งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Improving access to Justice & legal protection for torture victimes โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับ ผู้เสียหายจากการทรมาน ดำเนินการโดย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Improving access to Justice & legal protection for torture victimes โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับ ผู้เสียหายจากการทรมาน ดำเนินการโดย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Improving access to Justice & legal protection for torture victimes โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับ ผู้เสียหายจากการทรมาน ดำเนินการโดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมด้วย องค์กรเครือข่าย กลุ่มด้วยใจ , HAP และกลุ่มผู้เสียหายจากการทรมาน supported by UNVFTV

2 การส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียน เกี่ยวกับการทรมาน (1)
อธิบายถึงมาตรฐานสากลเรื่องการร้องเรียนหมายถึงอะไร หากมีการร้องเรียนแล้ว ต้องมีการสืบสวนสอบสวน ส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานว่ามีความสำคัญอย่างไร เช่น ทำให้ เริ่มต้นการสืบสวนสอบสวน เริ่มต้นการหาพยานหลักฐาน เรียกคืนศักดิ์ศรี ได้รับ การเยียวยา นำคนผิดมาลงโทษ ป้องกันไม่ให้เกิดกับบุคคลอื่นอีก เป็นต้น ชี้แจ้งว่าใครควรมีสิทธิในการร้องเรียนเรื่องการทรมานและเมื่อไร ผู้เสียหาย ญาติ ทนายความ อาสาสมัคร หน่วยบังคับบัญชา องค์กรในประเทศ องค์กรระหว่าง ประเทศต่างๆ

3 การส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียน เกี่ยวกับการทรมาน (2)
การส่งเสริมสิทธิในการร้องเรียน เกี่ยวกับการทรมาน (2) แสวงหาช่องทางการส่งต่อเรื่องร้องเรียนเพื่อการแก้ไขเหตุการณ์ เฉพาะ การสืบสวนสอบสวน การดำเนินคดี แพ่ง อาญา ปกครอง หลักการร้องเรียน ให้ร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัว หรือ ผู้บังคับบัญชา และถ้าจำเป็นร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่มีส่วนในการ ตรวจสอบ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ปรับปรุงแก้ไข หรือการยื่นต่อ องค์การสหประชาชาติ ลดข้อจำกัดผู้ถูกคุมขังและบุคคลอื่นๆ มีสิทธิในการร้องเรียน เพิ่มประสิทธิภาพในการแสวงหาพยานหลักฐาน การจดบันทึก การใช้หลักการอิสตันบูล นิติวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ

4 การส่งเสริมการห้ามทรมานอย่างเด็ดขาด รณรงค์ให้ประเทศไทยต้องดำเนินการดังนี้ (1)
ประเทศไทยต้องป้องกันไม่ให้มีการทรมาน ออกกฎหมายห้ามให้การทรมานเป็น ข้อหาอาญา มีโทษที่เหมาะสมทั้งผู้กระทำและผู้ยุยง รู้เห็นเป็นใจ เมื่อมีการทรมานเกิดขึ้น ต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องร้องเรียนสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ถูกทรมานจะได้รับโอกาสในการร้องเรียนขอความเป็นธรรมโดยไม่ถูกทำให้ตกเป็น เหยื่อซ้ำสอง

5 การส่งเสริมการห้ามทรมานอย่างเด็ดขาด รณรงค์ให้ประเทศไทยต้องดำเนินการดังนี้(2)
เมื่อมีการร้องเรียนเรื่องการทรมานนั้น ประเทศไทยต้องสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ โดยพลัน เป็นอิสระและอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานเกิดขึ้นแล้วนั้น รัฐภาคีจะต้องมี ส่วนรับผิดชอบทางกฎหมายในการนำคนผิดมาลงโทษอย่างเป็นธรรมตามกฎหมาย และให้เหยื่อสามารถได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างเหมาะสม

6 มาตรฐานสากลเรื่องพันธกรณีที่รัฐต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเรื่องการทรมาน
คำว่า “โดยพลัน” หมายความว่าอย่างไร ในการสืบสวนสอบสวนเรื่องการทรมาน คำว่า “เป็นกลาง” หมายความว่าอย่างไร ในการสืบสวนสอบสวนเรื่องการทรมาน คำว่า “ที่มีประสิทธิภาพ” หมายความว่าอย่างไรในการสืบสวนสอบสวนเรื่องการ ทรมาน

7 โดยพลัน โดยทันทีหลังได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมาน
การสืบสวนสอบสวนไม่ควรจะเกิดขึ้นถ้าพบว่าเป็นข้อร้องเรียนที่ไม่มีมูล หรือไม่มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือใดๆ ข้อกล่าวหาทั้งหมดต้องมีการสืบสวนสอบสวนและเจ้าพนักงานของรัฐที่ถูกกล่าวหาควรมีคำสั่ง ให้ออกจากหน้าที่ไว้ก่อน อย่างไรก็ดี การพักราชการไว้ก่อนควรจะเกิดขึ้นเมื่อพบว่าข้อ กล่าวหามีน้ำหนักน่าเชื่อถือพอสมควร เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องถ้าไม่ใช่เรื่องร้องเรียนที่ตลก หรือไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือใดๆ ใน หลักการฯ ได้ระบุว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องควรได้รับการตอบรับและดำเนินการโดยพลันและ ตอบกลับอย่างไม่ล่าช้า

8 “โดยเป็นกลาง” IMPARTIAL
“ความเป็นกลาง”เป็นกุญแจสำคัญที่สำคัญที่สุดในการสืบสวนสอบสวนเรื่องการทรมาน “ความเป็นกลาง” หมายถึงปราศจากความลำเอียง ไม่ใช่ ความเป็น“อิสระ”ซึ่งหมายถึงไม่เป็นการสืบสวนสอบสวนโดยบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ถูก กล่าวหาหรือมีความสัมพันธ์กับผู้ถูกกล่าวหา (อาจไม่รู้จักใกล้ชิดกัน แต่ฝักใฝ่ก็ได้) มีอคติเพราะเขาไม่ได้พิจารณาหลักฐานทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นธรรม มีความจำเป็นที่รัฐควรจัดให้มีหน่วยงานอิสระที่ได้รับมอบหมายให้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ การทรมานและปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เพื่อทำสืบสวนสอบสวนและสร้างความยุติธรรม

9 “ที่มีประสิทธิภาพ” รายงานการสืบสวนสอบสวนควรจัดทำขึ้นในเวลาที่เหมาะสม โดยมีแนวทางการสืบสวนหาข้อเท็จจริง วิธีการสืบสวนสอบสวน วิธีการในการประเมินพยานหลักฐาน พร้อมกับการเขียนบทสรุปและข้อเสนอแนะ โดยอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและวิธีการที่ได้มาตามกฎหมาย รายงานที่สมบูรณ์ควรจัดทำเผยแพร่ต่อสาธารณะ

10 แนวทางของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป การสืบสวนสอบสวนกรณีทรมาน
แนวทางของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป การสืบสวนสอบสวนกรณีทรมาน “ความมีประสิทธิภาพของการเยียวยากรณีการทรมาน หมายถึงการปฏิบัติ ตามภาระหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้อง ดำเนินการให้มีการชี้ตัวผู้กระทำผิดและลงโทษผู้กระทำผิดที่มีส่วนรับผิดชอบในการ ปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และต้องอนุญาตให้ผู้ร้องเรียนได้เข้าถึงข้อมูลในกระบวนการ สืบสวนสอบสวนด้วย”

11 เจ้าพนักงานของรัฐจะต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้การสืบสวนสอบสวนมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล
เจ้าพนักงานของรัฐจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เหยื่อที่ถูกทรมานได้รับการปกป้องและทำ อย่างไรที่พวกเขาจะได้รับสิทธิในการมีส่วนร่วมในการสืบสวนสอบสวน เจ้าพนักงานของรัฐจะต้องมีมาตรการเพื่อให้ผู้ต้องขังและผู้อื่นได้รับสิทธิร้องเรียน เกี่ยวกับการทรมานและจัดให้มีการสืบสวนสอบสวน มีนโยบายที่สั่งการหรือเป็นกฎระเบียบบังคับหรือไม่ที่ให้เจ้าพนักงานของรัฐและ เจ้าหน้าที่ระดับบริหารต้องสืบสวนสอบสวนการร้องเรียนเรื่องทรมานจากเหยื่อ

12 วิธีการสืบสวนสอบสวนที่ดี ได้แก่
การสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหานั้นควรมีเหตุมีผลและสมควรแก่เวลา  ไม่มีอคติ มีทัศนคติของเจ้าหน้าที่ที่ดีต่อเหยื่อและผู้ที่ถูกกล่าวหา การสอบถามพยานที่ทันท่วงที/โดยพลัน การค้นหาพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ (ยกตัวอย่างเช่น การค้นสถานที่คุม ขัง ตรวจสอบบันทึกการควบคุมตัว หรือการตรวจร่างกายโดยแพทย์ที่มีการ รับรอง);

13 ข้อเสนอเพิ่มเติม การสืบสวนสอบสวน
เป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะเปิดโอกาสให้มีการสืบสวนสอบสวนโดยรัฐเองแม้ว่าจะไม่มีเรื่องร้องเรียน ถ้ามีมูลว่ามีการ ทรมานเกิดขึ้น เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่าในบางกรณีผู้ถูกทรมานอาจไม่อยู่ในภาวะที่สามารถร้องเรียนได้ เช่นกรณีที่เสียชีวิต หรือได้รับ บาดเจ็บสาหัส ที่ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เอง หรือมีข้อจำกัดทางภาษา ไม่รู้กฎหมาย ไม่มีทนายสิทธิฯ กรณีกล่าวหาต่าง ๆ ที่ได้มาจากการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือบุคคลต่าง ๆ ก็น่าจะมีมูลน่าเชื่อถือเพียงพอ

14 เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายควรที่จะดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ตกเป็นเหยื่อการทรมานดังนี้
แจ้งให้ทราบว่ามีการชดเชยเยียวยาและมีวิธีร้องเรียนอย่างไร ต้องจัดให้พบทนายความ แพทย์ และสมาชิกของครอบครัว และในกรณีที่เป็นชาวต่างประเทศ จัด ให้พบผู้แทนสถานทูตหรือกงสุล ให้ยื่นหนังสือร้องเรียนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นความลับ โดยไม่ล่าช้า ให้สามารถยื่นหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานภายนอกได้ เช่น หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจเยี่ยม รวมทั้งการให้สิทธิในการติดต่อสื่อสารอย่างเสรีกับหน่วยงาน นั้นๆ บังคับสั่งการให้เจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายทำการสืบสวนสอบสวน มีระบบการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการตรวจร่างกายอย่าง ทันท่วงที

15 ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (1)
ขอให้แก้ไขกฎหมายให้การทรมานเป็นความผิดอาญาโดยไม่ชักช้า ทบทวนการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง เช่นไม่ควรควบคุมตัวโดยไม่ตั้งข้อหา ไม่ให้ติดต่อญาติทนายความ ห้าม ไม่ให้ยกเว้นความผิดจนท. ห้ามใช้คำสารภาพที่ได้จากการทรมานเป็นหลักฐานในชั้นศาล รัฐภาคีควรใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อป้องกันการบังคับให้สูญหาย และเพื่อการต่อสู้กับการลอยนวลพ้นผิด เนื่องจากความผิดฐานบังคับให้สูญหายยังไม่มี

16 ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (2)
4. ป้องกันไม่ให้ผู้กระทำผิดกรณีทรมานลอยนวลรัฐควรดำเนินการตามเหล่านี้โดยเร่งด่วน: (ก) ประณามต่อสาธารณะ ควบคู่ไปกับการเตือนอย่างชัดแจ้งว่าผู้กระทำการดังกล่าว​หรือยินยอม รู้เห็นเป็นใจในการ กระทำทรมาน จะถูกดำเนินคดีอาญา หากมีคำพิพากษาว่ากระทำผิดจริงจะต้องรับโทษตามความสมควรแก่ความผิด   (ข) ใช้มาตรการที่จะได้รับการสอบสวน ทันที อย่างละเอียด และยุติธรรม โดยหน่วยงานพลเรือนที่เป็นอิสระอย่างเต็มที่ ผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดี และหากพบว่ามีความผิดจริงตามข้อกล่าวจะต้องได้รับการลงโทษตามสมควรแก่พฤติการณ์ แห่งความผิด   (ค) พักการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในระหว่างการสืบสวนข้อกล่าวอ้างว่ามีการกระทำทรมานและการปฏิบัติที่ โหดร้าย   (ง) ดำเนินการให้แน่ใจว่าบุคลากรทางทหารจะได้รับการพิจารณาคดีในศาล พลเรือน สำหรับข้อหาการกระทำการ ทรมานและการกระทำอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน   (จ) จัดทำระบบรับข้อร้องเรียนที่เป็นอิสระสำหรับทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ  

17 ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (3)
5. การคุ้มครองพยานและผู้ตกเป็นเหยื่อ รวมถึง ญาติ  (ก) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานฯ เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินการใดๆ รวมทั้งการ ดำเนินคดีทางแพ่ง คดีปกครอง และการขยายประเภทของบุคคลที่สามารถได้รับการคุ้มครอง   (ข) ให้ความมั่นใจว่าผู้กระทำผิดจะไม่มีอิทธิพลต่อกลไกการคุ้มครองพยาน และผู้กระทำผิดจะต้องรับผิด   (ค) ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบว่ามีพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานฯ และให้พยานใน กรณีการกระทำทรมานสามารถเรียกร้องบริการคุ้มครองพยานได้   (ง) การยกเลิกการดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาหรือการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ร้องเรียนและพยานใน กรณีที่เกี่ยวกับการกระทำทรมานจากการดำเนินคดีดังกล่าว  

18 ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (4)
การป้องกันการทรมานและการประติบัติและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (ก) ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโดยการตรวจเยี่ยมปกติ และการตรวจเยี่ยมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยการตรวจสอบระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ ที่เป็นอิสระ การตรวจสอบยังรวมถึงการตรวจสอบจากองค์กรพัฒนาเอกชน   (ข) นำเสนอข้อเสนอแนะจากการตรวจเยี่ยมเผยแพร่สู่สาธารณะ และติดตามผลของระบบการตรวจสอบดังกล่าว   (ค) เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ เวลา และระยะเวลา การตรวจสอบ รวมถึงการตรวจเยี่ยมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ตามสถานที่ที่ควบคุมบุคคลที่สูญสิ้นเสรีภาพ ตลอดจนข้อค้นพบและการติดตามผลของการตรวจเยี่ยมดังกล่าว   (ง) ให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้ มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และจัดตั้งกลไกป้องกันการทรมานแห่งชาติ

19 ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (5)
รัฐภาคีควรให้แน่ใจว่า กสม. สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามอาณัติของตน ให้สอดคล้องกับ หลักการปารีส (มติสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ที่ 48/134, โปรดพิจารณา ภาคผนวก ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโดยการเสริมสร้างบทบาทของกสม. ในการดำเนินการตรวจเยี่ยมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อ อำนวยความสะดวกในการรับฟังถ้อยคำจากผู้ถูกควบคุมตัวเป็นการลับ รัฐภาคีควรนำข้อเสนอแนะของ กสม. มาปฏิบัติ และให้หลักประกันความเป็นอิสระและการมีตัวแทนจาก องค์ประกอบที่มีความหลากหลายของกสม. คณะกรรมการฯแนะนำให้รัฐภาคีพิจารณาทบทวนขั้นตอนการเลือกสรรคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ(กสม.) ที่เคยเป็นมา ให้มีมุมมองที่จะเพิ่มจำนวนของคณะกรรมาธิการ และเพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วม  

20 ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (6)
การอบรมเจ้าหน้าที่รัฐ (ก) จัดให้มีโครงการฝึกอบรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีความตระหนักถึง บทบัญญัติของอนุสัญญา และเข้าใจว่าจะไม่ยินยอมให้มีการละเมิดโดยเด็ดขาด แต่จะมีการตรวจสอบและนำ ผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม   (ข) จัดให้มีการฝึกอบรมเฉพาะทางด้านวิธีตรวจสอบว่ามีการทรมานและการประติบัติที่โหดร้ายหรือไม่ รวมทั้ง การฝึกอบรมการใช้ คู่มือการสืบสวนและการบันทึกการกระทำทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นๆ ที่ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีอย่างมีประสิทธิภาพ (พิธีสารอิสตันบูล) สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุก คน รวมทั้งบุคลากรการแพทย์   (ค) เสริมสร้างความพยายามที่จะใช้วิธีการที่มีความอ่อนไหวทางเพศในการฝึกอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลการ สอบสวน หรือการปฏิบัติต่อสตรี ที่อยู่ภายใต้การจับกุมคุมขังหรือจองจำในทุกรูปแบบ   (ง) ประเมินประสิทธิภาพและผลกระทบของโครงการการฝึกอบรมและการให้ศึกษาต่อเหตุการณ์การทรมานและ การปฏิบัติที่โหดร้าย  

21 ข้อเสนอของยูเอ็นต่อประเทศไทยกรณีทรมาน (7)
ประเทศไทยควรรวบรวมข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาในระดับชาติ รวมถึง (1)ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียน การสอบสวน การดำเนินคดี และการตัดสินลงโทษกรณีการกระทำทรมานและการ ประติบัติที่โหดร้าย (2)การเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัว การวิสามัญฆาตกรรม การบังคับให้บุคคลสูญหาย ความ รุนแรงอันมีทางเพศ การค้ามนุษย์ (3)และข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการชดเชย การชดใช้และการฟื้นฟูเยียวยาให้กับผู้ประสบการกระทำทรมาน เมื่อรวบรวม แล้วพึงส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังคณะกรรมการ CAT


ดาวน์โหลด ppt Improving access to Justice & legal protection for torture victimes โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับ ผู้เสียหายจากการทรมาน ดำเนินการโดย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google