งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: อาหารที่ดีที่สุดสำหรับสมองของลูก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: อาหารที่ดีที่สุดสำหรับสมองของลูก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: อาหารที่ดีที่สุดสำหรับสมองของลูก
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง กุสุมา ชูศิลป์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 วัตถุประสงค์ อธิบายสภาวะพัฒนาการทางสมองของเด็กไทย
อธิบายการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง อธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความฉลาด อธิบายผลดีของการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชั่วโมงแรกหลังเกิด อธิบายส่วนประกอบของน้ำนมแม่ที่สมองต้องการ อธิบายหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อ พัฒนาการของสมองและระดับเชาว์ปัญญา

3 พัฒนาการระยะปฐมวัย Early child development
วัยเด็กเล็กเป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิต สิ่งแวดล้อมในขวบปีแรกมีอิทธิพลสูง ประสบการณ์ปฐมวัยกำหนด สุขภาพ การศึกษา และการมีส่วน ร่วมด้านเศรษฐกิจจนตลอดชีวิต เด็กอายุน้อยกว่า5ปี มากกว่า 200 ล้านคนที่พลาดโอกาสการ พัฒนาด้านเชาว์ปัญญาและสังคม มีหลายวิธีที่ง่ายและได้ผลดีสำหรับครอบครัว ที่จะสร้าง พัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสม

4 สภาวะพัฒนาการทางสมองของเด็กไทย
ปี 2554 เด็กไทย อายุ 6-15 ปี ทั่วประเทศ มีค่าเฉลี่ยของระดับเชาว์ปัญญา (IQ) เพียง 98.59  มีระดับเชาว์ปัญญาแตกต่างกันดังนี้ - ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 4.1 - ค่อนข้างต่ำ ร้อยละ 59.9 - ระดับปกติ ร้อยละ 29.7 - ค่อนข้างสูง ร้อยละ 5.5 และ - สูงกว่าปกติหรือเข้าขั้นอัจฉริยะ มีเพียงร้อยละ 0.9 การแถลงข่าวของอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2555

5 สภาวะพัฒนาการทางสมองของเด็กไทย
เด็กอายุ ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ 72 เหลือเพียง ร้อยละ 67 30% เด็กไทย มีพัฒนาการล่าช้า - 20 % ที่สามารถกระตุ้นให้มีพัฒนาการสมวัยได้ - 10 % เกิดจากภาวะเป็นโรค พ.ศ กระทรวงศึกษาธิการรายงาน เด็ก ป.4 – ป.6 ร้อยละ10-15 อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดไม่เป็น 48.5 % เด็กวัยเรียนมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าระดับปกติ 6.5 % เด็กวัยเรียนมีความบกพร่องทางสติปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนต่ำ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การแถลงข่าวของอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2555

6 สาเหตุของปัญหาพัฒนาการ
ได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ การเข้าถึงการเรียนรู้ที่ไม่เท่าเทียมกัน บิดามารดาไม่มีเวลาในการเลี้ยงดูบุตร ปล่อยเด็กไว้ที่สถานเลี้ยงเด็ก หรือกับคนชรา

7 ภาวะโภชนาการที่อายุ 3 ปี มีผลต่อเชาว์ปัญญาในเด็กโตและผู้ใหญ่
ภาวะแกรนจากการการขาดสารอาหารเรื้อรังเมื่ออายุ 3 ปี ทำให้เชาว์ปัญญาลดลงเมื่ออายุ 11 ปี เด็กอายุ 11 ปีที่มีทักษะการเรียนรู้และเชาว์ปัญญาต่ำ เมื่ออายุ 23 ปีเพิ่มโอกาสเกิดปัญหาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (schizotypal personality) เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายมีโอกาสเกิดพอๆกัน Venables PH, et al Poor nutrition at age 3 and schizotypal personality at age 23: the mediating role of age 11 cognitive functioning. Am J Psychiatry Aug 1;169(8):

8 ปัจจัยเสี่ยงการเจริญเติบโตของ สมองและพัฒนาการ
ภาวะทุโภชนาการทีเรื้อรังและรุนแรง จนเป็นสาเหตุของภาวะ แกรน (Stunting) การกระตุ้นหรือการสร้างโอกาสการเรียนรู้ไม่เพียงพอ (Inadequate stimulation) ภาวะขาดไอโอดีน (iodine deficiency) ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia)

9 ภาวะของทารกแรกเกิดที่มี สมองและร่างกายพัฒนาล่าช้า
ภาวะของทารกแรกเกิดที่มี สมองและร่างกายพัฒนาล่าช้า - ภาวะน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัม - ทารกที่เกิดก่อนกำหนด - ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ - รูปร่างสมส่วนจากการติดเชื้อในครรภ์หรือมีโรค ผิดปกติของพันธุกรรม รูปร่างไม่สมส่วน จากได้รับเลือดทางรกไม่เพียงพอเช่น มารดามีความดันโลหิตสูง หรือมารดามีภาวะทุโภชนาการ

10 ภาวะทารกแรกเกิดที่อันตรายต่อสมอง
ภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงระยะปริกำเนิด อุณหภูมิกายต่ำ ภาวะสูดสำลักขี้เทา ภาวะความดันในปอดสูง ภาวะน้ำตาล/ แคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะหอบจากปอดขาดสารตึงผิว โรคปอดเรื้อรัง ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ภาวะลำไส้เน่าเปื่อย ภาวะเลือดข้น ภาวะโลหิตจาง และภาวะตัวเหลือง

11 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยเทียบกับประเทศอื่น

12 Infant and young child feeding practices before and after intervention in Lalitpur District (600 villages) Counseling and other interventions in Lalitpur district resulted in improved early initiation and exclusive breastfeeding up to 6 months of life. It also improved practice of providing complementary foods between 6-9 months along with breastfeeding.

13 กระบวนการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมอง
รวดเร็วและวิกฤติตั้งแต่ก่อนเกิด จนถึงอายุ 3 ปี หลังเกิด

14 กายวิภาคของสมอง ก้านสมอง สมองชั้นนอก สมองชั้นใน สมองส่วนหลัง Neocortex
Limbic Brain สมองชั้นใน Cerebellum สมองส่วนหลัง ก้านสมอง Brain Stem

15 ความฉลาด (Intelligence)
ความสามารถของสมอง (Mental capabilities) ใน - การใช้เหตุผล - การวางแผนแก้ปัญหา - การคิดอย่างเฉียบแหลม - การเข้าใจความนึกคิดที่ซับซ้อน - การเรียนรู้ไวจากจากประสบการณ์รอบตัว และ - การทำสิ่งต่างๆจนประสบความสำเร็จ ความฉลาด หรือเชาว์ปัญญาเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการพัฒนาของสมอง และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

16 ระยะวิกฤติของพัฒนาการทางสมอง
ขนาดสมองของทารกแรกเกิดเท่ากับ ร้อยละ25 ของผู้ใหญ่ ช่วง 0-3 ปีเจริญได้ร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ การเจริญของสมองเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในวัยทารกและในวัยเด็ก โดยการสร้าง Dendrites ที่แตกแขนงคล้ายต้นไม้ตรงส่วนปลายของ Axon จำนวนมากกว่าร้อยอัน ขนาดสมองเท่ากับร้อยละ90ของผู้ใหญ่เมื่ออายุ 5 ปี และเจริญเต็มที่เมื่ออายุ 15 ปี

17 การพัฒนาสมองของทารกในครรภ์
การเจริญเติบโตของสมองเกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธุกรรม ภาวะโภชนาการและสุขภาพของมารดาสามารถทำให้เกิดความแปรปรวนของ พันธุกรรมในการควบคุมความฉลาด ทารกในครรภ์ที่มีการเจริญเติบโตที่จำกัด มีความผิดปกติทางระบบประสาท และสมองได้สูงกว่าทารกปกติ การเพิ่มโภชนาการในมารดาที่ตั้งครรภ์ ช่วยเพิ่มค่าคะแนนเชาว์ปัญญาของ ทารกและเด็กในช่วงหลังเกิด กรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโมเลกุลยาว ช่วยการเจริญของเนื้อเยื่อสมองและจอ ประสาทตาอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ทารกอยู่ในทารกในครรภ์จนภึงระยะหลังเกิด

18 การสร้างเซลล์ประสาท สมองที่เจริญเต็มที่มีเซลล์ประสาทนับ 100 ล้านๆเซลล์ ตั้งแต่ก่อนเกิด เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ติดต่อกับ เซลล์ประสาทอื่นๆนับ ตัว สมองของผู้ใหญ่มีจุดเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทมากกว่า 60 trillion เซลล์ประสาทที่ออกคำสั่ง (progenitors) เพิ่มจำนวน และเคลื่อนตำแหน่งในระยะหลังเกิด

19 การเจริญเติบโตของสมองหลังเกิด
ขนาดของสมองขึ้นกับจำนวนจุดเชื่อม (Synapses) ระหว่างเส้นใยประสาทสั้น (Dendrite)ที่อยู่ส่วนปลายของเส้นใยประสาท ยาว (Axon) ของเซลล์สมองแต่ละตัว จุดเชื่อมโยงของเส้นใยประสาทเป็นที่ส่งผ่านของ ตัวนำส่งสัญญาณ (Neurotransmitters)ระหว่างเซลล์สมอง และเกิดเป็นวงจรในสมอง

20 การสร้างแผ่นฉนวนหุ้มเส้นใยประสาท (Myelination)
ประกอบด้วย การสร้างแผ่นไขมัน (Myelin sheath) จากไขมันและโปรตีน และ Node of Ranveir รอบเส้นใยประสาทส่วนยาว (Axon) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสัญญาณประสาทในวงจรสมอง

21 เส้นประสาทที่หุ้มด้วยแผ่นไขมัน ไวต่อการรับส่งข้อมูล
DHA ร่วมกับ โปรตีน cholesterolและ ไขมันอื่นๆ ช่วยการสร้าง แผ่นไขมัน (myelin) ที่หุ้มปลายประสาทส่วนยาว ของเซลล์ประสาทและ เส้นประสาทต่างทั้งร่างกาย

22 จุดเชื่อมโยงของเซลล์สมอง (synapse)
การกระตุ้นวงจรของสมองทำให้เกิดการสร้างแผนภาพการรับรู้ขึ้นในสมอง ตามโครงสร้างสมองที่กำหนดโดยพันธุกรรม แผนภาพการรับรู้เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้และการสร้างความจำตลอดชีวิต

23 ลักษณะของจำนวนเซลล์ประสาทและการเขื่อมต่อของเส้นใยประสาทที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ

24 พันธุกรรม อาหาร สมอง การเลี้ยงดู พฤติกรรมพัฒนาการ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของสมอง พันธุกรรม อาหาร การเลี้ยงดู 40-50 % สมอง สุขภาพ ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย พฤติกรรมพัฒนาการ

25 บทบาทของธรรมชาติ หรือ พันธุกรรม
การเจริญเต็มที่ของเนื้อเยื่อประสาท การสร้างเซลล์ประสาท การเชื่อมโยงของสมอง ศักยภาพในการตอบสนองต่อ สิ่งแวดล้อม (nature)

26 Heritability of Brain Structure
Cortical thickness in lateral prefrontal, medial prefrontal, parietal, and temporal cortices highly he

27 การถ่ายทอดความฉลาด ทางพันธุกรรม
ความฉลาดเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่สูงมาก แต่จะมีอิทธิพลมากหรือน้อยขึ้นกับความแปรปรวนของการ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและลักษณะที่ปรากฏทางร่างกาย (Phenotype) ค่าคะแนนเชาว์ปัญญาที่ได้จากการวัดความฉลาด ไม่ได้ขึ้น พันธุกรรมเพียงอย่างเดียว

28 บทบาทการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อม
กำหนดอายุที่เริ่มมีพฤติกรรม พัฒนาการ แปรผลประสบการณ์ กระตุ้นการสำรวจระบบนิเวศน์ และวัฒนะธรรม เชื่อมโยงสมองส่วนละเอียด ตามการกระตุ้นของ สิ่งแวดล้อม

29 Passive Gene‐Environment Interaction
ประสบการณ์ของเด็กแต่ละคนสัมพันธ์กับพันธุกรรมของพ่อ แม่ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างทารกกับ พ่อแม่ หรือ ผู้เลี้ยงดูเด็ก จะ เปลี่ยนแปลงการแสดงออกของพันธุกรรมที่ควบคุมความ ฉลาด ประสบการณ์ที่ได้รับระยะแรกของชีวิต ถูกฝังในสมอง เพื่อ สร้างหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรมที่ติดตัวไปยาวนานหรือตลอด ชีวิต

30 พัฒนาการของสมองขึ้นกับความรวดเร็วใน การสร้างจุดเชื่อมของเส้นใยประสาทขนาดสั้น
การรับรู้ของสมอง จากประสาทสัมผัสทั้ง ห้า เช่น การมองภาพ และการได้ยิน เกิด ได้ดีในช่วง 3 เดือนแรกหลังเกิด เด็กเริ่มสื่อภาษาด้วยการยิ้มเมื่ออายุ 3 เดือน ใช้เสียงแสดงความพอใจและไม่ พอใจเมื่ออายุ 6 เดือน และเริ่มเลียนแบบ คำพูด หรือ ส่งเสียงเป็นพยัญชนะเมื่อ 12 เดือน

31 พัฒนาการของสมองขึ้นกับความรวดเร็วใน การสร้างจุดเชื่อมของเส้นใยประสาทขนาดสั้น
การสร้างความสามารถในการเรียนรู้ขั้นสูง จากกิจกรรมการเคลื่อนไหว การเรียนรู้ภาษา จนถึงการปฏิสัมพันธ์กับสังคม ความสามารถขึ้นกับกิจกรรมและการ ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การเดินและการพูดคุยช่วงอายุ 1-2 ปี เด็กสามารถแยกเพศได้เมื่ออายุ 30 เดือน

32 หน้าต่างโอกาส (Sensitive Period) ของสมองที่ไวต่อการกระตุ้นให้สร้าง Synapses
สมองสามารถสร้างแผนภาพ ประสบการณ์ ในวงจรของเส้นใย ประสาทได้เต็มที่ จากการทำกิจกรรม ซ้ำๆในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับ พัฒนาการของสมองแต่ละด้าน เช่น การเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนเกิด การมองเห็นทันทีหลังเกิด การพูด การสื่อภาษา การควบคุมอารมณ์ใน ขวบปีแรก

33 การเชื่อมโยงจนล้น (Synaptic Exuberance) และการตัดแต่งเส้นใยประสาท (Pruning) 
ในช่วงอายุ 2-3 ปี เซลล์ประสาทเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็ว คู่ขนานกับการสร้างแผ่นฉนวนหุ้มเส้นใยประสาท จำนวนจุดเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท (Synaptic connectivity) เกิดขึ้นอย่างมากแล้วค่อยๆตัดแต่งเส้นใยประสาทให้ลดลงในภายหลัง ส่วนของสมองชั้นนอกเริ่มบางลงตามขนาดของช่องน้ำในสมองที่ใหญ่ขึ้น เนื้อสมองที่บางลง จะช่วยให้เส้นใยสมองถูกหุ้มด้วยแผ่น Myelin เพิ่มขึ้น

34 การควบคุมของพันธุกรรม ในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่
ขนาดของสมองและโครงสร้างสมองที่เปลี่ยนแปลงช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ความสามารถของการเรียนรู้ขึ้นกับความหนาของสมองชั้นนอก เมื่ออายุ 9 ปี ความหนาของสมองชั้นนอกไม่สัมพันธ์กับความฉลาด เมื่ออายุ 12 ปี สมองส่วนparietalซีกซ้ายที่บางลงสัมพันธ์กับความฉลาดที่ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ความฉลาดด้านการใช้คำพูด

35 ปัจจัยด้านการเลี้ยงดูหลังเกิด
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้อาหารตามวัยอย่างถูกต้องและเหมาะสม การส่งเสริมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การเฝ้าระวังการเจริญเติบโต การคัดกรองปัญหา ความผิดปกติ หรือโรคที่อาจมีผลต่อพัฒนาการเด็ก การป้องกันอุบัติเหตุ การคัดกรอง ประเมิน และกระตุ้นพัฒนาการตามวัย

36 ข้อเสนอแนะการให้อาหารทารกและเด็กเล็กขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ
ควรเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังเกิด ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังเกิด เริ่มให้อาหารเสริมตามวัยอย่างเพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนเมื่อทารกอายุ 6 เดือนและยังคงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมด้วยจนถึงขวบปีที่ 2 หรือนานกว่านั้น

37 ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 9ข้อ ขององค์การอนามัยโลก
ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 9ข้อ ขององค์การอนามัยโลก Immunological Benefits Protection Against Allergies Brain Development Childhood Obesity SIDS= Sudden Infant Death Syndrome Pre-Pregnancy Weight got back Reduces Risk of Cancer and Osteoporosis Cost and Convenience Bonding

38 การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในชั่วโมงแรกหลังเกิด
เริ่มจุดประกายการสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง เซลล์ของสมอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่าง ครบถ้วน เหมาะสมกับความไวของสมองในการสร้างวงจร การเรียนรู้ตั้งแต่ขวบปีแรก

39 ขั้นตอนการช่วยเหลือแม่ทันทีหลังคลอดให้โอบกอดลูกเนื้อแนบเนื้อ
อธิบายความสำคัญของการโอบกอด เนื้อแนบเนื้อและการดูดนมแม่ครั้ง แรก ภายในชั่วโมงแรกหลังเกิด เช็ดตัวลูกให้แห้งด้วยผ้าสะอาด ปราศจากเชื้อ ก่อนนำมาวางบน ลำตัวของแม่ ปล่อยให้ลูกคืบคลานเข้าหาเต้านม ของแม่โดยไม่ขัดขวาง จนลูกได้ดูด นมแม่ครั้งแรก

40

41 การกระตุ้นจุดเชื่อมโยงของเซลล์สมองใน Amygdala
เกี่ยวข้องกับ ความจำ อารมณ์ และ ประสาทอัตโนมัติ 2 เดือนแรกหลังเกิด เป็นระยะวิกฤติของ กระตุ้น synapses การโอบกอดเนื้อแนบเนื้อกระตุ้น สมองส่วน prefrontal - orbital pathway และช่วยการมีชีวิตรอด

42 ประโยชน์ของ การโอบกอดลูกเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังลูกเกิด
ช่วยสร้างความอบอุ่นและปรับอุณหภูมิกายของลูก ปรับการหายใจสู่ปกติ และปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือดลูก เสริมสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก ลดความซึมเศร้าของแม่หลังคลอด ลูกนอนหลับได้ง่ายและนานขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันโรคบนผิวของลูกและในทางเดินอาหาร ลูกสามารถดูดนมแม่ได้เร็วขึ้นและนานขึ้น

43 ประโยชน์ของการเริ่มต้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดบเร็วหลังเกิด
ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้สองเท่าในการศึกษา แบบสุ่มทดลอง ลูกสามารถดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้น้ำนมแม่มาเร็ว ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้ดีขึ้นในทารกเกิดก่อนกำหนด จนถึง อายุ 15 ปี ช่วยลดความเครียดและความเจ็บปวดของทารกแรกเกิด ขับถ่ายขี้เทาเร็วและลดความรุนแรงของภาวะตัวเหลือง

44 กระบวนการที่มีผลต่อ การเจริญของสมอง
การไม่ได้รับประสาทสัมผัส จะเลือกส่งผลกระทบในแต่ละส่วนของสมอง โดยเฉพาะ cortical sensory systems การขาดการกระตุ้นการมองเห็นมนระยะเริ่มแรกของชีวิตหลังเกิดจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับภาพในสมองส่วน primary visual cortex (PVC).ส

45 ผลลัพธ์การโอบกอดเนื้อแนบเนื้ออย่างต่อเนื่อง ในทารกเกิดก่อนกำหนด
Kangaroo Care (KC)ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เพิ่มพฤติกรรม attachment ของมารดา ลดความเครียดของมารดา ส่งเสริมพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี Feldman R, Rosenthal Z, Eidelman AI.Maternal-preterm skin-to-skin contact enhances child physiologic organization and cognitive control across the first 10 years of life. Biol Psychiatry2014 Jan 1;75(1):56-64.

46 ทันทีหลังเกิด ปริมาตรของสมองหลังเกิดขึ้นกับน้ำหนักแรกเกิด
ขนาดสมองที่เพิ่มขึ้นเกิดจากกระบวนการเชื่อมโยงของเส้นใยประสาท ระหว่างเส้นใยประสาทสั้นๆ (dendrite) ที่แตกแขนงตรงส่วนปลายของ เส้นใยประสาทชนิดยาว (axon) กระบวนการเกิด myelinationที่มีเล็กน้อยตั้งแต่แรกเกิด จะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วใน 2ปีแรกหลังเกิด สมองต้องการสารอาหารทุกชนิดอย่างครบถ้วนเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆทั่ว ร่างกาย

47 มหัศจรรย์แห่งนมแม่ เด็กที่กินนมแม่จะมีสมองที่ไวต่อการรับรู้ และสามารถเรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะใน 2 ขวบปีแรก ที่สมองโตเร็วมาก ที่สุด สารอาหารในนมแม่ มีความเหมาะสมสำหรับการสร้างเซลล์ สมอง อ้อมกอดและการสัมผัสระหว่างแม่ลูกก็ช่วยกระตุ้นการรับรู้ และพัฒนาการของสมอง

48 ปริมาณนมแม่กับเชาว์ปัญญา
นมแม่ทางสายยางมีผลกับค่าคะแนนของเชาว์ปัญญา อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ค่าคะแนนสูงสุดอยู่ที่การเปล่งเสียง (verbal scale) ค่าคะแนนแตกต่างกันถึง 9 จุดระหว่างทารกที่ได้รับนมแม่ 100% และทารกที่ไม่ได้นมแม่เลย ทารกที่เกิดก่อนกำหนดได้รับผลของนมแม่ชัดเจนกว่าทารกที่เกิด ครบกำหนด

49 สารอาหารและพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา
สารอาหารมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมตอพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา: Glucose metabolism ในเซลล์สมอง ต้องการ thiamin, riboflavin, niacin, and pantothenic  acid กรดอามิโนและวิตามินบี และ วิตามินซีช่วยสร้าง neurotransmitter วิตามินบี6 12, folate,และ choline ช่วยลดการสร้างhomocysteineที่ได้จากเมตาบริสมของmethionine เพื่อป้องกัน dementia and Alzheimer's disease. ธาตุเหล็กช่วยเมตาบริสมของเซลล์ สร้างแผ่นหุ้มใยประสาท และ การทำงานของoligodendrocytes

50 สารชีวภาพและสารอาหารเสริมสร้างสมอง Brain Derived Neurotrophic Factor
ส่วนโปรตีนและ Non protein nitrogen ในนมแม่ เช่น taurine, carnitine,nucleotide ช่วยสร้างสมองและจอประสาทตา น้ำนมแม่มีคาร์โบไฮเดรต แลคโตส มากที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ชนิดอื่น กาแลคโตสที่ได้จากการย่อยแลคโตสเป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อสมอง นมแม่มีน้ำย่อยไขมัน Bile salt stimulated lipase ซึ่งช่วยไขมัน ให้สมองได้รับกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโมเลกุลยาวอย่างเต็มที่

51 ความสำคัญของกรดไขมันไม่อิ่มตัว Docosahexanoic acid (DHA) ต่อสมอง
DHA เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโมเลกุลยาว (22:6,n-3) )ที่สังเคราะห์จาก alpha-linolenic acid(LnA, 18:3 n-3) มีอุดมสมบูรณ์ในปลาเขตหนาว น้ำนมแม่ และไข่ DHAเป็นส่วนสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการทำงานของสมองทารกเพราะเป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อสมอง สมองที่มี DHA ลดลง มีการเรียนรู้ลดลง และเพิ่มโอกาสเป็น Alzheimer disease ร่างกายมนุษย์โดบเฉพาะทารกแรดเกิดสังเคราะห์ DHA ได้ช้า

52 ส่วนประกอบของ Gangliosides ช่วยสร้างความจำ
มีปริมาณสูงในนมแม่เมื่อเทียบกับนมและอาหารชนิดอื่น Gangliosides สะสมอย่างมากมายในด้านนอกของผนังจุดเชื่อมต่อระหว่าง เซลล์ประสาท Gangliosides ทำหน้าที่สำคัญในการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบ สมอง ได้แก่ - neuronal growth, - migration and maturation, - neuritogenesis, - synaptogenesis, และ myelination.

53 กรดไซอะลิก (Sialic acid)
สมองและเนื้อเยื่อประสาทของทารกมีปริมาณสูง sialoglycoconjugate เช่น oligosaccharides, glycolipids เป็นสารประกอบและ glycoproteins ระดับของ monosialoganglioside-3 เพิ่มขึ้นและ disialogangliosides- 3 ลดลง ขณะแม่ให้นม พบสูงมากในบริเวณเชื่อมต่อของปลายประสาท และการ เหนี่ยวนำของเส้นประสาท

54 คอลีน (choline) สำคัญต่อการทำงานของเซลล์ทั่วร่างกาย
ลดลงขณะตั้งครรภ์แลtให้นมเพราะลูกต้องการสูงมาก เพิ่มการเจริญของสมอง hippocampus ในแม่หนูที่ตั้งครรภ์ เพิ่มphosphorylation ที่ตอบสนองต่อ glutamate และ N – methyl – D aspartate ในการส่งเสริมดเชาว์ปัญญา

55 คาร์นิทีน (carnitine)
เต้านมแม่สังเคราะห์เพราะทารกแรกเกิดไม่สังเคราะห์ สารไนโตรเจนที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์และใช้ไขมันในเนื้อ สมอง ช่วยพากรดไขมันที่มีสายโมเลกุลยาวผ่านผนัง mitochondria สร้าง ketone bodies เมื่อสมองต้องการ

56 ทอรีน (taurine) พบมากที่สุดในนมแม่ จำเป็นสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนด
เสริมสมองและการทำงานของจอประสาทตา เพิ่มจำนวนของเซลล์ประสาท เพิ่มการไหลเวียนแคลเซียม ฟื้นฟูจอประสาทตา ใช้โปรตีนเพื่อเพิ่ม phospholipid ในสมอง นมผสมจำเป็นต้องเสริมทอรีน ลิงที่ขาดทอรีนมีจอประสาทตาเสื่อมเร็ว

57 นิวคลีโอไทด์ (nucleotides)
pyrimidine purine จับกับ pentose phospheric acid เป็นส่วนDNA และ RNA ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของ เซลล์ทั่วร่างกาย น้ำนมแม่มีอย่างน้อย 13 ชนิดที่แตกต่างจากนมวัว ช่วยสังเคราะห์โปรตีนและphospholipid ในสมอง ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในร่างกาย

58 ธาตุเหล็ก (Iron) ส่วนheme สร้างฮีโมโกลบินและมัยโอโกลบิน
cofactor ใน Kreb, cycle ให้พลังงานเซลล์ ช่วยสร้าง meurotransmitter เช่น serotonin depamine และ gramma – aminobutyric acid (GABA) ช่วยสร้างแผ่นไขมัน (myelin) ที่ช่วยหุ้มปลายประสาท มีสะสมมากบริเวณสมองที่เกี่ยวข้องกับความเฉลียวฉลาด

59 ทารกนมแม่มีทุนสมอง เรียนเร็วกว่าทารกนมขวด
ทารกนมแม่มีทุนสมอง เรียนเร็วกว่าทารกนมขวด ควรให้ลูกตดูดนมบ่อยตรั้งตามต้องการ การสัมผัสระหว่างแม่และลูกที่บ่อยครั้ง เพราะลูกที่ได้รับนมแม่ที่ย่อยง่ายจะหิว เร็ว ช่วยให้เซลล์ประสาทเจริญเร็วขึ้นและมี การเชื่อมโยงระหว่างปลายประสาทมาก ขึ้น

60 เชาว์ปัญญาทารกที่ได้รับนมแม่ Fergusson DM 1982
พัฒนาการทางภาษาที่อายุ 3, 5 และ 7 ปี สูงกว่าทารกที่ได้นม ผสมได้ตั้งแต่ 1.90 ถึง 5.55 คะแนน (ค่าเฉลี่ย = 3.84) เมื่อควบคุมปัจจัยอื่นมีค่าคะแนนเชาว์ปัญญาสูงกว่าทารกที่ได้นม ผสมสูง 0.82 ถึง 2.71 คะแนน (ค่าเฉลี่ย = 1.89)

61 ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สัมพันธ์กับ เชาว์ปัญญาที่เพิ่มขึ้นในยุวชนชาวเดนมารก์
คะแนนเชาว์ปัญญา นมแม่ 7-9 เดือน Adapted from: Mortensen EL, Michaelsen KF, Sanders SA, Reinisch JM. The association between duration of breastfeeding and adult intelligence. JAMA, 2002, 287:

62 น้ำนมแม่สร้างสมองมนุษย์ในขวบปีแรก
ปริมาณของ แผ่นไขมันหุ้มเส้นใยประสาทในเนื้อเยื่อสมองส่วน White matter เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จนถึงขวบปีที่สองหรือนานกว่านั้น

63 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วย สร้างสมองว่องไว
ทารกที่ได้รับนมแม่มีปริมาณ DHAสูงมากทั้งในเม็ดเลือด แดงและที่จอประสาทตา มีความคมชัดของสายตา (visual acuity) ที่อายุ 2 เดือน (r = 0.32, P= 0.01) และที่อายุ 12 เดือน (r = 0.30 , P = .03) เมื่อได้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 3 เดือนและได้รับไข่แดงจากอาหารตามวัย

64 เชาว์ปัญญากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ A cohort 1387 French 2-year-old children
เด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ มีความสามารถด้านภาษาสูงกว่าเด็กที่ไม่เคยได้รับนมแม่: การสื่อสาร (CDI) 3.7 ± 1.8 (P = .038) อายุตอบคำถาม (ASQ )6.2 ± 1.9 (P = .001) ระยะเวลานมแม่อย่างเดียวหรือเคยได้รับนมแม่สัมพันธ์เชิงบวกกับ การสื่อสาร (CDI) และ อายุที่มีพัฒนาการ (ASQ ) และความสามารถในการแก้ปัญหา ระยะเวลาที่เด็กเคยได้รับนมแม่สัมพันธ์กับ การใช้มือ Heude B, et al. Breastfeeding Duration and Cognitive Development at 2 and 3 Years of Age in the EDEN Mother-Child Cohort. J Pediatr 2013 ; 17(4):

65 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ขอบคุณ ที่เห็นความสำคัญ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


ดาวน์โหลด ppt การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: อาหารที่ดีที่สุดสำหรับสมองของลูก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google