ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กรอบแนวคิดในการพัฒนา มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย
นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
2
การจัดบริการอาชีวอนามัย
3
วัตถุประสงค์ ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของผู้ทำงานจากอันตรายในการทำงาน
ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับผู้ทำงาน ส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ทำงาน รักษาและฟื้นฟูสภาพของผู้ทำงานจากการบาดเจ็บหรือป่วยเป็นโรคจากการทำงาน ให้บริการทางสุขภาพทั่วไปแก่ผู้ทำงานและครอบครัว
4
กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย
สำรวจและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงาน เฝ้าคุมและจัดการความเสี่ยงในการทำงาน รวมทั้งดูแลในเรื่องสุขอนามัยอื่นๆ ดำเนินการในด้านความปลอดภัยในการทำงาน ให้ความรู้และฝึกอบรมทางด้านอาชีวสุขศึกษา ประเมินและเฝ้าระวังทางสุขภาพแก่ผู้ทำงาน ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้ทำงาน
5
กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย (ต่อ)
จัดเตรียมการในการปฐมพยาบาลและรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน ฟื้นฟูสภาพของผู้ทำงานหลังการเจ็บป่วย ให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัย รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
6
สรุปกรอบแนวคิดของการจัดบริการ
7
บุคลากรในทีมงานอาชีวอนามัย
แพทย์ พยาบาล นักอาชีวสุขศาสตร์ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย วิศวกร นักจิตวิทยา นักระบาดวิทยา
8
รูปแบบการจัดบริการ รูปแบบสำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่ (Big industry model) รูปแบบการจัดบริการเป็นกลุ่ม (Group service model) รูปแบบการจัดบริการโดยภาคเอกชน (Private health centre model) รูปแบบการจัดบริการผสมผสานกับการบริการสาธารณสุขในชุมชน (Community health centre model) รูปแบบการจัดบริการในระดับชาติเป็นการเฉพาะ (National health service model) รูปแบบการจัดบริการโดยระบบประกันสังคม (Social security institution model)
9
ลักษณะพิเศษของการจัดบริการอาชีวอนามัยที่แตกต่างจากการจัดบริการทางด้านสาธารณสุขอื่น ๆ
กลุ่มลูกค้าโดยตรงหรือกลุ่มเป้าหมายมี 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง การจัดบริการจะต้องมุ่งเน้นให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และมีส่วนร่วมจากกลุ่มลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม มุมมองและความต้องการของการจัดบริการ อาจจะมีความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการและกลุ่มลูกค้า การจัดบริการอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องตามกฎหมาย ผู้ให้บริการจะต้องบริการแบบมืออาชีพ เน้นคุณภาพของการบริการ ภาคีที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่คาดหวัง ความพึงพอใจของการจัดบริการมีหลายกลุ่มเช่น ตัวคนงานเอง สหภาพ นายจ้าง ผู้ตรวจแรงงาน และกองทุนเงินทดแทน เป็นต้น
10
แนวทางในการพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
11
แผนการพัฒนาหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
หน่วยบริการภาครัฐ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข โครงการพัฒนาการจัดบริการอาชีวเวชกรรม โดยเฉพาะคลินิคโรคจากการทำงาน ในโรงพยาบาลประจำจังหวัด (ร.พ. ศูนย์/ร.พ.ทั่วไป) การพัฒนามาตรฐานในการจัดบริการอาชีวอนามัยของหน่วยบริการในทุกระดับ การพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพของหน่วยบริการในทุกระดับ การสนับสนุนศูนย์บริการตติยภูมิ (Excellent center)
12
บทบาทที่คาดหวังในระดับ ร.พ.ศูนย์/ร.พ.ทั่วไป
การจัดบริการอาชีวอนามัยทั้งเชิงรุกและรับ เน้นการจัดบริการให้แก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและกลุ่มด้อยโอกาสก่อน การจัดบริการให้แก่บุคลากรใน ร.พ. รองรับการส่งต่อหรือสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการของจังหวัด เป็นกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของจังหวัด เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการของจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรในจังหวัด เป็นส่วนหนึ่งของทีมเฝ้าระวังและจัดการฉุกเฉินทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของจังหวัด
13
แผนและแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน
สถานการณ์ในปัจจุบัน หน่วยบริการภาคเอกชน ทั้ง ร.พ.เอกชน บริษัทเอกชน และภายในสถานประกอบการเอง ต่างก็มีบทบาทในการจัดบริการอาชีวอนามัยอยู่แล้ว รูปแบบการจัดบริการโดยการมีส่วนร่วมของนายจ้างและลูกจ้างโดยตรง โดยภาครัฐให้การสนับสนุน ถือว่าดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากกฏหมายของกระทรวงแรงงาน ทำให้มีความต้องการในการจัดบริการอาชีวอนามัยมากยิ่งขึ้น ทิศทางของการปฏิรูประบบราชการ ทำให้หน่วยบริการภาครัฐ มีข้อจำกัดมากขึ้น การพัฒนารูปแบบการจัดบริการและศักยภาพของบุคลากรในภาคเอกชนมีความจำเป็นและสำคัญมาก
14
แผนและแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข
แผนและแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนและพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในรูปแบบต่างๆ ที่ดำเนินการในภาคเอกชน การพัฒนามาตรฐานและควบคุมคุณภาพในการจัดบริการ การฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การสร้างเครือข่ายและเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างหน่วยบริการภาครัฐและเอกชน
15
แนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน จากหน่วยงานภาครัฐ
สนับสนุนและกำหนดเป็นนโยบาย ปรับปรุงกฏหมายให้มีความสอดคล้องมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงการใช้จ่ายงบทั้งกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนให้ครอบคลุมทั้งในด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ การศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคนิคทางวิชาการ การควบคุมคุณภาพ
16
คำถามที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยากรู้
การจัดบริการอาชีวอนามัยมีคุณภาพหรือไม่ หน่วยบริการต่าง ๆ มีคุณภาพในการให้บริการที่เหมือนกันหรือไม่ ถ้าคุณภาพของการให้บริการแตกต่างกัน อะไรคือปัจจัยที่สำคัญ
17
วิธีการในการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพ ของการให้บริการอาชีวอนามัย
วิธีการแก้ปัญหาจะขึ้นอยู่กับระดับของส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาก็คือ ภาคีที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับนั้น เช่น ระดับผู้ให้บริการ : แพทย์ พยาบาล นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับหน่วยบริการ กลุ่มวิชาชีพ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
18
คุณภาพ คืออะไร ( Quality )
คือ ลักษณะโดยรวมทั้งหมดของผลผลิต หรือการให้บริการที่สามารถก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือบรรลุวัตถุประสงค์ตามความต้องการ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
19
มาตรการหนึ่งที่จะทำให้ทราบสถานะของคุณภาพในการให้บริการก็คือ การประเมิน
มาตรการหนึ่งที่จะทำให้ทราบสถานะของคุณภาพในการให้บริการก็คือ การประเมิน
20
การประเมินระบบบริการสุขภาพ คือการประเมินว่าระบบบริการสุขภาพนั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเท่าใด ในแง่ของ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความยอมรับ ความพึงพอใจ ความครอบคลุม การก่อประโยชน์ และความคุ้มค่าในด้านราคา
21
ผู้ประเมิน 1. Internal: - ระดับบุคคล - หน่วยบริการ 2. External:
- หน่วยงานที่ควบคุมกำกับ - ลูกค้า
22
องค์ประกอบของส่วนที่จะถูกประเมิน
Input หรือโครงสร้าง ( Structure ) Process Outcome
23
Input หรือ Structure ลักษณะของระบบ (System characteristic): รูปแบบการบริหารจัดการ, การจัดองค์กร, การบริหารการเงิน,โครงสร้างทางกายภาพอื่น ๆ ลักษณะของผู้ให้บริการ (Provider characteristic): บุคลากรตามรายวิชาชีพ ความรู้ความสามารถ การฝึกอบรม ทัศนคติ ลักษณะของลูกค้า (Patient หรือ client characteristic): อายุ , เพศ , อาชีพ สถานะสุขภาพ , ความคาดหวังต่อการให้บริการ
24
Process กิจกรรมที่ดำเนินการ ความต่อเนื่องของการจัดบริการ
25
Output สิ่งที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการดำเนินงานของหน่วยบริการ เช่น ข้อแนะนำในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม
26
Outcome ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการ : สถานะทางสุขภาพของกลุ่มประชากรเป้าหมาย 5 D คือ Death , Disease , Disability , Discomfort , Dissatisfaction ในกรณีของงานอาชีวอนามัย พิจารณาจาก 1. สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี 2. สมรรถนะของคนงานในการทำงาน 3. สุขภาพทั่วไปในกลุ่มวัยทำงาน 4. ความพึงพอใจในการรับบริการ 5. ประสิทธิภาพของผลผลิต
27
เนื่องจากการนำ Output ไปดำเนินการต่อ จะอยู่นอกเหนือความสามารถของหน่วยบริการ ดังนั้นในการพิจารณาคุณภาพของการจัดบริการ จึงมักจะดูที่ขั้นตอนของ Process
28
“ งานบริการด้านอาชีวอนามัยถือเป็นภารกิจที่สำคัญงานหนึ่งของงานสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งไม่สามารถที่จะปล่อยให้เป็นการแข่งขันในตลาดการค้าแบบงานการบริการอื่น ๆ ทั่วไปได้ อย่างน้อยที่สุดมาตรฐานขั้นต่ำของการให้บริการอาชีวอนามัย จะต้องถูกรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องมีหลักประกันในการรับรองมาตรฐาน (Certification) สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัย ” รัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์
29
Certifying body ภาครัฐต้องมีหลักประกันในการผลักดันให้เกิดการควบคุมคุณภาพในการจัดบริการ หน่วยงานที่รับผิดชอบอาจจะเป็นหน่วยงานอิสระก็ได้ หน่วยงานหลักที่ควบคุมกำกับ คือ กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานนั้นจะต้องมีการติดตามและประเมินผลเป็นประจำ หน่วยงาน Certifying body จะต้องตรวจสอบหน่วยบริการว่าสามารถให้บริการที่มีคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้
30
ดัชนีชี้วัดในการประเมิน 1. Formative evaluations
การให้บริการ เวลาและความล่าช้าในการบริการ ความรับรู้ในความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของบุคลากรในทีม ความคาดหวังของกลุ่มลูกค้า
31
2. Process evaluation เวลาที่ให้กับการทำงานของบุคลากรในทีม งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ความร่วมมือของลูกค้า ข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะจากลูกค้า การจัดการประชุมอบรม การจัดลำดับความสำคัญของงาน การจัดทำข้อมูล
32
3. Outcome evaluation การปรับเปลี่ยนนโยบาย การเปลี่ยน KAP ของลูกค้า
ประโยชน์ที่เกิดขึ้น การเพิ่มของการรับบริการ ดัชนีทางสุขภาพต่าง ๆ
33
กลวิธีในการควบคุมคุณภาพ
การสำรวจ ประเมินผลและปรับปรุง การปฏิบัติอิงตามเกณฑ์มาตรฐาน การปฏิบัติตามระบบQuality assurance ต่างๆ: ระบบAudit, ระบบISO, ระบบHA,
34
ทิศทางการพัฒนาระบบคุณภาพการบริการอาชีวอนามัยของประเทศไทย?
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.