งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 10 การบริหารระบบเครือข่าย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 10 การบริหารระบบเครือข่าย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 10 การบริหารระบบเครือข่าย

2 การบริหารเครือข่าย ผู้บริหารระบบเครือข่าย (Network Manager) มีหน้าที่ดูแลทั้งส่วนที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เพื่อให้สอดคล้องกับกิจการขององค์กร หน้าที่ของผู้บริหารเครือข่าย วางแผนและเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่าย สร้าง ทดสอบ และดูแลอุปกรณ์ระบบเครือข่าย ติดตั้งและดูแลความปลอดภัยของเครือข่าย ประสานงานกับลูกค้า และผู้ให้บริการสื่อสารทางไกล บริหารงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

3 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
วัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย มี 2 อย่างคือ การทำให้ผู้ใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารมีความพึงพอใจมากที่สุด ทำให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยงบประมาณที่กำหนด ลูกค้า (ผู้ใช้ระบบ) ร้านค้า (ระบบเครือข่าย) สินค้า (บริการเครือข่าย) 3

4 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ความพึงพอใจของผู้ใช้ จะแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานเครือข่าย ลูกค้าในตลาดหลักทรัพย์ ต้องการผลตอบที่รวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง ไม่เน้นกราฟฟิก ลูกค้าในวงการแฟชั่น ต้องการภาพกราฟฟิกสวยงาม ไม่ต้องการความเร็ว ปัจจัยที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้ แบ่งออกได้เป็น 6 หัวข้อคือ ประสิทธิภาพ ความสามารถในการใช้งานได้ ความเชื่อถือได้ การสำรองข้อมูล ช่วงเวลาที่สามารถใช้ระบบเครือข่ายได้ การจัดเตรียมข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ 4

5 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ประสิทธิภาพ ดูได้จากระยะเวลาในการตอบสนอง (Response Time) ซึ่งมีวิธีคิดแตกต่างกันไป เช่น การนับระยะเวลาตั้งแต่การกดปุ่มทำงาน จนกระทั้งข้อมูลที่ต้องการปรากฏขึ้น โดยทั่วไปจะต้องตั้งระยะเวลาในการตอบสนองไว้ตั้งแต่ตอนออกแบบเครือข่าย ปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง อาจจะมีสาเหตุได้ทั้ง ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟแวร์ 5

6 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ประสิทธิภาพ ระยะเวลาการตอบสนองได้รับผลกระทบจากหลายสาเหตุ เช่น จำนวนผู้ใช้ (Clients) ถ้าผู้ใช้มาก ระยะเวลาก็จะนานไปด้วย จำนวนโหนด (Node) ถ้ามีโหนดมาก ระยะเวลาก็จะนานขึ้น ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ รวมถึงการตั้งค่าในโปรแกรม 6

7 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ความสามารถในการใช้งานได้ ปัจจัยนี้มีความสำคัญต่อความพึงพอใจของผู้ใช้มาก เพราะถ้าผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานได้บ่อยครั้ง ก็จะยกเลิกการใช้บริการกับเครือข่ายได้ มีสาเหตุหลายประการที่เครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้ เช่น การบำรุงรักษา (Maintenance) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ควรต้องมีการวางแผนล่วงหน้า แจ้งผู้ใช้ให้ทราบ และทำอย่างรวดเร็ว 7

8 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ความสามารถในการใช้งานได้ เอ็มทีบีเอฟ (Mean Time Between Failures) คือเวลาเฉลี่ยระหว่างการเสียหาย (แตกต่างจาก MTTF คือค่าเฉลี่ยของเวลาก่อนการเกิดการเสียหายครั้งแรก) เอ็มทีทีอาร์ (Mean Time To Repair) คือ ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ต้องใช้ในการซ่อมแซม ความสามารถในการใช้งานได้ (Availability) Availability = MTBF / [MTBF + MTTR] หน่วยเป็น % 8

9 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ความเชื่อถือได้ ความเชื่อถือได้ (Reliability) คือ ความน่าจะเป็นที่เครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติและต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ความน่าเชื่อถือนี้ แตกต่างจากความสามารถในการใช้งาน เพราะจะดูที่ความผิดพลาดของข้อมูล เช่น ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ แต่ข้อมูลที่ได้รับผิดพลาดไปจากที่ควรจะเป็น ลักษณะนี้ถือว่าความน่าเชื่อถือไม่ดี 9

10 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ระบบสำลอง ระบบสำลอง (Backup) ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะช่วยทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือในการใช้บริการ การทำระบบสำลองสามารถทำได้ทั้ง ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟแวร์ เทคนิคการสำลองข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์อย่างต่อเนื่องมี 2 วิธี คือ ดิสก์มิเรอริ่ง (Disk Mirroring) มีอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน 1 ชุด ดิสก์ดูเพล็กซิ่ง (Disk Duplexing) มีอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน 2 ชุด ต้องมีการวางแผน ระยะเวลา และปริมาณที่ต้องการสำลองข้อมูลไว้ด้วย 10

11 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
ช่วงเวลาที่สามารถใช้เครือข่ายได้ เป็นปัจจัยที่ต้องรักษาไว้ให้นานที่สุด เมื่อระบบเครือข่ายแสดงอาการที่ไม่ปกติ จะมีวิธีการแก้ปัญหา 3 อย่าง คือ กลบเกลื่อนปัญหา (Patch around the problem) เช่น การย้ายเส้นทางอ้อมส่วนที่เสีย จัดหาอุปกรณ์ใหม่มาทดแทน เป็นวิธีที่นิยมมากเพราะได้ผลทันที แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และของที่สำลองไว้อาจจะไม่ได้ใช้งานเลย การซ่อมแซม เป็นวิธีที่ประหยัด แต่ข้อเสียคือไม่สามารถกำหนดเวลาได้ 11

12 10.1 วัตถุประสงค์การบริหารเครือข่าย
การจัดเตรียมข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ ระบบจะต้องมีข่าวสารแจ้งแก่ผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา ต้องแจ้งกำหนดล่วงหน้า ถ้าจะทำการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และต้องปฏิบัติงานตามกำหนดที่แจ้งผู้ใช้ให้ตรงเวลาที่สุด รวมถึงมีช่องทางที่ผู้ใช้งานสามารถ สอบถามเกี่ยวกับข่าวสารต่างๆ ที่ต้องการทราบได้โดยสะดวก 12

13 10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย
ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์ข้อที่สองของการบริหารเครือข่าย วิธีการพิจารณาการใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประการด้วยกัน คือ การวางแผนล่วงหน้า การปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์ การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม การย้ายตำแหน่งอุปกรณ์ 13

14 10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย
การวางแผนล่วงหน้า การวางแผนที่ดี ย่อมทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพ และคุ้มกับเงินลงทุนได้ การวางแผนนี้จะต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทุกส่วนในระบบเครือข่าย และต้องสอดคล้องต่อชนิด และปริมาณการส่งข้อมูลด้วย การวางแผนเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นจะมีอยู่ 2 แนวทาง คือ การเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อรองรับการใช้งานในปัจจุบันเท่านั้น ต้นทุนต่ำ แต่ขยายไม่ได้ การเลือกซื้ออุปกณ์เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต ต้นุทนสูง แต่เสี่ยงต่อการเปลี่ยน 14

15 10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย
การปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บางอย่างที่จำเป็นเข้าไปในระบบเดิม เพื่อทำให้รองรับการใช้งานที่มากขึ้น ใช้งบประมาณน้อย แต่ได้ประสิทธิภาพสูง แต่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสมัยของระบบเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างรูปที่ 10.1 15

16 10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย
การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ในกรณีที่อุปกรณ์เดิมไม่สามารถขยายขีดความสามารถได้แล้ว วิธีนี้จึงจำเป็น วิธีนี้จะต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่เฉพาะที่จำเป็นเพื่อติดตั้งเพิ่มเติม แล้วทำให้ระบบเดิมมีขีดความสามารถสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ประสิทธิภาพโดยรวมอาจจะลดลงได้ เนื่องจากการทำงานของระบบเก่ากับอุปกรณ์ใหม่ไม่ตรงกัน 16

17 10.2 ประสิทธิผลด้านค่าใช้จ่าย
การย้ายตำแหน่งอุปกรณ์ เป็นวิธีการสุดท้าย ที่จะช่วยลดต้นทุนได้ เมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ที่มีสมรรถนะสูง เข้ามาแทนในระบบ อุปกรณ์เก่าที่ยังใช้งานได้อยู่ก็สามารถย้ายไปอยู่ในส่วนที่สามารถให้บริการได้ ทำให้เป็นการขยายความสามารถโดยรวมของระบบ และใช้งบอย่างคุ้มค่า 17

18 10.3 การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆ เช่น คณะทำงาน (Staff) และการวิเคราะห์ระบบเครือข่าย (Network Analysis) คณะทำงาน ประกอบด้วย ช่างเทคนิค (Technician) เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา (Helpdesk) ผู้ควบคุมระบบเครือข่าย (Network Administrator) การวิเคราะห์ระบบเครือข่าย มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ ค่าสถิติเกี่ยวกับการใช้งาน การปรับปรุงระบบเครือข่าย 18

19 10.3 การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
ค่าสถิติเกี่ยวกับการใช้งาน ต้องอาศัยโปรแกรมซอฟแวร์เพื่อเก็บค่า และวิเคราะห์ มีหลายประเภท เช่น ซอฟแวร์สำหรับการวิเคราะห์ค่าสถิติ (Statistical Analysis System) ซอฟแวร์สำหรับสร้างแบบจำลอง (Wokload Generator) ซอฟแวร์สำหรับบันทึกเหตุการณ์ (Log Files) ผู้ดูแลเครือข่าย จะต้องหมั่นตรวจสอบค่าทางสถิติเหล่านี้เพื่อจะได้วางแผนสำหรับการขยายตัว และป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย 19

20 10.3 การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
การปรับปรุงระบบเครือข่าย เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบเครือข่าย เพื่อมาปรับปรุงเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพดีมากขึ้น การปรับปรุงระบบเครือข่ายนี้ สามารถทำได้ตั้งแต่ การเปลี่ยนซอฟแวร์ หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่าง จนกระทั้งในระดับที่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเครือข่าย ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ งบประมาณ และเวลาในการดำเนินงานด้วย 20

21 10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย
โดยมากเครื่องมือนี้จะอยู่ในรูปของซอฟแวร์ ทำหน้าที่ตรวจหาข้อบกพร่อง และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เครื่องมือตรวจสอบสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ซอฟแวร์บริหารอุปกรณ์ (Device Management Software) ซอฟแวร์บริหารองค์กร (Enterprise Management Software) ซอฟแวร์บริหารโปรแกรมประยุกต์ (Application Management Software) 21

22 10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย
โปโตคอลสำหรับระบบบริหารเครือข่ายที่นิยมใช้งานมี 2 อย่าง โปโตคอลเอสเอ็นเอ็มพี (Simple Network Management Protocol : SNMP) ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้งานร่วมกับ TCP/IP โดยที่จะมีซอฟแวร์นี้ติดที่ตัวอุปกรณ์ และแต่ละอุปกรณ์ก็จะส่งข้อมูลมายังคลังส่วนกลางที่เรียกว่า MIB (Management Information Base) เพื่อทำรายงานสถานะเครือข่ายต่อไป เดิมทีมีการพัฒนาเพื่อให้ใช้งานแบบง่าย ต่อมาบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ได้พัฒนาส่วนเพิ่มเติม (Extension) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ แต่มีปัญหาที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับบริษัทอื่นๆได้ ตัวอย่างส่วนเพิ่มเติมที่นิยม ได้แก่ อาร์มอน (Remote Monitoring : RMON) เป็นการอนุญาตให้เก็บข้อมูลไว้ที่ MIB ใกล้เคียงได้ แทนที่จะส่งไปที่ MIB ส่วนกลาง 22

23 10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย
โปโตคอลเอสเอ็นเอ็มพี (Simple Network Management Protocol : SNMP) 23

24 10.5 เครื่องมือสำหรับตรวจสอบเครือข่าย
2. โปโตคอลซีเอ็มไอพี (Common Management Interface Protocol : CMIP) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย ISO ใช้งานบน OSI มีการรักษาความปลอดภัยดีกว่า SNMP แต่ละเอียด และซับซ้อนกว่ามาก ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ 24

25 คำถามท้ายบท จงบอกวัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย
จงบอกความหมายของคำต่อไปนี้ MTBF MTTR Availability SNMP CMIP เทคนิควิธีการสำลองข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์มีกี่แบบ อะไรบ้าง ซอฟแวร์เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบเครือข่ายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 10 การบริหารระบบเครือข่าย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google