ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การอบรมการใช้ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1
ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การอบรมการใช้ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1
2
ทำไมต้องมีการอบรมการใช้ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ?
เครื่องมือที่ภาควิชาฯ จัดหามามีจำนวนมาก และมีราคาสูง เครื่องมือบางชิ้นมีอายุมาก/ใช้มานาน นิสิตขาดทักษะ/ความระมัดระวัง/ความใส่ใจในการใช้เครื่องมือ เพื่อให้น้องๆ รุ่นต่อไปมีเครื่องมือใช้
3
หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม
รุ่นที่1: วันที่ เมษายน 2561 วันที่-เวลา สถานที่ หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 17 เม.ย ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 6 และห้องปฏิบัติการชั้น 8 1. การยืมคืนอุปกรณ์และเครื่องมือของภาควิชาฯ 2. การขออนุญาต และแนวทางปฏิบัติในการใช้ห้องปฏิบัติการชั้น 8 3. ชี้แจงรายการ ตำแหน่งการจัดเก็บเครื่องมือที่นิสิตสามารถขออนุญาตใช้ได้ อ.วีนัส/ คุณปาริชาด 19 เม.ย บริเวณสวนรุกขชาติคณะวนศาสตร์ และ ห้องปฏิบัติการชั้น 8 4. การใช้เครื่องมือในการศึกษาสมบัติดิน - การใช้ soil core และเหล็กส่ง - เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบดิน (Three phase) - ตู้อบดิน - เครื่องวัดค่าการนำน้ำ (falling head) - เครื่องมือศึกษาคุณลักษณะของเนื้อดินด้วยวิธีความถ่วงจำเพาะ (Hydrometer) - เครื่องวัดความชื้นในดิน (TDR) อ.วีนัส/ อ.ยุทธพงษ์ 20 เม.ย บริเวณลานน้ำตก หน้าตึก 60 ปี และห้องปฏิบัติการชั้น 8 5. การใช้เครื่องมือวัดปริมาณ และคุณภาพน้ำ - เครื่องวัดความเร็วกระแสน้ำ (Current meter) ชนิดต่าง ๆ - เครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ - เครื่องวัดคุณภาพน้ำชนิดหัวรวม - เครื่องวัดค่า DO - เครื่องวัดความขุ่น - เครื่องวัดค่า pH 6. สรุปการอบรม อ.วีนัส/อ.นฤมล
4
หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม
รุ่นที่2 : วันที่ เมษายน 2561 วันที่-เวลา สถานที่ หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 24 เม.ย ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 6 และห้องปฏิบัติการชั้น 8 1. การยืมคืนอุปกรณ์และเครื่องมือของภาควิชาฯ 2. การขออนุญาต และแนวทางปฏิบัติในการใช้ห้องปฏิบัติการชั้น 8 3. ชี้แจงรายการ ตำแหน่งการจัดเก็บเครื่องมือที่นิสิตสามารถขออนุญาตใช้ได้ อ.วีนัส/ คุณปาริชาด 26 เม.ย บริเวณสวนรุกขชาติคณะวนศาสตร์ และ ห้องปฏิบัติการชั้น 8 4. การใช้เครื่องมือในการศึกษาสมบัติดิน - การใช้ soil core และเหล็กส่ง - เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบดิน (Three phase) - ตู้อบดิน - เครื่องวัดค่าการนำน้ำ (falling head) - เครื่องมือศึกษาคุณลักษณะของเนื้อดินด้วยวิธีความถ่วงจำเพาะ (Hydrometer) - เครื่องวัดความชื้นในดิน (TDR) อ.วีนัส/ อ.ยุทธพงษ์ 27 เม.ย บริเวณลานน้ำตก หน้าตึก 60 ปี และห้องปฏิบัติการชั้น 8 5. การใช้เครื่องมือวัดปริมาณ และคุณภาพน้ำ - เครื่องวัดความเร็วกระแสน้ำ (Current meter) ชนิดต่าง ๆ - เครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ - เครื่องวัดคุณภาพน้ำชนิดหัวรวม - เครื่องวัดค่า DO - เครื่องวัดความขุ่น - เครื่องวัดค่า pH 6. สรุปการอบรม อ.วีนัส/อ.นฤมล
5
เจ้าหน้าที่ที่ดูแลการยืม-คืนอุปกรณ์/เครื่องมือของภาควิชาอนุรักษวิทยา
นางสาวปาริชาด จตุรงค์กร (พี่ปู) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานการเงิน ครุภัณฑ์ ยืม-คืน นายสีห์สุระ วารีสะอาด (พี่ฟอร์ด) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานสารสนเทศ
6
ระเบียบการขอยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์
1. ภาควิชาอนุรักษวิทยากำหนดให้ผู้ขอใช้ต้องศึกษา และปฏิบัติตามระเบียบการขอยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์ โดยเฉพาะเครื่องมือวิจัยชั้นสูง (ตามรายการแนบท้าย) ผู้ใช้จะต้องเข้ารับการอบรมก่อนจึงจะสามารถยืมใช้เครื่องมือตามรายการดังกล่าวได้ โดยสามารถดูตารางรายละเอียดการอบรมได้ที่หน้าห้องเก็บเครื่องมือ และอุปกรณ์ชั้น 8 ตึกวนศาสตร์ 72 ปี 2. ผู้ขอใช้ต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการยืม-คืนฯ และส่งแบบฟอร์มขอยืม-คืนเครื่องมือฯ เพื่อขออนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ดูแลห้องเก็บเครื่องมือ และหัวหน้าภาควิชาอนุรักษวิทยาก่อนทุกครั้งแล้วจึงจะยื่นแบบฟอร์มขอยืม-คืนฯ ที่ตะกร้าหน้าห้องธุรการภาควิชาฯ ชั้น 7 ตึกวนศาสตร์ 72 ปี ก่อนวันรับอุปกรณ์อย่างน้อย 2 วัน (สามารถขอรับใบขอยืม-คืนเครื่องมือฯ ได้ที่ชั้นวางเอกสารหน้าห้องธุรการชั้น 7 ตึกวนศาสตร์ 72 ปี)
7
รายการเครื่องมือวิจัย
รายชื่อเครื่องมือที่นิสิตต้องเข้ารับการอบรมการใช้งานก่อนจึงจะอนุญาตให้ยืมใช้ได้ ลำดับ รายการเครื่องมือวิจัย เครื่องมือวัดปริมาณ และคุณภาพน้ำ 1 เครื่องวัดดัชนีคุณภาพน้ำแบบหัวรวม Multi-probe (วัดค่า DO, pH และอุณหภูมิน้ำ) 2 เครื่องวัดค่า DO 3 เครื่องวัดค่า pH 4 เครื่องวัดความขุ่นของน้ำ 5 เครื่องวัดความเร็วกระแสน้ำ (current meter) 6 เครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ เครื่องมือในการศึกษาสมบัติดิน 1. เครื่องวัดความชื้นในดิน (TDR) 2. เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบดิน (Three phase) 3. ตู้อบดิน 4. เครื่องวัดค่าการนำน้ำของดิน (falling head) 5. เครื่องมือศึกษาคุณลักษณะของเนื้อดินด้วยวิธีความถ่วงจำเพาะ (Hydrometer)
8
3. ผู้ขอใช้ต้องมารับเครื่องมือฯ ภายหลังจากวันยื่นเอกสาร 2 วัน โดยแจ้งนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อย หลังจากส่งแบบฟอร์มขอยืมฯ เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขอใช้ต้องมารับ และตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์ด้วยตนเอง หากผู้จองใช้เครื่องมือ มารับเครื่องมือช้ากว่าเวลาที่แจ้งเกิน 1 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับการติดต่อ จะถือว่าสละสิทธิ์การใช้เครื่องมือในครั้งนั้น และหากผู้ขอใช้ไม่มาหรือมาสายบ่อยครั้ง จะถูกพิจารณาตัดสิทธิ์ในครั้งต่อๆ ไป (ขอสงวนสิทธิ์ในการยืมเครื่องมือ และอุปกรณ์โดยให้ขอยืมได้เฉพาะผู้ใช้ที่เป็นนิสิต และอาจารย์ของภาควิชาอนุรักษวิทยาเท่านั้น) 4. ผู้ขอใช้สามารถจองเวลาใช้เครื่องมือวิจัยต่อเนื่องได้ ครั้งละไม่เกิน 5 วันทำการ ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องได้รับการเห็นชอบจากหัวหน้าภาควิชาฯก่อน 5. การคืนเครื่องมือ และอุปกรณ์ผู้ขอใช้จะต้องส่งแบบฟอร์มยืนยันการตรวจสอบสภาพภายหลังการคืนอุปกรณ์ พร้อมทั้งส่งคืนเครื่องมือตามกำหนดที่แจ้งไว้ในแบบฟอร์มยืม-คืนฯ พร้อมทำความสะอาดและบำรุงรักษาให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6. กรณีผู้ขอใช้ทำวัสดุ-เครื่องมือวิจัย ชำรุดเสียหาย บุคคลดังกล่าวต้องรับผิดชอบซ่อมหรือจัดซื้อเครื่องมือ/อุปกรณ์ตามการพิจารณาของคณะกรรมการพัสดุฯ ซึ่งจะมีผลต่อการขออนุมัติยืมเครื่องมือในครั้งต่อไป
9
แบบฟอร์มการยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์
10
ขั้นตอนการขอยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์
2. นำใบขอยืม-คืนเครื่องมือให้อาจารย์ที่ปรึกษาลงนาม 1. กรอกใบขออนุญาตยืมใช้เครื่องมือ 3. นำใบขอยืม-คืนเครื่องมือมายื่นให้เจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ก่อนวันรับอุปกรณ์อย่างน้อย 2 วัน (รอการอนุมัติจากหัวหน้าภาควิชา) **กรณีต้องการยืมต่อจากวันที่กำหนดคืนให้แจ้งต่อธุรการเพื่อขอพิจารณาเป็นรายบุคคล 4. มารับเครื่องมือจากเจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ภายหลังวันยื่นใบขอยืมฯ อย่างน้อย 2 วัน โดยต้องแจ้งนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่ก่อนวันมารับเครื่องมือ 5. ยื่นแบบฟอร์มตรวจสอบเครื่องมือ และคืนเครื่องมือในวันที่กำหนดไว้ในใบขอยืม พร้อมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องมือกับเจ้าหน้าที่ก่อนส่งคืน
11
รายการเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่นิสิตยืมใช้บ่อย และชำรุด/เสียหายบ่อย
GPS + สายดาวน์โหลด เข็มทิศ กล้องสองตา คู่มือการดูนก เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) เต็นท์ + เปล + Flysheet
12
GPS + สายดาวน์โหลด ข้อสังเกต :
GPS 60CSx ข้อสังเกต : มี 2 รุ่น สามารถขอยืมใช้ได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล เขียนระบุเลขที่ GPS และสายดาวน์โหลดในใบยืมทุกครั้ง ควรตรวจสอบการทำงานของปุ่มต่างๆ ปุ่มเปิดปิด และปุ่มต่างๆ มักชำรุดเนื่องจากนิสิตชอบใช้เล็บจิกปุ่ม ควรตรวจสอบการรับสัญญาณดาวเทียมของแต่ละเครื่อง ควรลบข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง GPS ก่อนบันทึกข้อมูลใหม่ และลบข้อมูลของตนเองภายหลังจากดาวน์โหลดข้อมูล และก่อนคืนอุปกรณ์ ควรถอดแบตเตอรี่ออกทุกครั้งก่อนคืน ปลอกหรือซองใส่ GPS ชำรุด/เสียหายประจำ พยายามอย่าให้เครื่อง GPS ตกหล่นหรือกระแทกของแข็ง พยายามอย่าให้เครื่อง GPS เปียกน้ำ/แช่น้ำ (หาถุงพลาสติกกันน้ำใส่เวลาทำงาน)
13
เข็มทิศมือ ข้อสังเกต : เขียนระบุเลขที่ในใบยืมทุกครั้ง
ใช้งานให้ถูกต้อง=>เข็มทิศใช้มือหมุนหาทิศทางที่ต้องการ ควรตรวจสอบการทำงานของเข็มทิศตอนรับเครื่องมือ เช่น เข็มสีแดงหันไปทางทิศเหนือหรือไม่ โดยอาจจะเทียบกับเครื่องอื่นๆ เนื่องจากมีขนาดเล็กจึงมักทำหายใน field เป็นส่วนใหญ่ ควรใช้สายคล้องคอในระหว่างออก field
14
กล้องสองตา คู่มือการดูนก
ข้อสังเกต : เขียนระบุเลขที่ในใบยืมทุกครั้ง ควรตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนรับเครื่องมือ สายคล้องขาดหรือไม่ เนื่องจากมักทำฝาปิดเลนส์หายใน field เป็นส่วนใหญ่ ควรระวัง ไม่ควรให้เปียกน้ำโดยตรงโดยเฉพาะบริเวณเลนส์ และควรทำความสะอาดก่อนคืนทุกครั้ง คู่มือการดูนก ข้อสังเกต : เขียนระบุเลขที่ในใบยืมทุกครั้ง ควรตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยตอนรับเครื่องมือ มีรอยฉีกขาดหรือไม่ ไม่ควรให้เปียกน้ำโดยตรง ควรหาถุงพลาสติกกันน้ำใส่ตอนออก field และผึ่งทิ้งไว้ให้แห้งก่อนคืน
15
เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper)
ควรตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนรับเครื่องมือ เช่น หักหรือเบี้ยวหรือไม่ เนื่องจากบางชิ้นค่อนข้างฝืดดังได้ยาก ควรค่อยๆดึง เช็ดทำความสะอาดทุกครั้งก่อนคืน เพื่อป้องกันการเป็นสนิม
16
เต็นท์ + เปล + Flysheet ควรตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนรับเครื่องมือ เช่น อุปกรณ์ครบหรือไม่ (สมอบก) อุปกรณ์ชำรุด รั่ว เป็นรูหรือไม่ เช็ดทำความสะอาดทุกครั้งก่อนคืน โดยการสะบัด/ปัดฝุ่นหากไม่เลอะมากนัก หรือซักตากแดดให้แห้งเพื่อป้องกันเชื้อรา และกลิ่นเหม็นอับ ตรวจสอบอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนคืนเนื่องจากมีอุปกรณ์ประกอบหลายรายการ
17
ขั้นตอนการขอใช้ห้องปฏิบัติการฯ ชั้น 8
2. นำใบขออนุญาตใช้ห้องฯ ให้อาจารย์ที่ปรึกษาลงนาม 1. กรอกใบขออนุญาตใช้ห้องฯ 3. นำใบขออนุญาตใช้ห้องฯ มายื่นให้เจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ก่อนวันที่จะใช้อย่างน้อย 2 วัน (รอการอนุมัติจากหัวหน้าภาควิชา) **กรณีต้องการใช้ห้องฯต่อจากวันที่กำหนดให้แจ้งต่อธุรการเพื่อขอพิจารณาเป็นรายบุคคล 4. มารับกุญแจจากเจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ภายหลังวันที่ยื่นใบขออนุญาตใช้อย่างน้อย 2 วัน โดยต้องแจ้งนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่ก่อนวันใช้ห้องฯ 5. ตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องกับเจ้าหน้าที่ และทำความสะอาดห้องก่อนส่งคืนกุญแจทุกครั้ง
18
Let’s go! ไปดูห้องปฏิบัติการกันเถอะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.