งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสืบพันธุ์ Reproduction.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสืบพันธุ์ Reproduction."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสืบพันธุ์ Reproduction

2 พืชจะสืบพันธุ์อย่างไร พืชจะใช้อวัยวะใดในการสืบพันธุ์

3 พืชต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อที่จะดำรงพันธุ์
การสืบพันธุ์ของพืชดอก แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. แบบอาศัยเพศ หมายถึง การสืบพันธุ์ที่ต้องมีการผสม ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย และอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ของพืช ก็คือ ดอก เมื่อผสมกันแล้วก็เจริญเติบโตเป็น เมล็ด ซึ่งนำไปเพาะ จะสามารถงอกเป็นพืชต้นใหม่ได้

4 ๒.แบบไม่อาศัยเพศ หมายถึง การสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัย
๒.แบบไม่อาศัยเพศ  หมายถึง  การสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัย เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย  แต่ใช้ ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น  ราก ลำต้น  ใบ   ไปปักชำ ติดตา  ตอน ทาบกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น                                                                                        

5

6 การสืบพันธุ์ของพืช

7 ดอก Flower เป็นอวัยวะของพืชที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์

8 ส่วนประกอบของดอก กลีบดอก เกสรตัวผู้ ยอดเกสรตัวเมีย รังไข่ กลีบเลี้ยง
ออวุล

9 กลีบดอก เกสรตัวผู้ ออวุล เกสรตัวเมีย รังไข่

10

11 ภายในดอกจะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน คือ
ดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชซึ่ง ภายในดอกจะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน คือ 1.กลีบเลี้ยง (Sepal) มักมีสีเขียว เช่นเดียวกับใบ สามารถสังเคราะห์แสงได้ หน้าที่ ป้องกันอันตรายหรือห่อหุ้มดอก ตอนตูม

12 2.กลีบดอก (Petal) มีสีต่าง ๆใช้ในการล่อแมลงเพื่อช่วยใน
การสืบพันธุ์ โดยมีสีสวยกลิ่นหอม โคนกลีบดอกมีต่อม น้ำหวาน

13 สืบพันธุ์เพศผู้ มักมีหลายอัน เกสรตัวผู้ประกอบด้วย
3.เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นอวัยวะสำหรับสร้างเซลล์ สืบพันธุ์เพศผู้ มักมีหลายอัน เกสรตัวผู้ประกอบด้วย -ก้านชูอับละอองเรณู ( Filament ) -อับละอองเรณู ( Anther) ซึ่งภายในมีละอองเรณู (Pollen grain)

14

15

16

17

18 ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ ซึ่งเกสรตัวเมียนั้นประกอบด้วย
4.เกสรตัวเมีย (Pistil) มีหน้าที่ให้เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ ซึ่งเกสรตัวเมียนั้นประกอบด้วย - ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) - ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) - รังไข่ (Ovary) ภายในมีออวุล (Ovule)และภายในออวุล มีเซลล์ไข่อยู่ (egg)

19

20

21

22

23 เกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้

24

25

26 Lily Pistil and Close-Up of Ovary

27 กลีบดอก เกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้

28 ดอกครบส่วน (Complete flower)
คือ ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ชบา ต้อยติ่ง กุหลาบ บานบุรี มะลิ ชงโค อัญชัน มะแว้ง มะเขือ พู่ระหง ผักบุ้ง แพงพวย บัวหลวง เป็นต้น มะเขือ ชบา ผักบุ้ง

29 ดอกชงโค ดอกอัญชัน

30 ดอกแพงพวย ดอกมะแว้ง

31 ดอกไม่ครบส่วน (Incomplete flower)
ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4 ส่วน ซึ่งอาจขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปหรืออาจขาดมากกว่า 1 ส่วนก็ได้ เช่น ข้าว ข้าวโพด ตำลึง ฟักทอง จำปา บานเย็น เฟื่องฟ้า หน้าวัว มะละกอ แตงกวา มะยม มะเดื่อ บวบ ละหุ่ง เป็นต้น ดอกจำปา

32 ดอกข้าว

33 ดอกตำลึง ดอกมะละกอ ดอกบวบ

34

35 ดอกสมบูรณ์เพศ Perfect Flower ดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกชบา  ดอกกุหลาบ  ดอกบัว  ดอกบานบุรี ดอกมะเขือ ดอกพริก  ดอกถั่ว ดอกฝ้าย ดอกกะหลํ่า   กล้วยไม้ ดอกข้าว  ดอกผักบุ้ง ดอกแค เป็นต้น

36 ดอกสมบูรณ์เพศ

37 ดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว
ดอกไม่สมบูรณ์เพศ Imperfect Flower      ดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มะพร้าว  ฟักทอง บวบ   แตงกวา  ข้าวโพด  ตำลึง  มะละกอ  ตาล  มะยม  มะเดื่อ ดอกหน้าวัว ฯลฯ   

38 ข้อสังเกต ดอกครบส่วนจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ
ดอกสมบูรณ์เพศอาจจะเป็นดอกไม่ครบส่วนก็ได้

39 แมลงช่วยการผสมเกสร

40

41

42

43 ลักษณะของละอองเรณู

44

45

46 การปฏิสนธิ Fertilization

47 การปฏิสนธิ หมายถึง การที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้(สเปิร์ม) ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่) ในออวุลเป็นไซโกต แล้วเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอต่อไป

48 กระบวนการปฏิบัติการ ละอองเรณู

49 ละอองเรณู

50 การถ่ายละอองเรณู (Pollination)

51 การถ่ายละอองเรณู (Pollination)
คือการที่ละอองเรณูของเกสรตัวผู้ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย โดยมี แมลง ลม กระแสน้ำ มนุษย์ สัตว์ อื่น ๆ เป็นสื่อพาไป

52

53

54 การงอกหลอดของละอองเรณู

55

56 การงอกหลอดของละอองเรณู

57 เมื่อละอองเรณูของเกสรตัวผู้ตกลงบนยอดเกสรตัวเมียก็จะดูดน้ำจากยอด
เกสรตัวเมียจนบวมแล้วจะงอกหลอด ออกมาแทงลงไปในเนื้อเยื่อของยอดและก้านเกสรตัวเมีย นิวเคลียสในละอองเรณูที่แก่จะแบ่งเป็น 2 นิวเคลียส คือ - เจเนอเรทีฟนิวเคลียส (Generative Nucleus) ทิวบ์นิวเคลียส (Tube Nucleus)

58 สเปิร์มนิวเคลียส ทิวบ์นิวเคลียส

59 เจเนอเรทีฟนิวเคลียส (Generative Nucleus)
จะแบ่งตัวสร้างสเปิร์ม 2 ตัว สเปิร์มตัวที่ 1 จะเข้าผสมกับไข่ ได้เป็น ไซโกต (Zygote) ซึ่งจะเจริญไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) สเปิร์มตัวที่ 2 จะเข้าผสมโพลาร์นิวเคลียส ได้เป็น เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) ทิวบ์นิวเคลียส ( Tube Nucleus) ทำหน้าที่สลายผนังรังไข่ จะสลายตัวไป

60

61 กระบวนการเตรียมการ ออวุล

62

63

64 ภายในออวุลแต่ละอันจะมีการแบ่งเซลล์หลายครั้ง ได้เซลล์
3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อยู่ด้านบนมี 3 เซลล์ เรียกแอนติโพดอล กลุ่มที่ 2 อยู่ตรงกลางมี 1 เซลล์เรียกว่า โพลาร์นิวคลีไอ กลุ่มที่ 3 อยู่ด้านล่างมี 3 เซลล์โดยมีเซลล์ไข่อยู่ตรงกลาง และซินเนอร์จิด 2 เซลล์

65 การเปลี่ยนแปลงในรังไข่

66

67 รวม ๗ เซลล์ ๘ นิวเคลียส ใน ๑ ออวุล
แอนติโพดอล ๓ เซลล์ ๓ นิวเคลียส โพลาร์นิวคลีไอ ๑ เซลล์ ๒ นิวเคลียส ไข่ ๑ เซลล์ ๑ นิวเคลียส ซินเนอร์จิด ๒ เซลล์ ๒ นิวเคลียส รวม ๗ เซลล์ ๘ นิวเคลียส ใน ๑ ออวุล

68 การปฏิสนธิซ้อน (Double fertilization)

69

70 ซินเนอร์จิด ๒ เซลล์ ๒ นิวเคลียส
แอนติโพดอล ๓ เซลล์ ๓ นิวเคลียส โพลาร์นิวคลีไอ ๑ เซลล์ ๒ นิวเคลียส ไข่ ๑ เซลล์ ๑ นิวเคลียส ซินเนอร์จิด ๒ เซลล์ ๒ นิวเคลียส

71 สเปิร์มตัวที่ 2 จะเข้าผสมโพลาร์นิวเคลียส ได้เป็น
สเปิร์มตัวที่ 1 จะเข้าผสมกับไข่ ได้เป็น ไซโกต (Zygote) ซึ่งจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโอ (Embryo) สเปิร์มตัวที่ 2 จะเข้าผสมโพลาร์นิวเคลียส ได้เป็น เอนโดสเปิร์ม (Endosperm)ซึ่งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงเอ็มบริโอ

72

73

74

75

76 การปฏิสนธิเชิงซ้อน หมายถึง การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นจากสเปิร์มตัวที่ 1 ผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต และสเปิร์มตัวที่ 2 ผสมกับโพลาร์นิวเคลียสได้เอนโดสเปิร์ม

77 ภายหลังการปฏิสนธิ สเปิร์มตัวที่ 1 + ไข่ ไซโกต ต้นอ่อน(embryo)
สเปิร์มตัวที่ 2 + โพลาร์นิวเคลียส เอนโดสเปิร์ม กระบวนการนี้เกิดการปฏิสนธิ 2 ครั้ง จึงเรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน ซึ่งจะพบเฉพาะในพวกพืชที่มีดอกเท่านั้น

78

79               1. รังไข่ (Ovary) จะเจริญไปเป็นผล (Fruit)
              2. ออวุล (Ovule) จะเจริญไปเป็นเมล็ด (Seed)               3. ไข่ (Egg) จะเจริญไปเป็นต้นอ่อน (Embryo) อยู่ภายในเมล็ด               4. โพลาร์นิวเคลียส (Polar nucleus) จะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม (Endosperm) อยู่ภายในเมล็ด               5. เยื่อหุ้มออวุล (Intergument) จะเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด (Seed coat)               6. ผนังรังไข่ (Ovary wall) จะเจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล (Pericarp)               7. สำหรับกลีบเลี้ยง กลีบดอก ยอดเกสรตัวเมีย ก้านเกสรตัวเมีย แอนติโพดัล และซัลเนอร์จิด จะเหี่ยวแห้งสลายตัวไป

80 รังไข่ ผล ออวุล เมล็ด ผนังรังไข่ เปลือกและเนื้อ เยื่อหุ้มออวุล เปลือกหุ้มเมล็ด กลีบเลี้ยง เหี่ยวแห้งหลุดร่วง กลีบดอก ,, แอนติโพดอล สลายตัวไป ซินเนอร์จิด สลายตัวไป

81 สรุป

82

83

84 สรุปการปฎิสนธิ

85

86

87

88

89


ดาวน์โหลด ppt การสืบพันธุ์ Reproduction.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google