งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม

2 ปรัชญาอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับองค์ ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะเชื่อว่ามนุษย์มิใช่วัตถุ แต่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก มีความต้องการ

3 องค์ประกอบที่สำคัญของลัทธินี้ก็คือ “ความมีเสรีภาพ ความรู้สึกรับผิดชอบและการเลือกตัดสินใจ”

4 ความเป็นมา สาเหตุที่เกิดปรัชญาลัทธินี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากความรู้สึกสูญเสียตัวเองไปจากระบบสังคมปัจจุบัน การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างกรอบของสังคมที่จำกัดเสรีภาพ ของมนุษย์

5 ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละวันเราต้องทำหน้าที่ไปตามกรอบของสังคมที่วางไว้ จนไม่ค่อยจะมี เสรีภาพเป็นตัวของตัวเองเลย

6 ฟรีด์ริค นิตเซ่ (Friedrich Nietzsche 1844-1900)
นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้มีอิทธิพลต่อความคิดของนักอัตถิภาวนิยมมาก ผู้หนึ่ง จึงได้เสนอให้มนุษย์ออกมาจากกรอบของสังคมอย่างทรนง

7 เขาเห็นว่าการเดินตามประเพณีเป็นวิธีการเลี่ยงความรับผิดชอบของคน ขี้ขลาดและอ่อนแอ

8 นิตเช่ ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 พวก คือ
นิตเช่ ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 พวก คือ 1. พวกยึดถือธรรมะแบบนาย คือ พวกที่เข้มแข็งมั่นใจตนเอง เป็นตัวของตัวเองทั้งในด้านของความคิด และการปฏิบัติ

9 พวกนี้จะยึดถืออุดมการณ์ และปฏิบัติ การภายหลังได้คิดตรึกตรอง แล้วจะไม่ยอมเชื่อใครง่าย ๆ หากไร้เหตุผล

10 2. พวกยึดถือธรรมะแบบทาส คือ พวกที่ไม่กล้าเป็นตัวของตัวเอง เพราะไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง จึงมอบตัวเองให้กับหลักการที่คาดว่าจะช่วยคุ้มครอง

11 หรือให้ความปลอดภัยแก่ตนได้ พวกนี้จะอ้างหลักการอันเป็นที่ยอมรับ ของสังคมเพื่อความสบายใจ

12 นิตเช่ ได้พยายามชักจูงให้มนุษย์เดินทางไปสู่การยึดถือธรรมะแบบนาย บุคคลที่มีบทบาทหลายท่าน ในการเผยแพร่แนวคิดทางลัทธิปรัชญา อัตถิภาวนิยม คือ

13 ความหมายของปรัชญา การศึกษาอัตถิภาวนิยม

14 ปรัชญานี้เน้นที่เสรีภาพ และการเลือกตัดสินใจของมนุษย์เป็นสำคัญ และเมื่อเลือกกระทำหรือตัดสินใจแล้วก็ต้องรับผิดชอบในการเลือกกระทำหรือตัดสินใจนั้น ๆ ด้วย

15 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมนี้ “เป็นแนวทางที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกรอบแห่งวัฒนธรรมของสังคม”

16 แนวคิดพื้นฐาน 1. มนุษย์คือเสรีภาพ สภาพความเป็นมนุษย์และเสรีภาพเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้

17 2. มนุษย์เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง

18 3. ไม่มีสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นภายในตัวหรือนอกตัวมนุษย์ ที่จะปั้นมนุษย์ได้

19 4. เชื่อว่าทุกคนมีอดีต อดีตเปลี่ยนแปลงไม่ได้

20 5. มนุษย์จะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

21 ความหมายของการศึกษา การศึกษาคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนรู้จักพิจารณา ตัดสินใจตามสภาพและเจตจำนงค์ ที่มีความหมายต่อการดำรงชีวิตของตนเองอย่างแท้จริง

22 การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำ ให้มนุษย์เป็นมนุษย์

23 ความมุ่งหมายของการศึกษา
1. มุ่งให้เด็กมีเสรีภาพโดยไม่ก้าวก่ายเสรีภาพของผู้อื่น 2. มุ่งให้เด็กพัฒนาตนเองไปอย่างมีความสุขและมีความมั่นใจในตัวเองยิ่งขึ้น

24 3. มุ่งให้เด็กมีชีวิตที่เป็นสุข
4. มุ่งให้เด็กเป็นตัวของตัวเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

25 กระบวนการเรียนการสอน
1. ถือว่าการเรียนเป็นเรื่องของความสนใจ และความต้องการของเด็กแต่ละคน การเรียนจึงเป็นเรื่องของการเลือก ไม่ใช่การบังคับ

26 2. ไม่มีการสอนเกี่ยวกับศาสนาหรือการ
ให้ความรู้ทางด้านศาสนาแก่ เด็ก ๆ

27 3. จัดประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ในการดำรงชีวิตร่วมกัน ด้วยการปกครองตนเองแบบประชาธิปไตย

28 4. จัดกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กครูต้องค้นหาความสนใจของเด็กว่าอยู่ที่สิ่งใด

29 สถาบันการศึกษา ต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพให้
เด็กมีความตื่นตัวทั้งในและนอก ห้องเรียน

30 ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองรู้จักตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือก และรู้จักเลือกโดยอิสระเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเองเพื่อนำไปใช้หลังจบการศึกษา

31 ผู้บริหาร จะต้องเห็นความสำคัญของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเรียนได้เต็มที่

32 ผู้สอน ต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของการให้
เสรีภาพแก่นักเรียนอย่างเต็มที่ 2. ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถปรับตัวในการอยู่ ร่วมกันกับเด็ก ๆ ในลักษณะ ที่ทัดเทียมกันได้

33 3. ต้องเป็นผู้มีความจริงใจให้ความรัก
การยอมรับเด็กในสภาพที่เขาเป็นอยู่

34 4. ต้องเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กปรับตัวเองได้
5. จะต้องไม่บังคับให้เด็กต้องทำในสิ่ง ที่เด็กไม่ต้องการ

35 6. ต้องเข้าใจในธรรมชาติของเด็กแต่
ละวัย

36 7. ต้องจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้เด็กค้นพบตนเอง รู้จักตนเอง และปรับปรุงตัวเองได้

37 ผู้เรียน 1. เป็นผู้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่แต่เป็น
เสรีภาพที่ไม่ก้าวก่ายเสรีภาพของผู้อื่น

38 2. เป็นผู้มีเสรีภาพที่จะเลือกเรียนหรือเล่น หรือทำ กิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียนจัดไว้เด็กที่มีเสรีภาพ

39 3. เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน มี การปกครองตนเองแบบประชาธิปไตย

40 สภาโรงเรียนนี้มีอำนาจจัดการได้ทุกเรื่องอย่างกว้างขวาง สมาชิกทุกคนมีเสรีภาพเต็มที่ในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นกันอย่างไม่เกรงใจกัน

41 4. เป็นเด็กที่มีความเป็นมิตร และเป็น
กันเองกับทุกคน

42 วิธีสอน ต้องให้ผู้เรียนสำรวจ และค้นหาความ สนใจที่แท้จริงของตนเอง

43 หลักสูตร หลักสูตรจัดสอนวิชาต่างๆ ตามที่ทาง
ราชการกำหนดไว้เหมือนในโรงเรียน ทั่วๆ ไป

44 การประเมินผล จากความเชื่อที่ว่าเด็กมีความแตกต่างกันในด้าน
การเรียนรู้ ฉะนั้น การวัดผลประเมินผลก็เพื่อ 1. สำรวจพัฒนาการของเด็กแต่ละคนว่า สามารถเรียนรู้ในเรื่องใดผ่านบ้างและควรเน้น หรือทบทวนเรื่องใดเป็นพิเศษบ้าง

45 2. เพื่อหาข้อบกพร่องของครูผู้สอน เพื่อจะได้ ปรับปรุงการจัดคาบเรียนคาบสอนให้เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กให้มากที่สุด มิใช่วัดผลประเมินผลเพื่อหาข้อบกพร่องของเด็กฝ่ายเดียว 3. เพื่อเปลี่ยนกลุ่มหรือเลื่อนกลุ่มการเรียนของเด็ก ซึ่งมีอยู่ตลอดปีเป็นการเลื่อนกลุ่มสำหรับเด็กที่มีความสามารถที่จะเรียนในกลุ่มที่ระดับสูงขึ้น

46 4. การวัดผลนั้น ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดการยอมรับในความสามารถของตนเองและ ของผู้อื่น เพราะโดยธรรมชาติแล้วเด็กจะมีความถนัด หรือความสามารถที่แตกต่างกัน การที่จะให้ทุกคนได้ดีในสิ่งเดียวกันจึงเป็นเรื่องที่ขัดกับความเป็นจริง และสร้างปมให้เกิดขึ้นกับเด็ก ดังนั้น การเรียนจะต้องไม่เป็นลักษณะการแข่งขันว่าใครเก่ง ใครอ่อน แต่ควรให้เด็กแข่งขันกับตัวเอง

47 ในการทดสอบย่อยหรือการทำแบบฝึกหัดย่อยในระหว่างที่เรียนและทดสอบภาคปลายจะต้องไม่เน้นเอาคะแนนมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบความเก่ง ความอ่อนของเด็ก แต่จะต้องเป็นการประเมินผลเพื่อส่งเสริมเด็กเก่ง และช่วยเหลือเด็กอ่อน 5. ครูจะต้องหาความเด่นหรือความสามารถของเด็กแต่ละคนและทำให้คนอื่นเห็นและเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านั้น แนะนำช่วยเหลือกันเองในเรื่องที่แต่ละคนทำไม่ได้

48 6. ความสำเร็จของเด็กในโรงเรียนหมู่บ้านเด็กที่มีผู้กล่าวถึง คือ
- ความกล้าทำ กล้าสร้างสรรค์ กล้าแสดง-ออก และรับผิดชอบต่อตนเองได้ดีช่วยเหลือตนเอง ในสิ่งที่ทำได้ และกล้ายอมรับความผิดที่ตนได้กระทำโดยไม่ปิดบัง เป็นต้น

49 การวัดผลและประเมินผล
1. ไม่เน้นการสอนเนื้อหาวิชาจึงไม่มีการ สอบประจำ ชั้นเรียนไม่มุ่งประเมิน ผลเพื่อการแข่งขัน หรือคัดคนเก่งคน อ่อน แต่เพื่อปรับปรุงทั้งครูและ นักเรียน คือเพื่อ

50 ครูปรับปรุงการสอน นักเรียนพัฒนาตนเอง คือ ให้นักเรียนแข่งกับตัวเอง

51 2. ประเมินพฤติกรรมนักเรียนแต่ละคน
- เด็กที่มีเสรีภาพจะมีความสุข และเป็น มิตรกับคนอื่น - มีความรับผิดชอบในการเลือกของ ตนเอง


ดาวน์โหลด ppt ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google