ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยนงนุช พิศาลบุตร ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร IEP หลักสูตรเตรียมวิทย์ หลักสูตรทั่วไป
2
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการเรียน วิทย์-คณิต
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการ คิดอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียง ของประเทศ
3
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการเรียนศิลป์-ภาษาจีน
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาจีน และความรอบรู้ต่างๆเกี่ยวกับภาษาจีน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และนำ ความรู้ความสามารถที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
4
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการเรียนศิลป์-ภาษาอังกฤษ
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และความรอบรู้ต่างๆเกี่ยวกับ ภาษาอังกฤษ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และ นำความรู้ความสามารถที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
5
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการเรียน ศิลป์-ธุรกิจ
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ… โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และนำ ความรู้ความสามารถที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
6
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการเรียน ศิลป์-ทั่วไป
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะความรู้วิชาการหลายแขนง เพื่อให้นักเรียนค้นพบ ความถนัดและความสนใจของตน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนค้นหาความถนัดและความสนใจของตน สอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และนำความรู้ความสามารถที่ได้ รับไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
7
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการเรียนศิลป์-คหกรรม
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการประกอบอาหาร และความรอบรู้ต่างๆเกี่ยวกับ ประกอบอาชีพ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำความรู้ความสามารถที่ได้รับไปปรับใช้ในการ ประกอบอาชีพ
8
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการเรียนทวิศึกษา-ช่างไฟฟ้ากำลัง
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพช่างไฟฟ้า เป็นการเพิ่มโอกาสทาง การศึกษาและเพิ่มโอกาสการมีงานทำให้กับผู้เรียนในระดับมัธยมปลาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และนำความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
9
มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแผนการ เรียนศิลป์-กีฬา
มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย และความรอบรู้ต่างๆเกี่ยวกับกีฬา ต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และนำความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ
10
3. จัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น(หลักสูตรท้องถิ่น)
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจนให้มีความรัก ความผูกพัน และมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตในสังคม) โดยมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
11
แนวทางในการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น
1. สอดแทรกในรายวิชาพื้นฐาน โดยบูรณาการตัวชี้วัดและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในการทำโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับรายวิชาพื้นฐานที่มีตัวชี้วัดที่สามารถนำมาบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นได้ เช่น การเขียนรายงาน กับ วิชาภาษาไทย การสืบค้นข้อมูล กับ วิชาคอมพิวเตอร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ
12
แนวทางในการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น
2. จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ง20201, ง30201 ภูมิปัญญาเมืองแจ๋ม 1 (เน้นการศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น) ง20202, ง30202 ภูมิปัญญาเมืองแจ๋ม 2 (เน้นการศึกษาวิธีการจัดทำโครงงาน) ง20203, ง30203 ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองแจ๋ม 1 (เน้นการสืบค้นข้อมูล) ง20204, ง30204 ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองแจ๋ม 2 (เน้นการจัดทำโครงงาน) ง20205, ง30205 โครงงานท้องถิ่นเมืองแจ๋ม (เน้นการนำเสนอและเผยแพร่โครงงานสู่ชุมชน)
13
แนวทางในการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น
1. จัดเป็นกิจกรรมเพิ่มเติมในหลักสูตร โดยกำหนดให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5 ได้เรียนรู้ในกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งรูปแบบของการจัดกิจกรรมบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การจัดให้ปราชญ์ชาวบ้านได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในอำเภอแม่แจ่ม มาสาธิตและให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
14
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.