ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย
อ้างอิงจาก th.wikipedia
2
หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย
หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและมีปริมาณสูงสุดในเดือนมีนาคม สาเหตุหลักเกิดจากไฟป่า ฝุ่นละอองจากถนน การก่อสร้าง และเขม่าจากน้ำมันดีเซล ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง ประกอบกับสภาพภูมิประเทศซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ ทำให้มลพิษต่าง ๆ ถูกกักไว้และแผ่ปกคลุมทั่วเมือง ผลวิจัยพบปริมาณผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี
3
ผลกระทบต่อสุขภาพ คนที่อยู่ในที่โล่งนาน ๆ มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้ง ระคายคอ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย และแน่นหน้าอก ค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในเชียงใหม่สูงกว่ามาตรฐานของสหรัฐอเมริกา 3-6 เท่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปี และอัตราผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดต่อประชากรแสนคนสูงกว่ากรุงเทพมหานครและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย โดยพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.6 ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด อัตราต่อแสนประชากรเพิ่มจาก 9 คน ในปี 2545 เพิ่มเป็น คน ในปี 2548 ฝุ่นขนาดเล็กจะทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นที่โรงพยาบาลสารภี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พบปริมาณฝุ่นละอองสูงที่สุดในเชียงใหม่
4
ปัญหาหมอกควันในปี 2555 แนวโน้มความรุนแรงของปัญหาหมอกควันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ 1 มกราคม ระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2555 ในโรงพยาบาล 87 แห่ง มีรายงานผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน 4 กลุ่มโรค กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด 23,685 ราย กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด 24,837 ราย กลุ่มโรคตาอักเสบ 2,265 ราย กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 2,610 ราย วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2555 ถือว่าเลวร้ายขั้นสูงสุดเพราะค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน อยู่ที่ระดับบ 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใน 8 จังหวัดของภาคเหนือ และวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2555ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วัดได้ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนค่าดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 320 ซึ่งถือว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์อันตราย วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2555 สถานการณ์หมอกควันเริ่มกลับเป็นที่น่ากังวลอีกครั้งเนื่องจาก ค่าฝุ่นละอองสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยที่สถานีตรวจวัดอากาศสนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อ.เมือง วัดค่า PM10 ได้147.3ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และที่สถานีสาธารณสุขแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย วัดค่า PM10 ได้ 167ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
5
การป้องกันหมอกควันด้วยตัวเองเบื้องต้น
ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อมิให้มลพิษอากาศเข้ามาสะสมในอาคาร หากมีเครื่องฟอกอากาศให้เปิดใช้งาน ผู้สูงอายุซึ่งมักมีปัญหาโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด รวมทั้งเด็กเล็กที่ภูมิต้านทานยังไม่ดี เป็นกลุ่มเสี่ยงจึงควรงดออกไปทำกิจกรรมนอกอาคาร หากมีความจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมนอกอาคารควรสวมหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นละเอียดขนาดเล็กหรือใช้ผ้าชุบน้ำให้ชุ่ม หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าทบหลายชั้นชุบน้ำให้ชุ่มแล้วปิดจมูก โครงการฮ่วมมือฮ่วมใจ๋หื้อเจียงใหม่-หละปูนอากาศดี กลุ่มศึกษาเรื่องเมือง สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6
สวมแว่นตาเพื่อปกป้องดวงตาจากลมและหมอกควัน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรสวมหมวกกันน็อค แบบมีหน้ากาก
ใช้น้ำเกลือกลั้วคอเพื่อป้องกันอาการเจ็บคอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังในช่วงที่มีหมอกควันมาก เพราะจะเป็นอันตรายต่อปอดมากกว่าเป็นผลดีต่อร่างกาย ห้ามการเผาทุกชนิดโดยเด็ดขาด งดจุดธูปบูชาพระ เพื่อมิให้ซ้ำเติมสภาพอากาศที่เลวร้ายอยู่แล้ว
7
ให้ความรู้แก่ผู้อื่นว่าการก่อมลพิษทางอากาศทุกชนิดโดยเฉพาะการเผา บั่นทอนสุขภาพตัวเองและผู้อื่น และการเผาผิดกฎหมายอาญา มาตรา 220 อาจถูกปรับถึง 14,000 บาท จำคุกถึง 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ทุกคนมีส่วนร่วมในการเก็บใบไม้กิ่งไม้เพื่อทำปุ๋ยหมักแทนการเผา โดยกองไว้ริมรั้วแล้วรดน้ำ ถ้าไม่มีพื้นที่ให้โทรแจ้งเทศบาลนครเชียงใหม่ให้มานำไปจัดการ ลดการใช้ขยะที่เป็นพลาสติก แยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อลดปริมาณขยะที่มักเป็นสาเหตุของการเผา
8
เจ้าของที่ดินดูแลที่ดินของตัวเอง มีการแผ้วถางและปลูกต้นไม้ เพื่อป้องกันมิให้มีการเผาเกิดขึ้น
หมั่นตรวจสภาพเครื่องยนต์ของรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซด์ให้อยู่ในสภาพดี ไม่ปล่อยควันขาวหรือควันดำ ปลูกต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มรวมทั้งไม้ในร่มเพิ่มมากขึ้น หากพบเห็นการเผาให้โทรแจ้งตำแหน่งของการเผาไปยัง สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 โทร หรือ เทศบาลนครเชียงใหม่ หรือ 199
9
ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีผลต่อสุขภาพอย่างไร
ทำให้การตาย ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่ม 7-20% การป่วย ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่ม 5.5% การตายและป่วยด้วยโรคหัวใจเพิ่ม 2 - 5% การตายและป่วยด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดเพิ่ม 5.3% ทำให้ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่ม 17.6% ทำให้ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม 7.6% PM10 ที่สูงขึ้นจากระดับมาตรฐาน 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
10
แผนภูมิ
11
SmartArt
12
Video & Sound
13
Button Control
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.