ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยStine Løken ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
วิชา วิทยาศาสตร์ (ว14101) โดย นางสาวนันท์นภัส พงศ์ศรีโรจน์
นางสาวนันท์นภัส พงศ์ศรีโรจน์ ครู คศ.1 โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ(พิบูลบำรุง)
2
ระบบสุริยะ (THE SOLAR SYSTEM)
3
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของ ระบบสุริยะ ได้ 2. อธิบายการกำเนิด ของ ระบบสุริยะ ได้ 3. บอกเขตพื้นที่บริวารของดวงอาทิตย์ ทั้ง 4 เขต ได้ 4. บอกชื่อดาวเคราะห์ชั้นใน และลักษณะ ของดาวเคราะห์ชั้นใน ได้ 5. บอกชื่อดาวเคราะห์ชั้นนอก และลักษณะ ดาวเคราะห์ชั้นนอก ได้ 6. อธิบาย ลักษณะ และส่วนประกอบ ของดวงอาทิตย์ ได้ 7. บอกความหมาย ของลมสุริยะ พายุสุริยะ อธิบาย การเกิดลมสุริยะ และพายุสุริยะ และผลกระทบของพายุสุริยะ ที่มีต่อโลก ได้
4
ระบบสุริยะ
5
ระบบสุริยะ(THE SOLAR SYSTEM)
เป็นระบบของ ดวงดาว ที่มีดาวฤกษ์ คือ ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลาง และ มีดาวเคราะห์ บริวาร และดาวบริวาร โคจร รอบดวงอาทิตย์
6
ระบบสุริยะมี เป็นศูนย์กลาง
ระบบสุริยะมี เป็นศูนย์กลาง ดวงอาทิตย์
8
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลมีทั้งหมด 8 ดวง คือ
ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
9
ดาวพลูโต ปัจจุบัน ดาวพลูโตถูกปลดจากดาวเคราะห์ ไปเป็นดาวเคราะห์แคระ ตามมติที่ประชุมของสหภาพดาราศาสตร์สากล ( I A U ) (INTERNATION ASTRONOMICAL UNION) เมื่อ เดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2549
10
ไอเอยู ประกาศมติในที่ประชุม ที่กรุงปราก ของสาธารณรัฐเช็ก ที่ประชุมลงมติประกาศว่า ดาวเคราะห์ที่เป็นดาวบริวารในระบบสุริยะมี 8 ดวง ด้วยกัน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโต ถูกจัดใหม่ให้เป็น “ดาวเคราะห์แคระ” ไอเอยู ให้คำนิยาม ความแตกต่างระหว่างดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระ ว่า ดาวเคราะห์ ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะมีแรงดึงดูดก้อนหิน และวัตถุต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในวงโคจรของดาวเคราะห์
11
กำเนิด ระบบสุริยะ ระบบสุริยะ กำเนิด มาจาก เนบิวลา ที่มีแก๊สไฮโดรเจน และธาตุ ต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบซึ่งมาจาก เนบิวลาดั้งเดิมหลังบิกแบง และเนบิวลา ใหม่ จากการระเบิด (SUPERNOVA) ของดาวฤกษ์ รุ่นก่อน มารวมตัวกัน เป็นระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์ และบริวาร จึงมีส่วนประกอบ และธาตุต่างๆ คล้ายคลึงกัน
12
กำเนิด ระบบสุริยะ เมื่อ ราว 5,000 ล้านปี มาแล้ว จากการรวมกันของเนบิวลา มวลสารส่วนใหญ่ รวมกันอยู่ที่ดวงอาทิตย์ มวลสารของระบบสุริยะ ร้อยละ 99.8 อยู่ที่ดวงอาทิตย์ มวลสารที่เหลือ กลายเป็นดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และเศษวัตถุขนาดเล็ก
13
เศษวัตถุขนาดเล็ก เช่น อุกกาบาต (Meteorites) เศษหินเศษโลหะ หรือ ทั้งหินและโลหะปนกันจากอวกาศที่เผาไหม้ไปไม่หมดและตกลงสู่พื้นผิวโลก ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ได้ทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กตามแนวเส้นทางโคจร ในแต่ละปีโลกจะโคจรผ่านบริเวณดังกล่าว เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลกจะถูกเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อนและเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมาก เราจึงเรียกว่า ฝนดาวตก (Meteors Shower)
14
กำเนิดดาวเคราะห์และบริวารอื่น ๆ
ขณะที่มวลสารของ เนบิวลาส่วนใหญ่ กลายเป็น ดวงอาทิตย์ แต่ เนบิวลา ที่อยู่รอบนอกไม่ได้เคลื่อนไปรวมเป็นดวงอาทิตย์ แต่ เคลื่อนที่ หมุนวงเป็นแผ่นกลม แบนรอบดวงอาทิตย์ และจับกลุ่มกลายเป็น ดาวเคราะห์และบริวารอื่น ๆ ของดวงอาทิตย์
15
เขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์
นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ตามลักษณะ การก่อตัวเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ออกเป็น 4 เขต คือ 1. ดาวเคราะห์ชั้นใน 2. แถบดาวเคราะห์น้อย 3. ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4. เขตของดาวหาง
16
ดาวเคราะห์ชั้นใน ดาวเคราะห์ชั้นใน ของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะ ผิวแข็งหรือเป็นหิน แบบเดียวกับโลกจึงเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน หรือ ดาวเคราะห์ แบบโลก ซึ่งนักดาราศาสตร์ประมาณว่า ใช้เวลาในการกำเนิด ไม่น้อยกว่า 100 ล้านปี
17
ดาวเคราะห์ชั้นใน
18
ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets)
มวลสาร ที่อยู่บนแถบของดาวเคราะห์น้อย อยู่บริเวณ ระหว่างวงโคจร ของดาว อังคารและดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยเป็นเศษ ที่เหลือจากการพอกพูนมวล ของดาวเคราะห์หิน แต่เนื่องจาก ถูกแรงรบกวน จาก ดาวพฤหัสบดี จึงไม่สามารถ จับตัวกัน จนมีขนาดใหญ่ได้
20
ดาวเคราะห์ชั้นนอก ดาวเคราะห์ชั้นนอก ประกอบไปด้วย ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ชั้นนอก หรือดาวเคราะห์ยักษ์ เป็นดาวเคราะห์ ที่มีขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบหลัก เป็น ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ทั้งดวง จึงอาจเรียกว่า ดาวเคราะห์แก๊ส
21
ดาวเคราะห์ชั้นนอก
22
เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์
เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์คือ ดาวหาง จำนวนมากที่อยู่รอบนอก ของระบบสุริยะ และเศษเหลือจากการสร้างดาวเคราะห์หิน คือดาวเคราะห์น้อย
25
ดาวหาง Hale-Bopp (มีนาคม ค.ศ.1997)
26
ดาวหาง Hyakutake (ค.ศ.1996)
27
ดวงอาทิตย์
28
ดวงอาทิตย์
29
ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ ในระบบสุริยะ เป็นดาวฤกษ์ สีเหลือง ชนิด สเปกตรัม G อุณหภูมิผิว 6,000 K มีอายุเกือบ 5,000 ล้านปี อยู่ห่างจากโลก ของเราประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียง 8.3 นาที หรือ 499 วินาทีเท่านั้น พลังงานจำนวนมหาศาล ในดวงอาทิตย์ได้มา จากการ เปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็น ฮีเลียมที่อุณหภูมิประมาณ 15 ล้านเคลวิน หรือประมาณ 27 ล้านองศาฟาเรนไฮต์
32
โครงสร้างภายในดวงอาทิตย์
โครงสร้างภายในดวงอาทิตย์ (solar interior) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.1 แกนกลาง (core) 1.2 เขตแผ่รังสี (radiative zone) 1.3 เขตการพา (convection zone)
33
ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
โฟโตสเฟียร์ (Photosphere) เป็นบรรยากาศชั้นในสุดของดวงอาทิตย์ เป็นบริเวณที่มีการแผ่สเปกตรัมแบบต่อเนื่อง ออกมา บรรยากาศชั้นนี้มีปรากฏการณ์ การเกิดดอกดวงแบบสว่าง (Bright Granulations) และแฟคิวเล (Faculae) นอกจากนั้น ยังมีจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ซึ่งเกิดจากแก๊ซที่อย่เหนือโฟโตสเฟียร์ขึ้นไป โครโมสเฟียร์ (Chromosphere) เป็นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นโฟโตสเฟียร์ขึ้นมา บรรยากาศชั้นนี้มีสีแดงซึ่งเกิดจากการลุกจ้า (Glow) ของไฮโดรเจน กินอาณาบริเวณหลายพันกิโลเมตรเหนือโฟโตสเฟียร์ขึ้นมา ชั้นต่ำสุดเรียกว่า ชั้นวกกลับ (Reversing Layer) นอกจากนั้น บรรยากาศชั้นนี้ยังมีการพลุ่งของพวยแก๊ซ (Prominence) ขึ้นไปสู่หลายหมื่นกิโลเมตร โคโรนา (Corona) เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ จะเห็นได้ชัดขณะที่เกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวง
34
เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้เนื่องจาก
แสงสว่างที่ส่องออกมาจากดวงอาทิตย์ ไปยังดาวเคราะห์ แล้วสะท้อน มายังโลก ทำให้ เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้
35
พลังงานจากดวงอาทิตย์
พลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้โลกอบอุ่น และก่อให้เกิดพลังงานต่างๆ ที่มีใช้บนโลก ทั้งพลังงานที่ได้รับโดยตรงจากดวงอาทิตย์ หรือพลังงานที่ได้รับโดยอ้อม อันสืบเนื่อง มาจาก ดวงอาทิตย์ จึงกล่าวได้ว่า ดวงอาทิตย์ เป็นผู้ให้พลังชีวิต แก่โลก
36
ลมสุริยะ Solar Wind ลมสุริยะคือ กระแสไฟฟ้าของอนุภาคมีประจุ(อนุภาคโปรตอน และอิเล็กตรอน) ที่ไหลอย่างสม่ำเสมอ จากดวงอาทิตย์ในทุกทิศทาง อนุภาคที่เดินทางจากดวงอาทิตย์มาถึงโลกใช้เวลาเดินทางไม่ถึงสองวัน (ภายใน ชั่วโมง)และเมื่อลมแปรเปลี่ยนเป็นพายุ ก็จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “แสงเหนือแสงใต้” (aurora) ในบริเวณใกล้ขั้วโลก เมื่ออนุภาคมีประจุพลังงานสูงเหล่านั้นทำอันตรกิริยากับสนามแม่เหล็กโลก
38
“ แสงเหนือแสงใต้ ”(aurora)
39
aurora หรือที่รู้จักกันดีในนามแสงเหนือ-แสงใต้(northern-southern light)
40
aurora aurora เกิดจาก atom ของธาตุต่างๆในชั้นบรรยากาศโลกถูกกระตุ้น(ชน)โดยประจุไฟฟ้า จาก พายุสุริยะทำให้เกิดการปล่อยคลื่นรังสีออกมาในช่วงคลื่น ที่ตาเห็นได้
42
การเกิด flare และ พายุสุริยะบนดวงอาทิตย์นั้น สัมพันธ์กับความปั่นป่วนของเส้นแรงแม่เหล็กและจุดมืด(sun spot) – เส้นแรงทำให้เกิดจุดดำ และ flare ซึ่ง flare จะเกิดในช่วงที่เกิดจุดดำมากที่สุด(ปั่นป่วนมาก)ขณะที่ดวงอาทิตย์จะสงบที่สุดเมื่อไร้จุดมืด
43
การระเบิดหรือ flare ครั้งใหญ่เมื่อปี 2003 ครั้งนี้ทิศทางของพายุสุริยะ พุ่งเข้าหาโลก
44
ลมสุริยะ ลมสุริยะ บางส่วนกระจายออกมาจากบริเวณศูนย์สูตรดวงอาทิตย์ ที่ขอบของจุดสว่างภายในชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ และถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อสนามแม่เหล็กของสองจุดสว่างเชื่อมโยงกัน
45
ดวงอาทิตย์แผ่รังสีซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์ไปพร้อมๆ กับลมสุริยะ ซึ่งเป็นสสารที่เคลื่อนเร็ว อนุภาคภายในลมสุริยะ จะถูกเร่งความเร็วโดย สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ และโครงสร้างหรือรูปแบบของสนามแม่เหล็กนั้นมีอิทธิพลต่อความเร็วของลมสุริยะเมื่อพวกมันออกสู่อวกาศ
46
ภาพซ้ายมือแสดงกระแสก๊าซที่ออกมาจากบริเวณจุดสว่าง ส่วนภาพสีน้ำเงินแสดงกระแสวัสดุที่ไหลออกมาทางโลกซึ่งท้ายที่สุดก็คือลมสุริยะ และภาพสีแดงคือกระแสก๊าซที่ไหลกลับเข้าสู่ผิวดวงอาทิตย์
47
นักดาราศาสตร์ทราบว่ามีลมสุริยะสองชนิด โดยแบ่งได้ตามอัตราเร็วของพวกมัน ลมสุริยะที่เร็วกว่าเกิดจากบริเวณที่เรียกว่า coronal hole บริเวณใกล้ๆ ขั้วของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีอัตราเร็วถึง 2.9 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนลมสุริยะที่ช้ากว่าจะออกมาจากบริเวณศูนย์สูตรดวงอาทิตย์ ด้วยอัตราเร็วในช่วง 0.72 ถึง 1.8 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง
48
ลมสุริยะจาก coronal hole ที่เร็วกว่าเนื่องจากสนามแม่เหล็กที่วาดโค้งออกมาจากขั้วดวงอาทิตย์มักเป็นเส้นสนามแบบเปิด หรือเป็นเส้นสนามที่ไม่ย้อนกลับเข้าหาผิวดวงอาทิตย์ ดังนั้นก๊าซทุกชนิดจึงไหลออกอย่างไม่มีอะไรไปหยุดพวกมันได้ ส่วนที่เส้นศูนย์สูตร เนื่องจากมีทั้งเส้นสนามแม่เหล็กแบบปิดและแบบเปิด
49
เส้นสนามแบบปิดหรือเส้นสนามที่พุ่งออกและกลับเข้าหาผิวดวงอาทิตย์จะกักเก็บพลาสมาหรือก๊าซมีประจุของดวงอาทิตย์เอาไว้ ทำให้มีเพียงสนามแม่เหล็กแบบเปิดเท่านั้นที่ลมสุริยะสามารถไหลออกมาได้ ผลก็คือลมสุริยะจากบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีอัตราเร็วต่ำและมีหลายช่วงอัตราเร็ว
50
จุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots)
จุดบนดวงอาทิตย์ คือบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบข้างจึงให้แสงออกมาเข้มน้อยกว่า จึงมองเห็นเป็นจุดสีดำ บริเวณใจกลางของจุดเรียกว่า เขตเงามืด (Umbra) บริเวณที่อยู่ล้อมรอบ เรียกว่า เขตเงามัว(Penumbra)
51
Active Region หรือบริเวณ กัมมันต์ บนผิวดวงอาทิตย์คือบริเวณที่เส้นสนามแม่เหล็กเข้มข้นจนก่อให้เกิดจุดมืด(sunspot) และพร้อมสำหรับเกิดการประทุ( FLARE)บนผิวดวงอาทิตย์
53
การระเบิดจ้า หรือการประทุ (FLARE) มักเกิด ณ บริเวณที่เป็นจุดมืด (sunspot) ซึ่งดวงอาทิตย์ จะเกิดจุดมืด มากที่สุด ทุกๆ ประมาณ 11 ปี เรียกว่าเกิดวัฏจักรสุริยะ(solar cycle) ช่วงที่มีจุดมืด มาก จะมีการระเบิดจ้า มากด้วย ทำให้ อนุภาค ถูกปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ และมีอัตราเร็วกว่าลมสุริยะ จึงเรียกว่า พายุสุริยะ
54
จุดสังเกตสำคัญสำหรับช่วงที่เกิดวัฏรจักรสุริยะ(solar cycle) คือจำนวนจุดมืด อันเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณข้างเคียงเนื่องจากสนามแม่เหล็กความเข้มสูง จุดมืดเหล่านี้เองที่เกี่ยวข้องกับการระเบิดอย่างรุนแรงบนผิวดวงอาทิตย์จนก่อให้เกิดพายุสุริยะครั้งใหญ่ๆ หลายครั้งในรอบ วัฏรจักร หนึ่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว วัฏรจักรสุริยะครั้งหนึ่งจะมีจุดมืดเกิดขึ้น 75 – 155 จุด
55
ผลกระทบ จากพายุสุริยะ ต่อโลก
1. การเกิดแสงเหนือ แสงใต้ 2. ไฟฟ้าแรงสูงดับ ในประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลก 3. เกิดการติดขัด ทางการติดต่อโดยวิทยุคลื่นสั้น ทั่วโลก 4. วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในดาวเทียมอาจถูกทำลาย
56
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในดาวเทียมอาจถูกทำลาย
58
ดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดคือ
ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดคือ ดาวพุธ
59
ดาวพุธ ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเฉลี่ยประมาณ ๖๐ ล้านกิโลเมตร ช่วงเวลาหนึ่งวันของดาวพุธ (เวลาที่ดาวพุธหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ) เท่ากับ ๕๙ วันของโลก บางครั้งเราจะเห็นดาวพุธ ทางทิศตะวันตกตอนหัวค่ำหรือตอนใกล้รุ่งทาง ทิศตะวันออกจะปรากฏเป็น ดาวสว่างสีขาว ไม่กระพริบ แสงใกล้ขอบฟ้าเสมอ เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ด้วยตาเปล่า ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
60
ดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 คือ
ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 คือ ดาวศุกร์
61
ดาวศุกร์ ดาวศุกร์มีขนาดเล็กกว่าโลก ไม่มีอะไรอาศัยอยู่เลย อุณหภูมิพื้นผิวประมาณ ๕๐๐ องศาเซลเซียส เป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิผิวสูงที่สุด บรรยากาศปกคลุมด้วยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์หนาทึบ และเมฆของกรดกำมะถัน ในบางคืนเราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้อย่างชัดเจนทางทิศตะวันตกตอนหัวค่ำ หรือทางทิศตะวันออกตอนใกล้รุ่ง ถ้าเห็นในเวลาหัวค่ำเรียกว่าดาวประจำเมือง (Evening Star) ถ้าเห็นทาง ทิศตะวันออกเรียกว่าดาวรุ่งหรือดาวประกายพฤกษ์ (Morning Star) ดาวศุกร์เห็นสว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีบริวาร
62
ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 3 ของดวงอาทิตย์ คือ
ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 3 ของดวงอาทิตย์ คือ โลก โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่พื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำ และมีบรรยากาศที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจนและออกซิเจนปัจจัยเหล่านี้และอุณหภูมิที่เหมาะสมทำให้เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตตามที่เราต้องการ โลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๕๐ ล้านกิโลเมตร เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ ใช้เวลา ๓๖๕.๒๖๕ วัน
63
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่พื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำ และมีบรรยากาศที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจนและออกซิเจนปัจจัยเหล่านี้และอุณหภูมิที่เหมาะสมทำให้เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตตามที่เราต้องการ โลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๕๐ ล้านกิโลเมตร เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ ใช้เวลา ๓๖๕.๒๖๕ วัน
64
โครงสร้างของโลกและฤดูกาล
สิบในล้านๆปีหลังจากการเกิดโลก ความร้อนจากธาตุกัมมันตรังสี แรงโน้มถ่วง และการกระแทกจากอุกบาตทำให้เกิดการหลอมละลายและการจำแนกแยกส่วน วัตถุที่หนักก็จมลงในระดับลึก และวัตถุที่เบาก็ลอยขึ้นมาข้างบน ในระหว่างเวลานั้นบรรยากาศเดิมซึ่งเป็นก๊าซไฮโดรเจนถูกพัดพาออกไป โดยลมสุริยะ วัตถุที่หนักก็รวมกันเป็นแกน และวัตถุที่เบากว่าก็จะทำให้เกิดเป็นผิวบางๆ ผิวบางๆนี้ได้แตกออกเป็นแผ่นๆ ซึ่งจะแยกทวีปที่เป็นผืนแผ่นนี้ไปด้วยและเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ การเคลื่อนไหวนี้เรียกว่า การเคลื่อนที่ของทวีปหรือการสร้างแผ่นดิน เพราะว่าทวีปกำลังลอยอยู่บนผิวบางๆ ชั้นที่อยู่ระหว่างผิวบางๆ และเนื้อในเรียกว่า โมโฮโรวิคิกดีสคอนทินิวตี หรือโมโฮถ ถ การหมุนรอบตัวเองของโลก
65
ฤดูกาลเกิดขึ้นได้อย่างไร
ฤดูกาลเกิดขึ้นเพราะแกนของโลกเอียงทำมุมกับพื้นราบของวงโคจรที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ฤดูร้อนของซีกโลกทางเหนือเกิดขึ้นเพราะซีกโลกเหนือได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุด เนื่องจากแกนของโลกหันไปทางดวงอาทิตย์ ในขณะเดียวกัน ซีกโลกใต้จะเกิดเป็นฤดูหนาว วัฎจักรการเกิดฤดูนี้เกิดขึ้นปีละครั้งตามเวลาที่โลกเดินทางรอบดวงอาทิตย์ ระยะทางจากโลกไปดวงอาทิตย์ไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญในการเกิดฤดูกาล แต่การหันด้านของแกนโลกต่างหากที่สำคัญ
66
ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 4 ของดวงอาทิตย์ คือ
ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 4 ของดวงอาทิตย์ คือ ดาวอังคาร
67
ดาวอังคาร ดาวอังคารนี้เราทราบในชื่อหนึ่งว่า ดาวแดง ทั้งนี้เพราะว่ามี ฝุ่นสีส้มแดงฟุ้งกระจายปกคลุมพื้นผิวไว้หมด การเรียกชื่อ ดาวแดง จึงง่ายที่จะจดจำ บรรยากาศของดาวอังคารประกอบ ด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีอยู่เบาบาง แกนของดาวอังคารทำมุมเหมือนกับที่โลกทำมุมกันแกนโลก จึงทำให้เกิดฤดูกาลได้เหมือนกัน ซึ่งเห็นได้เด่นชัดกว่าโลก น้ำแข็งที่ขั้ว ดาวอังคารปกคลุมและละลายตามฤดูกาลนั้นเป็นน้ำแข็งแห้งของคาร์บอนไดออกไซด์ ดาวอังคาร ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๕ ล้านกิโลเมตร เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ ใช้เวลา ๖๘๗วัน ซึ่งเกือบ ๒ เท่าของเวลาที่โลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์
68
ระบบสุริยะ ดาวอังคาร ภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวอังคารกับโลก
69
การสังเกตดาวอังคาร เรามองเห็นดาวอังคารได้ด้วยตาเปล่าปรากฏคล้ายดาวฤกษ์สีส้มแดง ถ้าดูพื้นผิวของดาวอังคารต้องใช้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงดาวอังคารมีบริวาร ๒ ดวง ชื่อ โฟบอล และ ดีมอส ทั้งคู่มีสีคล้ำ พื้นผิวเต็มไปด้วยฝุ่นและมีรูปร่างไม่กลม โฟบอล เคลื่อนที่รอบ ดาวอังคารที่ระยะห่างเพียง ๖,๐๐๐ กิโลเมตร ส่วน ดีมอส อยู่ที่ระยะห่าง ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร นักดาราศาสตร์คิดว่า บริวารรูปร่างแปลกของดาวอังคาร นี้เป็นดาวเคราะห์น้อยมาก่อน และถูกดาวอังคารดึงมาเป็นบริวารเมื่อหลายล้านปีก่อน
70
ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 5 ของดวงอาทิตย์ คือ
ระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 5 ของดวงอาทิตย์ คือ ดาวพฤหัส
71
ดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลอยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร ดาวพฤหัสบดีเห็นสว่างรองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และ ดาวอังคาร (ขณะโคจรใกล้โลก) มองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า เนื่องจากแกนของดาวพฤหัสค่อนข้างตั้งขึ้นจึงไม่มีฤดูกาลจริงๆ เกิดขึ้น น่าแปลกมากที่ดาวพฤหัสมีแหล่งความร้อนของตัวเอง และนักดาราศาสตร์เชื่อว่าความร้อนนี้มีอยู่ตั้งแต่เริ่มกำเนิดดาวพฤหัสบดี
72
ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 6 ของดวงอาทิตย์ คือ
ระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 6 ของดวงอาทิตย์ คือ ดาวเสาร์
73
ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มี วงแหวน สวยงาม มีความหนาแน่นน้อยที่สุด ซึ่งความหนาแน่น ของมันน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดาวเสาร์คล้ายกับดาวพฤหัสบดี แต่ดาวเคราะห์ทั้งสองมีข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ ดาวเสาร์มีแกนกลางเป็นหิน ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับของโลก แต่มีความหนาแน่นประมาณ ๓ เท่า ผิวห่อหุ้มชั้นนอกอาจ จะมีอุณหภูมิประมาณ ๑๒,๐๐๐ องศาเซลเซียส (๒๑,๖๐๐ องศาฟาเรนไฮต์) ในขณะที่ความดันมีประมาณ ๘ ล้านเท่าของบรรยากาศของโลกที่ระดับน้ำทะเล
74
ระบบสุริยะจักรวาล ดาวเสาร์
วงแหวนของดาวเสาร์มีโครงสร้างซับซ้อนมาก ประกอบด้วยวงแหวนเป็นจำนวนหลายพันวง แยกกันด้วยช่องว่างแคบๆชั้นบางชั้น เช่น ชั้นคาสซินีและชั้นเอนเค ใช้ชื่อตามผู้ที่ค้นพบ วงแหวนมีขนาดบางมาก เมื่อมองจากโลกเกือบจะไม่เห็นขอบของวงแหวน วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบด้วยน้ำแข็งและ ทฤษฎีนี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริง วงแหวนบางวงมองคล้ายเกลียวเชือกและประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆ จำนวนมากโครงสร้างนี้อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากเคลื่อนที่มาจากดวงจันทร์ของดาวเสาร์ดวงใน
75
ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 7 ของดวงอาทิตย์ คือ
ระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 7 ของดวงอาทิตย์ คือ ดาวยูเรนัส
76
ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสมีระบบวงแหวน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๙๐๐ ล้านกิโลเมตร เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา ๘๔ ปี แกนกลางของดาวยูเรนัสมีขนาดเท่ากันกับแกนกลางของโลก ห่อหุ้มด้วยมหาสมุทรลึกของน้ำร้อนยิ่งยวดเหนือมหาสมุทรนี้เป็นบรรยากาศที่มีไฮโดรเจนและฮีเลียมดาวยูเรนัส หมุนรอบตัวเองเร็วมากใช้เวลาเพียง ๑๘ ชั่วโมงในขณะที่โลกใช้เวลา ๒๔ ชั่วโมง แต่ดาวยูเรนัสใหญ่กว่าโลกมาก ชั้นบนของบรรยากาศจึงหมุนเร็วกว่าโลก ดาวยูเรนัสเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ด้วยความ เร็ว ๗ กิโลเมตรต่อวินาที ช้ากว่าโลกซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ๓๐ กิโลเมตรต่อวินาที
77
ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 8 ของดวงอาทิตย์ คือ
ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารลำดับที่ 8 ของดวงอาทิตย์ คือ ดาวเนปจูน
78
ดาวเนปจูน ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ดวงที่สี่ มีขนาดเล็กกว่าดาวยูเรนัสเล็กน้อย หมุนรอบตัวเองรอบละ ๑๖ ชั่วโมง ดาวเนปจูนอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์กว่า ๔,๕๐๐ ล้านกิโลเมตร จึงใช้เวลาในการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์นานถึง ๑๖๕ ปีของโลก มีจุดดำหลายจุดบนดาวเนปจูนจุดใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่ากับโลกชื่อ จุดดำใหญ่ ( The Great Dark Spot ) อาจเป็นพายุหมุนเช่นเดียวกับจุดแดง ของดาวพฤหัสบดี ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์เป็นบริวาร ๘ ดวง ดวงใหญ่ที่สุดชื่อ ทริตัน และ เนรีด ทริตัน มีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต เคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกับดวงจันทร์อื่นๆ คือ ตรงข้ามกับทิศทางการหมุนของดาวเนปจูน
79
ดาวเคราะห์แคระที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ คือ
ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์แคระที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ คือ ดาวพลูโต
80
ดาวพลูโต ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก แต่ดาวพลูโตมีวงจรเป็นวงรีมาก จึงทำให้ดาวพลูโตอยู่ใกล้ ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนเป็นเวลา ๒๐ ปีในทุก ๒๔๙ ปีที่ดาวพลูโตเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ ดาวพลูโตมีระยะ ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่คงที่และเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากเมื่ออยู่ใกล้ที่สุดจะเท่ากับ ๔๔๒๕ ล้านกิโลเมตร และอยู่ไกลที่สุดเท่ากับ ๗๓๗๕ ล้านกิโลเมตร ดาวพลูโตมีพื้นผิวที่ปกคลุมด้วย มีเทนแข็ง และไนโตรเจนแข็ง อาจมีบรรยากาศบางๆ ด้วย บริเวณขั้วสว่างกว่าที่อื่นๆ นักดาราศาสตร์คิดว่า ขณะที่ดาวพลูโตเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์บรรยากาศจะเย็นลงและกลายเป็นของแข็งอยู่ที่พื้นผิว
81
ระบบสุริยะ GOOD BUY……
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.