ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยArtur Peralta Marroquim ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
เอกสารรายวิชา: : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
Introduction to law รหัสวิชา : กม.101 (LA 101) : รศ. ดิเรก ควรสมาคม (อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์)
2
บทที่ 3 ที่มาของกฎหมาย ประเภทและศักดิ์ของกฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ การใช้และการตีความกฎหมาย
3
- ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร/ระบบประมวลกฎหมาย 2. Common Law
1. Civil Law - ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร/ระบบประมวลกฎหมาย 2. Common Law - ระบบกฎหมายจารีตประเพณี/ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
4
1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2.จารีตประเพณี 3.หลักกฎหมายทั่วไป
ระบบกฎหมาย Civil Law ที่มา ได้แก่ 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2.จารีตประเพณี 3.หลักกฎหมายทั่วไป
5
กฎหมายลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) /ประมวลกฎหมาย / พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) พระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่างๆ กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น
6
จารีตประเพณี 1.มีการประพฤติปฏิบัติกันเป็นมานมนานและสม่ำเสมอ (เวลา)
ประชาชนต่างเห็นพ้องกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องจนต้องปฏิบัติตาม (บุคคลยอมรับ) ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (ถูกต้อง)
7
ตัวอย่างจารีตประเพณีในกฎหมาย
มาตรา ๑๓๕๔ “ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้และถ้าเจ้าของไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่าที่ดงหรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืนหรือผลไม้ป่า, ผัก, เห็ดและสิ่งเช่นนั้น” ผล = ไม่ผิดฐานบุกรุก
8
จารีตประเพณีที่มิได้บัญญัติไว้
การเล่น/แข่งขันกีฬา ตามกฎกติกา แม้คู่แข่งขันได้รับบาดเจ็บ คู่ต่อสู้ก็ไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย /ฆ่า
9
หลักกฎหมายทั่วไป (สุภาษิต)
หลักที่มีการยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไป ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ผู้ซื้อต้องระวัง สัญญาต้องเป็นสัญญา (Pacta Sunt Servanda) หลักไม่ต้องผูกพันตามสัญญาหากมีเหตุการณ์หรือพฤติการณ์อย่างสำคัญเปลี่ยนแปลงไป
10
การแบ่งประเภทของกฎหมาย
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด 1.กฎหมายภายนอก 2.กฎหมายภายใน
11
ประเภทของกฎหมายตามแหล่งกำเนิด
กฎหมายภายใน กฎหมายภายนอก อาญา / แพ่ง สารบัญญัติ /วิธีสบัญญัติ มหาชน / เอกชน กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง แผนกคดีบุคคล แผนกคดีอาญา
12
1.กฎหมายเอกชน 1. กฎหมายแพ่ง 2. กฎหมายพาณิชย์
1.กฎหมายเอกชน 2. กฎหมายมหาชน (Public Law ) 3. กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law ) 1. กฎหมายแพ่ง 2. กฎหมายพาณิชย์ 1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2. กฎหมายปกครอง 2.1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2.2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 2.3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ข้อบัญญัติ อบจ. เทศบัญญัติ ขัอบังคับ อบต. 2.3.4 ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ขัอบัญญัติกรุงเทพมหานคร 3. กฎหมายอาญา 4. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 5.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 6. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1. แผนกคดีเมือง 2. แผนกคดีบุคคล 3. แผนกคดีอาญา
13
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด 1.กฎหมายภายนอก (รัฐ/รัฐ) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
14
2.กฎหมายภายใน (รัฐ) แบ่งโดยเนื้อหา = กฎหมายลายลักษณ์อักษร/กม.ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยโดยกระบวนการ(ลักษณะการใช้) = กฎหมายสารบัญญัติ/กฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยความสัมพันธ์บุคคล = กฎหมายมหาชน/ กฎหมายเอกชน
15
กฎหมายสารบัญญัติ VS วิธีสบัญญัติ
กฎหมายวิธีสบัญญัติ กฎหมายที่กำหนดวิธีการและขั้นตอนในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ความอาญา เป็นกฎหมายที่บังคับความประพฤติของคนกำหนดองค์ประกอบความผิด และกำหนดความความร้ายแรงแห่งความโทษ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ,แพ่งพาณิชย์
16
การแบ่งประเภทของกฎหมาย
สรุป ปัจจุบัน แนวเยอรมัน 1.กฎหมายมหาชน Public law 2.กฎหมายเอกชน Private law 3.กฎหมายสังคม Social law 4.กฎหมายเศรษฐกิจ Economic law
17
กฎหมายมหาชน VS กฎหมายเอกชน
กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์
18
กฎหมายมหาชน Public law
แบ่งโดยสถานะและความสัมพันธ์ รัฐ - ราษฎร รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
19
กฎหมายเอกชน ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกบุคคล
20
กฎหมายสังคม Social law
สิทธิหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พระราชบัญญัติแรงสัมพันธ์ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พระราชบัญญัติประกันสังคม
21
กฎหมายเศรษฐกิจ Economic law
กฎหมายที่บัญญัติถึงกิจกรรมหรือกิจการทางเศรษฐกิจ เพื่อควบคุม บงการ ชี้แนวทางหรือจำกัด การกระทำหรือกิจการทางเศรษฐกิจ กฎหมายส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของต่างชาติ กฎหมายเกี่ยวกับการนิคมอุตสาหกรรม กฎหมายห้ามค้ากำไรเกินควร กฎหมายป้องกันการทุ่มตลาด กฎหมายป้องกันการผูกขาด กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายล้มละลาย
22
ศักดิ์/ลำดับของกฎหมาย
การดูลำดับชั้น ค่าบังคับของกฎหมายต่างๆ กฎหมายที่ต่ำกว่า ขัดแย้งกับสูงกว่า ไม่ได้ (จะใช้บังคับไม่ได้)
23
ลำดับ/ศักดิ์ของกฎหมาย
1. รัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติ / ประมวลกฎหมาย 3. พระราชกำหนด 4. พระราชกฤษฎีกา 5. กฎกระทรวง / ประกาศกระทรวง 6. ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรฝ่ายปกครอง 7. กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น
24
ที่มาของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ กฎหมายที่รัฐได้ตราเป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้ แบ่งกฎหมายออกเป็นลายประเภท ดังต่อไปนี้ โดยรัฐสภา โดยฝ่ายบริหาร โดยองค์กร ปกครองตนเอง พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบังคับองค์การ บริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
25
ลำดับชั้นของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ
กฎหมายแม่บท กฎหมายที่รัฐธรรมนูญ ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ประมวล กฎหมาย พระราช บัญญัติ พระราช กำหนด ประกาศ พระบรมราชโองการ พระราช กฤษฎีกา กฎหมายที่ฝ่ายบริหาร เป็นผู้ออก กฎกระทรวง กฎหมายที่องค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจออก ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล เทศบัญญัติ
26
รัฐธรรมนูญ กฎหมายแม่บท มีศักดิ์สูงสุด รูปแบบการปกครองและวางระเบียบบริหาร สิทธิหน้าที่ของประชาชน กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ ตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ
27
การแบ่งแยกอำนาจ(อธิปไตย)
อำนาจสูงสุด อธิปไตย (รัฐธรรมนูญ) อำนาจนิติบัญญัติ (สส.สว.) อำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) อำนาจตุลาการ (ศาลต่างๆ)
28
พระราชบัญญัติ / ประมวลกฎหมาย
1.ออกโดย ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา = สส สว.) พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) พ.ร.บ. อาวุธปืน ยาเสพติด โรคศิลปะ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ,พระราชบัญญัติสถานบริการ ฯลฯ ประมวลกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน
29
พระราชกำหนด ออกโดยฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) 1.พระราชกำหนดทั่วไป
จำเป็น เร่งด่วน มั่นคง ปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ 2.พระราชกำหนดเฉพาะ มีความจำเป็นเร่งด่วนเกี่ยวกับภาษีอากรและเงินตรา 1.1 ตัวอย่างเช่น พระราชกำหนดบริหารราชการณ์ในสถานการฉุกเฉิน พ.ศ.2548
30
พระราชกฤษฎีกา ออกโดยฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี)
1. อาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ ได้แก่ -พระราชกฤษฎีกา เปิด-ปิดสมัยประชุมรัฐสภา ขยายเวลาประชุม ,ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2.อำนาจพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด เพื่อวางหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ หรือ พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.๒๕๑๙ ที่ออกโดยอำนาจของพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นต้น
31
กฎกระทรวง / ประกาศกระทรวง
ออกโดยรัฐมนตรี กฎกระทรวงต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เช่น พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๑๐ “คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้อาจขอแปลงสัญชาติได้…...(๕) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง” ประกาศกระทรวง ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
32
กฎ/ข้อบังคับต่างๆ ของฝ่ายปกครอง
กฎ/ข้อบังคับต่างๆ ของฝ่ายปกครอง ได้แก่ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ -ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน -กฎ ก.พ. กฎมหาเถระสมาคม -ระเบียบกรมป่าไม้ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ -ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศ ที่ออกโดยสภามหาวิทยาลัยตามกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัย -ข้อกำหนดของเจ้าพนักงานจราจรตามกฎหมายจราจรทางบก
33
กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น
จังหวัด/ เทศบาล /องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร /เมืองพัทยา ข้อบัญญัติ/ประกาศจังหวัด = องค์การบริหารส่วนจังหวัด /ผู้ว่าฯ เทศบัญญัติ = เทศบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร = กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา = เมืองพัทยา ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล = อบต.
34
กฎระเบียบภายในหน่วยงาน
-มติคณะรัฐมนตรี -หนังสือเวียน(ในหน่วยงานรัฐ)
35
กฎหมายที่ขัดแย้งกัน/ศาลที่มีอำนาจ
1.พระราชบัญญัติ ขัด/แย้งกับรัฐธรรมนูญ = ศาลรัฐธรรมนูญ (ตัดสิน) 2.พระราชกฤษฎีกา ขัด/แย้งกับรัฐธรรมนูญ = ศาลปกครอง 3.พระราชกำหนด ขัด/แย้ง กับรัฐธรรมนูญ = ศาลปกครอง/ศาลรัฐธรรมนูญ 4.พระราชกฤษฎีกา ขัด/แย้งกับพระราชบัญญัติ = ศาลปกครอง 5.กฎกระทรวง ขัด/แย้งกับพระราชบัญญัติ = ศาลปกครอง
36
สิทธิ แง่ “เนื้อหา” หมายถึง อำนาจทีให้แก่บุคคลในอันที่จะมีเจตจำนงเหนือบุคคลอื่น แง่ “วัตถุประสงค์”หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ “สิทธิ” คือ ความชอบธรรมที่บุคคลอาจใช้ยันกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนพึงได้ของบุคคลนั้น
37
ความสำคัญของสิทธิ สิทธิ เป็นคำ/ประโยค ที่พบกันมากในกฎหมายต่างๆ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ,พ.ร.บ.พ.ร.ฎ กฎกระทรวง ใช้อ้างยืนยันกับบุคคลอื่นๆ ในเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่างๆบุคคล เช่น
38
รธน.2550 มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา ๒๗ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดย ชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและ ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง
39
องค์ประกอบของสิทธิ (๑) มีผู้ทรงสิทธิหรือเจ้าของสิทธิ ซึ่งต้องเป็น “บุคคล” (๒) มีวัตถุแห่งสิทธิหรือมีเนื้อหา (๓) มีผู้อื่นที่ต้องเคารพสิทธิ (๔) ต้องเป็นความชอบธรรม
40
ประเภทของสิทธิ (๑) สิทธิมหาชน (๒) สิทธิเอกชน
41
สิทธิเอกชน หมายถึง สิทธิที่เกิดจากกฎหมายเอกชน
-สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้(บุคคลสิทธิ) -สิทธิบอกเลิกสัญญา -สิทธิเกี่ยวกับสถานะครอบครัว (ได้แก่ สิทธิระหว่างบุตรกับบิดามารดา) -สิทธิเหนือทรัพย์สินของตนเอง(กรรมสิทธิ์) -สิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้อื่น (เช่นสิทธิจำนอง,ภารจำยอม,สิทธิเหนือพื้นดิน) -สิทธิเหนือทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง(ลิขสิทธิ์) -สิทธิในการรับรองหรือบอกล้างโมฆียกรรม
42
สิทธิมหาชน (๑) สิทธิมหาชน หมายถึง สิทธิอันเกิดจากกฎหมายมหาชน
สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สิทธิในการรับบริการทางสาธารณสุข สิทธิได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของทางราชการ สิทธิของชุมชนท้องถิ่น สิทธิในการฟ้องหน่วยงานของรัฐ สิทธิในการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการรัฐประหาร สิทธิในการฟ้องร้องคดีอาญาและคดีแพ่ง
43
สิทธิเอกชน/เกิดจาก/มาจากไหน
1.โดยการตกลงกัน เช่น สัญญาซื้อขาย,สัญญาเช่า ,สัญญาฝากทรัพย์ ฯลฯ (นิติกรรมสัญญา) 2โดยไม่ได้ตกลงกัน เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ (นิติเหตุ) 3.โดยกฎหมาย เช่น การเกิด(สิทธิชื่อนามสกุล,ชื่อเสียง) ,สถานะ (ในครอบครัว) ,ทางมรดก(เป็นทายาทรับมรดก) ,การครอบครองปรปักษ์ ,หลักส่วนควบ ,การเก็บไว้ซึ่งทรัพย์สินหาย (ผลของกฎหมาย)
44
หน้าที่ (Duty) “กิจที่ควรทำ กิจที่จะต้องทำ วงแห่งกิจการ”
คือ ความชอบธรรมในทางเป็นความผูกพันให้บุคคลตกอยู่ในสถานะจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำการเพื่อให้เป็นไปตามผลประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลอื่น
45
ประเภทหน้าที่ หน้าที่ตามหลักศาสนา หน้าที่ตามวัฒนธรรมประเพณีไทย
หน้าที่ตามกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฯ “บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา” “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.๒๕๔๐ -หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ -หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ,เสียภาษี -หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
46
การใช้บังคับของกฎหมาย
กฎหมาย VS “เวลา สถานที่และบุคคล” กฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด (เวลา) กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ที่ไหน (สถานที่) กฎหมายจะมีผลบังคับใช้กับใคร (บุคคล)
47
กฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด (เวลา)
กฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด (เวลา) เมื่อประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เช่น ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” ดังนั้นหาก พ.ร.บ.ฉบับหนึ่ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันนี้ (๕ มีนาคม ๒๕๕๐) กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับในเวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๕ คือตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑ น.เข้าสู่วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ “พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ)นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” หาก พ.ร.บ.ฉบับหนึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๐กฎหมายฉบับนี้จะมีผลในอีกสามสิบวันจากวันที่ ๑๕ เมษายน คือวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ (วันพ้นกำหนดสามสิบวัน) เป็นต้น
48
กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง
หลัก กฎหมายจะใช้บังคับไปข้างหน้า จะไม่มีผลย้อนหลัง (กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังเป็นผลร้าย) ข้อยกเว้น สามารถย้อนหลังไปเป็นผลดีกับการกระทำในอดีตได้ เช่น มีกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดในกฎหมายเก่า กรณีนี้สามารถย้อนหลังไปถึงผู้กระทำผิดในกฎหมายเดิมได้ เช่น ให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด ,หรือถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น หรือ ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง การกระทำความผิดที่รุนแรงและร้ายแรงต่อมนุษยชาติ เช่น ความผิดฐานอาชญากรสงครามในสมัยนาซี ,ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นต้น
49
การยกเลิกกฎหมาย หากมีการกำหนดเวลายกเลิกไว้โดยตรง กฎหมายนั้นจะสิ้นผลหรือสิ้นสุดลงในวันเวลาที่กำหนด เช่น พระราชบัญญัตินี้ให้มีกำหนดใช้เป็นเวลา ๓ ปี เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว กฎหมายฉบับนี้ก็สิ้นผลลงโดยไม่ต้องออกกฎหมายมายกเลิกอีก หากไม่มีการกำหนดเวลาสิ้นผลของกฎหมายไว้ แสดงว่ามีผลใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะมีการออกกฎหมายใหม่ในลักษณะเดียวกันมายกเลิกโดยอาจจะยกเลิกทั้งฉบับหรือยกเลิกแต่บางส่วนของกฎหมายเดิมก็ได้ แล้วแต่กรณี
50
กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ที่ไหน (สถานที่)
กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ที่ไหน (สถานที่) กฎหมายของแต่ละประเทศก็มีผลเฉพาะในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ เช่น กฎหมายไทยก็มีผลใช้บังคับใน “ราชอาณาจักรไทย” พื้นดิน(ที่ดิน ภูเขา เกาะ) พื้นน้ำ (แม่น้ำ ลำคลอง) พื้นอากาศเหนือพื้นดินพื้นน้ำนั้นๆ รวมตลอดถึงอ่าวไทย และทะเลอาณาเขต (ระยะทาง ๑๒ ไมล์ทะเลห่างจากชายฝั่ง) เรือไทย อากาศยานไทย
51
กฎหมายบังคับใช้กับใคร (บุคคล)
กฎหมายบังคับใช้กับใคร (บุคคล) ใช้กับบุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรของประเทศ ข้อยกเว้น -ตามรัฐธรรมนูญ “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ และจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใดๆมิได้” -ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่างประเทศหรือจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ยกเว้นบุคคลต่อไปนี้ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐอื่นได้ เช่น ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย , ผู้แทนทางการฑูต กงสุล นอกจากนี้ยังได้แก่ กองทัพที่เข้ามายึดครองอีกรัฐหนึ่งไว้
52
การใช้กฎหมาย การนำข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้นมาปรับกับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดผลในทางกฎหมาย หลักมีลำดับดังนี้ 1.บทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมาย (ตัวบท) 2.จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น 3.บทกฎหมายใกล้เคียง 4.หลักกฎหมายทั่วไป
53
การตีความ (แปล)กฎหมาย
1. ตีความตามตัวอักษร 2. ตีความตามความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์
54
การตีความตามตัวอักษร
1. หลักการตีความตามตัวอักษร (พิเคราะห์ถ้อยคำในบทบัญญัติ) ศัพท์ธรรมดา “หนี้” “อาวุธ”= ดาบ หอก หรือปืน ค้อน มีดทำครัว จอบ ไขควง คำศัพท์ทางเทคนิค “สัตว์น้ำ” ตาม พ.ร.บ.อากรค่าน้ำ ร.ศ.๑๒๐ ให้หมายความถึง “บัว” ด้วย หรือ ตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.๒๔๙๐ ให้ความหมายของ “สัตว์น้ำ” ว่าได้แก่ ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า กระ ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้ง……..ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ
55
การตีความตามเจตนารมณ์
เป็นการตีความตามความมุ่งหมาย (พิเคราะห์ข้อความทั้งหมด) เช่น “ห้ามเดินลัดสนาม…...” หรือ เช่น การห้ามนำสุนัขเข้าไปในสถานีรถไฟใต้ดิน หรือ เช่น กรณีหากมีการรับไว้ซึ่งของ/ทรัพย์ที่มีการลักมา (รับของโจร)
56
การตีความประกอบอื่นๆ
ก)การตีความโดยคำนึงถึงประวัติศาสตร์ เช่น ทฤษฎีกฎหมายสามยุค (Three-layer Theory of law) ได้แก่ กฎหมายชาวบ้าน กฎหมายของนักกฎหมายและกฎหมายเทคนิค เช่น การครอบครองปรปักษ์ ,การป้องกัน ,อายุความ ข)การตีความโดยพิเคราะห์ถึงสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง (คุณธรรมทางกฎหมาย) กฎหมายอาญา เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ กับการลักกระแสไฟฟ้า ตย. ถ้านายแดงต่อสายไฟฟ้าจากถนนเข้ามาในบ้านตนเองโดยไม่ได้ขออนุญาต จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ จะมีปัญหาได้เพราะทรัพย์คือวัตถุมีรูปร่าง ไฟฟ้ามีรูปร่างหรือไม่อย่างไร หากพิจารณาสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองในเรื่องลักทรัพย์ได้แก่ กรรมสิทธิ์และการครอบครอง นั้นพบว่ากรรมสิทธิ์คือสิทธิในสิ่งที่มีรูปร่าง ดังนั้นการลักกระแสไฟฟ้าเป็นลักทรัพย์จึงไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองในความผิดเรื่องลักทรัพย์
57
แบบฝึกหัด กฎหมายในระบบลายลักษณ์อักษรมีที่มาจากเรื่องใดมากที่สุด
1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2.จารีตประเพณี 3.หลักกฎหมายทั่วไป 4.บทกฎหมายใกล้เคียง ประกาศในข้อใดไม่เป็นกฎหมาย 1.ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 2.ประกาศจังหวัดเรื่องราคาน้ำตาลทราย 3.ประกาศเทศบาลรับสมัครบุคคลเพื่อสอบเป็นลูกจ้างชั่วคราว 4.ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา
58
1. กฎหมายเอกชน 3. กฎหมายสังคม 2. กฎหมายมหาชน 4. ข้อ 2 และ 3 ถูก
มติคณะรัฐมนตรี เป็นกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด 1.เป็นกฎหมายเพราะมีผลต่อประชาชน 2.ไม่เป็นเพราะไม่มีผลบังคับต่อประชาชน 3.ไม่เป็นกฎหมายเพราะข้าราชการไม่ต้องปฏิบัติตาม 4.เป็นเพราะเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน และการบริการสาธารณะ คือกฎหมายใด 1. กฎหมายเอกชน 3. กฎหมายสังคม 2. กฎหมายมหาชน 4. ข้อ 2 และ 3 ถูก
59
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ภาคสันติ มีลักษณะเป็นกฎหมายอะไร
1. กฎหมายเอกชน 3. กฎหมายสังคม 2. กฎหมายมหาชน 4. กฎหมายเศรษฐกิจ พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ออกโดย……. 1. สภาผู้แทนราษฎร 3. วุฒิสภา 2. คณะรัฐมนตรี 4. คณะรัฐมนตรีโดยอนุมัติของรัฐสภา การยุบสภาต้องออกเป็นกฎหมายประเภทใด 1. พระราชบัญญัติ 3. พระราชกฤษฎีกา 2. พระราชกำหนด 4. ประกาศคณะปฏิวัติ
60
รัฐบาลมีความจำเป็นเร่งต้องออกกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจะต้องออกเป็นกฎหมายใด
1. พระราชบัญญัติ 3. พระราชกำหนด 2. กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกา กฎหมายในข้อใดต่อไปนี้มีลำดับศักดิ์ต่ำที่สุด 2. ประมวลกฎหมาย 4. พระราชกฤษฎีกา . ข้อใดสามารถเป็นประธานแห่งสิทธิ (Subject of rights) ได้ 1. บุคคล 3. อสังหาริมทรัพย์ 2. สังหาริมทรัพย์ 4. ถูกทุกข้อ
61
ระเบียบมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งอาศัยอำนาจตาม พ. ร. บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ
ระเบียบมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2535 มาตรา 45(3) เรื่อง “กำหนดให้นักศึกษาปริญญาโททำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ” พ.ศ.2543 เป็นกฎหมายหรือไม่ 1.ไม่เป็น เพราะไม่ได้ออกโดยรัฎฐาธิปัตย์ 2.เป็น เพราะออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ 3.เป็น เพราะออกโดยอาศัยตามกฎหมายพระราชบัญญัติ 4.ไม่เป็นเพราะไม่มีผลต่อประชาชนทั่วไป กฎหมายในข้อใดไม่ใช่กฎหมายมหาชน 1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล 2.กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 3.กฎหมายปกครอง 4.กฎหมายอาญา
62
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายที่อยู่ในประเภทใด
1.อยู่ในกฎหมายมหาชน : กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล 2.อยู่ในกฎหมายเอกชน : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3.อยู่ในกฎหมายเอกชน : กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล 4. อยู่ในกฎหมายมหาชน : กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” เป็นหลักในเรื่อง ที่มาของกฎหมาย Civil law จากเรื่องใด 1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2.จารีตประเพณี 3.หลักกฎหมายทั่วไป 4.บทกฎหมายใกล้เคียง
63
1เมื่อผ่านรัฐสภา 2.เมื่อผ่านรัฐสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อใด : 1เมื่อผ่านรัฐสภา เมื่อผ่านรัฐสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3.เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธย 4.เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อใดที่กฎหมายไทยสามารถใช้บังคับได้(ดำเนินคดี) 1.A ฆ่า B ที่ประเทศอเมริกา 2.ค.ตีหัว ง.บนเรือญี่ปุ่น 3. A ตีศีรษะB แตกบนเครื่องบินไทยขณะจอดที่อังกฤษ 4.ดำกับแดงไปเที่ยวที่อังกฤษ ซื้อตั๋วชมสโมสรฟุตบอลแมนซิตี้
64
ถ้าจะแก้ไขเพิ่มโทษประมวลกฎหมายอาญาในข้อหาลักทรัพย์ จะต้องเสนอเป็นกฎหมายระดับใด
1.พระราชบัญญัติ 2.พระราชกำหนด 3.พระราชกฤษฎีกา 4.กฎกระทรวง พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2546 เป็นกฎหมายประเภทใด 1.เป็นกฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายสังคม 2.เป็นกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายการศึกษา
65
ข้อใดไม่ใช่ราชอาณาจักรไทยโดยแท้
1.ทะเลอาณาเขต 2.เกาะช้าง 3.แม่น้ำโขง 4.เครื่องบินไทย ข้อใดเป็นลำดับสุดท้ายของการใช้กฎหมาย หรือการนำข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้นมาปรับกับตัวบทกฎหมาย 1. ตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ 2. จารีตประเพณี 3หลักกฎหมายทั่วไป 4. กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
66
การค้นหาความหมายของ “ถ้อยคำของกฎหมาย”ให้ได้เป็น “ข้อความ” เพื่อนำไปใช้วินิจฉัยคดีอย่างถูกต้อง คือความหมายของเรื่องใด 1.การใช้กฎหมาย 2.การตีความกฎหมาย 3.การตัดสินข้อเท็จจริง 4.การตัดสินข้อพิพาท “การห้ามนำสุนัขเข้าไปในสถานีรถไฟใต้ดิน” เป็นการตีความแบบใด 1.แบบตามตัวอักษร 2.แบบตามเจตนารมณ์ 3.แบบประวัติศาสตร์ 4.แบบคุณธรรมทางกฎหมาย
67
นาย ก. รับเอาทรัพย์ที่นาย ข. ขโมยมาจาก นาย ค. โดยก็รู้ว่านาย ข
นาย ก.รับเอาทรัพย์ที่นาย ข.ขโมยมาจาก นาย ค. โดยก็รู้ว่านาย ข.ขโมยมา หากนาย ก.ตั้งใจจะเอาไปคืนให้นาย ค. นาย ก.จะมีความผิดฐานรับของโจร หรือไม่ 1.ไม่ผิดเพราะไม่ได้มีการรับไว้แบบรับของโจร 2.ไม่ผิดเพราะนาย ก.ไม่ได้ร่วมลักกับนาย ข. 3.ผิดเพราะได้รับเอาไว้แล้ว 4.ผิดเพราะรู้ว่าเป็นของที่นาย ข.ลักมาจากนาย ค.
68
การใช้และการตีความในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (นิติวิธี) ตามลำดับเป็นอย่างไร
1 จาก ลายลักษณ์อักษร,จารีตประเพณี, หลักกฎหมายทั่วไป, บทกฎหมายใกล้เคียง 2. จาก ลายลักษณ์อักษร, จารีตประเพณี, บทกฎหมายใกล้เคียง, หลักกฎหมายทั่วไป 3.จาก ลายลักษณ์อักษร ,หลักกฎหมายทั่วไป, จารีตประเพณี, บทกฎหมายใกล้เคียง 4. จาก หลักกฎหมายทั่วไป, บทกฎหมายใกล้เคียง, จารีตประเพณี, ลายลักษณ์อักษร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.