างแท้จริง และเกิดปัญหาเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาด้วยกันเองและหน่วยงานทางการศึกษาอื่นในจังหวัด นอกจากนี้ยังพบว่ามีหน่วยราชการในจังหวัดภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการหลายหน่วยงาน และไม่มีหน่วยงานที่เป็นตัวแทนกระทรวงอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งส่วนราชการที่เป็นผู้แทนส่วนกลางไปตั้งอยู่ในพื้นที่ภูมิภาคเพิ่มขึ้นและมีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของแตะส่วนราชการ อันเกิดข้อจำกัดจากระเบียบบริหารราชการและโครงสร้างในปัจจุบัน ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔) การบริหารงานบุคคลในระดับพื้นที่มีการแทรกแซงทางการเมือง มีปัญหาเรื่องความเป็นธรรมและความโปร่งใส การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ที่มีอำนาจในการบริหารงานบุคคลอย่างอิสระจากกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และมีอำนาจมากกว่าคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา พบปัญหาเชิงประจักษ์ในเรื่องความเป็นธรรมและความโปร่งใส เพราะสามารถให้คุณให้โทษในเรื่องการบริหารงานบุคคลได้ และยังมีการแทรกแซงทางการเมืองและกลุ่มอิทธิพลในระดับเขตพื้นที่และสถานศึกษา โดยเฉพาะการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ การบรรจุแต่งตั้งและการโยกย้ายผู้บริหาร ครู และบุคลากร ๕) การเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นเครือข่ายพันธมิตรในการทำงานร่วมกันยังมีค่อนข้างน้อย การเปิดโอกาสและประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนในการ ให้เข้ามามีส่วนร่วมหรือเป็นเครือข่ายพันธมิตรในการทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่ ยังมีค่อนข้างน้อย รวมทั้งการให้เอกชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง องค์กรชุมชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันทางสังคมอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจังทั้งด้านงบประมาณ การพัฒนาบุคลากร และกฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย
26
ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
๖) งานด้านวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ถูกลดบทบาท ทั้งที่มีความสำคัญในระดับชาติ และมีภารกิจและปริมาณงานมากที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท โครงสร้างในส่วนกลางของ สพฐ. มีขนาดใหญ่ ทำให้การบริหารงานไม่คล่องตัว การรวมหน่วยงานการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่หลากหลายมารวมกันและแบ่งการรับผิดชอบงานด้านต่างๆที่ต้องผ่านขั้นตอนการปฏิบัติงานมากทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ รวมทั้งส่วนกลางเป็นผู้กำหนดโครงการและงบประมาณ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่และโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านวิชาการและมาตรฐานการศึกษาของชาติ ที่เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและทุกประเภท ได้ถูกยุบรวมเป็นระดับสำนักทั้งที่มีความสำคัญในระดับชาติ มีภารกิจและปริมาณงานมากและเกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท อีกทั้งในปัจจุบันงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา มีการแยกส่วนกันดำเนินการตามหน่วยงานที่จัดการศึกษาแต่ละประเภทและระดับ มีผลกระทบเชิงเอกภาพและความเชื่อมโยงต่อการพัฒนาการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและในระดับประเทศ ทำให้งานด้านวิชาการและมาตรฐานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมีความอ่อนด้อยลงไป ๗) สำนักงาน กศน. สำนักงาน ก.ค.ศ. และ สช. ไม่เป็นนิติบุคคล การยุบหน่วยงานที่มีฐานะระดับกรม (เดิม) ได้แก่ กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) และ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ซึ่งแต่ละกรมมีภารกิจและปริมาณงานและผู้รับบริการจำนวนมาก โดยทั้ง ๓ กรม ถูกยุบมารวมไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และกำหนดให้มีฐานะเทียบเท่าสำนัก (ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่เป็นกรมตามระเบียบบริหารราชการกระทรวง) ซึ่งไม่สอดคล้องกับการบริหารราชการของกระทรวงโดยทั่วไป ที่สำนักงานปลัดกระทรวงมีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง ไม่ได้มีภารกิจในการจัดและส่งเสริมการศึกษาโดยตรง ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ มีสายบังคับบัญชาที่ยาว กระทบต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการ ทำให้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการบริหารราชการลดลง ส่งผลต่อการให้บริการแก่ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนที่ไม่ทั่วถึง ๘) ภารกิจการอุดมศึกษาและการกำหนดนโยบายการศึกษาระดับชาติ ควรมีความเป็นอิสระและต่อเนื่อง ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง ภารกิจเกี่ยวกับการอุดมศึกษา มีความเป็นเฉพาะ และต้องการความเป็นอิสระทางวิชาการ ควรแยกออกเป็นทบวงหรือกระทรวง โดยในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ข้อเสนอของ สปช. ให้จัดตั้งเป็น"สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ" เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ในกำกับของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ) เอกสารอ้างอิง : • การประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการ (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) • รายงานรายงานการสัมมนา เรื่อง ๖ ปี กับการปฏิรูปการศึกษา กรุงเทพฯ : สกศ. ๒๕๔๘ .บริษัท พริกหวานกราฟิค จำกัด • สรุปผลการดำเนินงาน ๙ ปี ของการปฎิรูปการศึกษา (พ.ศ.๒๕๔๒- ๒๕๕๑) .สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา .ห้างหุ่นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น :กรุงเทพฯ ๒๕๕๒ ๗๒หน้า • ข้อเสนอและ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (พ.ศ. 2558–2569) ของกระทรวงศึกษาธิการ • การประชุมเวทีสาธารณะ (Public Forum) ส่วนภูมิภาค : ปฎิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย • กรอบความเห็นร่วมปฏิรูปประเทศไทยด้านการศึกษา โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม • สำนักวิชาการและสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านการศึกษา : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร. ๑๐๒ หน้า • รายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูปที่ ๑๖ เรื่อง การปฏิรูประบบการจัดการศึกษา วาระปฏิรูปที่ ๑๗ เรื่อง การปฏิรูประบบการคลังด้านการศึกษา (ด้านอุปสงค์) วาระปฏิรูปที่ ๑๘ เรื่อง การปฏิรูประบบการเรียนรู้ และร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ พ.ศ (สำนักกรรมาธิการ ๓ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ)
27
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ ๑๐.๑ “ปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น ทบทวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ซ้าซ้อนหรือลักลั่นกันหรือมีเส้นทางการปฏิบัติที่ยืดยาว ปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้ทันสมัยโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ แก้ไขกฎระเบียบให้โปร่งใส ชัดเจน สามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนจัดระบบอัตรากำลังและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่ การตอบสนองความต้องการของประชาชนในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นวางใจในระบบราชการ ลดต้นทุนดำเนินการของภาคธุรกิจ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ และการรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิภาพไว้ในระบบราชการ”
28
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) แนวทาง การทบทวน ภารกิจ และโครงสร้างกระทรวง ศึกษาธิการ คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง การปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
29
ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญก่อนคำสั่งหัวหน้า คสช. แนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค
โครงสร้างการบริหารราชการขาดเอกภาพ มีการบริหารงานและการปฏิบัติแบบแยกส่วน ขาดระบบความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน กลไกในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้เกิดผลอย่างจริงจัง และปัญหาการขาดความรับผิดชอบ (Accountability) ทางการศึกษาของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทุกระดับ โครงสร้างที่มีความเป็นเอกภาพของการบริหารจัดการ สอดคล้องกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าตามภารกิจ มีระบบธรรมาภิบาลและกลไกตรวจสอบการจัดการศึกษาและการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา มีลำดับชั้นของการบริหารจัดการและสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน มีผู้รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานในทุกระดับ (Accountability) และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ โครงสร้างการบริหารราชการไม่สามารถบริหารงานในลักษณะที่เป็นแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกที่เป็นภารกิจร่วมกันได้ เนื่องจากขาดระบบและกลไกความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันในเชิงยุทธศาสตร์ ทำให้การนำนโยบายสู่การปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้เกิดผลอย่างจริงจัง การขับเคลื่อนภารกิจและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสู่การปฏิบัติมีความสอดคล้องเป็นแนวเดียวกัน (Strategic Alignment) การจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายร่วมกันของกระทรวงที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณเชิงพื้นที่ กำหนดบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคและจังหวัดให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ ที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคและจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่นๆ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดแบบบูรณาการ ที่ต้องผ่านกระบวนการร่วมคิดร่วมทำจากภาคส่วนต่างๆ โครงสร้างการบริหารราชการและการบริหารการศึกษาในภูมิภาคของประเทศเกิดจากปัญหาการสั่งการและการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นเอกภาพ เขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้เป็นเขตพื้นที่การศึกษาของกระทรวงอย่างแท้จริง มิใช่เขตพื้นที่เดียวกันกับเขตจังหวัดซึ่งเป็น “เขตบริหาร” ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเกิดปัญหาเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาด้วยกันเองและหน่วยงานทางการศึกษาอื่นในจังหวัด ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานดำเนินการ (Cluster – based , Area–based) ทั้งระดับภาค ระดับจังหวัด และพื้นที่พิเศษ โดยการจัดส่วนราชการประจำจังหวัดที่เป็นตัวแทนของกระทรวงที่แท้จริงในราชการบริหารส่วนภูมิภาค และทำหน้าที่ประสานแนวระนาบ (Cross-function) ระหว่างการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ตลอดจนการเชื่อมโยง บูรณาการ และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในจังหวัด ปรับปรุงกฎหมายการมอบอำนาจในภารกิจที่ต้องดำเนินการในจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดและภาค และคณะกรรมการในระดับจังหวัดให้เหมาะสม จัดกรอบการประเมินผลปฏิบัติราชการ (Performance Agreement) โดยทำข้อตกลงความร่วมมือในการทำงาน แผนงาน/โครงการและลงนามร่วมกัน และกำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) ประสานและบูรณาการการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ในรูปแบบคณะกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน การบริหารงานบุคคลในระดับพื้นที่มีการแทรกแซงทางการเมือง มีปัญหาเรื่องความเป็นธรรมและความโปร่งใส ปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลให้มีมาตรฐาน สามารถขจัดความเหลื่อมล้ำ มีการตรวจสอบถ่วงดุล สามารถแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้เกิดความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการแต่งตั้ง โยกย้ายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นเครือข่ายพันธมิตรในการทำงานร่วมกันยังมีค่อนข้างน้อย มีกลไกหรือรูปแบบและวิธีการทำงานในการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาค จัดให้มีกระบวนการและช่องทางที่จะสื่อสารกับประชาชนในรูปแบบที่หลากหลาย ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือในรูปแบบภาคีหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (Public – Private Partnership: PPP) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นเข้ามาแข่งขันในการจัดการศึกษาหรือบริการสาธารณะแทนรัฐ (Contestability)
30
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค โดยที่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงสภาพปัญหาในการจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคของประเทศว่าเกิดจากปัญหาการสั่งการและการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นเอกภาพเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูประบบการศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีเอกภาพ และสามารถประสานเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจในเรื่องการศึกษาของประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้สอดรับกับแนวทางการบริหารงานโดยประชารัฐ เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาอันจะส่งผลในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
31
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ ตามที่มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ นั้น ปรากฏว่ายังมีข้อขัดข้องในการดำเนินการ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
32
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ สั่ง ณ วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ จากข้อเท็จจริงที่ได้ปรากฏให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาคทั้งในด้านโครงสร้างขององค์การ ด้านระบบบริหารจัดการ และด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์และกำลังคนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาประเทศ แม้ที่ผ่านมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยการกำหนดมาตรการและกลไกขึ้นโดยมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาแล้วหลายฉบับ แต่โดยเหตุที่สภาพปัญหาการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาคมีความซับซ้อนและสั่งสมมาเป็นเวลานาน จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการกำหนดมาตรการและกลไกเพิ่มเติมเพื่อให้ปัญหาโดยส่วนใหญ่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการเตรียมการและรองรับการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการปฏิรูป เพื่อปรับโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการและระบบการบริหารจัดการศึกษาในภูมิภาคใหม่ให้มีเอกภาพ จัดให้มีส่วนราชการประจำจังหวัดที่เป็นตัวแทนของกระทรวงที่แท้จริง และทำหน้าที่ประสานแนวระนาบ (Cross-function) ระหว่างการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท สามารถลดขั้นตอน และบูรณาการการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพิ่มความรับผิดรับชอบต่อผลลัพธ์ (Accountability) วางระบบการตรวจสอบและระบบธรรมาภิบาลในการจัดการศึกษา กระจายความรับผิดชอบ และครอบคลุมการให้บริการที่รวดเร็วในทุกกลุ่มเป้าหมายของการจัดการศึกษากระจายอำนาจการบริหารจัดการโดยยึดหลักการพัฒนาพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม (Area Function Participation: AFP) ให้จังหวัดเป็นพื้นที่ดำเนินการ (Area–based) ในการขับเคลื่อนการพัฒนา ส่งเสริมสนับสนุน และบริหารจัดการศึกษาทั้งระดับภาค (กลุ่มจังหวัด) จังหวัด และพื้นที่พิเศษ
33
หลักการ ๑. หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เน้นความเป็นเอกภาพของการบริหารจัดการ มีความสอดคล้องกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยสร้างระบบราชการและโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของรัฐ เป็นการบริหารราชการแบบบูรณาการที่มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ๑. หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการแบบบูรณาการในพื้นที่ให้เหมาะสมกับบริบทและประชาชนในเขตจังหวัด โดยการเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชนในการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่ ๒. หลักการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการในภาครัฐและส่วนร่วมในการประเมินผลการบริการภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการบริหารภาครัฐให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ๓. หลักการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
34
แนวทาง ๑. หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
มีกลไกหรือรูปแบบและวิธีการทำงานในการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือทั้งในส่วนกลาง เขตพื้นที่ และส่วนภูมิภาค จัดให้มีกระบวนการและช่องทางที่จะสื่อสารกับประชาชนในรูปแบบที่หลากหลาย ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือในรูปแบบภาคีหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (Public – Private Partnership: PPP) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นเข้ามาแข่งขันในการจัดการศึกษาหรือบริการสาธารณะแทนรัฐ (Contestability) ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Cluster – based , Area–based) ทั้งระดับภาค ระดับ จังหวัด และพื้นที่พิเศษ โดยการจัดส่วนราชการประจำ จังหวัดที่เป็นตัวแทนของกระทรวงที่แท้จริงในราชการ บริหารส่วนภูมิภาค และทำหน้าที่ประสานแนวระนาบ (Cross-function) ระหว่างการศึกษาทุกระดับและทุก ประเภท ตลอดจนการเชื่อมโยง บูรณาการ และประสาน ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในจังหวัด ประสานและบูรณาการการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ทุก ประเภท ในรูปแบบคณะกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และ ประชาชน ปรับปรุงกฏหมายการมอบอำนาจในภารกิจที่ต้อง ดำเนินการในจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนส่วน ราชการในจังหวัดและภาค และคณะกรรมการในระดับ จังหวัดให้เหมาะสม กำหนดบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคและ จังหวัดให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ ที่ เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง ยุทธศาสตร์การ พัฒนาภาคและจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่นๆ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษจังหวัดแบบบูรณาการ ที่ต้อง ผ่านกระบวนการร่วมคิดร่วมทำจากภาคส่วนต่างๆ จัดกรอบการประเมินผลปฏิบัติราชการ (Performance Agreement) โดยทำข้อตกลงความร่วมมือในการ ทำงาน แผนงาน/โครงการและลงนามร่วมกัน และ กำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) โครงสร้างที่มีความเป็นเอกภาพของการบริหาร จัดการ สอดคล้องกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าตามภารกิจ มีระบบธรร มาภิบาลและกลไกตรวจสอบการจัดการศึกษาและ การใช้ทรัพยากรทางการศึกษา มีลำดับชั้นของการบริหารจัดการและสายบังคับ บัญชาที่ชัดเจน มีผู้รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน ในทุกระดับ (Accountability) และประเมินผลการ ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ การขับเคลื่อนภารกิจและยุทธศาสตร์ของกระทรวง สู่การปฏิบัติมีความสอดคล้องเป็นแนวเดียวกัน (Strategic Alignment) การจัดสรรงบประมาณตาม ยุทธศาสตร์และเป้าหมายร่วมกันของกระทรวงที่ให้ ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณเชิงพื้นที่ ปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลให้มีมาตรฐาน สามารถ ขจัดความเหลื่อมล้ำ มีการตรวจสอบถ่วงดุลและ เป็นกลางทางการเมือง และสนับสนุนให้บุคลากร ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ๒. หลักการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ๓. หลักการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ๑. หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
35
กรอบแนวคิดการออกแบบ บทบาทภารกิจและขอบเขตอำนาจหน้าที่
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ (มาตรา ๔๐) ได้กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ และทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อ การศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามที่มีกฏหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วน ราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมาตรา ๔๑ การจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความ สงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาใน ภูมิภาคของ กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง ณ วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ด้านนโยบาย (Policy) ด้านกำกับดูแล (Regulator) ด้านส่งเสริมสนับสนุน (Facilitator) ด้านปฏิบัติการ (Operator) Agenda based Function based Cluster based Area based Participation & Collaboration บทบาทภารกิจ การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีเอกภาพ และสามารถประสานเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจ ในเรื่องการศึกษาของประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้สอดรับกับแนวทางการบริหารงานโดยประชารัฐ เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ครู บุคลากรทางการศึกษา ประชาชน สังคมพึงพอใจ ประเทศได้คนมีคุณภาพ สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาวของประเทศ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"
36
"มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"
การจำแนกบทบาทภารกิจ ขับเคลื่อนภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติอย่างมีเอกภาพ และประสานความร่วมมือให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน มีระบบการกำกับ ติดตามประเมินผล ตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่ เพื่อการให้บริการ ด้านการศึกษาที่รวดเร็ว ทั่วถึง และเท่าเทียม เกิดประโยชน์ ต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ ครู บุคลากรทางการศึกษา ประชาชน สังคมพึงพอใจ ประเทศได้คนมีคุณภาพ สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ ระยะยาวของประเทศ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" การปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ นโยบาย หรือภารกิจที่มอบหมายเป็นพิเศษ งานตามยุทธศาสตร์ (Agenda based) การปฏิบัติงานประจำหรืองานตามหน้าที่ปกติของส่วนราชการ ได้แก่ งานตามกฎหมาย กฎ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล งานประจำตามหน้าที่ (Function based) การปฏิบัติงานที่ต้องกำกับติดตาม ประสานและร่วมมือ หรือการบูรณาการ การปฏิบัติงานหลายจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน งานหลายจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน (Cluster based) การปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดเพื่อผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน งานในพื้นที่จังหวัด (Area based) การปฏิบัติงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามนโยบายประชารัฐ หรืองานอื่นซึ่งภาครัฐพึงทำงานร่วมกับท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์อื่น งานการมีส่วนร่วมและความร่วมมือ (Participation & Collaboration) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค สป. สกศ. สพฐ. สกอ. สอศ. สนง.กศน. / สนง.ก.ค.ศ. / สช. ศธภ. ศธจ. / กศจ./หน่วยงานสังกัด ศธ. ส่วนราชการ /หน่วยงาน /หน่วยงานการศึกษา /สถานศึกษา ในจังหวัด
37
การจำแนกขอบเขตอำนาจหน้าที่
ปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของ รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการต่างๆ ที่ มอบหมาย เพื่อการให้บริการ ด้านการศึกษาที่รวดเร็ว ทั่วถึง และเท่าเทียม เกิดประโยชน์ต่อ ผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหาร และการจัดการศึกษาในพื้นที่ ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง การพัฒนาและแก้ไขปัญหา เฉพาะพื้นที่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การสร้าง เครือข่าย การเป็นภาคีหุ้นส่วน ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรืองานอื่นซึ่งภาครัฐพึงทำงาน ร่วมกับท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน หรือองค์กร สาธารณประโยชน์อื่น ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ช่วยเหลือ และอำนวยการด้านต่างๆ การค้นคว้าวิจัย ที่เกี่ยวข้องแก่ หน่วยงานด้านการศึกษาหรือสถานศึกษาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น เพื่อให้มีการพัฒนาหรือยกระดับมาตรฐาน ขีดความสามารถ หรือประสิทธิภาพ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และเร่งรัดให้ การดำเนินกิจการบริการ ด้านการศึกษาทั้งของรัฐ และเอกชนหรือภาคส่วนอื่น เป็นไปตามที่กฏหมาย กำหนด เพื่อให้เกิดความ เสมอภาคและความเป็น ธรรมในสังคม กำหนดหลักเกณฑ์ วีธีการ คู่มือ เงื่อนไข เพื่อใช้ในการ ควบคุม กำกับ ดูแล การ อนุมัติอนุญาตตามกฎหมาย เพื่อใช้รักษาและบังคับใช้ กฎหมาย และอำนวยการ กำกับ ดูแล ให้เกิดการ ปฏิบัติตามกฎหมาย กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย งบประมาณของหน่วยงาน จัดสรรเป้าหมายผลผลิต บุคคล งบประมาณ ให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือดำเนินการเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ งบประมาณ และแนวปฏิบัติ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูล และรายงานที่เกี่ยวข้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง หรือ คณะกรรมการระดับนโยบาย ด้านนโยบาย (Policy) ด้านกำกับดูแล (Regulator) ด้านการส่งเสริมสนับสนุน (Facilitator) ด้านปฏิบัติการ (Operator) การจำแนกขอบเขตอำนาจหน้าที่
38
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงาน ปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงาน คณะกรรมก าร ข้าราชการ ครูและ บุคลากร ทางการ ศึกษา สำนักงาน คณะกรรมกา รส่งเสริม การศึกษา เอกชน สำนักงาน ส่งเสริม การศึกษา นอกระบบ และ การศึกษา ตาม อัธยาศัย สำนักงานศึกษาธิการภาค ๑-๑๘ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด /กทม. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (๑๘๓ เขต) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (๔๒ เขต) สถานศึกษา สถานศึ กษา (กศน.อำเภอ) สถาบันการอาชีวศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด (สงขลา ,สตูล , ยะลา, ปัตตานี , นราธิวาส) อศจ. ปสกช. โครงสร้างการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค กศจ. อกศจ.
39
สั่ง ณ วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ สั่ง ณ วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ งานหลายจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน (Cluster based) การปฏิบัติงานที่ต้องกำกับติดตาม ประสานและร่วมมือ หรือการบูรณาการการปฏิบัติงานหลายจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน งานในพื้นที่จังหวัด (Area based) การปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดเพื่อผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน สำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวนสิบแปดภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัดโดยการอำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น ๆ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย ด้านนโยบาย (Policy) ด้านปฏิบัติการ (Operator) ด้านกำกับดูแล (Regulator) ด้านการส่งเสริมสนับสนุน (Facilitator)
40
พื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการภาค 1-18
สำนักงานศึกษาธิการภาค 4 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดราชบุรี รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดสมุทรสงคราม รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดลพบุรี รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง สำนักงานศึกษาธิการภาค 1 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี สำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานศึกษาธิการภาค 16 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดเชียงราย รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ สำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดชลบุรี รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดระยอง สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี สำนักงานศึกษาธิการภาค 13 ตั้งสำนักงานอยู่ที่ จังหวัดอุบลราชธานี รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานศึกษาธิการภาค 3 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสระแก้ว สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดยะลา รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการภาค 1-18 สำนักงานศึกษาธิการภาค 15 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดสกลนคร รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสกลนคร สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 ตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์
41
สั่ง ณ วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ สั่ง ณ วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวนสิบแปดภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัดโดยการอำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น ๆ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ทิศทางการดำเนินงานตามข้อ ๓ (๑) นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่ (๒) สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนา (๓) กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ (๔) สนับสนุนการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ (๕) ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมายและให้มีอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย (๒) จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ (๓) สั่งการ กำกับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (๔) จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ (๖) ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (๗) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา (๘) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (๙) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา (๑๐) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน (๑๑) ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่าง ๆ ในจังหวัด
42
สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.)
กลุ่มอำนวยการ กลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา กลุ่มพัฒนาการศึกษา กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล กลุ่มบริหารงานบุคคล (๑) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป (๒) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน บัญชี และพัสดุ (๓) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการภาค (๔) ดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบริหารงาน และการควบคุมภายใน (๕) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมและผลงานของสำนักงานศึกษาธิการภาคและหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (๖) ดำเนินงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และยานพาหนะ (๗) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการภาค รวมทั้งการติดตามและรายงานผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการภาค (๘) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานพัฒนาองค์กร (๙) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย (๑) แปลงยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฎิบัติในระดับภาคและจังหวัดที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และการพัฒนาด้านอื่นๆ ตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่ (ย.๑-๖) (๒) ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำดัชนีทางการศึกษาระดับภาค รวมทั้งสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงในพื้นที่รับผิดชอบ (ย.๖) (๓) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาระดับภาค (ย.๖) (๔) กำกับดูแล ให้ข้อเสนอแนะ ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ (๕) ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน และจัดระบบการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (ย.๒ /ย.๖) (๖) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการบริหารและการจัดการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (ย.๒ / ย.๖) (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย (๑) ส่งเสริม สนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (ย.๑) (๒) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษาระดับภาค (ย.๒ / ย.๖) (๓) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาระดับภาค (๔) กำกับดูแล เร่งรัด นิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนางานวิชาการ และการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (๕) ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด (ย.๑ / ย.๖) (๖) ส่งเสริม สนับสนุนการยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษ (ย.๑-๔) (๑) วางแผนและจัดระบบการประสานการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ (๒) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ (๓) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ (ย.๑ / ย.๖) (๔) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ (๕) จัดระบบการประสาน สนับสนุน ช่วยเหลือ และการรายงานเหตุภัยพิบัติ และภาวะวิกฤตทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (ย.๕) (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย (๑) สนับสนุน ประสาน และพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ กศจ. และ อกศจ. ในพื้นที่รับผิดชอบ (๒) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ (๓) กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (๔) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการเสริมสร้างและการปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (ย.๑ / ย.๖) (๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัดโดยการอำนวยการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น ๆ ตรวจราชการ กำกับ ติดตาม และประเมินผล (Inspect , Regulate , Monitor & Evaluate) ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนา (Promote & Support, Develop) บริหารยุทธศาสตร์ (Strategic Management) บริหารจัดการองค์กร (Organization Management)
43
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.)
ปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย กลุ่มอำนวยการ (๑) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย (๒) ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่างๆ ในระดับจังหวัด (ย.๑ / ย.๖) (๓) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป (๔) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน บัญชี และพัสดุ (๕) ดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบริหารงานและการควบคุมภายใน (๖) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมและผลงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (๗) ดำเนินงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และยานพาหนะ (๘) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัฒนาองค์กร (๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มนโยบายและแผน (๑) ร่วมรับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมายรวมกับกลุ่มพัฒนาการศึกษา (๒) จัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (ย.๑-ย.๖) (๓) จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดและแผนปฏิบัติการของจังหวัด (ย.๖) (๔) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด รวมทั้งการติดตามและรายงานผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (๕) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด (๖) จัดระบบ ส่งเสริมและประสานงานระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อการวางแผน การบริหารจัดการศึกษา การติดตาม ประเมิน และรายงานผล (ย.๒ / ย.๖) (๗) ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ (๘) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มบริหารงานบุคคล (๑) รับผิดชอบงานธุรการของ อกศจ. และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ อกศจ. และตามที่ อกศจ. มอบหมาย (๒) เสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง การเกลี่ยอัตราให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด (๓) เสนอแนะเกี่ยวกับการพิจารณาวิทยฐานะ ความดีความชอบ การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติ และสิทธิประโยชน์อื่นของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา (๔) เสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาการเสริมสร้างและการปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา (ย.๑ / ย.๖) (๕) เสนอแนะเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น การบรรจุและการแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้ได้รับการคัดเลือก การย้าย การโอน การเปลี่ยนตำแหน่งและการเลื่อนตำแหน่ง การบรรจุกลับเข้ารับราชการ เป็นต้น (๖) นำเสนอคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเพื่อพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด (๗) เสริมสร้างขวัญกำลังใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติ และสิทธิประโยชน์อื่นของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา (๘) ดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา (๙) จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (๑๐) จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (๑๑) จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำ และเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ (๑๒) ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ กศจ. เพื่อเสนอ ก.ค.ศ (๑๓) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ (ย.๖) (๑๔) ดำเนินการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และประชาชนผ่านระบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (ย.๖) (๑๕) ดูแลและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริม ยกย่องและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (ย.๖) (๑๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ภารกิจบริหารจัดการองค์กรและประสานราชการ (Organization Management , Coordinate) ภารกิจนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน (Policy/Strategic & Plan) ภารกิจพัฒนาและบริหารงานบุคคล (Personal administration)
44
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.)
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) กลุ่มพัฒนาการศึกษา (๑) ร่วมรับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย ร่วมกับกลุ่มนโยบายและแผน (๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม เลิก และโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (๓) จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถให้บริการได้โดยสะดวก รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง (ย.๒ / ย.๖) (๔) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ (ย.๓ /ย.๔) (๕) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษา (๖) ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา (๗) จัดระบบการประสาน สนับสนุน ช่วยเหลือ และการรายงานเหตุภัยพิบัติ และภาวะวิกฤตทางการศึกษาในจังหวัด (ย.๕) (๘) ส่งเสริม สนับสนุนและดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา (ย.๓) (๙) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา (ย.๓) (๑๐) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา เพื่อสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม (ย.๓) (๑๑) ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเฉพาะกิจ เฉพาะกลุ่ม และเฉพาะพื้นที่ (๑๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ภารกิจส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา (Promote &Support , Develop) กลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน (๑) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการและประสานเกี่ยวกับกิจการลูกเสือและ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน (๒) ส่งเสริม สนับสนุน ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อการพัฒนานักเรียนนักศึกษา โดยผ่านกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด (๓) ส่งเสริม สนับสนุนการน้อมนำพระบรม ราโชบายด้านการศึกษา พระราชปณิธาน พระราชกระแสด้านการศึกษา และโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับการศึกษา (๔) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและความปรองดอง สมานฉันท์ (๕) สร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมจริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต (๖) ส่งเสริมการป้องกัน แก้ไข และคุ้มครองความประพฤตินักเรียน นักศึกษา (๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย (๒) ขับเคลื่อน ประสานงาน เร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ (๓) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศและแนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา (๔) ประสานและสนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (๕) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ จัดทำแผนการรองรับการตรวจราชการ และดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงในการตรวจราชการ ติดตาม และประเมินผลตามนโยบายและแผนการตรวจราชการของกระทรวง (๖) ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ย.๓ / ย.๕) (๗) สั่งการ กำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์ชาติ (๘) จัดทำกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด (๙) ขับเคลื่อนระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ภารกิจตรวจราชการ นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล (Inspect , Supervision, regulate , Audit ,monitor & evaluate) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน (๑) กำกับ ดูแล ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน (๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน และการเปลี่ยนแปลงกิจการโรงเรียนเอกชน (๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการสงเคราะห์และเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและที่กฎหมายอื่นกำหนด (๔) ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานการศึกษาเอกชนตามที่กฎหมายกำหนด (๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย หน่วยตรวจสอบภายใน (๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ (ย.๑ / ย.๖) (๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.