ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยHannah Holmen ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า (Transaction Exposure)
บทที่ 8 การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า (Transaction Exposure)
2
ความหมายของการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการทำกำไร (Profitability) กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) และมูลค่าตลาด (Market Value) ของกิจการอันเป็นผลสืบเนื่องจาก การที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้เปลี่ยนแปลง
4
2. การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า
2.1 ลักษณะการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า ตัวอย่างที่ 1 บริษัทส่งออกสินค้าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตกลงทำสัญญาขายผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้กับบริษัทนำเข้าแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าสินค้าที่คิดเป็นเงินสกุลบาทเท่ากับ 8,000,000 บาท จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ตกลงทำธุรกรรมซื้อขายเท่ากับ 40 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ สรอ. บริษัทไทยได้ยอมให้กับบริษัทอเมริกันจ่ายชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินเท่ากับ 200,000 ดอลลาร์ สรอ. และยังได้ให้สินเชื่อทางการค้าเป็นระยะเวลา 3 เดือนด้วย ถ้าในวันครบกำหนดการชำระเงินค่าสินค้า เงินสกุลบาทได้อ่อนค่าลงเป็น 50 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ สรอ. บริษัทส่งออกของไทยจะได้รับเงินค่าสินค้าเป็นเงินสกุลบาทเท่ากับ 10,000,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าที่บริษัทคาดว่าจะได้รับถึง 2,000,000 บาท ในทางกลับกัน ถ้าค่าเงินสกุลบาทแข็งค่าขึ้นจนทำให้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่มีการชำระเป็น 30 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ สรอ. บริษัทส่งออกของไทยก็จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินตราต่างประเทศ เนื่องจาก บริษัทจะได้รับการชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินสกุลบาทเพียง 6,000,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่าบริษัทคาดว่าจะได้รับถึง 2,000,000 บาท ดังนั้น การที่บริษัทมีกระแสเงินสดรับจริงต่างไปจากที่คาดว่าจะได้รับ เนื่องจากรายการค้าที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้าแล้ว จึงถือว่าได้ว่าบริษัทส่งออกสินค้าของไทย มีการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า
5
2.2 รายการที่มีการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า
1.ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่เป็นเงินเชื่อโดยกำหนด ราคาค่าสินค้าในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศ 2.ธุรกรรมเกี่ยวกับการกู้ยืมและการให้กู้ยืมในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศ 3.ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 4.ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อสินทรัพย์หรือรายการหนี้สินต่างๆ
6
2.3 ช่วงอายุ (Life Span) ของการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า
7
2.3.1ส่วนประกอบของการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า
ก. การเปิดรับความเสี่ยงจากการเสนอราคา (Quotation Exposure) ข. การเปิดรับความเสี่ยงระหว่างการผลิตสินค้า (Backing Exposure) ค. การเปิดรับความเสี่ยงจากการวางใบชำระราคาค่าสินค้า (Billing Exposure)
8
3.การบริหารเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า
การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า สามารถทำได้ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการเงินในรูปสัญญา ที่มีอยู่ในตลาดการเงินต่างๆดังต่อไปนี้ ก.การไม่บริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Remain Unhedged) ข.การบริหารความเสี่ยงโดยใช้อัตราตลาดแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market) ค.การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดเงิน (Money Market) ง.การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ (Options Market)
9
3.1 การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านลูกหนี้
กรณีศึกษาที่ 1 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม บริษัท แมนเฟรด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในประเทศเยอรมันได้ขายเครื่องจักรกลคิดเป็นมูลค่า 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ.ให้กับบริษัท เมโทรอิเลกตริกส์ จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีกำหนดการชำระเงินเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ในอีกสามเดือนข้างหน้า คือวันที่ 15 มิถุนายน ดังนั้น บริษัท แมนเฟรด จึงทำการบันทึกบัญชีให้บริษัท เมโทรอิเลกตริกส์ เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากรายการบัญชีลูกหนี้การค้าดังกล่าว เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศสำหรับบริษัท แมนเฟรด จึงทำให้บริษัทมีการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกิจการค้าขึ้น ดังนั้น บริษัท แมนเฟรด จึงต้องพิจารณาหาวิธีป้องกันการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า ของลูกหนี้การค้ารายการนี้ ทั้งนี้ บริษัทมีข้อมูลทางการเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ วิธีบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าดังต่อไปนี้
10
1. อัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot Rate) = €0. 8735/$ 2
1.อัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot Rate) = €0.8735/$ 2.อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) สามเดือน = €0.8656/$ - €0.8755/$ (เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง 3.66 % ต่อปี) 3. ค่าของทุน (Cost of Capital) ของบริษัท แมนเฟรด = 10% ต่อปี (2.5 % ต่อไตรมาส) 4.อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินดอลลาร์ สรอ. =6.0% ต่อปี (1.5% ต่อไตรมาส) 5. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินดอลลาร์ สรอ. = 4.0% ต่อปี (1% ต่อไตรมาส)
11
6. อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินยูโร = 4
6.อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมระยะเวลาสามเดือน ในตลาดเงินยูโร = 4.0% ต่อปี (1% ต่อไตรมาส) 7. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนระยะเวลาสามเดือน ในตลาดยูโร = 2.0% ต่อปี (0.5% ต่อไตรมาส) 8. ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะขาย (Put Options) สิ้นสิทธิในเดือนมิถุนายน ซึ่งทำการซื้อขายในตลาด Over-the-Counter โดยตกลงกับธนาคาร สำหรับเงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ.มีสิทธิ (Strike Price) เท่ากับ €0.87/$ (Nearly-at-the-Money) โดยมีค่าธรรมเนียม (Premium) เท่ากับ 1.70% 9. ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะขาย (Put Options) สิ้นสิทธิในเดือนมิถุนายน ซึ่งทำการซื้อขายในตลาด Over-the-Counter โดยตกลงกับธนาคาร สำหรับเงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ.มีสิทธิ (Strike Price) เท่ากับ €0.84/$ (Nearly-at-the-Money) โดยมีค่าธรรมเนียม (Premium) เท่ากับ 1.20% 10. ที่ปรึกษาด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของ บริษัท แมนเฟรด ได้พยากรณ์ว่าอัตราแลกเปลี่ยนทันทีในอีกสามเดือนข้างหน้า (Future Spot Rate) คือ ณ วันที่ 15 มิถุนายน จะเท่ากับ €0.87/$ - €0.88/$
12
3.2 การไม่บริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
13
3.3 การบริหารความเสี่ยง โดยใช้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market)
การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า โดยใช้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market) หมายถึง การทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราสกุลต่างประเทศไว้ล่วงหน้า ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) ที่ได้ทำการตกลงกันไว้ ณ วันที่ทำสัญญา (ณ ปัจจุบัน) ส่วนการส่งมอบเงินตราสกุลต่างประเทศนั้น จะทำในวันที่สัญญาครบกำหนด
14
3.4 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดเงิน (Money Market)
มีหลักสำคัญ คือ เมื่อกิจการมีภาระผูกพันทางการเงินที่เป็นตราสกุลเงินต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทางด้านลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ กิจการนั้นจะต้องสร้างภาระผูกพันทางการเงินขึ้นมาใหม่อีกด้านหนึ่ง ที่เป็นเงินตราสกุลเดียวกัน และวันครบกำหนดการชำระราคาตรงกัน โดยเมื่อถึงวันครบกำหนดการชำระหนี้นั้น ภาระผูกพันทางการเงินที่กิจการมีอยู่เดิมและที่ได้สร้างขึ้นใหม่อีกด้านหนึ่ง ในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศสกุลเดียวกันนั้นสามารถนำมาหักลบกันจนหมดไป ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหมดไปด้วย
15
3.5 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ (Options Market)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ โดยบริษัทสามารถเลือกใช้ ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะขาย (Put Options) ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง (Derivatives) ที่ให้สิทธิแก่บริษัทในการขายสินทรัพพย์อ้างอิง (Underlying Assets) ซึ่งในที่นี้ คือ เงินตราสกุลดอลลาร์ สรอ. ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด (Stike Price) ตามจำนวนเงิน (Contract Size) และระยะเวลา (Maturity) ที่ได้ทำการตกลงกันไว้กับผู้ออกหรือผู้ขายตราสาร (Writer or Seller)
16
3.6 การเปรียบเทียบกระแสเงินสดรับสุทธิและ ระดับความเสี่ยงของตัวเลือกต่างๆในการบริหาร การเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านลูกหนี้
17
4.การบริหารการ เปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านเจ้าหนี้
4.1การไม่บริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Remain Unhedged) หากบริษัทแมนเฟรด เลือกที่จะไม่บริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทรอจนครบกำหนดระยะเวลาสามเดือน จึงนำเงินสกุลยูโรไปซื้อเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. จำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่บริษัท เมโทรอิเลกตริกส์ ในกรณีนี้ หากอัตราแลกเปลี่ยนทันที่ด้านราคาเสนอขาย (Spot-Offer) ในอีกสามเดือนข้างหน้า เป็นไปตามที่ฝ่ายที่ปรึกษา ของบริษัทได้คาดการณ์ไว้ คือ ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยน €0.88/$ นั้น บริษัท แมนเฟรด จะต้องนำเงินสกุลเพื่อไปแลกเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนเท่ากับ $1,000,000 X €0.88/$ = €880,000
18
4.2 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Market)
หากบริษัท แมนแฟรด เลือกที่จะบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ โดยการใช้ตลาดอีตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ณ วันนี้ บริษัทจะต้องทำสัญญาซื้อเงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. ล่วงหน้า โดยมีกำหนดการส่งมอบในอีกสามเดือนข้างหน้า ที่อัตราแลกเปลี่ยน ล่วงหน้าด้านราคาเสนอขาย (Froward-Offer) ซึ่งเท่ากับ €0.8755/$ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาสาม เดือน บริษัทจะจ่ายชำระคืนหนี้สินเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ด้วยเงินสกุลยูโร เป็นจำนวนเท่ากับ $1,000,000 X €0.8755/$ = €875,500
19
4.3 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดเงิน (Money Market)
ตามหลักการในการบริหารการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้ตลาดเงิน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในกรณีการบริหารลูกหนี้การค้า หากบริษัท แมนเฟรด มีเจ้าหนี้เป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. จำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. บริษัทจะต้องสร้างภาระทางการเงินด้านลูกหนี้ขึ้นใหม่ในรูปเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. โดยให้มีจำนวนเงินและระยะเวลาที่เท่ากันอีกด้วย
20
4.4 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ (Potions Market)
ในกรณีบริษัท แมนเฟรด มีเจ้าหนี้เป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. นั้น บริษัทจำเป็นต้องนำเงินสกุลยูโร ไปซื้อเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำไปจ่ายชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้เมื่อถึงกำหนดการชำระเงินในเดือน มิถุนายน ดังนั้น การบริหารการเปิดรับความเสี่ยงโดยใช้ตลาดตราสารสิทธิ จึงสามารถทำได้โดยการเลือกใช้ ตราสารสิทธิประเภทสิทธิที่จะซื้อ (Call Option) ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง (Derivatives) ที่ ให้สิทธิแก่บริษัท แมนเฟรด ในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Assets) ซึ่งในที่นี้คือ เงินตราสกุลดอลลาร์ สรอ.
21
4.5 การเปรียบเทียบเงินสดจ่ายสุทธิและระดับความเสี่ยงของทางเลือกต่าง ๆ ในการบริหารการปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้าด้านเจ้าหนี้
22
สรุป การที่บริษัทจะเลือกใช้การบริหารแบบเปิดรับความเสี่ยงแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความคาดหมายทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยมีระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้และก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทมากที่สุด
23
คำถามท้ายบท 1.ประเภทของการเปิดรับความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีกี่ประเภท 2. ส่วนประกอบของการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า มีอะไรบ้าง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.