งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เสรีประชาธิปไตย นิติรัฐ/นิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เสรีประชาธิปไตย นิติรัฐ/นิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เสรีประชาธิปไตย นิติรัฐ/นิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ
เสรีประชาธิปไตย นิติรัฐ/นิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ

2

3 รัฐธรรมนูญแบบเสรี/ประชาธิปไตย
รับรองสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน <basic rights> รัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็นใหญ่ <supremacy of the elected government> สื่อที่เสรี <freedom of the press> ระบอบการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม <free and fair>

4 เสรีประชาธิปไตย >>> มาจากการประกอบสร้างของ 2 แนวความคิดสำคัญ
เสรีนิยม Liberalism ประชาธิปไตย Democracy มีที่มาแตกต่างกัน มุ่งแก้ไขปัญหาคนละชุด ให้ความสำคัญคนละแง่มุม >>> การสร้างสถาบันการเมืองที่แตกต่างกัน

5 เสรีนิยม <Liberalism>
เสรีนิยมในมิติทางการเมือง รัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด <limited government> # รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ รัฐบาลมีอำนาจครอบจักรวาล ประชาชนมีสิทธิธรรมชาติที่ต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ

6 เสรีนิยมในมิติทางเศรษฐกิจ
ควรมอบบทบาทให้กับเอกชน รัฐทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มกฎ Laissez faire การทำงานของระบบตลาดที่รัฐไม่ยุ่งเกี่ยวคือกลไกที่มีประสิทธิภาพ

7 เสรีนิยมในมิติทางศีลธรรม/จิตวิญญาณ
การปลดปล่อยพื้นที่ทางความเชื่อซึ่งถูกกำกับไว้ด้วยความคิดทางศาสนาให้กลายเป็นพื้นที่เสรี การกระทำที่เป็นเรื่องศีลธรรมเป็นเสรีภาพของปัจเจกบุคคล ซึ่งจะสามารถตัดสินเลือกในสิ่งที่ดีกว่า Constructive Injuries Religious market

8 บทบาทของรัฐถูกจำกัด >>> รัฐเฝ้ายาม<Night-watchman State>
ป้องกันจากภายนอก ป้องกันจากการกระทำของบุคคลในสังคม ทำงานสาธารณะที่ไม่อาจให้เอกชนทำ

9 การควบคุมการทำหน้าที่ของรัฐ
การสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญนิยม หลักนิติรัฐ/หลักนิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ Due process of law

10 ประชาธิปไตย <Democracy>
ความเสมอภาคและอำนาจสูงสุดของระบอบการปกครองมาจากประชาชน การปกครองโดยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยแบบทางตรงในยุคนครรัฐเอเธนส์ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน <ประชาธิปไตยแบบแทนตน>

11 การเน้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของและการเข้ามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจของประชาชนทั้งผ่านตัวแทนและด้วยตนเอง
ระบบการเลือกตั้ง พรรคการเมือง การปกครองท้องถิ่น ประชามติ การเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบต่างๆ

12 เสรีนิยม รัฐขนาดเล็ก เชิงภาระหน้าที่ เน้นจำกัดอำนาจรัฐ เสรีนิยมใหม่ ประชาธิปไตย เน้นความเท่าเทียม ปกครองเสียงข้างมาก

13 เสรี/ประชาธิปไตย คือการประกอบสร้างระหว่างสองแนวคิดสำคัญ ภายใต้เงื่อนไข สถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก แต่เมื่อประกอบสร้างในดินแดนอื่นๆ เสรีที่ไม่สู้จะประชาธิปไตย <Liberal semi-democracy> ประชาธิปไตยไม่เสรี <Authoritarian democracy>

14 เงื่อนไข/บริบท ประชาธิปไตยไม่เสรี (Illiberal democracy) มีการเลือกตั้ง แต่ไม่มีเสรีภาพ เช่น สิงคโปร์ เสรีไม่ประชาธิปไตย (อัตตาธิปไตย Liberal Autocracy) มีการตรวจสอบรัฐบาล และการเลือกตั้งแต่เป็นการเลือกตั้งแบบไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น ระบบ 70/30

15

16 นิติรัฐ <Rechtsstaat ในภาษาเยอรมัน>
ผู้ปกครองต้องไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ บุคคลต้องเสมอภาคกัน และกฎหมายต้องกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลไว้ล่วงหน้า ฯลฯ รัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่มนุษย์ <government of law and not of men> คือการจำกัดอำนาจของรัฐ/ผู้ปกครอง

17 รัฐต้องผูกพันตนเองกับกฎหมายที่องค์กรของรัฐตราขึ้นตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ
บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพต้องถูกบัญญัติไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ >>> สร้างระบบให้มีการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นการเฉพาะ >>> ศาลรัฐธรรมนูญ

18 นิติธรรม <Rule of Law>
โดยทั่วไปหมายถึงหลักคุณค่าบางอย่างที่อยู่เหนือกว่ากฎหมายรัฐ, ลายลักษณ์อักษร, มนุษย์ ถูกใช้เพื่อโต้แย้งกับอำนาจเผด็จการ, ผู้ปกครองอำนาจนิยม, ตามอำเภอใจ แต่อาจมีความคลุมเครือ, ลื่นไหล, แตกต่างกันออกไป

19 A.V. Dicey <1835 – 1922> บุคคลจะถูกลงโทษเมื่อฝ่าฝืนกฎหมาย และถูกตัดสินโดยศาลปกติ บุคคลอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน สิทธิพื้นฐานของบุคคลเป็นผลจากคำวินิจฉัยของศาล/กฎหมายปกติ

20 >>> ภายใต้รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ คือการสร้างหลักประกันแก่ประชาชน
>>> แต่ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของรัฐ สู่รัฐสวัสดิการ ทำให้ rule of law แบบ Dicey ล้าสมัยไป ทำให้มีการตีความให้สัมพันธ์กับสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

21

22 เนื้อหาของหลักการภายใต้อิทธิพลของเสรีนิยม
เสรีภาพจากอำนาจรัฐ Freedom from State การตรวจสอบถ่วงดุล Check and balance การป้องกันการใช้อำนาจแบบฉ้อฉล Preventing abuse of powers

23

24

25 จากหลักแบ่งแยกอำนาจสู่ระบบรัฐบาล
แนวคิดพื้นฐาน การปกครองควรมีการจำแนกองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐออกเป็นแต่ละส่วน ความเข้าใจที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน บริหาร (Executive power) นิติบัญญัติ (Legislative power) ตุลาการ (Judicial power)

26 Montesquieu The Spirit of the Law เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย Book xi Chapter vi

27 รัฐแต่ละรัฐจะประกอบไปด้วยอำนาจ 3 ประเภท อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และอำนาจบริหารซึ่งขึ้นอยู่กับสิทธิของเอกชน อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจที่ใช้โดยผู้ครองรัฐเพื่อบัญญัติกฎหมายขึ้นบังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งอาจบัญญัติขึ้นใหม่หรือยกเลิกกฎหมายเดิม อำนาจบริหาร เป็นอำนาจที่ผู้ครองรัฐสามารถใช้ในเรื่องความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น การทำสงคราม การรักษาความมั่นคง เน้นในเรื่อง คสพ. รปท. (executive power of the state)

28 อำนาจบริหารซึ่งขึ้นอยู่กับสิทธิของเอกชน หรือ power of judging ทำหน้าที่ชี้ขาดว่า กม. ที่บังคับใช้ในกรณีพิพาทมีอยู่อย่างไร (ยังไม่ได้เรียกอย่างชัดเจนว่า “อำนาจตุลาการ”) ควรเป็นคณะบุคคลที่มาจากประชาชน และปฏิบัติหน้าที่ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ “ผู้พิพากษาควรเป็นปากที่เปล่งถ้อยคำของกฎหมาย” (อาจมีข้อโต้แย้งเรื่องความเข้าใจผิดต่อระบบการปกครองของอังกฤษของ Montesquieu)

29 ถ้าอำนาจบริหาร และนิติบัญญัติ ถูกรวมไว้ในบุคคลหรือคนกลุ่มเดียว สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกทำลาย
ถ้าอำนาจตุลาการ ถูกใช้โดยอำนาจบริหารหรือนิติบัญญัติ สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกทำลายไป การแบ่งแยกอำนาจแบบเด็ดขาด/ การแบ่งแยกอำนาจแบบไม่เด็ดขาด

30 Montesquieu The Spirit of the Law Check and balance Executive power Legislative power Judicial power

31 Separation of powers in South Africa

32 เป้าหมายของการแบ่งแยกอำนาจ
การจัดสรรอำนาจ (Allocation of Powers) ไม่ให้ก้าวก่ายขอบเขตของอำนาจอื่นและป้องกันการรวมอำนาจทั้งสาม คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ มิให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของอำนาจใดอำนาจหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เชิงโครงสร้างองค์กร (Structural Features) เพื่อป้องกันการรวมอำนาจของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง และกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสมาชิกแต่ละฝ่ายให้แตกต่างกัน

33


ดาวน์โหลด ppt เสรีประชาธิปไตย นิติรัฐ/นิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google